Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา เมษายน 2554
อินเทอร์เน็ต: การปฏิวัติอุตสาหกรรมสมัยใหม่จริงหรือ?             
โดย ธวัชชัย อนุพงศ์อนันต์
 


   
search resources

Networking and Internet




เคยคิดไหมครับว่า เศรษฐกิจอเมริกันน่าจะพุ่งกระฉูดแบบวิ่งไล่ตามกันไม่ทัน จากการที่ประเทศสหรัฐอเมริกาดูเหมือนจะเป็นผู้นำในทุกๆ เรื่อง โดยเฉพาะการสร้างนวัตกรรมทางธุรกิจหลายต่อหลายอย่าง ที่สำคัญที่สุดก็คือ การถือกำเนิดของอินเทอร์เน็ต ที่ได้เปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิต, การทำธุรกิจ และการติดต่อสื่อสารของคนทั่วโลกไปแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน นำไปสู่การสร้างระบบเศรษฐกิจใหม่ (New Economy)

เมื่อการณ์เป็นเช่นนั้นก็น่าจะทำให้เราไม่ต้องคิดมากมายว่า เศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกาน่าจะล้ำหน้าประเทศ อื่นๆ ไปแบบไม่เห็นฝุ่น อย่างไรก็ตาม วิกฤติเศรษฐกิจในปี 2008 ของประเทศสหรัฐอเมริกากลับทำให้เราเห็นว่า เศรษฐกิจ ของประเทศสหรัฐอเมริกาไม่ได้ดีอย่างที่คิด ออกจะแย่กว่าเราเสียด้วยซ้ำถ้ามองในแง่หนี้สินต่อจีดีพี หรือตัวเลขทางเศรษฐกิจอีกหลายๆ ตัว นักเศรษฐศาสตร์ได้ศึกษาการเติบโตของเศรษฐกิจอเมริกันพบว่า แม้จะมีอินเทอร์เน็ตมาฉุดเศรษฐกิจอเมริกาแล้วก็ตาม แต่เศรษฐกิจของอเมริกาก็ไม่ได้ เติบโตมากมายอย่างที่พวกเขาคาดว่าจะเป็น คุณสงสัยเหมือนกันไหมครับว่าทำไม

Tyler Cowen อธิบายไว้ในหนังสือ The Great Stagnation ถึงเหตุผลที่ว่า ทำไมค่าเฉลี่ยค่าแรงของคนอเมริกันถึงเติบโตอย่างเชื่องช้านับจากทศวรรษ 1970 เป็นต้นมา และกลับลดลงเสียด้วยซ้ำในช่วง ทศวรรษที่ผ่านมา Cowen ชี้ให้เห็นว่า นี่เป็นปัญหาของนวัตกรรมโดยแท้ โดยตลอด ช่วงทศวรรษ 1970 ประเทศสหรัฐอเมริกา เต็มไปด้วยเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมดาดๆ ที่มากระตุ้น GDP แต่ในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา หรือหลังทศวรรษ 1970 ล้วนเป็นช่วงของ การถือกำเนิดของนวัตกรรมที่ส่งผลต่อการ เปลี่ยนแปลงของชีวิต ไม่ว่าจะเป็นยาเพนนิซิลิน, การศึกษาฟรีสำหรับระดับอนุบาล, ห้องน้ำ, เครื่องบิน หรือรถยนต์ แต่ก็ล้วนพิสูจน์ได้ยากว่ามีผลในการฉุดการเติบโตทางเศรษฐกิจในประเทศอุตสาหกรรมได้หรือไม่

อย่างไรก็ดี ในช่วงทศวรรษ 1970 ที่ผ่านมา ธุรกิจของประเทศสหรัฐอเมริกาได้ ผลิตเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์ที่มหัศจรรย์ และส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของชีวิตคนเรา ไม่ว่าจะเป็นเครื่องคิดเลขแบบกราฟิก, ระบบประมวลผลข้อมูล (Data-processing systems), ระบบการเงินที่ทันสมัย, อุปกรณ์ติดตามตัว (GPS), ชิปซิลิกอน, เครื่องเอทีเอ็ม, โทรศัพท์มือถือ และนวัตกรรมอื่นๆ อีกมากมาย สำหรับอินเทอร์เน็ตที่ถือว่าเป็น การปฏิวัติทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสารที่มากที่สุดนับตั้งแต่กูเทนเบิร์ก (Gutenberg) ผลิตเครื่องพิมพ์เครื่องแรกของโลกขึ้นมานั้นกลับไม่ได้ส่งผลต่อการเติบโตของจีดีพีของประเทศสหรัฐอเมริกาเลย หรือคำตอบ ก็คือ เหล่านักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ก็เชื่อว่าการถือกำเนิดของอินเทอร์เน็ตมีผลต่อการเติบโตของจีดีพีอย่างแน่นอน แต่ผลที่ได้นั้นกลับไม่มากมายอย่างที่พวกเขาคาดหวังกัน

ย้อนกลับไปเมื่อ 25 ปีที่ผ่านมา การถือกำเนิดของคอมพิวเตอร์ที่น่าจะมาเขย่าการเติบโตของการใช้งานในบ้านและธุรกิจของคนอเมริกัน ซึ่งเหล่านักเศรษฐ-ศาสตร์ก็ให้ความสนใจและคาดหวังว่าคอมพิวเตอร์น่าจะกลายมาเป็นพลังขับดันการเติบโตของเศรษฐกิจได้ทุกหัวระแหง แต่สัญญาณการเติบโตของผลิตผล (Productivity) ที่มาหนุนเนื่องการเติบโต กลับมีเพียงเล็กน้อย

แน่นอนว่า คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงความเป็นไป ของธุรกิจจำนวนมากรวมถึงอุตสาหกรรมต่างๆ หลากหลายอุตสาหกรรม แต่สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นกลับเดินไปในทางเดียวกัน โดยอัตราการเติบโตของจีดีพีก็ไม่ได้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เช่นเดียวกับผลิตผลด้วยเช่นเดียวกัน ในปี 1987 Robert Solow ได้เคยกล่าวเอาไว้ว่า “คุณอาจจะเห็นความ เป็นยุคสมัยของคอมพิวเตอร์ผุดขึ้นอยู่ทั่วๆ ไปรอบๆ ตัวคุณ ยกเว้นก็แต่สถิติของผลิต ผลเท่านั้นที่มองไม่เห็นการเปลี่ยนแปลง”

จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ ก็มีการ พยายามนำเอาทฤษฎีต่างๆ มาอธิบายสภาพการณ์ที่เกิดขึ้น โดยมีคำเรียกเฉพาะสำหรับสถานการณ์นี้คือ Productivity Paradox โดยเป็นสถานการณ์ที่ว่า เทคโน โลยีใหม่ๆ ได้ทำให้บริษัทและอุตสาหกรรม บางส่วนเกิดความได้เปรียบในการแข่งขันขึ้น แต่กลับไปส่งผลต่อบางบริษัทหรือบางอุตสาหกรรมให้ความได้เปรียบของพวกเขาลดลง นั่นทำให้หักลบแล้วการนำเอาเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้จึงมีผลโดยรวมทำให้เศรษฐกิจกระเตื้องขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

ยกตัวอย่างเช่น การนำเอาคอมพิว เตอร์มาใช้งานในบริษัทหรืออุตสาหกรรมนั้น ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ที่สามารถเอามันมา ทดแทนแรงงานทั้งหมดได้ นั่นคือ คอม พิวเตอร์ไม่สามารถมาแทนแรงงานคนได้ทั้งหมด เพราะงานบางอย่างอาจจะต้องใช้ความสามารถเฉพาะตัวที่เทคโนโลยีปัจจุบันยังไม่สามารถทำให้คอมพิวเตอร์มาทำงานแทนแรงงานคนได้

อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์ก็ตั้งคำถามว่า จริงๆ แล้วมันอาจจะต้องใช้เวลาสักระยะหนึ่งหรืออาจจะนานพอสมควรหรือเปล่า กว่าที่การนำเอานวัตกรรม ใหม่มาใช้จะสามารถทำให้เกิดผลิดอกออก ผลมาให้เห็นกันได้ ในอดีตนั้นมีหลักฐานที่ชัดเจนว่า ไอทีหรือเทคโนโลยีสารสนเทศมีแนวโน้มที่จะต้องการระยะเวลาฟักไข่พอสมควรกว่าที่จะส่งผลให้เห็นถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นได้ อย่างกรณีเครื่อง พิมพ์ของกูเทนเบิร์ก แม้ว่าเทคโนโลยีเครื่อง พิมพ์จะเข้าไปถอนรากถอนโคนเปลี่ยน แปลงวิธีการบันทึกและการส่งข่าวสารและข้อมูลต่างๆ แต่นักเศรษฐศาสตร์ก็ไม่สามารถหาหลักฐานที่เป็นชิ้นเป็นอันได้ว่า เทคโนโลยีเครื่องพิมพ์นี้ได้ทำให้รายได้ต่อหัวของประชากรหรืออัตราการเติบโตของจีดีพีเพิ่มขึ้นมากน้อยแค่ไหนในช่วงศตวรรษ ที่ 15 ถึง 16

ประเด็นหนึ่งที่นักเศรษฐศาสตร์มองเกี่ยวกับยุคทองของอินเทอร์เน็ตที่มาถึงประมาณช่วงปลายทศวรรษ 1990 ก็คือ ระหว่างปี 1995-1999 อัตราการเติบโตของ ผลิตผลได้เติบโตแซงหน้าช่วงเศรษฐกิจบูม ในช่วงปี 1913-1972 ไปแล้ว ซึ่งอธิบายได้ว่า อินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ได้นำมาซึ่งการสร้างเศรษฐกิจใหม่ (New Economy) ขึ้นมา อย่างไรก็ดี ช่วงของการ เติบโตแบบก้าวกระโดดนั้นกลับผ่านไปอย่าง รวดเร็ว และจากงานวิจัยบางฉบับก็พบว่า การเติบโตในช่วงปีดังกล่าวนั้นกลับไม่ชัดเจนหรือไม่กว้างขวางเท่าที่คาดคิดไว้ อย่างงานของ Robert Gordon ซึ่งเป็นศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยนอร์ทเวสเทิร์นก็พบว่า เทคโนโลยี คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่มีผลต่อการกระตุ้นผลิตผลของการผลิตในกลุ่มสินค้าทนทาน ซึ่งเป็นกลุ่มสินค้าพวกคอมพิวเตอร์และเซมิคอนดักเตอร์ สรุปคือ เราสามารถกล่าวได้ว่า คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตไม่สามารถนับว่าเป็นประดิษฐ-กรรมที่ยิ่งใหญ่ของช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ต่อเนื่องถึงต้นศตวรรษที่ 20 ได้ มิพักต้องพูดถึงการเป็นประดิษฐกรรมที่จะมาปฏิวัติอุตสาหกรรมยุคใหม่

นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยอีกหลายๆ งานที่วิเคราะห์ออกมาว่า อินเทอร์เน็ตไม่ได้เป็นการมาปฏิวัติเปลี่ยนแปลงชีวิตของพวกเราอย่างที่หลายๆ คนคิด อินเทอร์เน็ต ไม่ได้เป็นเหมือนการปฏิวัติการเกษตรหรือการปฏิวัติอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นมาช่วงหลาย ร้อยหลายพันปีที่ผ่านมา แน่นอนว่า พวกเรา ล้วนได้รับความเพลิดเพลินใจจากการถือกำเนิดของอินเทอร์เน็ต คุณภาพชีวิตของหลายคนก็มีแนวโน้มที่จะได้รับการพัฒนาขึ้น ที่สำคัญอินเทอร์เน็ตได้มาเปลี่ยนแปลง วิธีการค้นหา, การซื้อ และการขายสินค้าและบริการ แต่สิ่งเหล่านี้ก็ไม่ได้หมายถึง ว่ามันได้เปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจแบบที่ถนนหนทางเคยสร้างให้เกิดขึ้น

เรากล่าวได้ว่า อินเทอร์เน็ตและคอมพิวเตอร์ได้มีส่วนในการลดต้นทุนให้เหลือศูนย์หรือให้ต่ำที่สุด และมีศักยภาพที่จะลดความต้องการใช้แรงงาน เหมือนที่เราสามารถอ่านบทความนี้ฟรีได้บนเว็บ โดย ที่เว็บไซต์ไม่จำเป็นต้องอาศัยเงินสนับสนุน จากการรับสมัครสมาชิก แต่อยู่ได้ด้วยโฆษณาบนเว็บแทน นอกจากนี้เราสามารถ อ่านข่าวออนไลน์ต่างๆ ได้ฟรี เพราะราคา ค่าสมาชิกที่ลดต่ำจนเหลือศูนย์ แต่การแข่งขันโฆษณาบนเว็บกลับเป็นไปอย่างดุเดือด นอกจากนี้เทคโนโลยีที่พึ่งพิงเว็บและ คอมพิวเตอร์ก็ล้วนไม่ได้ต้องการแรงงานมากมาย โดยสำนักงานสถิติแรงงานของสหรัฐอเมริกาคาดการณ์ว่า การจ้างงานในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศจะมีแนวโน้มลดลงในปี 2018 เมื่อเทียบกับการ จ้างงานในอุตสาหกรรมนี้ในปี 1998

นั่นหมายความว่า อินเทอร์เน็ตไม่ได้สร้างความเติบโตทางเศรษฐกิจในรูปตัวเงินอย่างที่เราคิดๆ กัน เมื่อเทียบกับการเปลี่ยนแปลงการเติบโตด้านเทคโนโลยีที่ผ่านมาที่มีผลต่อการเติบโตของรายได้ตลอด ทั่วระบบเศรษฐกิจ โดยเมื่อมองถึงเว็บแล้ว ข้อสมมุติฐานในลักษณะเดียวกันกลับไม่เกิดขึ้น ธุรกิจที่เคยมีรายได้มหาศาล กลับเติบโตอย่างเชื่องช้า แต่ธุรกิจเล็กๆ กลับได้ผลประโยชน์มากมายจากอินเทอร์เน็ตและคอมพิวเตอร์

แต่เราก็ไม่สามารถเอาเรื่องรายได้มาอธิบายทุกอย่างได้หมด สภาพการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ นำไปสู่ข้อสรุปที่ว่า บางทีอาจจะไม่ใช่เรื่องของการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ไม่ดี แต่เป็นเรื่องของวิธีการวัดการเติบโตมากกว่า ยกตัวอย่างเช่น ในอุตสาหกรรมเพลง เมื่อพิจารณาเรื่องรายได้และจีดีพี ถ้าเราทุกคนหยุดซื้อซีดีเพลง นั่นย่อมทำให้อุตสาห-กรรมเพลงหยุดชะงัก แต่พวกเราก็ไม่ได้ฟังเพลงน้อยลง แต่อีกนัยหนึ่ง เรากลับฟังเพลงมากขึ้นๆ นั่นคือ การมีตัวเลือกให้บริโภคมากขึ้นๆ ถือว่ามีความหมายมากกว่า แม้ว่ามันจะไม่สามารถแสดงออกมาในรูปตัวเลขที่เราอยากจะเห็นก็ตาม นั่นคือ ถ้าเอาเรื่องจีดีพีเป็นหลักในการคำนวณ อุตสาหกรรมดนตรีอาจจะแทบสูญสลายไป แต่ในความเป็นจริงเพลงซึ่งเป็นประเด็นหลักยังอยู่ เพลงไม่ได้สูญหายไปไหน ซึ่งกล่าวได้ว่า ถ้าเรามัวแต่สนใจเรื่องตัวเลขเงิน เราจะละเลยสิ่งที่ผู้บริโภคจริงๆ บริโภคอยู่

ดังนั้น สิ่งที่นักเศรษฐศาสตร์ทำคือ การหาส่วนเกินผู้บริโภค (consumer surpluses) ซึ่งจะเป็นตัววัดมูลค่าที่ผู้บริโภค ต้องการจะจ่ายให้กับสินค้าหรือบริการนั้นๆ ลบด้วยจำนวนเงินที่จ่ายไปจริงๆ นั่นคือสิ่งที่พอจะนำมาใช้ในการคำนวณว่าอินเทอร์ เน็ตให้อะไรกับระบบเศรษฐกิจจริงๆ บ้าง

การที่อินเทอร์เน็ตจะเป็นการปฏิวัติความเป็นไปของมวลมนุษยชาติในลักษณ์เดียวกับการปฏิวัติอุตสาหกรรมจึงยังคงเป็นที่ถกเถียง และคงจะต้องถกเถียงกันไปอีกนานพอสมควร

อ่านเพิ่มเติม:
1. Cowen, T. (2011), “The Great Stagnation: How America Ate All The Low-Hanging Fruit of Modern History,Got Sick, and Will (Eventually) Feel Better, A Penguin eSpecial from Dutton.
2. Lowrey, A. (2011), “Freak, Geeks, and GDP,” March 8, 2011, http:// www.slate.com/id/2287531/
3. Gordon, R. J. (2000), Does the New Economy measure up to the great inventions of the past?, NBER Working Paper Series, Working Paper 7833, http://www.nber.org/papers/w7833   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us