Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา เมษายน 2554
ทางแพร่งด้านพลังงาน บทพิสูจน์ที่แท้จริงของญี่ปุ่น             
โดย สมศักดิ์ ดำรงสุนทรชัย
 

   
related stories

The Great Lessons จาก Kanto สู่ Hanshin ถึง Tohoku
Renewable Beautiful Japan!
Aftershocks: ผลกระทบจากแรงสั่นไหว

   
search resources

Energy
Tokyo Electric Power Company




แม้ว่าความพยายามที่จะแสวงหาแหล่งพลังงานทดแทน หรือแม้กระทั่งพลังงานทางเลือกของญี่ปุ่นเป็นประเด็นที่ครอบงำและเป็นปัจจัยที่กำหนดทิศทางให้กับแนวนโยบายสาธารณะมาอย่างต่อเนื่อง แต่ดูเหมือนว่าวิกฤติครั้งล่าสุดนี้จะช่วยปลุกให้ทั้งสังคมญี่ปุ่นและประชาคมนานาชาติได้ตระหนักตื่นมากกว่าครั้งใดๆ

ในเอกสารว่าด้วยยุทธศาสตร์และแนวทางปฏิบัติว่าด้วยวิเทโศบายด้านพลังงาน ของญี่ปุ่น ซึ่งเผยแพร่ออกมาตั้งแต่เมื่อปี 2004 ระบุว่า ญี่ปุ่นมุ่งหมายที่จะพัฒนาและ เสริมสร้างกลไกในการตอบสนองต่อกรณีฉุกเฉินในระดับสากลว่าด้วยระบบปริมาณน้ำมันสำรองตามมาตรฐานของ International Energy Agency (IEA)

ขณะเดียวกันญี่ปุ่นพร้อมที่จะร่วมมือ อย่างแข็งขันภายใต้กรอบความร่วมมือระดับภูมิภาคทั้ง ASEAN+3 และ Asia-Pacific Economic Cooperation (APEC) ซึ่งญี่ปุ่นพร้อมตอบสนองต่อความจำเป็นด้านพลังงานที่อาจเกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชียอย่างแข็งขัน ควบคู่กับการสานสัมพันธ์กับประเทศในตะวันออกกลางและประเทศผู้ผลิตพลังงานในภูมิภาคอื่นๆ รวมถึงประเทศที่อยู่ในเส้นทางลำเลียงพลังงานเหล่านี้ด้วย

ประเด็นสำคัญในเอกสารนโยบายระหว่างประเทศดังกล่าว ยังระบุถึงความพยายามที่จะส่งเสริมมาตรการประหยัดพลังงาน การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ การพัฒนา และใช้ประโยชน์ จากแหล่งพลังงานทางเลือก ซึ่งรวมถึงการสนองตอบต่อประเด็น ว่าด้วยการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

“ประเด็นว่าด้วยพลังงานจะต้องได้รับการบรรจุเป็นประหนึ่งเป้าหมายของ 3Es คือทั้ง Economic growth, Energy security และ Environment protection ซึ่งญี่ปุ่นจะแสดงบทบาท นำในการส่งเสริมความร่วมมือระดับนานาชาติเพื่อพัฒนาและใช้ประโยชน์จากแหล่งพลังงานทางเลือก” เอกสารระบุ

รูปธรรมชัดเจนที่เกี่ยวเนื่องกับกรณีดังกล่าว ได้หมายรวม มิติในการสร้างเสริมความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายว่าด้วยพลังงานนิวเคลียร์ของญี่ปุ่น ซึ่งมีบทบาทอย่างสำคัญในโครงสร้างพลังงาน ของญี่ปุ่นในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งย่อมหมายถึงความพยายามที่จะส่งออกเทคโนโลยีด้านพลังงานเหล่านี้ออกไปสู่นานาประเทศด้วย

ขณะเดียวกัน ภายใต้ข้อกำหนดของพิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) ว่าด้วยการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ญี่ปุ่นจะดำเนินการเพื่อส่งเสริมให้ประเทศกำลังพัฒนาให้ความสนใจต่อพลังงานที่นำกลับมาใช้ใหม่ ควบคู่กับการส่งเสริม Clean Development Mechanism เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้

หากแต่วิกฤติจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของญี่ปุ่น อาจส่งผลให้ทางเลือกว่าด้วยพลังงานจากก๊าซธรรมชาติในรูปของ LNG (Liquefied Natural Gas) กลายเป็นคำตอบในระยะสั้นสำหรับญี่ปุ่นในห้วงยามที่ยากลำบากในปัจจุบัน

ภายใต้ข้อเท็จจริงที่ญี่ปุ่นมีทรัพยากรธรรมชาติอย่างจำกัด ทำให้ญี่ปุ่นจำเป็นต้องแสวงหาหนทางในการได้มาอย่างเพียงพอเพื่อตอบสนองต่อการจำเริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ควบคู่กับการพัฒนาเทคโนโลยีในระดับต่างๆ มาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งกรณีดังกล่าว ดำเนินไปทั้งในบริบทของนโยบายแห่งรัฐและกิจกรรมของภาคธุรกิจเอกชน

ประเด็นที่น่าสนใจประการหนึ่งอยู่ที่ญี่ปุ่นเป็นผู้นำเข้าก๊าซ ธรรมชาติในรูปของ LNG มากที่สุดรายหนึ่งของโลก โดยมีสัดส่วนการนำเข้า LNG มากถึงร้อยละ 66 ของปริมาณการซื้อขาย LNG ในตลาดโลกในช่วงทศวรรษ 1990 ก่อนที่สัดส่วนดังกล่าวจะลดลงเหลือร้อยละ 48 ในช่วงปี 2002 หลังจากที่นานาประเทศหันมาให้ความสนใจในการใช้ LNG มากขึ้น

โดยเฉพาะเกาหลีใต้ที่เร่งพัฒนาเศรษฐกิจและกลายเป็นผู้นำเข้า LNG อันดับสองของโลก ขณะที่จีนและอินเดียเริ่มลงทุน สร้าง terminal เพื่อนำเข้า LNG และคาดว่าทั้งสองประเทศนี้จะกลายเป็นผู้บริโภค LNG รายใหญ่ในอนาคตอันใกล้

LNG เป็นแหล่งพลังงานสำคัญที่เติมเต็มความต้องการใช้พลังงานของญี่ปุ่นในสัดส่วนที่มากถึงร้อยละ 12 โดย LNG ที่นำเข้ามานี้กว่า 2 ใน 3 ถูกลำเลียงเข้าสู่กระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้า โดย Tokyo Electric Power Co. (TEPCO) ซึ่งเป็นผู้ให้บริการไฟฟ้ารายใหญ่ของญี่ปุ่น ระบุว่าในอนาคตอันใกล้การผลิตกระแส ไฟฟ้าของญี่ปุ่นจะอาศัย LNG ในสัดส่วนที่มากถึงร้อยละ 40 ซึ่งใกล้เคียงกับการผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยเตาปฏิกรณ์ปรมาณูเลยทีเดียว

หาก TEPCO และโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ทั้งหลายที่ญี่ปุ่นมีอยู่ในขณะนี้จะไม่ถูกตั้งข้อรังเกียจจากปรากฏการณ์ที่น่าสะเทือนขวัญครั้งนี้เสียก่อน

ขณะเดียวกัน ญี่ปุ่นพยายามเสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงานด้วยการประกาศนโยบายว่าด้วยการขนส่งก๊าซธรรมชาติจากเดิมที่อยู่ในรูปของเหลว (Liquefied Natural Gas: LNG) มาสู่การใช้เทคโนโลยีแบบใหม่ที่จะทำก๊าซธรรมชาติอยู่ในรูปของแข็ง (solidified natural gas) หรือในรูปของ natural gas hydrate (NGH) แทน

มาตรการดังกล่าวเกิดขึ้นเพื่อตอบสนองต่อข้อเท็จจริงที่ว่า การลงทุนในแหล่งก๊าซธรรมชาติในรูปของ LNG ส่วนใหญ่ต้องใช้งบประมาณในการลงทุนมหาศาลในกระบวนการผลิต ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญที่ขัดขวางการลงทุนพัฒนาแหล่งก๊าซขนาดกลางและเล็กที่มีอยู่อย่างหนาแน่นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปโดยปริยาย และเป็นแรงผลักดันให้เกิดการวิจัยทางเทคโนโลยี NGH ขึ้นมา

นโยบายว่าด้วยการขนส่งก๊าซในรูปของ NGH ในด้านหนึ่งก็คือการประกาศความพร้อมของญี่ปุ่นที่จะเข้าครอบครองและลงทุนพัฒนาแหล่งก๊าซขนาดกลางและเล็ก ซึ่งภายใต้เงื่อนไข ของความคุ้มค่าในทางเศรษฐกิจยังไม่ได้รับการพัฒนาไปโดยปริยาย ซึ่งหากเทคโนโลยีว่าด้วย NGH สามารถลงหลักปักฐานใน เชิงธุรกิจ นั่นก็หมายความว่าญี่ปุ่นจะสามารถรุกเข้าไปครอบครอง แหล่งก๊าซขนาดกลางและเล็กเหล่านี้ได้ก่อนคู่แข่งขันรายอื่น

นี่เป็นเพียงตัวอย่างของการพัฒนาและกำหนดยุทธศาสตร์ ชาติ เพื่อสนับสนุนความจำเริญเติบโตอย่างยั่งยืนจากระดับขั้นของเทคโนโลยีที่มุ่งเน้นไปที่การสร้างหลักประกันที่มั่นคงเพียงพอ สำหรับตอบสนองความต้องการและสร้างประโยชน์สุขให้กับผู้คน ในชาติ ที่มีมิติเชื่อมโยงกับระบบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอย่างยากที่จะแยกออกจากกันได้

นอกจากนี้ ความพยายามที่จะพัฒนาพลังงานชีวภาพ (biofuel) ให้เป็นแหล่งพลังงานทดแทน fossil fuel ที่นับวันจะลดปริมาณลง และการแสวงหามาตรการเพื่อการใช้พลังงานสะอาด (clean energy) ซึ่งสอดรับกับข้อกำหนดของพิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) ได้เผยให้เห็นข้อจำกัดและโอกาสสำหรับอนาคตใหม่ไปพร้อมกัน

ในมิติของพลังงานสะอาดและพลังงานที่สามารถนำกลับมาใช้ได้ใหม่นั้น ญี่ปุ่นให้การสนับสนุนและพยายามเร่งความสนใจ ของผู้คนในสังคม โดยตั้งเป้าหมายให้ร้อยละ 70 ของบ้านที่ปลูกสร้างใหม่ ติดตั้งแผงพลังงานแสงอาทิตย์ ภายใต้มาตรการด้านภาษีและเงินช่วยเหลือในการติดตั้งด้วย

ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจมากประการหนึ่งก็คือ ญี่ปุ่นเป็นประเทศผู้ผลิตแผงพลังงานแสงอาทิตย์รายใหญ่ของโลก และเป็นประเทศที่มีการติดตั้งแผงพลังงานแสงอาทิตย์มากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยญี่ปุ่นนับเป็นประเทศที่สามารถผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ (Photovoltaic electricity) ได้มากเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากเยอรมนี

ขณะที่โครงการโรงผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ Solar Ark ในจังหวัดกิฟุ (Gifu Prefecture) ซึ่งเปิดตัวในห้วงเวลาเดียว กับที่ญี่ปุ่นเป็นเจ้าภาพจัดงาน World Expo 2005 ที่จังหวัดไอจิ (Aichi) ภายใต้แนวความคิด Nature’s Wisdom เป็นตัวอย่างหนึ่งในความพยายามของญี่ปุ่นที่จะสื่อสารและประกาศตัวเป็นผู้นำในเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์นี้

ญี่ปุ่นวางเป้าหมายว่าพลังงานแสงอาทิตย์จะเข้ามามีบทบาทในโครงสร้างพลังงานของชาติมากขึ้นเป็นลำดับ โดยพลังงานแสงอาทิตย์จะต้องสามารถรองรับความต้องการใช้พลังงานในระดับครัวเรือนได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ภายในปี 2050 เลยทีเดียว

สังคมญี่ปุ่นผ่านประสบการณ์และช่วงเวลาที่ยากลำบาก ทั้งจากภาวะสงคราม รวมถึงภัยพิบัติจากธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็น The Great Kanto Earthquake ในปี 1923 หรือ The Great Hanshin Earthquake ในปี 1995 ซึ่งแต่ละครั้งที่ผ่านมา ญี่ปุ่นได้พิสูจน์ให้ทั่วโลกได้ประจักษ์ถึงความสามารถของญี่ปุ่นในการเผชิญกับวิกฤติและฟื้นตัวขึ้นมาดำรงสถานะและบทบาทนำในเวทีโลก ภายในระยะเวลาที่รวดเร็ว

ผลกระทบจาก 2011 Tohoku Earthquake and Tsunami ในครั้งนี้ จึงอาจเป็นเพียงบททดสอบอีกบทหนึ่งก่อนการฟื้นตัวกลับขึ้นมาใหม่ของสังคมญี่ปุ่นเท่านั้น   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us