Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา เมษายน 2554
ธนาคารธนชาตในมิติใหม่ “เราจะแข่งกับใครก็ได้ในประเทศนี้”             
โดย นภาพร ไชยขันแก้ว
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)

   
search resources

ธนาคารธนชาต, บมจ.
สมเจตน์ หมู่ศิริเลิศ
Banking and Finance




อาจจะเร็วเกินไป หากจะบอกว่าธนาครธนชาตมุ่งหมายจะเป็นหนึ่งในผู้นำธนาคารพาณิชย์ แต่ก็ไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าเป็นสถาบันการเงินน้องใหม่ที่ทะยานจากธนาคารขนาดเล็กกลายไปเป็นแบงก์ขนาดใหญ่ เป็นเรื่องน่าจับตามองไม่น้อย

“เราพร้อมแล้วในฐานะธนาคารอันดับ 5 ของประเทศไทย เรามีฐานธุรกิจครบเครื่อง และเชื่อว่าเราจะเจริญเติบโตในทุกด้าน” เป็นคำกล่าวของสมเจตน์ หมู่ศิริเลิศ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)

ด้วยคำกล่าวที่ฮึกเฮิมของแม่ทัพ สมเจตน์ น่าจะสร้างขวัญและกำลังใจให้พนักงานกว่า 16,844 คน ซึ่งได้รวมพนักงาน 2 องค์กร คือธนาคารธนชาต กับธนาคารนครหลวงไทย

ธนาคารธนชาตเป็นอีกหนึ่งธนาคารลูกครึ่งมีผู้ถือหุ้นหลักอยู่ 2 กลุ่ม คือ บมจ.ทุนธนชาต ที่มีกลุ่มบริษัท เอ็ม บี เค จำกัด (มหาชน) หรือกลุ่มเจ้าของธุรกิจ มาบุญครองเป็นผู้ถือหุ้นหลัก ส่วนสโกเทียแบงก์ ประเทศแคนาดาถือหุ้นในธนาคารธนชาตร้อยละ 48.99 โดยเริ่มเข้ามาถือหุ้น ตั้งแต่ปี 2550

หลังจากที่ธนาคารธนชาตเข้าซื้อกิจการธนาคารนครหลวงไทยอย่างเป็นทางการเมื่อปีที่ผ่านมาและต้องใช้เวลากว่า หนึ่งปีเพื่อรวมทรัพย์สิน พนักงาน ระบบไอที และส่งแผนปฏิบัติการให้ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุมัติในไตรมาสแรกของปีนี้

เป้าหมายการเข้าซื้อกิจการธนาคาร นครหลวงไทยของธนาคารธนชาต เพื่อเป็นธนาคารที่ให้บริการการเงินครบวงจร และเป็นธนาคารขนาดใหญ่เทียบเท่ากับธนาคารไทยพาณิชย์และธนาคารกสิกรไทย เพราะก่อนหน้านี้ธนาคารธนชาตตระหนักดีว่าบริการการเงินทุกประเภทหากมีส่วนแบ่งการตลาดน้อยกว่าร้อยละ 10 จะทำให้ตกอยู่ในสถานการณ์ลำบาก

หากธนาคารมีเป้าหมายใหญ่ย่อมเป็นไปไม่ได้ที่จะเป็นแบงก์ขนาดเล็กต่อไป

ตลอดระยะเวลาการทำธุรกิจของธนาคารธนชาตกว่า 30 ปีที่ผ่านมา มีจุดแข็งคือเป็นผู้ให้บริการเช่า-ซื้อรถยนต์ ปัจจุบันเป็นผู้นำให้บริการด้านนี้และมีส่วน แบ่งการตลาดร้อยละ 25-26 ขณะที่ธนาคาร นครหลวงไทยมีจุดแข็งที่จำนวนสาขา มีลูกค้าสินเชื่อกลุ่มองค์กรและเอสเอ็มอี

สิ่งที่ธนาคารนครหลวงไทยมีเป็นสิ่งที่ธนาคารธนชาตต้องการมาเสริมจุดอ่อน

ดังนั้นการรวมกิจการของทั้งสอง ธนาคาร ทำให้ธนาคารธนชาตเพิ่มบุคลากร ของธนาคาร สาขา ตู้เอทีเอ็ม แม้กระทั่งสินทรัพย์ก้าวกระโดดเป็น 872,654 ล้านบาท กลายเป็นอันดับ 5 ของธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย

ธนชาตแบ่งลูกค้าออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่คือลูกค้ารายย่อย และกลุ่มลูกค้าองค์กร และเอสเอ็มอี ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้กับองค์กรได้กลุ่มละร้อยละ 50

รายได้อย่างละครึ่งที่มาจากรายย่อย และองค์กร เป็นสิ่งที่ธนาคารส่วนใหญ่ปรารถนา โดยเฉพาะลูกค้ารายย่อย เพราะ ข้อดีของการมีรายย่อยจำนวนมากจะช่วยกระจายความเสี่ยง และได้รับผลตอบแทนมาก

ที่ผ่านมาธนชาตจะมีรายได้ของทั้งรายย่อยและรายใหญ่เท่ากันก็ตาม แต่ในอนาคตธนาคารจะขยายไปยังกลุ่มลูกค้าราย ย่อยเพิ่มขึ้น เพราะมองว่าจะทำให้ธุรกิจโต อย่างจีรังมากกว่า

แม้สมเจตน์จะกล่าวว่าธนาคารมีความพร้อม มีธุรกิจครบเครื่อง แต่เขาก็ยอมรับว่าดีเดย์ของธนาคารธนชาตจริงๆ คือไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ เพราะจากนี้ไปอีก 7 เดือน ธนาคารยังอยู่ในกระบวนการแผน ควบรวม โดยมีทีมเข้ามาช่วยในการควบรวมในครั้งนี้ทั้งหมด 30 ทีม อาทิ ทีมโอเปอ เรชั่น ทีมไอที ทีมสื่อสาร ทีมอบรม และทีมที่ถูกจัดตั้งขึ้นมีผู้บริหาร 300 คนของทั้งสองธนาคารร่วมกันปฏิบัติแผนดังกล่าว

ในช่วงเวลาควบรวมกิจการ ทั้งสองธนาคารยังคงเปิดให้บริการไปตามปกติ แต่ธนาคารธนชาตได้เริ่มปรับดอกเบี้ยเงินฝากระหว่างธนาคารนครหลวงไทยและธนาคารธนชาตให้เท่ากัน แม้ว่าเอกสารจะยังคงใช้แตกต่างกันอยู่ในปัจจุบัน

ผู้บริหารยืนยันว่าในเดือนตุลาคมจะได้เห็นการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะสาขา ของนครหลวงไทยจะถูกปรับโฉมใหม่ให้กลายเป็นสาขาธนชาตทั้งหมดโดยมีสีส้มเป็นสัญลักษณ์ จากทั้งหมดมีสาขารวมกัน 678 แห่ง

ส่วนลูกค้าจำนวน 3,800,000 รายที่มีอยู่ในปัจจุบัน ส่วนหนึ่งที่มีบัญชีเงินฝาก บัตรเครดิต บัตรเอทีเอ็มของนครหลวงไทย ก็สามารถนำไปใช้บริการในสาขาธนชาต และต่อไปในอนาคตบริการทุกประเภทจะเปลี่ยนไปใช้ผลิตภัณฑ์ของธนชาตทั้งหมด

ด้านระบบไอที สโกเทียแบงก์ได้เข้า มาช่วยวางระบบเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา และธนาคารได้พัฒนาระบบให้เชื่อมโยงกันได้ และนับว่าเป็นเรื่องโชคดีที่ระบบคอร์แบงก์กิ้งของทั้งสองธนาคารใช้ระบบคล้ายกันคือ ของบริษัท Silver Lake ประเทศมาเลเซีย แต่ธนชาตได้นำระบบไอทีของไอบีเอ็มเข้ามาเสริมเพิ่มเติม และระบบเหล่านี้จะทำให้ ลูกค้าของธนาคารทั้งสองแห่งสามารถฝาก-ถอนได้ทุกสาขา รวมถึงบริการอื่นๆ

ส่วนด้านบุคลากรอยู่ระหว่างการผสมผสานของ 2 องค์กร และประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บอกว่า สำนักงานใหญ่ในห้างสรรพสินค้ามาบุญครองพนักงานธนชาตและนครหลวง ไทยเริ่มทำงานร่วมกัน

สมเจตน์บอกว่าการรวมพนักงานได้มีการพูดคุยตั้งแต่ปี 2553 โดยเฉพาะ ผู้จัดการสาขาที่นพดล เรืองจินดา รองกรรมการผู้จัดการ รับผิดชอบดูแลสาขาทั้งหมด ในปีนี้จะต้องเดินสายพูดคุยอีกครั้ง เพราะนอกจากบริการด้านการเงินในสาขา แล้วยังมีผลิตภัณฑ์เช่าซื้อและอื่นๆ ขายผ่านสาขา เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกัน

แม้สมเจตน์จะเอ่ยปากเรื่องจำนวนบุคลากรเกือบ 7 หมื่นคนที่หลายคนมองว่า มีจำนวนมาก และอาจก่อให้เกิดการคัดพนักงานออกบางส่วน ในความเห็นของเขามองว่าไม่ใช่เรื่องใหญ่โต และพนักงานจะถูกปรับให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม และวัดผลการทำงานด้วยระบบเคพีไอ (KPI: Key Performance Indicator) เป็นตัวชี้วัดประสิทธิภาพการทำงาน

เขามั่นใจว่ามาตรฐานเคพีไอจะช่วย ตัดระบบพวกพ้อง ทำให้พนักงานไม่หลุดกรอบหรือหลงประเด็น ช่วยทำให้บริหารงานอย่างเป็นธรรม

สมเจตน์มองว่าธุรกิจบางส่วนของธนาคารมีความจำเป็นต้องใช้คนจำนวนมาก โดยเฉพาะธุรกิจเช่า-ซื้อรถยนต์ เพราะธุรกิจเหล่านี้ต้องสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า

ในส่วนของพนักงานเพื่อไม่ให้เกิดความสับสน ธนาคารได้สื่อสารกับพนักงาน 4-5 ครั้งต่อเดือนเพื่อสร้างความเข้าใจถึงทิศทางของธนาคาร

ด้านลูกค้า ธนาคารได้ส่งหนังสือเปิดผนึกถึงลูกค้าไปเมื่อปีที่แล้วเพื่อชี้แจงการควบรวมกิจการจะไม่ส่งผลกระทบต่อบริการที่ลูกค้าใช้อยู่ และหลังจากนี้ธนาคาร จะส่งจดหมายไปยังลูกค้าอย่างต่อเนื่องและ ข้อความจะเข้มข้นเพื่อรับประกันบริการ รวมทั้งสอบถามถึงความกังวล และต้อง การความช่วยเหลืออย่างไร

ส่วนบริษัทในเครือทั้ง 5 แห่ง ที่ดำเนินธุรกิจคล้ายกัน คือในฝั่งของธนชาต ประกอบด้วย

1. บริษัทหลักทรัพย์ธนชาต จำกัด (มหาชน)

2. บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ธนชาต จำกัด

3. บริษัท ธนชาตประกันภัย จำกัด

4. บริษัท ธนชาตประกันชีวิต จำกัด

5. บริษัท ธนชาตกรุ๊ปลีสซิ่ง จำกัด

ในส่วนของธนาคารนครหลวงไทยประกอบด้วย 5 แห่ง คือ

1. บริษัทหลักทรัพย์ นครหลวงไทย จำกัด

2. บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน นครหลวงไทย จำกัด

3. บริษัทสยามซิตี้ประกันภัย จำกัด

4. บริษัท ประกันชีวิตนครหลวงไทย จำกัด

5. บริษัท ราชธานีลิสซิ่ง จำกัด (มหาชน)

บริษัทในเครือที่ดำเนินธุรกิจซ้ำซ้อน กัน ธนชาตได้ดำเนินการควบรวมบริษัทหลักทรัพย์ทั้งสองแห่งไว้ด้วยกันเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา ด้วยการโอนพนักงานและระบบบัญชีทั้งหมด

ส่วนธุรกิจประกันชีวิตในนครหลวงไทยจะถือหุ้นร้อยละ 100 ก็ตามอยู่ระหว่าง การพิจารณาต่อไป ด้านบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนอยู่ระหว่างดูความชัดเจนของนโยบาย คาดว่าจะใช้เวลาอีก 2-3 เดือน ส่วนอีก 2 บริษัท คือบริษัทราชธานีลิสซิ่ง และบริษัทประกันชีวิตนครหลวงไทย จำกัด ธนาคารนครหลวงไทยไม่ได้ถือหุ้นใหญ่ ธนาคารธนชาตจะเจรจากับผู้ถือหุ้นใหญ่ก่อนแล้วจะพิจารณาต่อไปว่าจะดำเนินธุรกิจ ไปในทิศทางใด

จะเห็นได้ธนาคารธนชาตเลือกควบรวมกิจการธุรกิจหลักทรัพย์เป็นบริษัทแรก ทั้งนี้เป็นเพราะว่านครหลวงไทยถือหุ้น อยู่ร้อยละ 100 ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะว่าตลาดทุนมีโอกาสอย่างมาก โดยเฉพาะในปัจจุบันมีการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างรวดเร็ว ในขณะเดียวกันธุรกิจหลักทรัพย์จะเปิดเสรีในเร็วๆ นี้ และเป็นช่องทางหนึ่ง ที่จะเพิ่มรายได้ให้กับบริษัท

ส่วนบริษัทในเครือที่นครหลวงไทยไม่ได้ถือหุ้นใหญ่ ธนาคารยังไม่ได้ตัดสินใจ กำหนดทิศทางธุรกิจในระยะอันสั้น เพราะ ต้องการให้ผู้ถือหุ้นใหญ่จากภายนอกเป็นผู้ตัดสินใจก่อนลำดับแรก

การรวมความเชี่ยวชาญของธนาคาร ธนชาต ซึ่งมีความเชี่ยวชาญลูกค้ารายย่อย ธนาคารนครหลวงไทยเชี่ยวชาญด้านลูกค้า ภาคธุรกิจและสโกเทียแบงก์มีประสบการณ์ ด้านการค้าระหว่างประเทศและระบบงานที่เป็นมาตรฐานสากล กับคำกล่าวของซีอีโอ สมเจตน์ ที่บอกว่า “เราพร้อมแล้วที่จะแข่งขันกับใครก็ได้ในประเทศนี้”

สมเจตน์และทีมผู้บริหารระดับสูงที่ขึ้นมาบริหารงานในธนาคารเกือบทั้งหมด ล้วนมาจากทีมธนชาตและผู้ถือหุ้นสโกเทียแบงก์ ดูเหมือนจะกระตือรือร้นในเวทีใหม่ไม่น้อย   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us