Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา เมษายน 2554
Greener Enterprise: ต้องเข้าใจโยงใยที่ซ่อนเร้น             
โดย ดร. เมธาคุณ ตุงคะสมิต
 


   
search resources

Environment




ก่อนจะคุยเรื่องอื่น ผมต้องขอเป็นกำลังใจให้กับชาวญี่ปุ่นทุกคนที่ประสบเคราะห์กรรมจากพลังของธรรมชาติ ภาพเหตุการณ์ที่เราเคยเห็นเป็นเพียงฉากหนึ่งในหนังแอนิเมชั่น กลับกลายเป็นเรื่องจริงที่สะเทือนใจคนทั้งโลก

ทั้งหมดทั้งปวงนี้เป็นสิ่งเตือนใจให้เราต้องตั้งตนอยู่ ในความไม่ประมาท นั่นอาจ เป็นเพราะพวกเราเผ่ามนุษย์ได้ทำร้ายโลกด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือรู้แล้วก็ยังคงทำร้ายโลกต่อไปด้วยกรอบวิธีคิดอันคับแคบ

ใช่หรือไม่ว่า...โยงใยที่ซ่อนเร้นในธรรมชาตินั้นมีอยู่อย่างสลับซับซ้อน หากพวกเรา เผ่ามนุษย์ผลีผลามเข้าไปตัดโยงใยของธรรมชาติโดยขาดการทำความเข้าใจและเรียนรู้อย่างอหังการ

บทเรียนของผมครั้งนี้ได้จากการกวาดใบไม้หน้าบ้านครับ

เรื่องมีอยู่ว่า เจ้าต้นหูกระจงหน้าบ้านที่ปลูกติดถนนซอย ซึ่งเธอช่างใหญ่โตเป็นร่มเงาที่พึ่งพาได้ทั้งคนธรรมดาและทั้งหมาจรจัด แต่พอถึงคราหน้าแล้งทีไร เธอต้องสลัดใบเพื่อสงวนน้ำและความชื้นไว้เพื่อความอยู่รอด

นี่ถ้าเธอเติบโตในป่า ใบที่ร่วงหล่นของเธอคงจะทำหน้าที่ปกคลุมผืนดินรอบๆ เพื่อกักเก็บความชื้นและค่อยๆ ย่อยสลายกลายเป็นธาตุอาหารและแหล่งพักพิงของสัตว์ตัวเล็กตัวน้อยที่อยู่บนดินและใต้ดินลงไป

ธรรมชาติสร้างทุกส่วนของเธอขึ้นมาให้มีประโยชน์ในทุกๆ ด้านตามฤดูกาล ที่เปลี่ยนผัน...ใช่ครับ ธรรมชาติไม่เคยสร้างส่วนใดที่เป็น “ส่วนเกิน” หรือ “ขยะ” เลย หากเธอได้อยู่ถูกที่ถูกทาง

ในป่าไม่เคยมีใครต้องกวาดใบไม้ไปทิ้ง หรือแม้กระทั่งซากสัตว์ที่ล้มตาย ก็ล้วนแต่เป็นประโยชน์ต่อสิ่งมีชีวิตรุ่นต่อไป ไม่เคยมีใครต้องเข้าไปจัดการ ไม่เคยมีการ ผลักภาระให้ใครแต่ประการใด นี่คือคุณลักษณะของระบบนิเวศวิทยา ที่เรียกว่า “Self Organization”

แต่ต้นหูกระจงหน้าบ้าน ซึ่งเป็นความภาคภูมิใจของผม เพราะเป็นต้นไม้ “ประดับ” บ้านที่สวยงามและให้ความร่มรื่น ตอนนี้กลับสร้างภาระให้ผมต้องมากวาดใบไม้ใต้ต้นแทบจะทุกวัน

ด้วยเพราะใต้ต้นหูกระจงเป็นถนนคอนกรีตที่มนุษย์สร้างขึ้น...

ใบที่แห้งเหี่ยวร่วงหล่นจึงกลายเป็นขยะกองโต ที่สร้างภาระให้ต้องเก็บกวาดทุกวัน...

ต้องซื้อถุงขยะพลาสติก สีดำมาใส่ใบไม้กองโต...ไปใส่ถังขยะพลาสติกสีเขียว...

เพื่อรอรถขยะสีเขียว...ที่ใช้น้ำมันดีเซลสีดำ...ปล่อยควันโขมงมาตามเก็บไปทิ้งที่กองขยะไกลบ้าน

แน่นอนล่ะ...ใครสักคนที่กองขยะจะต้องฉีกถุงดำออกเพื่อแยกใบไม้ออกจากพลาสติกอีกต่อหนึ่ง

ช่างเป็นตัวอย่างของวิธีคิดแบบแยกส่วนที่สร้างงานที่ไม่จำเป็นให้กับคนอีกหลายคน กระทั่งต้องสูญเสียพลังงานโดยใช่เหตุ

ผมในฐานะของผู้ใต้บังคับบัญชา ผบ.ทบ. (ผู้บัญชาการที่บ้าน) ได้แต่กวาดใบไม้ไปนึกวิเคราะห์ไปแล้วก็หัวเราะไปคล้ายคนบ้า...

เพราะได้บทเรียนโดนใจว่า การทำงานกับธรรมชาติโดยขาดการเรียนรู้โยงใยที่ซ่อนเร้นนั้น ที่สุดแล้วก็คือการสร้างปัญหาและการผลักภาระต่อไปอย่างไม่สิ้นสุด...ส่งผลถึงการสร้างมลภาวะปริมาณมหาศาลในโลกยุคปัจจุบัน

ไม่ต้องพูดไปไกลถึงการสร้างตึกรามบ้านช่อง ถนนหนทาง โรงงานอุตสาห-กรรม โดยขาดการทำความเข้าใจและเชื่อมโยงกับธรรมชาติรอบๆ หรอกครับ แค่สวนหย่อมไม่กี่สิบตารางวาในบ้านเราก็เริ่มมีปัญหาให้แก้ไขแล้ว ต้องตัด ต้องเล็ม ต้องเก็บใบไม้เศษไม้ ต้องจับหนอน ต้องบี้มด ต้องใส่ปุ๋ย ต้องฉีดยาฆ่าแมลง เพียง เพื่อให้สวนหย่อมของเราสวยงามเป็นที่ชื่นตาเจริญใจ เพียงนิดเดียวแค่นี้ก็ต้องสร้างภาระให้กับธรรมชาติไม่มากก็น้อย

หากย้อนดูแนวคิดการเกษตรแบบประณีต อันเป็นผลของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่ใช้วิธีการปลูกต้นไม้และเลี้ยงสัตว์ให้สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมและพึ่งพา อาศัยกันเป็นลูกโซ่ เช่นปลูกพืชหลายอย่าง เพื่อป้องกันศัตรูพืช ซากพืชเอาไปเลี้ยงสัตว์ มูลสัตว์เอาไปทำปุ๋ยและก๊าซชีวภาพ แม้จะใช้พื้นที่ไม่มาก แต่ก็สร้างระบบที่ครบวงจรไม่ผลักภาระและยั่งยืน เสมือนหนึ่งเป็น Greener Enterprise ในอุดมคติจริงๆ

การวางแผนหรือการออกแบบที่นำ ปัจจัยพื้นฐานทางธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็น ระบบนิเวศวิทยา พฤติกรรมสังคม ทรัพยากรในพื้นที่มาเป็นโจทย์ตั้งต้น ล้วนเป็นจุดเริ่ม ที่สำคัญที่สุดของ Greener Enterprise

ใช่ครับ...ตามตำราท่านบอกไว้ว่า การออกแบบที่ดีเป็นส่วนสำคัญที่จะการันตี ความเป็น Greener Enterprise

แต่ผมขอเพิ่มเติมอีกนิดนะครับ... ว่าความเข้าใจในโยงใยธรรมชาติที่ซ่อนเร้น อยู่ในกิจกรรมทุกกิจกรรมขององค์กรต้องมาก่อนการออกแบบ

เพราะความยั่งยืนของ Greener Enterprise นั้นขึ้นอยู่กับว่า เราสามารถเข้าใจบทบาทขององค์กรที่มีต่อธรรมชาติและสังคมมากน้อยเพียงใดด้วยนะครับ

ยิ่งถ้าเราคิดการใหญ่ เรายิ่งต้องทำความเข้าใจโยงใยที่ซ่อนเร้นในธรรมชาติให้มากขึ้นและหลากหลายมิติอีกด้วย   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us