|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ในเดือนตุลาคมนี้ธนาคารสาขานครหลวงไทยจะไม่เหลือร่องรอยให้เห็นอีกต่อไป เพราะสาขาทุกแห่งต้องปรับเป็นสาขาของธนาคารธนชาต
หลังจากธนาคารธนชาตได้ซื้อกิจการนครหลวงไทย ตลอดกว่าปีที่ผ่านมามีการปรับปรุงองค์กรหลายประการและหนึ่งในนั้นก็คือการปรับโฉมใหม่ของนครหลวงไทยไปเป็นสาขาของธนชาต เปลี่ยนจากสัญลักษณ์ที่เคยใช้สีแดงไปเป็นสีส้ม
นพดล เรืองจินดา รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) บอกกับผู้จัดการ 360 ํ ถึงแผนการปรับปรุงสาขาว่า ภายในเดือนตุลาคมนี้สาขาทั้งหมด 678 แห่งทั่วประเทศที่เป็นของนครหลวงไทยบางส่วนจะปรับโฉมใหม่เป็นสาขาของธนชาตทั้งหมด
แผนการปรับปรุงสาขาเขาได้แจ้งกับผู้บริหารประจำสาขาและพนักงานกว่า 8,000-10,000 มาอย่างต่อเนื่อง โดยผ่านการสื่อสารหลากหลายประเภท เช่น อีเมล เอกสาร และรายงานผ่านรายการธนชาตทีวีแชนแนล
โฉมใหม่ของธนาคารเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการปรับปรุงสาขา เพราะระยะที่ผ่านมาธนาคารได้ปรับระบบการทำงานของนครหลวงไทยให้เหมือนกับธนาคารธนชาต โดยเฉพาะหน่วยงานที่ทำหน้าที่ดูแลสาขา นครหลวงไทยจะเรียกว่า “เขต” ในขณะที่ธนชาต เรียกว่า “ฮับ” และธนาคารจะเปลี่ยนจาก “เขต” ให้กลายเป็น “ฮับ” ทั้งหมด
ธนาคารจะมีฮับกระจายอยู่ทั่วประเทศทั้งหมดมี 22 แห่ง มีซีอีโอทำหน้าที่ดูแลสาขา เพราะฮับ 1 แห่งจะดูแลสาขาตั้งแต่ 15-50 แห่ง และในแต่ละฮับจะมีหัวหน้าหลายฝ่าย เช่น หัวหน้าดูแลฝ่ายขาย หัวหน้าดูแลสาขา
สาขาของธนชาตและนครหลวงไทยพื้นที่ตั้งส่วนใหญ่จะไม่ได้อยู่ใกล้กัน เพราะสาขาธนชาตส่วนใหญ่อยู่ในห้างสรรพสินค้า ในขณะที่นครหลวงไทยตั้งอยู่ด้านนอก จึงกลายเป็นการเติมเต็มพื้นที่หายไป แต่ก็มีพื้นที่บางแห่งที่สาขาตั้งอยู่ใกล้เคียงกัน
สมเจตน์ หมู่ศิริเลศ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการธนาคารธนชาต ได้ให้ความเห็นเรื่องนี้ว่า กรณีสาขาทั้ง 2 แห่งตั้งอยู่ใกล้เคียงกัน แต่อยู่ในย่านชุมชนอย่างเช่น เยาวราช ธนาคารก็จะเปิดทั้งสองแห่ง เพราะมองเห็นเป็นโอกาสมากกว่าการทับซ้อน เหมือนกับร้าน 7-11 อยู่ตรงข้ามกัน หรือไม่ห่างกันมากนัก สินค้าก็ยังขายดี
ที่ผ่านมาบริการหลักของสาขาธนชาตจะรับฝาก-ถอน ให้บริการบัตรเครดิต ในขณะที่บริการสินเชื่อยังไม่แข็งแกร่งเพราะให้บริการผ่านโทรศัพท์
แต่นครหลวงไทยมีจุดแข็งให้บริการสินเชื่อ สาขาสามารถปล่อยสินเชื่อบุคคลได้ถึง 5 หมื่นล้านบาท ดังนั้นธนชาตจะนำระบบการทำงานของนครหลวงไทยมาเป็นต้นแบบให้บริการสินเชื่อต่อไป รวมถึงเพิ่มจำนวนเจ้าหน้าที่สินเชื่อด้านเอสเอ็มอี และสินเชื่อบ้านในสาขา
ส่วนวัน เวลา เปิดบริการของสาขา ธนาคารจะมี 3 รูปแบบ เปิด 5 วัน 6 วัน และ 7 วัน ส่วนเวลาจะแตกต่างกันไป เช่น 8.00 น. หรือ 8.30 น. ส่วนเวลาปิด 16.00 น. 16.30 น. หรือ 17.00 น. ทั้งนี้วันและเวลาที่เปิดแตกต่างกันขึ้นอยู่กับสถานที่และชุมชนกลุ่มเป้าหมาย
นพดลยอมรับว่าสาขาธนชาตยังไม่สมบูรณ์แบบ แต่อยู่ระหว่างการพัฒนาปรับปรุงทั้งในส่วนของระบบไอที และพนักงานที่จะต้องเรียนรู้ระบบการทำงานให้เป็นไปในรูปแบบเดียวกัน โดยเฉพาะธนาคารจะใช้รูปแบบสื่อสารกับพนักงานผ่านทีวีแชลแนล ทุกวันทำงาน วันละ 2 ครั้ง ก่อนและหลังทำงาน เพื่อให้พนักงานได้รับรู้ถึงนโยบาย ผลิตภัณฑ์ และข่าวสารความเคลื่อนไหวของธนาคาร
ก่อนหน้านี้นพดลบอกว่าเขามีความคิดต้องการปรับปรุงสาขาอย่างรวดเร็วและพร้อมกันทั้งหมดทั่วประเทศ แต่สโกเทียแบงก์ในฐานะพันธมิตรจะเตือนว่าการปรับเปลี่ยนสาขาจะต้องพานพบสิ่งใดบ้าง เพราะจากประสบการณ์การควบรวมกิจการของสโกเทียแบงก์ในต่างประเทศทำให้เขารู้ว่าสิ่งที่จะเกิดขึ้นเป็นอย่างไร ดังนั้น สโกเทียแบงก์จะเป็นส่วนหนึ่งที่ให้คำแนะนำได้เป็นอย่างดี
ด้วยความพร้อมทั้งเงินทุน บุคลากร และสาขา ทำให้นพดลมีเป้าหมายและอดไม่ได้ที่จะพัฒนาสาขาของธนชาตให้ทัดเทียมกับธนาคารไทยพาณิชย์ หรือธนาคารกสิกรไทย
งานนี้ต้องดูว่าพี่ๆ อย่างแบงก์ไทยพาณิชย์และกสิกรไทยจะต้อนรับน้องใหม่อย่างธนชาตในแบบไหน
|
|
|
|
|