Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา เมษายน 2554
“ตรวจวัดอากาศ” เชื่อได้แค่ไหน             
โดย ปิยาณี รุ่งรัตน์ธวัชชัย
 


   
search resources

Environment




หลังจากเกิดประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษที่มาบตาพุด โรงงานอุตสาหกรรมหลายแห่งพยายามสร้างความมั่นใจให้กับชุมชนในพื้นที่ด้วยการติดตั้งสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ ส่วนใหญ่เป็นรูปแบบของการตรวจวัดสารอินทรีย์ระเหยง่ายแบบต่อเนื่อง (VOCs) พร้อมป้ายแสดงผลคุณภาพสิ่งแวดล้อม (Display Board) ขณะที่ส่วนนิคมอุตสาหกรรมจำนวนไม่น้อยในพื้นที่เป็นอุตสาหกรรมหนักที่ใช้วัตถุดิบทั้งธรรมชาติและสารเคมีหลากหลายประเภท ปัจจุบันเฉพาะในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด มีสถานีที่ติดตั้งแล้วเสร็จราว 20 จุด จากจำนวนที่มีแผนจะติดตั้งตั้งแต่ปลายปี 2553 จำนวน 23 จุด ในจำนวนนี้เป็นผู้แทนชุมชนที่แสดงความต้องการขอติดตั้งชุดตรวจวัดและป้ายแสดงผลถึง 12 แห่ง

การตรวจวัดกลายเป็นหนึ่งในทางออกของการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษที่นิยมทำในพื้นที่ ทั้งที่เป้าหมายที่แท้จริงควรเป็นเรื่องของการจัดการกับปัญหามลพิษและเปลี่ยนแปลงพลังงานที่ใช้ในนิคมส่วนใหญ่เป็นพลังงานสะอาด น่าจะเป็นการแก้ปัญหามลพิษทางสิ่งแวดล้อมที่ต้นตอและชัดเจนกว่า การติดตั้งสถานีตรวจวัดและรายงานคุณภาพอากาศ

อุปกรณ์ตรวจวัดเหล่านี้ แม้จะใช้งบประมาณไม่มาก แต่ต้องอาศัยความรู้และความเข้าใจในการใช้และดำเนินงานดูแลรักษาเพื่อให้ระบบทำงานได้อย่างเชื่อถือได้ เพราะการจะตรวจวัดได้แม่นยำนั้น เครื่องตรวจควรจะต้องมีคุณสมบัติพื้นฐานเหล่านี้ ได้แก่ มีความไวในการตอบสนองต่อก๊าซที่ตรวจวัดที่รวดเร็วแม่นยำ มีมาตรวัดที่แสดงค่าได้เที่ยงตรง มีความเสถียรไม่เสียหรือเสื่อมสภาพเร็ว มีความจำเพาะต่อก๊าซที่ตรวจวัดได้ และมีพิสัยการวัดที่เหมาะกับคุณภาพอากาศ เรื่องเหล่านี้ล้วนต้องอาศัยผู้ดูแลที่มีความเข้าใจและใช้งานเป็น เช่นกรณีของพิสัยหรือช่วงกว้างของการวัด เซ็นเซอร์แต่ละตัวสามารถวัดปริมาณก๊าซได้ตั้งแต่ช่วงกว้าง 10-50 ppm (part per million: ppm) ไปจนถึง 100-1,000 ppm ซึ่งเป็นช่วงที่แตกต่างกันมาก

ตัวป้ายแสดงผลเองก็ต้องมีความชัดเจนและให้ผู้พบเห็นเข้าใจง่าย หรืออาจจะต้องให้ความรู้หรือทำความเข้าใจถึงหลักการอ่านผลที่แสดงเสียก่อน

ดังนั้น สิ่งที่ชุมชนต้องตระหนักก่อนจะเชื่อมั่นในอุปกรณ์และการแสดงผลจึงต้องเข้าใจหลักการทำงานเบื้องต้นเหล่านี้ด้วย อีกทั้งไม่ควรลืมว่า นอกจากงบประมาณที่บริษัทจัดให้สำหรับติดตั้งสถานี ควรต้องมีงบประมาณในการดำเนินงานและการดูแลรักษาที่จะทำให้เครื่องมือเหล่านี้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพในระยะยาวต่อไปได้ด้วย   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us