กระแสเชี่ยวกรากของตลาดโทรศัพท์ เคลื่อนที่ ที่คาดกันว่าจะเพิ่มดีกรีการแข่งขันขึ้นเรื่อยๆ
จากการที่มีคู่แข่งหน้าใหม่เพิ่มขึ้น ทำให้บริการพีซีที จำเป็นต้องหันมาสร้างจุดขายใหม่ให้กับตัวเอง
ทั้งในแง่ของการนำเทคโน โลยีใหม่ๆ เข้ามา และการวาง concept ใหม่ของการให้บริการให้มีสีสันมากขึ้น
ถึงแม้จะประสบความสำเร็จอย่างดี ใน การที่สามารถสร้างจุดแตกต่างของการให้บริการด้วยการใช้เบอร์เดียวกับโทรศัพท์บ้าน
และราคาค่าบริการที่ถูกกว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ จนทำให้พีซีทีสามารถจับกลุ่มลูกค้าในระดับ
mass เช่น กลุ่มนักเรียน นักศึกษา แม่บ้าน
แต่การแข่งขันที่กำลังจะเริ่มขึ้นมา พร้อมๆ กับเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้น
ในอีกไม่นานนี้ จากผู้ให้บริการทั้งรายเก่าและ รายใหม่ที่จะเปิดตัวด้วยเทคโนโลยีใหม่
ที่สามารถให้บริการได้ทั้งเสียงและข้อมูลได้ในเวลาเดียวกัน
ด้วยเหตุนี้เอง บริษัทเอเซีย ไวร์เลส คอม มิวนิเคชั่น จำกัด (AWM) ผู้ให้บริการโทรศัพท์พีซีที
จำเป็นต้องวางตัวเองให้เครื่องมือในการสื่อสาร (communication tools) ที่จะสามารถใช้งานได้ทั้งเสียง
และข้อมูล ซึ่งก็เป็นแนวโน้มที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลก
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรักษาฐานลูกค้า เก่าในมือที่มีอยู่ประมาณ 400,000
ราย พีซีทีจึง จำต้องหาลูกเล่นของบริการใหม่ๆ ที่จะมาตอบ สนองความต้องการของลูกค้า
ให้ทันกับพัฒนา การของโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่กำลังมุ่งเน้นไปในเรื่องของการสื่อสารด้านข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต
ด้วยการนำ wap เทคโนโลยีเข้ามาให้บริการ ถึงแม้ว่าตัวเลขของผู้ใช้บริการเหล่านี้
จะมีไม่มากก็ตาม และผู้บริหารของพีซีทีเองก็ประเมิน ว่า จะมีลูกค้าอยู่เพียงแค่
5% ของผู้ใช้ทั้งหมด แต่พีซีทีก็จำเป็นที่จะทำตัวไม่ให้ตกกระแส อย่างไรก็ตาม
AWM ไม่อาจละเลยการมีโครงสร้างพื้นฐานที่สมบูรณ์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ของการมีกิจกรรมการตลาดพื้นฐานอย่างต่อเนื่อง
เพื่อดึงดูดลูกค้าเก่า เช่น โครงการพีซีทีแฟนคลับ หรือ member plus ที่ให้สิทธิประโยชน์ในเรื่องของส่วนลดของร้านอาหาร
สถานที่ท่องเที่ยว หรือการให้ชมภาพยนตร์ฟรี เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่เป็น
กลุ่มเด็กวัยรุ่น และแม่บ้าน รวมถึงการเพิ่มเติมสถานีฐาน (cellsite) เพื่อให้โครงข่ายรองรับกับลูกค้ามากขึ้น
จาก เดิมที่มีอยู่ 3,000 กว่าแห่ง AWM จะเพิ่มสถานีฐานตามอาคารสำนักงานประมาณ
300 แห่ง ควบคู่ไปกับการติดตั้งสถานีส่งสัญญาณที่มีความแรงกว่าเดิม High
gain antenna ในบริเวณรอบนอกของกรุงเทพฯ เพื่อให้สัญญาณการให้บริการครอบคลุมพื้นที่
1,500 ตารางเมตร
นอกจากนี้ โครงข่ายของพีซีทีที่สื่อสารด้วยความเร็ว 32K ในแถบบริเวณย่านธุรกิจ
เช่น สีลม สุรวงศ์ จะถูกปรับเปลี่ยนให้มีความ เร็วเพิ่มเป็น 64K เพื่อรองรับการใช้งานในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
อติรุฒม์ โตทวีแสนสุข กรรมการผู้จัด การ บริษัทเอเซีย ไวร์เลส คอมมิวนิเคชั่น
จำกัด หรือ AWM ยอมรับว่า ความต้องการใช้งานสื่อสารข้อมูลยังมีไม่มากนัก
แต่เป็นสิ่งที่ต้องลงทุน "บริการสื่อสารข้อมูลความเร็วสูงมีแค่ 5-6% เท่านั้น
ฉะนั้น ถามว่ามีคนใช้มากแค่ไหน ยังไม่เยอะ แต่ทำให้โครงข่ายให้มีคุณภาพสูง
เพื่อรองรับความต้องการหากจะมีขึ้นมากในอนาคต"
เม็ดเงินจำนวน 2,000 ล้านบาท คือ งบประมาณที่คาดว่าจะถูกใช้ในการปรับปรุงโครงข่าย
เพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่ 4,200 ตารางเมตร ซึ่งจะขยายในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป
ที่ แล้วมา AWM ใช้เงินลงทุนในการวางเครือข่าย ไปแล้ว 18,000 ล้านบาท คาดว่าจะใช้เงินลงทุน
ทั้งโครงการ 35,000 ล้านบาท
ผลที่ตามมาจากการปรับปรุงเครือข่าย ก็คือ การทำให้รูปแบบการใช้งานจะถูกเปลี่ยน
จากการใช้ในเรื่องของการพูด จะเปลี่ยนไปใช้เพื่อความบันเทิงมากขึ้น เช่น
การดาวน์โหลดเพลง หรือการส่งภาพในรูปแบบของวิดีโอ สคริปท์ หรือแม้แต่การดาวน์โหลดภาพยนตร์
ที่จะมาพร้อมกับเครื่องลูกข่ายรุ่นใหม่ๆ ที่มีคุณสมบัติรองรับกับการใช้งานในเรื่องเหล่านี้มากขึ้น
เครื่องลูกข่ายรุ่นใหม่ๆ ที่มีคุณสมบัติสำหรับการใช้งานสื่อสารข้อมูลในความเร็วสูงขึ้น
และมีหน้าจอที่กว้างใหญ่ขึ้น มีกล้องบรรจุในตัว จะถูกนำเข้ามาทำตลาด เพื่อให้สัมพันธ์
กับเครือข่ายที่จะถูกเพิ่มความเร็วให้เป็น 64K
ปัจจุบัน การวางตลาดของเครื่องลูกข่าย พีซีทีจะถูกแบ่งออกเป็น 3 ตระกูล
คือ X ซีรีส์ ที่เป็นเครื่องลูกข่ายที่มีความเร็วไม่มากเพียงแค่ 16K ส่วนตระกูล
H ย่อมาจาก High speed จะมีความเร็วในการส่งข้อมูลเพิ่มขึ้นเป็น 32K และ
ตระกูล I (image) สามารถส่งสัญญาณด้วย ภาพ ความเร็วในการส่งข้อมูลจะเพิ่มมากถึง
64K
อติรุฒม์ยืนยันว่า สิ่งที่ผู้ใช้บริการพีซีทีจะได้พบในปีนี้ ก็คือ เครื่องลูกข่ายของพีซีทีที่
จะสามารถรองรับการสื่อสารได้ทั้งข้อมูล ภาพ และเสียงในเวลาเดียวกัน เครื่องเหล่านี้จะสามารถใช้เป็นกล้องถ่ายรูป
ส่งข้อมูลในลักษณะของภาพที่จะถูกนำเข้ามาวางตลาดในเดือนกุมภาพันธ์นี้
นอกเหนือจากการที่เครื่องพีซีทีจะมี คุณสมบัติที่จะกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารในการเชื่อมต่อเข้าสู่โลกของอินเทอร์เน็ตได้ด้วยตัวเองแล้ว
สิ่งที่พวกเขาทำคู่กันไปก็คือ การทำ ให้พีซีทีทำหน้าที่เป็นตัวกลาง หรือ
communi- cation tool ที่จะทำให้อุปกรณ์อื่นๆ เช่น เครื่อง ปาล์มสามารถที่จะเข้าสู่โลกของอินเทอร์เน็ต
โดยเชื่อมต่อกับเครื่องพีซีที
สิ่งที่ขาดไม่ได้เลยสำหรับบริการในลักษณะนี้ ก็คือ เนื้อหา (content) ที่จะเป็นหัวใจของความสำเร็จที่จะดึงดูดผู้ใช้บริการ
ความสำเร็จของ i-mode ก็มาจากการที่มี content provider จำนวนมาก และเป็น
content ที่ถูกสร้างขึ้นมาสำหรับผู้ใช้บริการ i-mode โดยเฉพาะ เว็บไซต์ pctphone.com
จะถูกพัฒนาให้เป็น portal site เพื่อให้ผู้ใช้พีซีทีสามารถเรียก ดูข้อมูลผ่านทางอินเทอร์เน็ต
ส่วนผู้ที่ใช้บริการ พรีเมลดีลักส์จะสามารถเข้าสู่โลกของอินเทอร์เน็ต โดยผ่านเว็บไซต์ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาสำหรับ
บริการนี้โดยเฉพาะ pctphone.com/premail-delux เช่นเดียวกับผู้ใช้เครื่องปาล์มที่ใช้พีซีทีในการเข้าสู่โลกของอินเทอร์เน็ต
จะเรียกดูข้อมูลได้ที่ pctphone.com/palm
แต่สิ่งที่ AWM ทำได้ในเวลานี้ ก็คือ การ ร่วมมือกับเจ้าของเว็บไซต์ 5
ราย ในการพัฒนา content ให้สามารถใช้รองรับกับผู้ใช้พีซีที ที่จะมีมาตรฐานของ
protocal ที่แตกต่างไปจากเว็บไซต์ และโทรศัพท์มือถือ ซึ่งเว็บไซต์เหล่านี้
ก็จะพัฒนาเนื้อหาให้รองรับกับ platform ที่หลาก หลายอยู่แล้ว ดังนั้น เนื้อหาที่ผู้ใช้บริการพีซีทีจะเรียกดูไม่มีความแตกต่างไปจากการเรียกดู
จากเครื่องพีซี หรือจากโมบายอินเทอร์เน็ต
การสร้างจุดแตกต่างของพีซีที ก็คือ การ ใช้ประโยชน์จากเครือข่ายธุรกิจที่มีอยู่มาช่วย
เว็บไซต์ของเทเลคอมเอเซีย ที่ใช้ชื่อว่า telecom asia.co.th ที่กำลังพัฒนา
สำหรับบริการด้านอี-คอมเมิร์ซ มีบริการเปย์เมนต์เกตเวย์ ที่จะถูกเชื่อมโยงผ่านจาก
pctphone.com ที่ให้สำหรับ ลูกค้าพีซีที จะมีเนื้อหา และบริการเฉพาะตัวที่แตกต่างกันไป
"ผู้ใช้พีซีที จะสามารถเข้าไปทำการซื้อสินค้าจากเว็บไซต์ของเทเลคอมเอเซีย
เพื่อลิงค์ ต่อไปยังเว็บไซต์ของเซเว่นอีเลฟเว่น ในการสั่งซื้อสินค้า โดยใช้เปย์เมนต์เกตเวย์ที่เทเลคอมเอเซีย
ทำอยู่ นี่คือตัวอย่างที่จะเกิดขึ้น"
อติรุฒม์ยอมรับว่า ในระยะยาวแล้ว พวกเขาจำเป็นต้องพัฒนาบริการ และ content
เฉพาะตัวของพีซีทีขึ้นเอง ไม่ว่าจะเป็นการให้ผู้ใช้สามารถ download เพลง
โน้ตดนตรี หรือ ภาพจากอินเทอร์เน็ต
ถึงแม้ว่า บริการพีซีทีในไทยจะยังไปไม่ ถึงขั้นที่บริการ i-mode ของเอ็นทีทีโดโคโม
ให้บริการอยู่ในญี่ปุ่นจนเป็นที่นิยมของชาวญี่ปุ่นในเวลานี้ และกำลังก้าวไปไกลเกือบจะถึง
3G แล้วก็ตาม แต่พีซีทีจำเป็นต้องไม่ให้ตก กระแส
งานนี้ AWM จึงเตรียมที่จะไปจับมือกับบริษัท KDDI ผู้ให้บริการโทรศัพท์ไร้สายระบบพีเอชเอส
อันดับ 2 ของญี่ปุ่น เพื่อนำเทคโนโลยีของบริการพรีเมลดีลักส์มาให้บริการ
กับพีซีทีในไทย
ปัจจุบันโครงข่ายพีซีทีพัฒนามาจากมาตรฐานพีเอชเอส (PHS) ของประเทศญี่ปุ่น
เป็นมาตรฐานที่ผู้ให้บริการทุกรายให้บริการอยู่ ไม่ว่าจะเป็นค่ายเอ็นทีทีโดโคโม
หรือการนำเอาบริการพรีเมลดีลักส์มาให้บริการ จึงเป็นการ พัฒนาโครงข่ายเดิมให้มีขีดความสามารถในการ
ให้บริการมากขึ้น
บริการพรีเมลดีลักส์ มีรูปแบบที่คล้าย กับบริการ i-mode ของเอ็นทีทีโดโคโม
คือสามารถเข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ตลอดเวลา แต่มีผู้ใช้บริการน้อยกว่า
คือ มีอยู่ 3 ล้านราย ในขณะที่บริการ i-mode มีอยู่ถึง 7 ล้านราย การเลือกเอาบริษัท
KDDI ผู้ให้บริการอันดับ 2 ของญี่ปุ่นเป็นพันธมิตร อดิศักดิ์ ประสงค์ทรัพย์
รองประธานกรรมการอาวุโส ฝ่ายพัฒนากลยุทธ์ และระบบเครือข่าย บริษัท AWM บอกว่า
เนื่องมาจาก KDDI มีนโยบายขยายการ ลงทุนในต่างประเทศอยู่แล้ว เช่น ในจีน
และไต้หวัน ดังนั้น content ที่ KDDI พัฒนาจะเป็นภาษาอังกฤษ สามารถนำมาให้บริการกับลูกค้า
ของพีซีทีได้ รวมถึงการที่จะทำเป็นอินเตอร์เนชั่นแนลโรมมิ่ง เพื่อให้ลูกค้าพีซีทีสามารถนำ
ไปใช้ในประเทศญี่ปุ่น โดยใช้โครงข่ายพีเอช เอสของบริษัท KDDI และลูกค้าที่ใช้บริการพีเอชเอสในญี่ปุ่นจะสามารถนำมาใช้บริการในไทย
"เราต้องเตรียมพร้อมกับการแข่งขัน และแข่งเรื่องเทคโนโลยี ซึ่งผู้ให้บริการใหม่ๆ
เขาจะให้บริการด้วยเทคโนโลยีใหม่ ๆ"
และนี่ก็เป็นอีกก้าวหนึ่งของบริการพีซีที กับการไปสู่ "super pct" ที่ศุภชัย
เจียรวนนท์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัทเทเลคอมเอเซีย คอร์ปอเรชั่น เคยกล่าวเอาไว้
กับอนาคตของพีซีที ที่จะต้องถูกพัฒนาขึ้น เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์การใช้ประโยชน์ร่วมกันระหว่างบริการสื่อสารโทรคมนาคมที่มีอยู่ในมือ
และเป็นส่วนหนึ่งของการเตรียมพร้อมกับการแข่งขันที่กำลังเริ่มต้น