Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา เมษายน 2554
จับตา Southern Corridor เมื่อทั้ง ADB และออสเตรเลียร่วมแรงผลักดัน             
โดย เจษฎี ศิริพิพัฒน์
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย

   
search resources

International
ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย
Greater Mekong Subregion
Southern Economic Corridor




Southern Corridor ถือเป็นระเบียงเศรษฐกิจที่มีระดับการพัฒนาทิ้งห่างจากโครงการอื่นๆ ใน GMS แต่เมื่อจีนประกาศเดินหน้าก่อสร้างเส้นทางรถไฟความเร็วสูงผ่านลาวและไทย ทั้งออสเตรเลียและ ADB ก็ไม่อาจอยู่เฉยสำหรับการเร่งรัดเดินหน้าโครงการทางด้านใต้ในหลายช่องทาง

เว็บไซต์สถานีวิทยุเอเชียเสรี ภาคภาษาเวียดนาม รายงานว่าเมื่อต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงได้จัดประชุมกันที่ประเทศกัมพูชา เพื่อเร่งพัฒนาแนวระเบียงเศรษฐกิจตอนล่าง (Southern Economic Corridor)

เนื่องจากการเชื่อมประสานการขนส่งผ่านแดนระหว่างประเทศในอนุภูมิภาคแม่น้ำโขงตอนล่าง ปัจจุบันยังคงมีระยะห่างเปรียบเทียบกับระเบียงเศรษฐกิจสายอื่นๆ ประเทศเหล่านี้จึงตัดสินใจร่วมมือกัน 9 ขอบเขต ภายใต้ความช่วยเหลือของธนาคารพัฒนาเอเชีย และอีกบางชาติ

เร่งพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจตอนล่าง

การประชุมครั้งนี้จัดขึ้นเมื่อวันพุธที่ 9 มีนาคม โดยบรรดาประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ได้จัดประชุมพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจตอนล่าง ภายใต้ความช่วยเหลือทางการเงินจากธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) และหน่วยงานพัฒนาระหว่างประเทศของออสเตรเลีย

ตัวแทนประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ประกอบด้วยไทย พม่า ลาว เวียดนาม จีน และกัมพูชา ได้จัดประชุมขึ้นที่กรุงพนมเปญ ภายใต้การเป็นประธาน ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์กัมพูชา Cham Prasidh และการประชุมนี้ดำเนินต่อไปจนถึงวันพฤหัสบดีที่ 10 มีนาคม

Cham Prasidh กล่าวว่า บรรดาประเทศบนแนวระเบียงเศรษฐกิจตอนล่าง เป็นระเบียงเศรษฐกิจที่มีบทบาทสำคัญอีกสายหนึ่ง ในโครงการร่วมมือทางเศรษฐกิจของประเทศอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง (Greater Mekong Subregion : GMS) โดยระเบียง เศรษฐกิจอีก 2 สาย ประกอบด้วยระเบียงเศรษฐกิจสายตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor) และระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ (North-South Economic Corridor)

เขาย้ำว่า ถึงแม้การแลกเปลี่ยนสินค้า ความร่วมมือพัฒนากับท้องถิ่นต่างๆ ภายในประเทศและกับบรรดาประเทศในอนุภูมิภาคแม่น้ำโขงเปิดกว้าง เป็นหนึ่งในบรรดาประตูหันสู่ระเบียงเศรษฐกิจตอนล่าง แต่ก็กำลังมีระยะห่างค่อนข้างมาก เมื่อเปรียบเทียบกับระเบียงเศรษฐกิจ 2 สายดังกล่าว อย่างไรก็ดี ระเบียงเศรษฐกิจตอนล่างก็กำลังพัฒนาและมีความคืบหน้าค่อนข้างมาก

Cham Prasidh เสริมว่า ระยะห่างนี้ไม่เพียงเพื่อให้ประเทศต่างๆ เชื่อมประสานยานพาหนะขนส่งต่างๆ เช่น ทางรถไฟ แต่ทางน้ำและทางอากาศต้องมีการ เสริมสร้างความร่วมมือกันด้วย

Thomas Crouch รองหัวหน้ากิจการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของธนาคาร พัฒนาเอเชีย (ADB) กล่าวในที่ประชุมว่า วัตถุประสงค์ของการจัดประชุมประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ว่าด้วยการพัฒนา บนแนวระเบียงเศรษฐกิจ คือเพื่อแก้ไขปัญหาที่ยังเหลืออยู่และเร่งความคืบหน้าการพัฒนาบนแนวระเบียงเศรษฐกิจตอนล่างระหว่างประเทศอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง

เขาบอกว่าปัญหาเหล่านี้ประกอบด้วยการวิจัย คัดสรรรูปแบบ วางระเบียบการค้า และการขนส่ง การพัฒนายกระดับ ผลิตภัณฑ์ การรวบรวมนักธุรกิจ และพัฒนาเขตท่องเที่ยว

Thomas Crouch กล่าวเพิ่มเติมว่า “ถึงแม้ระยะห่างยังมีค่อนข้างมากเกี่ยวกับปัญหาการขนส่งบนแนวระเบียงเศรษฐกิจตอนล่าง เปรียบเทียบกับแนวระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก และแนวระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ พวกเรากำลังเร่งลดระยะห่างนั้น และปัจจุบันระเบียงเศรษฐกิจนี้กำลังพัฒนาค่อนข้างเร็ว”

นานาชาติช่วยเหลือ

ตามการแถลงของธนาคารพัฒนาเอเชีย นับถึงปลายปี 2553 ธนาคารพัฒนา เอเชียได้ช่วยเหลือทางการเงินประมาณ 4,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แก่ 55 โครงการ ตามรายการความร่วมมือพัฒนาประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ด้วยค่าใช้จ่ายรวมทั้งสิ้นประมาณ 11,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ออสเตรเลียช่วยเหลือด้านการเงินประมาณ 43.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อ พัฒนาระเบียงเศรษฐกิจตอนล่างกับประเทศ ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง โดยเฉพาะความร่วมมือพัฒนาชายหาดบนแนว ระเบียงตอนล่างในกัมพูชาและเวียดนาม นอกจากนั้น ออสเตรเลียยังช่วยเหลือค่าใช้จ่ายกว่า 302 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขอบเขตโครงสร้างพื้นฐานชนบท ปรับปรุงคุณภาพชีวิตของประชาชนและการค้าในประเทศอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง

Sok Chenda เลขาธิการสภาพัฒนากัมพูชา ยอมรับในที่ประชุมว่า กัมพูชาจะได้รับประโยชน์มากจากโครงการ พัฒนาดังกล่าว เขาย้ำว่า “พวกผมไม่เพียงต้องการเชื่อมประสานการขนส่งผ่านแดนกับประเทศอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง แต่พวกผมยังต้องการเชื่อมประสานทั้งการประกอบการผลิตและการบริการ”

แนวระเบียงตอนล่างของอนุภูมิภาค ลุ่มแม่น้ำโขงไหลผ่าน 41 จังหวัด แขวง และนครของลาว ไทย กัมพูชา และเวียดนาม ซึ่งจะเชื่อมกับอีก 2 มณฑลของ จีน คือมณฑลหยุนหนัน และมณฑลกว่างสี

ประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ประกอบด้วยจีน พม่า ลาว ไทย กัมพูชา และเวียดนาม ในช่วงปี 2535 ด้วยความช่วยเหลือจากธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) 6 ประเทศสมาชิกของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงประกาศโครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคโครงการหนึ่ง เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การก่อสร้างและการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ประกอบด้วย 9 ขอบเขตเร่งด่วน คือ เกษตรกรรม การพลังงาน สิ่งแวดล้อม การพัฒนาทรัพยากรบุคคล โทรคมนาคม การท่องเที่ยว โครงสร้างพื้นฐาน การคมนาคมขนส่ง และการสร้างความสะดวกทางการค้า   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us