Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2530








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2530
ศึกชิงเก้าอี้ ฉัตรชัย บุญยอนันต์ จะเล่นแบบไทยๆ หรือระบบสากล             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)

   
search resources

การบินไทย, บมจ.
ฉัตรชัย บุญยะอนันต์
Aviation




เอ็นจอยปากกันหนาหูว่าเก้าอี้ผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายการตลาดของการบินไทยที่ ร.ต.ท. ฉัตรชัย บุณยอนันต์ รักษาการอยู่ควบคู่กับตำแหน่งรองผู้อำนวยการใหญ่ ควรที่จะถึงเวลาผลัดเปลี่ยนเสียทีหรือยัง ซ้ำร้ายยังมีข่าวลืออีกว่า เรื่องราวต่าง ๆ ในการบินไทยกลายเป็นเรื่องของขบวนการมาเฟียไปเสียแล้ว ลือเสียจน ปปป. เองก็ทนไม่ได้ที่จะต้องให้ความสนใจ

"ไม่ใช่เขาไม่มีการคัดเลือก คัดกันมาสองรอบแล้ว โดยเลือกทั้งจากคนภายนอกและภายใน แต่ยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้ ต้องไม่ลืมว่าเก้าอี้ฝ่ายการตลาดนั้นไม่แตกต่างอะไรไปกับไม้เท้าชี้เป็นชี้ตายให้การบินไทย ซึ่งพยายามที่จะพุ่งตัวเองให้เป็นสายการบินระดับโลก" แหล่งข่าวระดับสูงเผยกับ "ผู้จัดการ" ถึงเรื่องดังกล่าวและตอกย้ำอีกว่า "ยังไงก็ต้องมีการเปลี่ยนแน่ ๆ"

เป็นที่ยอมรับกันว่าความสำเร็จของการบินไทยที่ได้รับเลือกให้เป็นสายการบินดีเด่นของนานาชาติ ด้านหนึ่งเกิดขึ้นจากฝีมือการทำงานที่เต็มไปด้วยความช่ำชอง ลึกซึ้งถึงการตลาดอันแยบยลของสายการบินของ ร.ต.ท. ฉัตรชัย บุณยอนันต์ ที่รั้งเก้าอี้ตัวนี้มาหลายปี

"ฉัตรชัยเป็นคนมีฝีมือเขาเป็นคนไทยคนเดียวที่อาจกล่าวได้ว่ารู้เรื่องการบินอย่างทุกขุมขน" คนที่คลุกคลีในวงการพูดถึงฉัตรชัยให้ "ผู้จัดการ" ฟัง

และถ้าดูถึงเส้นทางชีวิตของเขาก่อนมาปักหลักกับเจ้าจำปีก็คงเป็นคำกล่าวอ้างที่ไม่เกินความจริงแต่อย่างใด ฉัตรชัยเป็นนักเรียนอังกฤษ หลังจบการศึกษาก็มาสมัครเข้าทำงานกับบริติช แอร์เวย์ โดยรับตำแหน่ง ผู้จัดการฝ่ายขายประจำเมืองไทย และระหว่างปฏิบัติงานอยู่นั้นทางสำนักงานในไทยได้ส่งเขากลับไปฝึกอบรมอย่างหนักหน่วงอีกครั้ง

โดยมุ่งหวังว่าเขานี่แหละจะเป็นคนไทยคนแรกที่เป็นผู้จัดการใหญ่!

ซึ่งพูดถึงการเรียนรู้ด้านการบินแล้วต้องซูฮกกันว่า มีแต่บริติช แอร์เวย์ กับยูไนเต็ด แอร์ไลน์ เท่านั้นที่ฝึกให้คนของเขาที่จะขึ้นเป็นผู้นำจำต้องรู้ในทุกๆ เรื่อง ๆ และต้องรู้ดีเป็นพิเศษ

ในจำนวนคนที่เข้าอบรมฉัตรชัยเป็นหนึ่งที่ไม่มากนักที่สามารถผ่านด่านอันยากเย็นแสนเข็ญนั้นมาได้

"แต่ชีวิตของเขาผกผันหน่อยตรงที่ว่า จู่ ๆ Head Office ก็ไม่ย่อมเปลี่ยนนโยบายที่จะให้คนไทยขึ้นเป็นผู้จัดการใหญ่ ฉัตรชัยเลยอกหัก" ผู้ใกล้ชิดเขากล่าวกับ "ผู้จัดการ"

ตะวันยามใกล้อัสดงนั้นทอแสงเรื่อไรงดงามยิ่งนัก ที่ก๊วนของพวกทำงานสายการบินซึ่งอยู่ที่ซอยพัฒนพงศ์ เย็นวันหนึ่งฉัตรชัยที่กำลังร้าวระบมก็ได้พบกับ นีลด์ รูล โฮมส์ มาร์เก็ตติ้ง ไดเรคเตอร์ของเจ้าจำปีในขณะนั้น (1967) นีลด์กำลังมองหาคนที่จะเข้าไปทำด้านการตลาดเมื่อเจอกับมือฉมังอย่างฉัตรชัยเขาจึงไม่รีรอที่จะชักชวน

ด้วยฝีไม้ลายมือที่มีมากับตัว และลูกเล่นที่นีลด์ช่วยสร้างสรรค์เพิ่มเติม ปรากฏว่าเส้นทางบินของฉัตรชัยในเจ้าจำปี แทบจะไม่เคยตกหลุมอากาศ เขาไต่เต้าจนมารับตำแหน่งควบคู่กันถึง 2 ตำแหน่งในปัจจุบัน

"คุณฉัตรชัยแกไม่หวงเก้าอี้ตัวที่ใคร ๆ ต้องการไว้หรอกผลงานและความดีที่สร้างชื่อให้มาตลอดนั้นตั้งแต่เข้ามาอยู่การบินไทย คิดหรือว่าแกจะยอมให้เสียไปเพราะเรื่องนี้" คนใกล้ชิดกล่าวกับ "ผู้จัดการ"

เป็นอันว่าเปลี่ยนน่ะเปลี่ยนแน่ แต่เมื่อฉัตรชัยจากไปใครเล่าจะเข้ามา

เสียงกล่าวกันก็ว่าจะมีการรักษาเก้าอี้ตัวนี้ไว้ระยะหนึ่งเพื่อสงวนสิทธิ์ให้กับคนของกลุ่มที่กุมอำนาจในการบินไทยปัจจุบันโตขึ้นมาให้ทันเสียก่อน

คนที่ได้รับการคาดหมายมากที่สุดก็คือ นเรศ หอวัฒนกุล ผู้อำนวยการภาคประจำประเทศไทยซึ่งมีอายุงานอาวุโสที่สุด และนเรศผู้นี้ก็เคยมีข่าวว่าครั้งหนึ่งเขาเคยได้รับการเสนอชื่อในระดับบอร์ดให้พิจารณาเพื่อแทนฉัตรชัยมาเมื่อ 2-3 ปีก่อน แต่เรื่องถูกเก็บเอาไว้

ว่ากันว่านเรศเป็นผู้ที่มีความสามารถทั้งในดด้านการตลาดและต่างประเทศพอตัว เคยรับตำแหน่ง ผจก. ฝ่ายขายประจำอังกฤษมาแล้ว แต่ถึงแม้นเรศจะเหมาะสมด้วยเหตุผลหลาย ๆ อย่างแต่เขาเป็นคนที่มีจุดอ่อนที่ว่า ไม่ค่อยจะหวือหวารวดเร็วนัก ทำงานแบบไปเรื่อย ๆ ซึ่งการบินไทยในยุคที่ต้องบินไปเผชิญหน้ากับนกเหล็กสายอื่น ๆ ทางบอร์ดเองเกรงว่าอาจเกิดปัญหาขึ้นได้ในอนาคต

อย่างไรก็ตามนเรศยังเป็นหนึ่งที่ถูกระบุว่าเขานั้นขึ้นมาได้

คนในเจ้าจำปีอีกคนที่ได้รับกะเก็งว่าอาจพุ่งแรงแซงโค้งขึ้นมาก็คือ ประเสริฐ ลิมปิวัฒนา ซึ่งเป็นคนที่ฉัตรชัยไปดึงมาจากบริติช แอร์เวย์ และประเสริฐก็เป็นคนไทยอีกคนหนึ่งที่ผ่านการฝึกอบรมมาเช่นเดียวกับฉัตรชัย เรียกได้ว่าฝีไม้ลายมือนั้นก็เหยียบเมฆคนหนึ่ง

ประเสริฐเข้าสู่เจ้าจำปีครั้งแรกในตำแหน่ง ผจก. ฝ่ายขายของบริษัทนำเที่ยวของการบินไทยจากนั้นก็ไต่เต้าจนปัจจุบันไปเป็น ผจก. ฝ่ายขายประเทศญี่ปุ่น สไตล์การทำงานของประเสริฐราวกับจะถอดพิมพ์ออกมาจากฉัตรชัยเลยทีเดียว ทั้งคู่เป็นคนที่เข้าสังคมเก่ง และมนุษย์สัมพันธ์ค่อนข้างสูง

ประเสริฐเป็นรองนเรศเพียงแค่อายุงานที่น้อยกว่าเท่านั้น!

แต่ถ้ามองถึงการขยายตัวที่จะบินผงาดฟ้าของเจ้าจำปีในอนาคต ชื่อของประเสริฐจึงไม่อาจที่จะทำหล่นตกหายไปได้ ...

ทว่าก็มีแรงผลักดันอีกปีกหนึ่งที่พยายามจะดึงคนนอกให้เข้ามารับตำแหน่ง และคนที่ได้รับการทาบทามเอาไว้ก็คือ วีรชัย วรรณนิกุล ซึ่งเคยเป็นมือดีของการบินไทยมาก่อน และเคยเป็นลูกพี่เก่าของ ธรรมนูญ หวั่งหลี คนใหญ่อีกคนหนึ่งของการบินไทยในปัจจุบัน

"วีรชัยนั้นถ้าเขาไม่ขัดแย้งกับสายอำนาจของการบินไทยในยุคนั้น ป่านนี้เขาคงไปไกลลิบแล้วเพราะคน ๆ นี้เป็นคนที่มีฝีมือมาก สมัยนั้นแกเป็นคู่รัก-คู่แค้นของ พล.อ.อ. กมล เตชะตุงคะ อดีต ผบ.ทอ. ที่เป็นประธานการบินไทย" แหล่งข่าวท่านหนึ่งเผยกับ "ผู้จัดการ"

วีรชัยปีกหักมาจากการบินไทย ก็โผเข้าสู่รังของแอร์สยาม ซึ่งเป็นคู่แข่งของการบินไทย ทันทีที่มาอยู่แอร์สยามวีรชัยก็เปิดศึกอัดการบินไทยด้วยการเปิดเที่ยวบินสายฮ่องกงทันทีด้วยการตั้งราคาขายแค่ 2,000 กว่าบาท ยุทธการหักปีกหรือแค้นที่ต้องชำระของวีรชัย ปรากฏว่าทำเอาการบินไทยเสียรังวัดไปไม่น้อย

สไตล์การทำงานของวีรชัยคนที่เคยร่วมงานกับเขาบอกว่า "แกยึดการรบแบบกองโจรเป็นหลัก รอดักจังหวะซุ่มโจมตี และเมื่อตีก็ตีไม่ยั้ง สมัยนั้นสามารถสร้างแอร์สยามจากที่ไม่มีใครรู้จักให้เป็นที่โด่งดังได้"

ผลงานรับประกันคุณภาพอีกเรื่องหนึ่งของวีรชัยก็คือ การได้รับแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษาของแอร์ลังกา ปลุกตลาดเอเชียของแอร์ลังกาให้ก้าวกระโดดได้อย่างฉับพลัน ทำเสียจนทางแอร์ลังกาหมดปัญญาที่จะจ่ายค่าคอมมิชชั่นให้ ปัจจุบันวีรชัยทำบริษัทที่ปรึกษาด้านการบินให้กับสายการบินต่าง ๆ หลายสาย

"แต่ผมว่าทางที่เสือจะคืนถิ่นของวีรชัยนั้นค่อนข้างจะลำบาก เพราะยังมีบางคนที่ไม่ชอบหน้าแกอยู่" แหล่งข่าวท่านหนึ่งกล่าว

ก็คงต้องติดตามดูกันต่อไปว่าจุดยุติของศึกนี้จะไปจบลงกับคนชื่อไหน

ที่กระอักกระอ่วนใจเอามาก ๆ เห็นจะเป็นบอร์ดของการบินไทยนั่นแหละ เพราะงานนี้ต้องเลือกเอาว่า เพื่ออนาคตของการบินไทยที่จะทะยานสู่การเป็น "จ้าวเวหา" หากต้องเลือกสรรกันแบบระบบสากล ก็จำเป็นเหลือเกินที่จะต้องหักหน้าใครบางคน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us