Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา เมษายน 2554
Renewable Beautiful Japan!             
โดย สมศักดิ์ ดำรงสุนทรชัย
 

   
related stories

The Great Lessons จาก Kanto สู่ Hanshin ถึง Tohoku
ทางแพร่งด้านพลังงาน บทพิสูจน์ที่แท้จริงของญี่ปุ่น
Aftershocks: ผลกระทบจากแรงสั่นไหว

   
search resources

Energy
Environment




2011 Tohoku Earthquake and Tsunami นอกจากจะสร้างความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สินแก่ผู้คนอย่างกว้างขวางในทันทีแล้ว ผลกระทบจากภัยพิบัติครั้งนี้ยังส่งผ่านแรงสั่นสะเทือน เสมือนเป็น aftershocks ให้เกิดเป็นแรงตระหนักตื่น ในระดับนานาชาติด้วยเช่นกัน

ผลพวงจากแผ่นดินไหว Tsunami และกัมมันตภาพรังสีที่แพร่กระจาย หลังจากกลไกด้านความปลอดภัยของโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ขัดข้อง และต่อเนื่องด้วยภาพของเตาปฏิกรณ์ปรมาณูเกิดเพลิงไหม้และระเบิดในเวลาต่อมา กลายเป็นประหนึ่งการตั้งคำถามต่ออนาคตของโลกในการใช้พลังงานบนเส้นทางนี้ไปโดยปริยาย

การที่ญี่ปุ่นมีข้อจำกัด ด้านทรัพยากรธรรมชาติ และ ต้องพึ่งพาการนำเข้าเชื้อเพลิงจากต่างประเทศเพื่อหล่อเลี้ยง การจำเริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และการผลิตกระแสไฟฟ้าอย่างมหาศาล ทำให้ญี่ปุ่นซึ่งเป็นประเทศหนึ่งเดียวที่ผ่านประสบ การณ์เลวร้ายด้านปรมาณู แต่กลับต้องหันมาให้ความสนใจกับเทคโนโลยีโรงไฟฟ้าพลังงาน ปรมาณู กลายเป็นยุทธศาสตร์ หลักด้านพลังงานแห่งชาติมาตั้งแต่เมื่อปี 1954

ผลพวงของการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างก้าวกระโดดของ ญี่ปุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ส่งผลให้ญี่ปุ่นกลายเป็นประเทศที่มีอัตราการบริโภคพลังงานอย่างมหาศาลและต่อเนื่อง ในลักษณะ ที่เพิ่มขึ้นทวีคูณ ตลอดทุกช่วง 5 ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงทศวรรษ 1960-1970 อัตราการบริโภคพลังงานของญี่ปุ่นเติบโตสูงกว่าการเติบโตของ GNP ด้วยซ้ำ

นอกจากนี้ วิกฤติการณ์น้ำมันสองครั้งในช่วงทศวรรษ 1970 (1973 และ 1979) กลายเป็นแรงกระตุ้นให้ญี่ปุ่นวางมาตรการเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงาน (energy security) เพื่อเป็นหลักประกันการเติบโตทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม ซึ่งเป็น เหตุให้พลังงานนิวเคลียร์ ยิ่งเบียดแทรกขึ้นมาในสังคมญี่ปุ่นอย่างมีนัยสำคัญในเวลาต่อมา

ตัวเลขที่น่าสนใจไม่น้อยก็คือ ในขณะที่ญี่ปุ่นมีประชากรเทียบได้เพียงร้อยละ 3 ของประชากรโลกทั้งหมด แต่ญี่ปุ่นกลับบริโภคพลังงานมากถึงร้อยละ 6 ที่โลกนี้ผลิตได้

ขณะที่ทางเลือกเรื่องพลังงานนิวเคลียร์ในระดับสากล ถูกท้าทายจากเหตุการณ์ Three Mile Island (TMI) ในรัฐเพนซิล วาเนีย สหรัฐอเมริกา เมื่อปี 1979 หรือแม้กระทั่งเหตุการณ์ Chernobyl ในยูเครน เมื่อปี 1986 แต่ดูเหมือนว่าภายใต้ความจำเป็นแห่งชาติในมิติของ ความต้องการใช้พลังงาน ทำให้โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ของญี่ปุ่นไม่ได้รับแรงคัดง้างหรือผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าวมากนัก

แม้จะมีกลุ่มผู้เคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อม ตั้งข้อสังเกตจาก ปรากฏการณ์ดังกล่าว รวมถึงการตั้งประเด็นคำถามเกี่ยวกับงบประมาณค่าใช้จ่ายในการลงทุน ก่อสร้าง รวมถึงปัญหาการกำจัด กากนิวเคลียร์ก็ตาม

ขณะเดียวกัน การรับรู้ว่าด้วยมาตรฐานความปลอดภัยแบบญี่ปุ่นได้ถูกทำให้เชื่อว่าโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ของญี่ปุ่นมีความปลอดภัย โดยสามารถเติบโตและขยายบทบาทได้ตลอดช่วงเวลากว่า 3 ทศวรรษนับตั้งแต่ทศวรรษ 1980 จนถึง ปัจจุบันด้วย

ญี่ปุ่นอาจเริ่มต้นก้าวเดินบนหนทางนิวเคลียร์ช้ากว่าประเทศ พัฒนาอื่นๆ แต่ภายในเวลาไม่นานญี่ปุ่นกลับกลายเป็นประเทศที่มีโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์มากเป็นอันดับสามของโลก ด้วยจำนวนเตาปฏิกรณ์รวม 55 แห่ง จะเป็นรองก็แต่เพียงสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีเตาปฏิกรณ์ปรมาณูมากที่สุดรวม 104 แห่ง และฝรั่งเศสที่มีอยู่ 59 แห่ง

การผลิตกระแสไฟฟ้าของญี่ปุ่นนอกจากจะพึ่งพิงพลังงานนิวเคลียร์กว่าร้อยละ 25-26 แล้ว ญี่ปุ่นยังต้องอาศัยการนำเข้าถ่านหิน (Coal) ในการผลิตไฟฟ้าอีกกว่าร้อยละ 27 ก๊าซธรรมชาติ ในรูปของ LNG (Liquefied Natural Gas) อีกร้อยละ 26 และน้ำมัน (Oil) อีกร้อยละ 13 โดยสามารถพึ่งพาพลังงานจากเขื่อนผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ หรือการนำพลังงานลมและแสงอาทิตย์มาใช้ ได้รวมเพียงร้อยละ 9-10 เท่านั้น

ญี่ปุ่นเคยประกาศแนวคิดว่าด้วย Beautiful Japan ในสมัย Shinzo Abe เป็นนายกรัฐมนตรี (26 กันยายน 2006-26 กันยายน 2007) โดยวางเป้าหมายในการเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Society) ด้วยการพยายามปรับระบบเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Co2 emission) จากระดับที่เป็นอยู่เมื่อปี 2000 ให้เหลือร้อยละ 25 ภายในปี 2020 และลดลงให้ได้ร้อยละ 54 ภายในปี 2050 รวมถึงลดลงร้อยละ 90 ภายในปี 2100

เป้าหมายดังกล่าวดำเนินไปโดยมีพลังงานนิวเคลียร์ เป็นกลไกสำคัญสำหรับอนาคตของญี่ปุ่น ภายใต้ความเชื่อที่ว่า “พลังงานนิวเคลียร์สามารถลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึงร้อยละ 14 ต่อปี”

ซึ่งนั่นหมายความว่าญี่ปุ่นจะพึ่งพิงพลังงานนิวเคลียร์ในระดับที่สูงถึงร้อยละ 60 ภายในปี 2100 จากที่เป็นอยู่ในระดับ ร้อยละ 10 ในปัจจุบัน ขณะที่พลังงานที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ (renewable energy) ได้รับการกำหนดบทบาทไว้เพียงระดับร้อยละ 10 จากระดับปัจจุบันที่ร้อยละ 5 โดยญี่ปุ่นจะลดการพึ่งพิงพลังงานฟอสซิล (fossil fuels) จากระดับร้อยละ 85 ให้เหลือเพียงร้อยละ 30 เท่านั้น

อย่างไรก็ดี ยุทธศาสตร์ด้านพลังงานของญี่ปุ่นซึ่งเคยวางน้ำหนักและมีเข็มมุ่งหลักอยู่ที่พลังงานนิวเคลียร์ อาจกำลังเผชิญกับความท้าทายสำคัญอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน

เพราะภายหลังเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ ฟุกุชิมะ-ไดอิชิ (Fukushima Dai-ichi) ไม่เพียงส่งผลกระทบต่อเนื่องไปสู่ประเด็นมาตรฐาน ความปลอดภัยและความคุ้มค่าทางสังคมและสิ่งแวดล้อมของโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์แห่งอื่นๆ ที่มีอยู่ในญี่ปุ่นเท่านั้น แต่ยังส่งผลสะเทือนอย่างยิ่งในระดับโลกด้วย

“พลังงานนิวเคลียร์เป็นพลังงานทางเลือกที่ใช้สมองน้อยที่สุด” เป็นทัศนะที่นักวิชาการด้านพลังงานทดแทนและนักอนุรักษ์ จำนวนไม่น้อยเห็นพ้องกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว

มูลเหตุที่เป็นเช่นนั้น ในด้านหนึ่งเป็นเพราะตลอดเวลาที่ผ่านมาการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ดำเนินไปโดยมีเป้าประสงค์ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการใช้พลังงานในแต่ละสังคม ที่มักจะแยกส่วนจากบริบททางสังคมอื่นๆ

แตกต่างจากการพัฒนาวิจัยแหล่งพลังงานทดแทนที่ต้องตระหนักถึงห่วงโซ่ และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการใช้พลังงานให้คุ้มค่าต่อเนื่องถึงกันอย่างรอบด้าน

ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีความท้าทายภูมิปัญญาและจิตสำนึกร่วมของ ผู้คนในสังคมมากกว่ามาก

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากพิจารณาจากข้อเท็จจริงว่าด้วยการเป็นสังคมผู้สูงอายุ (Aged Society) ซึ่งเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กับ ฐานโครงสร้างประชากร ญี่ปุ่นจำเป็นจะต้องแสวงหาและพัฒนาเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าที่พร้อมจะรองรับภาระทางสังคมที่เปลี่ยนไปนี้

บางทีวิกฤติและปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจากมหาวินาศภัยในครั้งนี้ อาจเป็นโอกาสให้ญี่ปุ่นได้หันกลับมาพิจารณาและทบทวน ยุทธศาสตร์และนโยบายว่าด้วยพลังงาน และขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สังคมญี่ปุ่นครั้งใหญ่ทั้งระบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานสะอาดและพลังงานที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ (Renewable Energy) อย่างจริงจังให้มากขึ้น

ทั้งนี้ เพื่อสร้างญี่ปุ่นให้กลับมารุ่งเรืองทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี เป็น Renewable Japan ขึ้นมาอีกครั้ง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us