|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |

แม้ว่าใครต่อใครจะทดลองบริการ 3G ไปเกือบหมดแล้วก็ตาม แต่ กสท.รายล่าสุดเลยต้องเปิดตัวแหวกแนวสักนิดเพื่อให้ดูว่าอย่างน้อยก็ใหม่กว่าใคร กสท.จึงเปิดตัว 3G+
บมจ.กสท โทรคมนาคมหรือ CAT เลือกทดลองเปิดบริการ 3G+ ณ ห้างสรรพสินค้าสยาม พารากอน ใจกลางเมืองกรุงเทพมหานคร ก่อนหน้านี้ บมจ.ทีโอที จำกัด คู่แข่งตลอดกาลได้เปิด ตัว 3G ในฝั่งตรงกันข้าม ณ อาคารเกตเวย์ เมื่อปีที่ผ่านมา
ในวันเปิดตัว กสท. ใช้คำว่า ประกาศศักยภาพผู้นำบริการ 3G+ ความเร็วมาตรฐานใหม่ในไทยสู่โลกสื่อสารไร้สายความเร็วสูง 21 เมกะบิตต่อวินาที และเพื่อพิสูจน์ในคำพูดดังกล่าวจึงได้นำอุปกรณ์มาทดสอบให้เห็น คือการนำเครื่องประชุมผ่านโทรศัพท์มือถือ หรือชมรายการบันเทิงผ่านโทรทัศน์โดยไม่ติดขัด
การทดลองในวันนั้นจากการสอบถามเจ้าหน้าที่พบว่า ความเร็วสูงสุดรองรับได้เพียง 9 เมกะบิตต่อวินาที แม้ว่า กสท.จะบอกว่ารองรับได้ตั้งแต่ 16-21 เมกะบิตต่อวินาทีก็ตาม ทั้งนี้อาจเป็นเพราะ กสท.ติดตั้งเสารองรับสัญญาณเพียง 2 เสาเท่านั้น เสาแรกติดตั้งอยู่ในสยามพารากอน ส่วนอีกหนึ่งเสาติดตั้งอยู่ในอาคารจามจุรีสแควร์อยู่ทางด้านใต้ของมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เทคโนโลยีที่ กสท.นำมาใช้เป็นระบบ HSPA หรือ High Speed Packet Access คลื่นความ 2.1 เมกะเฮิรตซ์ เป็นเทคโนโลยีที่ค่ายอื่นๆ ได้นำมาทดลองใช้เช่นเดียวกัน แต่ กสท.จะโชว์ จุดขายที่แตกต่างคือใช้ความเร็วในสูงกว่า
การเปิดตัวในวันนั้นจึงเป็นการเรียกน้ำย่อย เพราะตามแผน ธุรกิจ จิรายุทธ รุ่งศรีทอง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.กสท โทรคมนาคม บอกว่าบริษัทจะติดตั้งอุปกรณ์รับส่งสัญญาณเพิ่มเป็น 500 เสาในพื้นที่กรุงเทพมหานครภายในสิ้นเดือนเมษายนนี้ และติดตั้งเพิ่มอีกในกลางปี 500 แห่งในกรุงเทพฯ และปริมณฑล และติดตั้งครบ 3 พันแห่งภายในสิ้นปี และใช้งบประมาณในการติดตั้งทั้งสิ้น 1 พันล้านบาท
ส่วนการตลาดอยู่ระหว่างดำเนินการ เช่น คัดเลือกผู้ผลิต แอร์การ์ด เพื่อนำไปใช้กับบริการ 3G+ อยู่ระหว่างการเลือกผู้ผลิต เช่น หัวเหว่ย หรือแซดทีอี เป็นแบรนด์ที่ผลิตจากประเทศจีนทั้งสองแห่ง และคาดว่าจะขายในราคาประมาณ 1 พันบาท
ส่วนร้านจำหน่ายในเบื้องต้นจำหน่ายผ่านร้าน CAT อยู่ใน ห้าง 10-20 แห่ง และจำหน่ายผ่านศูนย์บริการอีก 1,000 แห่งทั่วประเทศ
สำหรับลูกค้าที่ใช้โทรศัพท์มือถือระบบซีดีเอ็มเอ จำนวน 2 แสน ของ กสท.ในปัจจุบัน บริษัทจะจัดรายการส่งเสริมการขายให้ลูกค้าหันมาใช้ 3G+ แทน
ด้าน บมจ.ทีโอทีในตอนแรกดูเหมือนว่าจะได้เปรียบ 3G แต่แผนการติดตั้งอุปกรณ์รับส่งสัญญาณ 3G ต้องมาสะดุด หลังจากบอร์ดทีโอทีไม่กล้าเซ็นสัญญาให้กลุ่มกิจการร่วมค้าเอสแอล คอนซัลเตียม ที่ประกอบด้วย บมจ.สามารถ คอร์ปอเรชั่น บมจ. ล็อกซเล่ย์ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี (ประเทศไทย) และบริษัท โนเกีย ซีเมนส์ เน็ตเวิร์ก เป็นผู้ติดตั้งอุปกรณ์ เพราะทีโอทีต้องตอบความโปร่งใสในการจัดจ้างครั้งนี้ โดยเฉพาะคำถามของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.)
ด้านเอไอเอส แม้ว่าจะทดลองให้บริการ 3G ในส่วนต่างจังหวัดในระดับหัวเมืองใหญ่ แต่ก็ไม่มีความคืบหน้าในการขยายให้บริการได้แต่อย่างใด แม้ว่าจะมีปัญหาติดขัดเรื่องดังกล่าว เอไอ เอสก็พยายามที่จะหาทางรอดให้กับธุรกิจและยื่นขอทดลอง 4G กับ กสท. เพื่อใช้เทคโนโลยี (LTE: Long Term Evolution) ความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์
ดูเหมือนว่า 3G ยังชุลมุนวุ่นวายไม่จบ
|
|
 |
|
|