Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2528








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2528
คอมพิวเตอร์ไทย 1985 ครั้งนี้มีอะไรน่าสนใจบ้าง?             
 


   
search resources

Computer
แมนกรุ๊ป
สมาคมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย




"งานคอมพิวเตอร์ไทย' 85 ครั้งนี้เริ่มตื่นเต้นกันตั้งแต่การควานหาตัวผู้จัด ซึ่งมีผู้ตั้งความหวังถึง 4 รายด้านนิทรรศการ จะมีการประชันโปรแกรมภาษาไทยของเครื่อง ไมโครฯ นานายี่ห้อมันหยด…ส่วนภาคสัมมนา มีหลายหัวข้อน่าฟัง"

หลังจากตระเตรียมการกันมานานหลายเดือน ในที่สุดงานคอมพิวเตอร์ไทย' 85 ก็ใกล้วันเปิดเข้ามาเรื่อยๆ

ก็ในวันที่ 1-4 มีนาคมนี้แน่นอน ส่วนสถานที่ก็ที่เก่าซึ่งเคยใช้จัดเมื่อปีก่อน คือศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่า

งานคอมพิวเตอร์ไทยประจำปีนี้ นับเป็นการจัดขึ้นครั้งที่ 35 ของสมาคมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย แต่เพิ่งจะเป็นปีที่ 2 หรือครั้งที่ 2 ที่สมาคมคอมพิวเตอร์มอบภาระด้านการจัดนิทรรศการ, การโปรโมชั่นไปให้เอกชนดำเนินการแทน

ถ้าจะวัดผลจากครั้งแรกในงานคอมพิวเตอร์ไทยประจำปี 1984 แล้วก็คงพอสรุปได้ว่า คึกคักขึ้น มีผู้ขายคอมพิวเตอร์และคนเข้าชมนิทรรศการตลอดจนเข้าสัมมนามากกว่าครั้งผ่านๆ มาที่สมาคมคอมพิวเตอร์เป็นผู้จัดเองหลายเท่าตัวนัก

แม้ว่าเอกชนได้รับความไว้วางใจจากสมาคมคอมพิวเตอร์จะไม่ค่อยได้ส่งเสริมเท่าที่ควร และเก็บค่าเช่าบูทจากบริษัทคอมพิวเตอร์ที่เข้าร่วมนิทรรศการในอัตราขูดเลือดกันซิบๆ แต่ผลที่ออกมาก็พอจะทำให้ไม่เสียหน้าจนเกินไป

มาปีนี้คณะกรรมการของสมาคมคอมพิวเตอร์จึงต้องตัดสินใจเลือกเอกชนที่จะเข้ามารับภาระจัดนิทรรศการกันอย่างรอบคอบมากขึ้น เพราะบทเรียนจากปีที่แล้ว แม้ผลจะออกมาพอใช้ได้ แต่ทุกคนก็พอจะมองออกว่า มันน่าจะดีกว่านั้นเยอะ

สมาคมคอมพิวเตอร์เปิดให้เอกชนยื่นข้อเสนอรับเป็นผู้จัดนิทรรศการคอมพิวเตอร์ไทยประจำปี 1985 ตั้งแต่เดือนเมษายนปีที่แล้วหรือหลังจากงานคอมพิวเตอร์ไทย' 84 เพิ่งผ่านไปแค่เดือนเดียวก็ปรากฏว่า มีผู้สนใจยื่นข้อเสนอเข้ามา 4 รายด้วยกัน

เป็นเจ้าเก่าที่เคยจัดรายหนึ่ง อีก 2 รายเป็นกลุ่มบริษัทมืออาชีพด้านการจัดนิทรรศการและออกร้าน โดย 1 ใน 2 รายที่ว่านี้ก็คือ บริษัทเท็ม ซึ่งมีผลงานการจัดนิทรรศการเป็นที่รู้จักกันกว้างขวางพอสมควร

ส่วนรายสุดท้าย ถ้าเปรียบเทียบม้าแข่งก็คงต้องจัดว่า เป็นม้านอกสายตามาก คือกลุ่ม "แมนกรุ๊ฟ" ของ สุทัศน์ ศุกลรัตนเมธี

"แมนกรุ๊ฟ" เป็นกลุ่มธุรกิจซึ่งมีนิตยสารอยู่ในเครือหลายเล่ม อาทิ นิตยสารเพื่อความหรรษาของชายหนุ่มอย่าง "แมน" นิตยสารวีดีโอรีวิว นิตยาสารไฮ-ไฟ สเตอริโอ และที่อาจจะพูดได้ว่ามีความเกี่ยวข้องกับงานคอมพิวเตอร์อยู่บ้างก็ตรงที่มีนิตยสารอีกเล่มหนึ่งชื่อ คอมพิวเตอร์รีวิว

นอกจากทีธุรกิจหลักด้านนิตยสารแล้ว "แมนกรุ๊ฟ" ยังมีผลงานด้านการจัดนิทรรศการด้วยกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การจัดนิทรรศการด้านเครื่องเสียง ซึ่ง "แมนกรุ๊ฟ" เริ่มจัดเป็นครั้งแรกเมื่อเดือนธันวาคม ปี 2524 ที่โรงแรมอิมพีเรียล ใช้ชื่อนิทรรศการครั้งนี้ว่า "บางกอกไฮ-ไฟ โชว์'81"

จากนั้น "แมนกรุ๊ฟ" ได้จัดนิทรรศการด้านเครื่องเสียง วีดีโอ โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ โทรคมนาคม ติดต่อกันทุกปีอีก 3 ครั้ง ซึ่งครั้งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเห็นจะได้แก่งาน BES'84 (BANGKOK HI-FI & ELETRONICS SHOW'84) เมื่อวันที่ 1-5 ธันวาคม 2527 ที่โรงแรมไฮแอทเซ็นทรัล และบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลพลาซ่า

แหล่งข่าวคนหนึ่งในสมาคมคอมพิวเตอร์เเปิดเผยให้ฟังว่า "แมนกรุ๊ฟ" แสดงความกระตือรือร้นที่จะได้เป็นผู้จัดนิทรรศการคอมพิวเตอร์ไทย'85 อย่างมาก "เขาเริ่มต้นธุรกิจทำหนังสือแต่ก็พยายามจะหันมาเอาดีด้านการจัดนิทรรศการเกี่ยวกับเครื่องเสียง อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะเห็นได้จากแนวโน้มในช่วง 3-4 ปี มานี้ เพราะฉะนั้นเขาจึงต้องการเป็นผู้จัดงานคอมพิวเตอร์ไทย' 85 มาก ซึ่งถ้ากลุ่มเขาได้ไปก็เท่ากับว่าเขาจะสามารถกุมนิทรรศการใหญ่ไว้ได้อีกงานหนึ่ง อันอยู่ในโปรดักส์ไลน์ที่เขาถนัดอยู่แล้ว………"

และข้อเสนอของ "แมนกรุ๊ฟ" ก็ออกจะประทับใจคณะกรรมการสมาคมคอมพิวเตอร์มากที่สุดด้วย

"ดีที่สุดใน 4 ราย ไม่ว่าจะดูด้านผลตอบแทนที่จะให้สมาคมฯ บริการต่างๆ ที่จะให้กับผู้ที่เช่าบูท ไปจนถึงแผนด้านการทำโปรโมชั่น ซึ่งแมนกรุ๊ฟจัดเตรียมสไลด์มาฉายให้คณะกรรมการดูเลยว่า เขาจะทำอะไรบ้าง ทุกคนในสมาคมก็พอใจเขามาก….." กรรมการสมาคมคอมพิวเตอร์คนหนึ่งบอกให้ฟัง

เพราะฉะนั้นงานคอมพิวเตอร์ไทย'85 ของสมาคมคอมพิวเตอร์ก็ได้ "แมนกรุ๊ป" เป็นผู้ดำเนินการไปในที่สุด

คอมพิวเตอร์ไทย'85 แบ่งการจัดงานเป็น 2 ภาคใหญ่ๆ คือนิทรรศการแสดงความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ภาคหนึ่ง ส่วนอีกภาคหนึ่งเป็นการจัดสัมมนาทางวิชาการ

ในส่วนของนิทรรศการที่จะจัดกันนั้น สุทัศน์ ศุกลรัตนเมธี กรรมการผู้จัดการของ "แมนกรุ๊ป" เปิดเผยให้ฟังว่า ได้เตรียมบูทไว้จำนวนกว่า 150 บูท ภายในห้องคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ของศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่า ซึ่งมีผู้จองบูทไปแล้ว 131 บูท จำนวน 50 บริษัท

"นับว่ามากกว่าการจัดงานครั้งที่ผ่านมากว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ทั้งๆ ที่ยังเหลือเวลาก่อนถึงงานอีกตั้งเดือน……" สุทัศน์กล่าว

จากจำนวนบริษัทขายคอมพิวเตอร์และหน่วยงานอื่นๆ รวม 50 แห่ง ซึ่งขณะนี้จับจองเนื้อที่นิทรรศการไปแล้ว 131 บูทนั้น ส่วนใหญ่เป็นบริษัทขายคอมพิวเตอร์ที่พอจะรู้จักชื่อเสียงกันดี เช่น บริษัทไอบีเอ็ม บริษัทคอมพิวเตอร์ยูเนียน และบริษัทค้าสากลซิเมนต์ ตัวแทนจำหน่ายเครื่องไอบีเอ็ม พีซี บริษัทดาต้าแมท เจ้าของผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ยี่ห้อ เอ็นอีซี บริษัทอี๊สต์เอเชียติ๊ก ซึ่งจะนำเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ยี่ห้อฮิตาชิมาสาธิตการทำงานร่วมกับโปรแกรมแฟล็กซ์ดาต้า บริษัทอินโนเวชั่น ตัวแทนจำหน่ายเครื่องยี่ห้อแวง บริษัทสหวิริยา อินฟอร์เทคคอมพิวเตอร์ ตัวแทนจำหน่ายเครื่องไมโครหลายยี่ห้อ เป็นต้น

สรุปแล้ว ในจำนวนบริษัทขายคอมพิวเตอร์และหน่วยงานอื่นๆ รวม 50 รายนี้ จะเป็นผู้ขายเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์มากที่สุด คือมีจำนวนถึง 35 อีก 8 บริษัทมีผลิตภัณฑ์ตั้งแต่เครื่องใหญ่ๆ อย่างเมนเฟรม เครื่องกลางๆ ลงมาคือ มินิคอมพิวเตอร์ ไปจนถึงเครื่องรุ่นจิ๋ว-ไมโครฯ

เป็นซอฟต์แวร์เฮ้าส์ 3 บริษัท ตัวแทนจำหน่ายอุปกรณ์ต่อพ่วงและมีเดีย 2 บริษัท และอื่นๆ อีก 2 บริษัท

นับว่าเป็นนิทรรศการซึ่งมีผลิตภัณฑ์นานาชนิดครอบคลุมกว้างขวางพอสมควร

ในการจัดนิทรรศการปีนี้ เป็นที่คาดหมายกันว่าจะมีผลิตภัณฑ์ที่แสดงถึงความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เป็นจุดหลัก แต่จุดที่มีการแสดงสาธิตกันเป็นพิเศษและถือว่าเป็นการแข่งขันกันในกลุ่มผู้ขายคอมพิวเตอร์ ทุกวันนี้ก็เห็นจะเป็นการพัฒนาภาษาไทยของเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์แต่ละยี่ห้อ และระบบการต่อพ่วงเป็นเน็ตเวิร์คภายในอาคารของเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ด้านการสื่อสารข้อมูลภายในองค์กรหนึ่งๆ ซึ่งระบบดังกล่าวนี้เรียกว่า LAN หรือ LOCAL AREA NETWORK

ทั้ง 2 จุดนี้เชื่อว่าจะมีคนให้ความสนใจอย่างมาก เพราะกำลังเป็นจุดสนใจของวงการคอมพิวเตอร์ในทุกวันนี้อยู่พอดี

สมาคมคอมพิวเตอร์และ "แมนกรุ๊ป" ได้ตั้งเป้าในชั้นต้นนี้ว่า จะมีผู้เข้าชมนิทรรศการปีนี้ไม่ต่ำกว่า 40,000 คน โดยผู้เข้าชมทุกคนจะได้รับแจกสูจิบัตรเป็นคู่มือเข้าชมงานฟรีทุกวัน

ส่วนอีกภาคหนึ่งของงาน คือการจัดสัมมนาทางวิชาการนั้น ปีนี้จะจัดกัน 3 วัน คือวันที่ 1-2 มีนาคม หยุดในวันอาทิตย์ที่ 3 และปิดท้ายการสัมมนาในวันที่ 4 ผู้สนใจจะเข้าสัมมนาจะต้องเสียค่าลงทะเบียนวันแรกครั้งเดียว 400 บาท

การสัมมนาในวันแรกมี 2 หัวข้อ คือเรื่องเทคนิคและเครื่องมือในการพัฒนาซอฟต์แวร์ บรรยายโดย มาซาโอะ มัสสุโมโต และเรื่องชุมสายสื่อสารข้อมูล บรรยายโดย ดร.สุทธิพร ปทุมเทวาภิบาล

วันที่ 2 มีนาคม สัมมนา 4 หัวข้อ คือเรื่องแนวโน้มของคอมพิวเตอร์เทคโนโลยีในทศวรรษหน้า โดย นิมิต หมดราคี เรื่องการบรรจุคัมภีร์อัลกุรอานลงในคอมพิวเตอร์ โดย ฐิติ สยามวาลา เรื่องระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมอาคาร โดย ศาสตราจารย์ศรีศักดิ์ จามรมาน และปัญหาในการพัฒนาโปรแกรมประมวลผลอักษรภาษาไทย โดย ปีเตอร์ กอร์ดอน

และในวันสุดท้าย มีการสัมมนา 3 หัวข้อ ได้แก่เรื่อง แนวโน้มของคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาในทศวรรษ 1980 โดย จาคี เอ็ม.เซลอส เรื่อง มาตรฐานรหัสภาษาไทย โดย ศาสตราจารย์ ดร.อุดม วโรตม์สิกขดิตถ์ รองศาสตราจารย์ยืน ภู่วรรณ และรองศาตราจารย์วิชิต หล่อจีระชุณห์กุล ส่วนหัวข้อสุดท้ายก็คือเรื่อง แนวทางการบริหารคอมพิวเตอร์ของรัฐ โดย ทวีศักดิ์ ทังสุพานิช รองศาสตราจารย์สมชาย ทยานยง ดร.วัลลภ วิมลวณิชย์ และ คฑา อภัยวงศ์

การสัมมนาจะเริ่มในเวลาประมาณ 09.00 น. ของทุกๆ วัน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us