Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา เมษายน 2554
ท้าตลาดด้วยนวัตกรรม             
โดย ปิยาณี รุ่งรัตน์ธวัชชัย
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)

   
search resources

ปูนซิเมนต์ไทย, บมจ.
Construction
เอสซีจี ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง, บจก.




ยังไม่ทันจบส่วนของการสื่อสารเพื่อสร้างแบรนด์เอสซีจีให้เป็นองค์กรธุรกิจที่เติบโตอย่างยั่งยืนในอาเซียนได้แล้วเสร็จ เอสซีจีก็สร้างเรื่องท้าทายการสื่อสารบทใหม่ให้กับตัวเองในเวียดนาม ด้วยการสร้างโชว์รูมวัสดุก่อสร้าง ซึ่งถือเป็นการสร้างนวัตกรรมการค้าวัสดุก่อสร้างแบบใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อนในเวียดนาม

“วันแรกที่เราเปิดตัวโชว์รูม ลูกค้างงครับว่าเราทำอะไร เพราะเขาไม่เคยเจอแบบนี้” ผู้จัดการโชว์รูมเอสซีจีวัสดุก่อสร้าง สาขาแรกในฮานอย เล่าสิ่งที่เกิดขึ้นในวันเปิดโชว์รูมเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2554 ที่ผ่านมา

ถึงจะงงอย่างไร ด้วยชื่อเสียงของ เอสซีจี (บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)) ในเวียดนามก็ทำให้มีแขกจำนวนไม่น้อยมาร่วมงานอย่างคับคั่ง

ส่วนหนึ่งเป็นเพราะชื่อเสียงของสถานที่ก่อสร้างโชว์รูม ซึ่งเป็นบ้านเก่าของ นายพลฝ่านตวน (Phan Duan) ซึ่งมีดีกรีเป็นถึงอดีตนักบินอวกาศคนแรกของเวียดนามที่ขึ้นไปพร้อมกับยานอวกาศของรัสเซีย และเป็นนักบินคนแรกที่ยิงเครื่องบินรบบี 52 ของอเมริกันตกในสงครามเวียดนาม เป็นเซเลบริตี้ที่มีดีกรีเป็นถึงวีรบุรุษระดับประเทศ และเป็นแม่เหล็กของงานที่สร้างความน่าสนใจให้กับการเปิดตัวโชว์รูมวัสดุก่อสร้างของเอสซีจีในครั้งนี้ด้วย

“ท่านนายพลมาเห็นก็ชอบครับ กับโชว์รูมที่เราทำขึ้นนี้” สัตถวัจน์ ทิตาราม ผู้อำนวยการประจำประเทศเวียดนาม บริษัท เอสซีจีวัสดุก่อสร้าง จำกัด กล่าว

เอสซีจีเช่าบ้านเก่าของนายพลฝ่าย ตวนมาปรับปรุงเป็นโชว์รูมและสำนักงานสาขาของเอสซีจีในฮานอย ด้วยค่าเช่า 6,000 เหรียญสหรัฐต่อเดือน ระยะเวลาสัญญาเช่าครั้งละ 5 ปี ส่วนที่เป็นโชว์รูมมีพื้นที่รวม 660 ตารางเมตร ครอบคลุมพื้นที่ชั้น 1 และชั้น 2 ส่วนชั้นที่ 3 ของตัวบ้านจัดเป็นออฟฟิศของเอสซีจีสาขาฮานอย

นอกจากบ้านหลังนี้จะมีทำเลติดถนนใหญ่ ยังอยู่ในทำเลย่านการค้าวัสดุก่อสร้างในเวียดนามที่รวมตัวกันอยู่บนถนน Truong Chinh เส้นนี้ และถนน Cat Linh ที่อยู่ถัดไปอีกเส้น แต่รูปแบบของเอสซีจีกับร้านค้าวัสดุก่อสร้างทั่วไปในแถบนี้ต่างกันอย่างสิ้นเชิง

ส่วนใหญ่ร้านค้าวัสดุก่อสร้างในเวียดนามจะแยกประเภทสินค้าขายเป็นชนิดๆ ไป ร้านขายไม้ก็ขายไม้อย่างเดียว ร้านกระเบื้อง สุขภัณฑ์ อ่างสเตนเลส ก็จะมีเฉพาะสินค้านั้นๆ ให้เลือกซื้อกันเป็นชนิดๆ ไป ไม่เน้นการตกแต่งหน้าร้านและ เป็นการจัดร้านตามฐานลูกค้าส่วนใหญ่ที่นิยมก่อสร้างบ้านเอง ต่างจากการเลือกซื้อ สินค้าของโครงการบ้านจัดสรรที่ยังมีเกิดขึ้นน้อย ถ้าเป็นประเภทคอนโดมิเนียมซึ่งแม้จะเกิดขึ้นหนาตา แต่ก็ยังมีสัดส่วนเพียง 16-17% ของจำนวนที่อยู่อาศัยทั้งหมดที่เกิดขึ้นในฮานอย

ความแตกต่างที่เอสซีจีนำเสนอไม่ใช่ แค่ตัวโชว์รูมที่มีรูปร่างหน้าตาแปลกกว่าร้านค้าวัสดุก่อสร้างทั่วไปแถวนี้ แต่ยังรวมถึงรูปแบบการเสนอขายที่ต่างจากเดิมด้วย

“การออกแบบโชว์รูมเราต้องการให้ลูกค้าหาสินค้าง่าย เห็นภาพว่าบ้านจะออกมาอย่างไร ส่วนใหญ่ก็ตื่นเต้นดี บอกว่าสวย ชอบ การตกแต่งภายในโชว์รูมเราก็พยายามสอดแทรกวิธีการก่อสร้างใหม่ๆ ที่ไม่เหมือนกับพฤติกรรมที่คนเวียดนามใช้กันอยู่มานำเสนอ เพราะเชื่อว่าเป็นรูปแบบ ที่เขาน่าจะนำไปปรับใช้ในการก่อสร้างให้ดีขึ้นได้”

วิธีการที่สัตถวัจน์กล่าวถึงและแตกต่างอย่างชัดเจนจากเมืองไทย ได้แก่ ระบบ หลังคา ซึ่งที่เวียดนามจะสร้างบ้านเป็นหลังคาคอนกรีตแล้วแปะทับด้วยหลังคากระเบื้อง เอสซีจีพยายามเสนอระบบการติดตั้งหลังคาซึ่งพัฒนาเป็นระบบช่วยป้อง กันความร้อนและช่วยลดการใช้พลังงานภายในบ้านลงได้ หรือตัวอย่างการใช้สมาร์ท บอร์ดเข้าไปแทนยิปซัมบอร์ดเพื่อให้เหมาะ กับสภาพอากาศร้อนชื้นในเวียดนาม ในจุดที่ต้องเจอความชื้นสูงเพื่อแก้ปัญหาเรื่อง ยิปซัมเปื่อยยุ่ย ส่วนความแตกต่างในรายละเอียดอื่นๆ ก็จะเป็นความแตกต่างในเรื่อง รสนิยมความชอบต่างๆ เช่น สีสัน และรูปแบบ เป็นต้น ซึ่งเป็นส่วนที่เอสซีจีต้องศึกษาเพื่อนำเสนอสินค้าให้ตรงกับความต้องการของตลาด

“เราจับตลาดระดับกลางขึ้นไป ซึ่งมีความเข้าใจในระดับหนึ่ง แต่ถ้าเป็นตลาด ระดับบนแล้วก็ไม่ต้องพูดกันมาก กลุ่มนี้จะ เลือกที่ความสวย ความชอบ ราคาไม่สน”

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงรูปร่างหน้าตาภายนอกของโชว์รูม ซึ่งแค่เห็นด้วยตาก็สร้างความแปลกไปแล้ว เบื้องหลังภาพที่เห็นยังประกอบด้วยเรื่องการขายคอนเซ็ปต์ และแบรนด์ที่เอสซีจียังต้องการสื่อสารผ่าน คอนแท็คท์พ้อยท์แห่งนี้อีกหลายเรื่อง การนำเสนอสิ่งแปลกใหม่เช่นนี้จึงถือเป็นเรื่องท้าทายตลาดไม่น้อย

เอสซีจีใช้งบในการก่อสร้างโชว์รูมแห่งนี้ในวงเงินประมาณ 15 ล้านบาท ไม่รวมค่าเช่ารายเดือน ชั้นล่างจัดโชว์สินค้าวัสดุก่อสร้างภายใต้แบรนด์เอสซีจีทั้งหมด สินค้าเกือบทั้งหมดจัดเป็นแบรนด์วัสดุก่อสร้างน้องใหม่ในเวียดนามแม้ชื่อของเอสซีจีจะเข้ามาลงทุนในเวียดนามอยู่นานแล้ว แต่สินค้าที่ผลิตและถือว่าเป็นผู้เล่นเก่า ของที่นี่ก็มีเพียงซีแพคโมเนีย ซึ่งมีโรงงานที่เวียดนามอยู่ก่อนแล้ว กับสุขภัณฑ์คอตโต้ ที่เข้ามาทำตลาดในเวียดนามแล้วประมาณ 20 ปี โดยใช้พื้นที่ชั้น 2 ของโชว์รูมเป็นจุดโชว์ผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์คอตโต้

“ส่วนของโชว์รูมถือเป็น Spending Unit เพราะแม้จะใช้คอนเซ็ปต์เดียวกับโชว์รูมในไทย แต่ระบบการขายที่เวียดนาม เราจะส่งต่อไปให้ดีลเลอร์เพื่อเป็นการบริหาร ความสัมพันธ์ที่ดีกับดีลเลอร์ เราจะไม่ไปขายแข่งกับดีลเลอร์ แต่จะให้ดีลเลอร์ทำ การซื้อขายโดยตรงกับลูกค้า ที่โชว์รูมจะมี หน้าที่แค่เช็กสินค้าให้กับลูกค้าเท่านั้น”

เป้าหมายของยอดขายวัสดุก่อสร้าง ในเวียดนาม จึงมีเพียงเป้ายอดขายเดียวจากทั้งประเทศเวียดนาม ซึ่งปีนี้เอสซีจีตั้งเป้าไว้ที่ 1,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นยอดขายที่จะทำให้วัสดุก่อสร้างเอสซีจีเติบโต 35% จากปี 2553 และเติบโตสูงกว่าตลาดวัสดุก่อสร้างของเวียดนามที่คาดว่าจะเติบโตไม่ต่ำกว่า 20% ในปีนี้

“ปีที่แล้วเราก็โต 30% ปีนี้นอกจากโชว์รูมที่ฮานอย เรากำลังจะเปิดโชว์รูมที่โฮจิมินห์ในรูปแบบเดียวกันด้วยภายในปีนี้ คอนเซ็ปต์เหมือนกันเน้นสร้างแบรนด์เป็นหลัก สินค้าที่นำมาโชว์นำเสนอนวัตกรรมของสินค้ารุ่นใหม่ซึ่งจะวางขายพร้อมๆ กับ ที่ขายในเมืองไทย ให้ลูกค้าใช้โชว์รูมเป็นจุดหาข้อมูล คนที่นี่อาจจะยังไม่คุ้นเคย แต่เราถือเป็นจุดเด่นจากการที่เอสซีจีมีสินค้าหลายตัวในมือ ทำให้เราสามารถเสนอสินค้า เป็นแพ็กเกจ เป็นโซลูชั่นให้กับลูกค้าตามแนวทางที่เราคิดขึ้น แตกต่างจากคนอื่น”

ที่ลืมไม่ได้คือการเสนอสินค้าภายใต้แบรนด์อีโค่แวลู ตามแนวทางการพัฒนา ธุรกิจสู่องค์กรแห่งความยั่งยืนตามวิสัยทัศน์ของเอสซีจีที่กำหนดไว้

ในกรณีนี้แม้จะยังไม่ค่อยเห็นพลังสีเขียวจากผู้บริโภคในเวียดนาม แต่สัตถ-วัจน์ยืนยันว่าคนเวียดนามจำนวนไม่น้อยเริ่มพูดกันมากขึ้นเรื่องสิ่งแวดล้อม และเมื่อ มีการนำเสนอสินค้าที่มีนวัตกรรมที่ช่วยประหยัดพลังงาน เช่น ประหยัดน้ำ ก็ได้รับความสนใจไม่น้อย

“เรื่องอีโค่กำลังเริ่มพูดกันมากขึ้นในเวียดนาม มีหลายอาคารที่ก่อสร้างก็ประกาศเป็นกรีนบิลดิ้ง หลักๆ ผู้ลงทุนที่เสนอเรื่องนี้ก็จะเป็นกลุ่มผู้ลงทุนต่างชาติ เช่น สิงคโปร์ ซึ่งเรามองว่าเป็นโอกาสทางธุรกิจของเราเหมือนกัน เพราะเอสซีจีมีสินค้าหลายตัวที่เสนอตัวเป็นมิตรต่อสิ่งแวด ล้อมทั้งเรื่องการประหยัดน้ำและการใช้วัสดุรีไซเคิลในการผลิต แต่อย่างไรก็ต้องยอมรับว่า จุดที่ทำให้ผู้บริโภคหันมายอมรับ เรื่องอีโค่มากขึ้นก็เพราะเบเนฟิตของลูกค้าเอง เพราะอะไรที่เป็นเรื่องเงินในกระเป๋า จะเป็นจุดขายที่ดีกว่า และยอมรับได้ง่ายกว่าช่วยโลก”

ลูกค้าที่เข้ามาในโชว์รูมส่วนใหญ่จะมาพร้อมสถาปนิกหรือมัณฑนากร ภายในสตูดิโอ นอกจากโชว์สินค้าเอสซีจีจึงนำบริการออกแบบเหมือนที่มีในเมืองไทยอย่าง คอตโต้สตูดิโอซึ่งมีระบบจำลองแบบที่ดีไซน์ให้เห็น มาให้บริการฟรีที่นี่ด้วย ถ้าเป็นการทำตลาดที่ต้องรุกออกไปนอกโชว์รูม นอกจากการทำตลาดกับกลุ่มดีลเลอร์ ส่วนหนึ่งก็จะออกงานโชว์เกี่ยวกับสินค้าวัสดุก่อสร้างที่จัดขึ้นในเมืองต่างๆ ที่ขาดไม่ได้คืองานเวียดบิลด์ ซึ่งจะวนไปจัดตามเมืองใหญ่ในเวียดนาม

“งานเวียดบิลท์จะคล้ายงานสถาปนิกในไทย แต่ขนาดเล็กกว่าแค่ 1 ใน 5 จัดทุกปี ในหลายจังหวัด ปีนี้เราก็จะไปร่วมออกงานที่ฮานอยและโฮจิมินห์ ซึ่งเป็นเมืองใหญ่ 2 อันดับแรกของเวียดนาม ส่วนเมืองอื่นยังเงียบเกินไป”

สำหรับสินค้าของเอสซีจีที่ทำตลาด ได้อันดับต้นๆ ในหมวดวัสดุก่อสร้างในเวียดนามในปัจจุบันได้แก่ กระเบื้องซีแพคโมเนีย ส่วนสินค้าตัวอื่นๆ ยังถือว่าอยู่ในช่วงเริ่มสร้างตลาด ซึ่งสัตถวัจน์บอกว่า แม้สินค้าหลายตัวมีคู่แข่งหลายราย เช่น สุขภัณฑ์คอตโต้ก็มีทั้งแบรนด์ต่างชาติและแบรนด์ท้องถิ่น หรือแม้แต่กระเบื้องซึ่งมียอดขายในอันดับต้นๆ แต่ก็มีคู่แข่งหลายแบรนด์ แต่ไม่ว่าการแข่งขันจะมากแค่ไหน หน้าที่ของทีมงานก็คือการพยายามทำยอดขายให้ได้ตามเป้า

แต่อีกด้านที่เอสซีจีจะละเลยไม่ได้ คือการนำเสนอสินค้าที่เพิ่มคุณค่าแห่งนวัตกรรม (Innovative Value) แบบเดียว กับที่ทำตลาดในเมืองไทยให้เกิดขึ้นพร้อมกันให้ได้ด้วย เพราะเอสซีจีเชื่อว่านั่นคือแนวทางที่ถูกต้องในการเพิ่มคุณค่าให้กับสเต็กโฮลเดอร์ทุกฝ่าย ซึ่งรวมทั้งผู้บริโภคและตัวองค์กรเอง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us