Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา เมษายน 2554
พลังงานลมกำลังเปลี่ยนแปลงตลาดพลังงานโลก             
โดย Jerome Rene Hassler
 


   
search resources

Energy




ตอนก่อนๆ ของคอลัมน์นี้เคยกล่าวถึงอันตรายของพลังงานนิวเคลียร์ และเหตุการณ์วิกฤติแผ่นดินไหวในญี่ปุ่นที่เพิ่งเกิดขึ้น

สิ่งที่ปรากฏให้เห็นเป็นเครื่องพิสูจน์ว่าอันตรายที่เคยกล่าวถึงนั้นเป็นความจริง เพราะแผ่นดินไหวรุนแรงขนาด 9.0 ริกเตอร์ ที่ญี่ปุ่นนั้น ดูเหมือนจะทำให้โลกเข้าใกล้อันตรายที่จะเกิดจากการหลอมละลายของนิวเคลียร์ แม้ว่าในกรณีของญี่ปุ่นยังเห็นไม่ชัดว่าจะส่งผลร้ายอย่างไร แต่ผลร้ายนั้นคงจะมีลักษณะคล้ายกับที่เคยเกิดขึ้นจากการระเบิดของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ schernobyl ในประเทศยูเครนเมื่อปี 1986 ทำให้มีผู้เสียชีวิตหลายพันคน ระดับกัมมันตภาพรังสีทั่วโลกเพิ่มขึ้นจนถึงระดับอันตราย นอกจากนี้ยังทำให้พื้นที่หลายร้อยตารางกิโลเมตรรอบโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งนั้น ไม่อาจมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ได้ ทำให้หลายประเทศอย่างเช่นจีน ซึ่งกำลังขะมักเขม้นส่งเสริมพลังงานนิวเคลียร์ เพื่อแก้ปัญหาความต้องการพลังงานที่เพิ่มขึ้นในจีน ต้องหันกลับมาทบทวนนโยบายพลังงานของตัวเองใหม่

รัฐบาลจีนเพิ่งจะแถลงว่า มาตรการ ความปลอดภัยของพลังงานนิวเคลียร์จะต้องมีการทบทวนใหม่ ก่อนที่จะอนุมัติการ ก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งใหม่ นอก จากนี้ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ได้เริ่มลงมือก่อสร้างไปแล้วก็ต้องระงับไว้ก่อนด้วย เจ้าหน้าที่จีนระบุว่า แผนการพลังงานนิวเคลียร์ ทั้งระยะกลางและระยะยาวของจีนจะต้องถูกปรับปรุงใหม่

นี่อาจเป็นสัญญาณหนึ่งที่ชัดเจนที่สุดว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของญี่ปุ่นที่เมือง Fukushima นั้น คงจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการผลิตพลังงานนิวเคลียร์ทั่วโลกเป็นแน่

แต่แหล่งผลิตพลังงานทางเลือกอื่นๆ มีพร้อมอยู่แล้ว อย่างเช่นพลังงานลม ซึ่งสามารถผลิตไฟฟ้าได้ในปริมาณมหาศาลด้วยกังหันลม ซึ่งสามารถผลิตไฟฟ้าได้ 160,000 เมกะวัตต์ (MW) ทั่วโลกในปี 2009 โดยมีสหรัฐฯ จีน เยอรมนี สเปนและอินเดีย เป็นประเทศแนวหน้าในการผลิตพลังงานลม กังหันลมคือเครื่องมือที่เปลี่ยน “พลังงาน จลน์” (kinetic energy) จากลม ให้กลาย เป็น “พลังงานกล” (mechanical energy) และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า กังหันลมเหล่านี้ถูกใช้ในโรงไฟฟ้าพลังลม (wind farm) ทั้งบนบกและในทะเล ใช้ผลิตไฟฟ้าเพื่อการค้า อาทิ ในเยอรมนี ประเทศที่มีขนาด เศรษฐกิจใหญ่อันดับ 4 ของโลก และเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของยุโรป

อุตสาหกรรมพลังงานลมของเยอรมนีกำลังเติบโตอย่างแข็งแกร่ง เนื่องจากได้รับการสนับสนุนเต็มที่จากรัฐบาลเยอรมนี พลังงานลมเป็นแหล่งผลิตไฟฟ้าสีเขียวที่สำคัญที่สุดในเยอรมนี มีสัดส่วนถึง 7% ของการใช้ไฟฟ้าในประเทศ ซึ่งมีประชากร 80 ล้านคนแห่งนี้ 20% ของ กังหันลมทั้งหมดที่ผลิตได้ในโลก ผลิตโดยเยอรมนี และในปี 2009 โรงไฟฟ้าพลังลมเกือบ 1,000 แห่งที่สร้างในเยอรมนี คือเหตุผลที่ทำให้การก่อสร้างในเยอรมนีเพิ่มขึ้น 15% การเติบโตนี้หมายถึงการสร้างงานเพิ่มขึ้นด้วย เฉพาะเยอรมนีประเทศเดียว มีพนักงานมากกว่า 100,000 คนที่ทำงานอยู่ในอุตสาหกรรมกังหันลม และยัง มีผู้เชี่ยวชาญที่มีทักษะสูงอีกหลายแสนคน ที่ทำงานอยู่ในภาคธุรกิจพลังงานหมุนเวียน อื่นๆ ที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วเช่นกัน ได้แก่ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานชีวมวล และพลังงานความร้อนใต้พิภพ ตลาดพลังงานหมุนเวียนทั่วโลก เติบโตมากกว่า 20% ในปี 2009 โดยมีจีนเป็นตลาดใหญ่ที่สุด ซึ่งโตขึ้นสองเท่าในปี 2009 นับเป็นข่าวดีโดยเฉพาะกับเยอรมนี เนื่องจาก 80% ของกังหันลมที่เยอรมนีผลิตได้เป็นสินค้าส่งออก

จากการคาดการณ์ของกระทรวงพลังงานเยอรมนีล่าสุด ที่ปรากฏอยู่ในร่าง “แผนปฏิบัติ การแห่งชาติด้านพลังงานหมุน เวียน” ของเยอรมนี

เยอรมนีคาดว่า สัดส่วน ของพลังงานลมและน้ำ พลังแสงอาทิตย์และชีวมวลในการผลิตไฟฟ้านั้นจะมีสัดส่วนเท่ากับ 38.6% ของพลังงานไฟฟ้าทั้งหมดที่ผลิตได้ในปี 2020 นั่นเท่ากับเป็นการคาดการณ์ว่า สัดส่วนของพลังงานหมุนเวียนในการผลิตไฟฟ้า จะเพิ่มขึ้นมากกว่าสองเท่าภายในเวลาเพียง 1 ทศวรรษ ดังนั้น พลังงานหมุนเวียนต่างๆ จะทำให้พลังงานนิวเคลียร์ในเยอรมนี กลายเป็นสิ่งล้าสมัยไปในปี 2021 อย่างน้อยก็ในทางทฤษฎี

แผนปฏิบัติการแห่งชาติของเยอรมนี เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายพลังงานแบบครอบคลุม ที่จัดทำโดยรัฐบาลเยอรมนี และชาติสมาชิกสหภาพยุโรป (EU) อื่นๆ โดยอยู่ภายใต้กรอบ “นโยบายภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง” (Climate Change Policy) ของ EU นโยบายนี้กำหนดให้ภาคธุรกิจการผลิตไฟฟ้า การจัดหาความร้อน และการขนส่ง ต้องปรับตัวโดยเร็ว เพื่อแก้ปัญหาภูมิอากาศโลกเปลี่ยนแปลง หรือปัญหาโลกร้อน ด้วยการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก EU ตั้งเป้าหมายว่า ภายในปี 2020 20% ของพลังงานทั้งหมดที่ผลิตได้ในยุโรป จะต้องมาจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนในเยอรมนี สัดส่วนของไฟฟ้า “สีเขียว” ในขณะนี้อยู่ที่ประมาณ 17% แล้ว โดยไฟฟ้าจากพลังลมและชีวมวลเติบโตสูงสุด เทียบกับในปี 2005 สัดส่วนของพลังงานหมุนเวียนในการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด อยู่ที่เพียง 10% เท่านั้น

อุตสาหกรรมพลังงานสีเขียวยังหวัง สูงยิ่งกว่ารัฐบาล คาดการณ์ว่า ภายในปี 2020 สัดส่วนของพลังงานหมุนเวียนในการ ผลิตไฟฟ้าทั้งหมดในเยอรมนี สามารถจะพุ่งสูงไปถึงระดับ 47% ได้ ถ้าหากมีการตัดสินใจทางการเมืองและเศรษฐกิจที่เหมาะสม เงื่อนไขสำคัญที่จะทำให้พลังงาน หมุนเวียนยิ่งเติบโตรวดเร็วขึ้น คือการขยายระบบส่งจ่ายกระแสไฟฟ้า (electricity grid) และความสามารถในการเก็บกักพลังงานหมุนเวียน รวมถึงการสร้างตลาดที่เป็นธรรม ด้วยการลดการอุดหนุนที่ซ่อนเร้นที่รัฐให้แก่การผลิตน้ำมัน และการผลิต ไฟฟ้าจากถ่านหินและจากพลังงานนิวเคลียร์ ตลอดจนรัฐต้องเพิ่มการลงทุนในพลังงานหมุนเวียนโดยเร็ว

International Energy Agency หน่วยงานด้านพลังงานระหว่างประเทศ ประเมินว่า เชื้อเพลิงจากซากพืชซากสัตว์เช่น น้ำมัน และถ่านหิน ซึ่งเป็นตัวการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ถูกผลิตขึ้นด้วยเงิน ลงทุนที่สูงกว่า 300,000 ดอลลาร์ต่อปี ในขณะที่การผลิตพลังงานหมุนเวียนไม่เคย ได้รับการลงทุนแม้เพียง 20% ของเงินจำนวนดังกล่าว รัฐบาลเดนมาร์กซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศที่บุกเบิกการผลิตพลังงานลม ได้คำนวณว่า จะต้องใช้เงินลงทุนเท่าใด จึง จะสามารถหลุดพ้นเป็นอิสระจากเชื้อเพลิงที่มาจากซากพืชซากสัตว์ให้ได้ ภายในปี 2050 พบว่า เดนมาร์กจะต้องลงทุนคิดเป็น สัดส่วนเท่ากับ 0.5% ของผลผลิตทางเศรษฐกิจต่อปีของเดนมาร์ก หากนำการคำนวณของเดนมาร์กไปปรับใช้กับเยอรมนี ซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่กว่า ก็หมายความ ว่าเยอรมนีต้องลงทุนประมาณ 12,000 ล้านยูโรต่อปี เพื่อที่จะหลุดพ้นจากการพึ่งพิงน้ำมัน อันนับเป็นเงินจำนวนน้อยนิด เมื่อเทียบกับรายได้ทางเศรษฐกิจทั้งหมดของเยอรมนี

แต่ปัญหาใหญ่ยังคงมีอยู่ นั่นคือปัญหาการเก็บกักพลังงานหมุนเวียน อย่าง เช่นพลังงานลม รัฐบาลเดนมาร์ก ซึ่งเป็นหนึ่งในชาติที่บุกเบิกเรื่องพลังงานลมเช่นเดียวกับเยอรมนี โดย 20% ของไฟฟ้าที่ใช้ในเดนมาร์กผลิตได้จากพลังงานลม เคยระบุไว้เมื่อ 10 ปีก่อนว่า ระบบไฟฟ้าจากพลังงานลมของตนสามารถจ่ายไฟฟ้าได้เพียงไม่ถึง 1% ของความต้องการใช้ไฟฟ้า โดยเฉลี่ย 54 วันเมื่อปี 2002

ในบางเวลา เดนมาร์กสามารถผลิต พลังงานลมเพิ่มขึ้นตามที่ลูกค้าต้องการได้ แต่บางเวลา ประสิทธิภาพการผลิตพลังงาน ลมก็ต่ำกว่าที่ต้องการ จึงเกิดสถานการณ์ที่พลังงานลมที่ผลิตได้จำนวนมาก ต้องสูญเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ เนื่องจากความสามารถในการเก็บกักพลังงานลมมีไม่เพียงพอ ปัญหาคือทำอย่างไรจึงจะมีพลังงานลมให้ใช้ได้ ในเวลาที่ลูกค้าต้องการ มากที่สุด ซึ่งหมายความว่า พลังงานลมที่ผลิตได้ในตอนกลางคืน จะต้องสามารถเก็บกักเอาไว้ได้ และสามารถนำมาใช้ได้ในตอนกลางวัน ซึ่งเป็นเวลาที่ความต้องการ ใช้พลังงานสูงสุด ทางแก้ปัญหานี้ในทางเทคนิคมีแล้ว แต่ปัญหาการเก็บกักพลังงาน ลมก็ยังคงเป็นปัญหาสำคัญ

อีกปัญหาหนึ่งคือ แม้พลังงานลมจะเสียค่าเชื้อเพลิงน้อยมาก แต่กลับต้องลงทุนสูงในการสร้างกังหันและระบบสาย ส่งไฟฟ้า จึงทำให้มีระยะเวลาคืนทุนค่อนข้างนาน กว่าจะได้ผลกำไรกลับคืนมา

อย่างไรก็ตาม การผลิตพลังงานลมในเยอรมนี เสียค่าใช้จ่ายสูงกว่าการผลิตพลังงานถ่านหินและนิวเคลียร์เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ดังนั้น พลังงานลมจึงสามารถจะแข่งขันในตลาดพลังงานโลกได้สบาย และยังทำท่าว่าจะได้รับความนิยมอย่างมากในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าด้วย เนื่องจาก ในเวลาที่คนหลายพันล้านคนทั่วโลกทั้งในประเทศพัฒนาแล้วและกำลังพัฒนาต้องเผชิญกับผลกระทบอันรุนแรงของปัญหา ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงอยู่นั้น ประโยชน์ที่ดี ที่สุดของพลังงานลมคือเป็นพลังงานสะอาด เมื่อเปรียบเทียบกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ที่เกิดจากแหล่งพลังงานดั้งเดิม พลังงานลม ก็ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่า พลังงานลมยังไม่ต้องการเชื้อเพลิง และไม่มี การปล่อยมลพิษทางอากาศ ไม่เหมือนกับแหล่งผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงที่ได้จากซากพืชซากสัตว์

นอกจากนี้ พลังงานที่เสียไปในการ ผลิตและขนส่งวัตถุดิบที่ใช้ในโรงไฟฟ้าพลังลมนั้น จะเท่ากับพลังงานใหม่ที่ผลิตได้จากโรงงานดังกล่าว ภายในเวลาเพียงไม่กี่เดือนเท่านั้น หลังจากเริ่มเปิดดำเนินการโรงไฟฟ้าพลังลม

ดังนั้น ถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลต่างๆ อย่างเช่นรัฐบาลไทยจะตัดสินใจเลือกอย่าง ถูกต้อง แทนที่จะสำรวจและสร้างโรงไฟฟ้า นิวเคลียร์ในไทย ก็ควรจะหันไปส่งเสริมการผลิตพลังงานหมุนเวียน เพื่อแก้ปัญหาความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้น เพราะนี่คือเรื่องที่มีอนาคตของชาติเป็นเดิมพัน

คำถามที่สำคัญที่สุดในวันนี้คือ ไทย จะปรับตัวได้เร็วพอที่จะตามทันแนวโน้มใหม่ๆ ที่กำลังเกิดขึ้นในตลาดพลังงานโลก หรือไม่

คำตอบก็อยู่ที่จำนวนเงินที่ไทยจะใช้ไปในอนาคตกับการนำเข้าพลังงาน และไทยจะได้รับประโยชน์มากน้อยเพียงใดจากการถ่ายทอดเทคโนโลยีและศักยภาพในการพัฒนาแรงงานที่มีทักษะฝีมือสูง

แปลและเรียบเรียง เสาวนีย์ พิสิฐานุสรณ์   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us