Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2528








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2528
เรื่องของหนูลองยา สามกรณีศึกษาว่าใครจะดีกว่ากัน             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย
โฮมเพจ กระทรวงการคลัง

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
กระทรวงการคลัง
Financing




สามกรณีศึกษาว่าใครจะดีกว่ากัน

จากวันนั้นจนถึงวันนี้ ถ้าจำแนกประเภทของกิจการที่ต้องล้มไปในแง่ของผลที่ติดตามมาก็คงจะแยกออกได้เป็น 3 ประเภท

ซึ่งก็เป็น 3 ประเภทที่ถูกกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทยใช้มาตรการต่างๆ กันออกไปในเรื่องการให้ความช่วยเหลือประชาชนผู้ถือตั๋วสัญญาใช้เงินหรือเจ้าหนี้รายใหญ่ของบริษัทที่ล้ม

ประเภทแรก ก็คือ เมื่อล้มแล้วธนาคารแห่งประเทศไทยรับเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินให้ ก็เริ่มกันมาตั้งแต่รายของกิจการของ "ตึกดำ" เป็นต้นมา จนถึงขณะนี้มีจำนวนที่จะต้องช่วยรับเปลี่ยนตั๋วให้มากกว่า 13 บริษัท เป็นเจ้าหนี้จำนวนหลายหมื่นและเป็นเงินหลายพันล้านบาท

ประเภทที่สอง ก็คือ บริษัทที่ถูกเจ้าหนี้ฟ้องร้องต่อศาล จนต้องถูกพิทักษ์ทรัพย์ และบรรดาผู้ถือตั๋วสัญญาใช้เงินก็ต้องรอให้มีการแบ่งทรัพย์สินต่อไป ก็มีหลายคนที่กำลังเฝ้าดูว่า ระหว่างทางที่หนึ่งกับทางที่สองนี้ทางไหนจะสามารถเรียกเงินกลับคืนมาได้มากกว่ากัน

กล่าวได้ว่า กรณีของบริษัทสยามเงินทุนที่ขณะนี้ถูกบังคับคดีเข้าพิทักษ์ทรัพย์นั้น จะเป็น "กรณี" ตัวอย่างเพื่อใช้เปรียบเทียบโดยเฉพาะ

"หลายคนก็คงต้องเฝ้าติดตามว่า มาตรการทางศาลนี้จะรวดเร็วแค่ไหนและจะได้เงินกลับมามากหรือน้อยเมื่อเทียบกับการเปลี่ยนตั๋วแล้วทยอยคืนต้นภายใน 10 ปี ตามมาตรการช่วยเหลือของธนาคารแห่งประเทศไทย" เจ้าหนี้ของบริษัทเงินทุนแห่งหนึ่งกล่าว

ส่วนประเภทที่สาม ซึ่งเพิ่งเกิดขึ้นสดๆ ร้อนๆ ก็คือ กรณีบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์เฟิร์สทรัสต์

เฟิร์สทรัสต์มีเหตุต้องล้มไปเพราะกฎหมาย ไม่ใช่ถูกทางการถอนใบอนุญาตเช่นบริษัทอื่นๆ ที่ผ่านมา

เรื่องมีอยู่ว่า บริษัทนี้ประสบการขาดทุนติดต่อกันหลายปี จนเงินกองทุนลดเหลืออยู่ในข่ายที่จะต้องส่งรายงานการฟื้นฟูกิจการมาให้ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาตามกฎหมาย (พระราชกำหนดที่ออกใหม่เมื่อปลายปี 2526)

รายงานที่ส่งไปนั้นไม่ได้รับความเห็นชอบ และเมื่ออุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ก็ให้ยืนตามความเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย

จึงเป็นอันว่า บริษัทต้องล้มไปโดยผลของกฎหมายและธนาคารแห่งประเทศไทยได้แต่งตั้งผู้ชำระบัญชีเพื่อจัดการกับหนี้สิ้นที่มีต่อไป

"เราเชื่อว่า ประชาชนว่าจะได้ประโยชน์มากกว่าการถูกปิดถอนใบอนุญาตแล้วทางการเปลี่ยนตั๋วให้ เพราะวิธีนั้นมันหมายความว่า บริษัทเกือบจะไม่มีอะไรเหลืออีกแล้ว แต่กรณีของเฟิร์สทรัสต์นี้ปิดไปเพราะผลแห่งกฎหมายจึงเป็นที่คาดหมายว่า เขาน่าจะมีอะไรเหลืออยู่มากกว่าพวกประเภทแรก" คนระดับผู้อำนวยการของธนาคารแห่งประเทศไทยระบุออกมา

อย่างไรก็ตาม เรื่องของหนูลองยาตัวนี้คงจะรู้ผลแน่ชัดอีกทีก็ตอนที่ได้มีการชำระบัญชีเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้วนั่นแหละ

ผู้ถือตั๋วจะได้เงินกลับมามากหรือน้อยกว่าวิธีเดิมๆ ที่ใช้กันก็คงจะได้รู้กันตอนนั้น

สำคัญก็แต่จะมีหนูลองยาตัวต่อไปไหมเอ่ย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us