Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา เมษายน 2554
The Great Lessons จาก Kanto สู่ Hanshin ถึง Tohoku             
โดย สมศักดิ์ ดำรงสุนทรชัย
 

   
related stories

Renewable Beautiful Japan!
ทางแพร่งด้านพลังงาน บทพิสูจน์ที่แท้จริงของญี่ปุ่น
Aftershocks: ผลกระทบจากแรงสั่นไหว

   
search resources

Environment




โศกนาฏกรรมจากเหตุแผ่นดินไหวที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะฮอนชู ประเทศญี่ปุ่นหรือเขต Tohoku ด้วยระดับความรุนแรง (Magnitude) 9.0 เมื่อวันที่ 11 มีนาคมที่ผ่านมา นับเป็นแผ่นดินไหวที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่นและรุนแรงเป็นอันดับ 5 ของโลก

ความรุนแรงของแผ่นดินไหวส่งผลให้เกิดคลื่นสึนามิความเร็วถึง 800 กม.ต่อชั่วโมง ความสูง 10-20 เมตร โถมเข้า หาพื้นที่ชายฝั่งอย่างรวดเร็วภายในเวลาไม่ถึง 1 ชั่วโมงถัดมา โดยจังหวัดมิยากิและจังหวัดฟุกุชิมะเป็นพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายหนักที่สุด ขณะที่แรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวครอบคลุมพื้นที่ตลอดแนวชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก นับตั้งแต่เหนือสุดของเกาะฮอนชูลงมาถึงโตเกียว

แม้ตัวเลขความเสียหาย ณ ขณะปัจจุบันยังไม่สามารถประเมินได้แน่ชัด

แต่ยอดผู้เสียชีวิตที่พุ่งขึ้นทุกขณะนับหมื่นคน จำนวนผู้ไร้ที่อยู่อาศัยอีกนับแสน รวมทั้งความเสียหายอย่างหนักที่เกิดขึ้นกับสนามบินเซนได โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ที่ฟุกุชิมะ โรงกลั่น น้ำมัน ท่าเรือ ระบบคมนาคมขนส่ง โรงงานอุตสาหกรรม พื้นที่เกษตรกรรม รวมไปถึงทรัพย์สินของประชาชน ได้รับการประเมิน ในเบื้องต้นว่า จะมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 100,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นประมาณร้อยละ 2 ของจีดีพีของญี่ปุ่นเลยทีเดียว

เขต Tohoku หรือที่ตามรากศัพท์ในภาษาญี่ปุ่นหมายถึงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วยเขตปกครองในลักษณะจังหวัด (prefecture) รวม 6 จังหวัด ไล่เรียงตั้งแต่อาโอโมริ (Aomori) อิวาเตะ (Iwate) อะกิตะ (Akita) ยามากาตะ (Yamagata) มิยากิ (Miyagi) และฟุกุชิมะ (Fukushima) นับเป็นเขตที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจมากแห่งหนึ่งของญี่ปุ่น โดยเศรษฐกิจของ Tohoku มีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 6.4 ของจีดีพี ญี่ปุ่นทั้งประเทศ

ความสำคัญของ Tohoku อีกประการหนึ่งอยู่ที่ Tohoku ได้ถูกกำหนดให้เป็น Industrial Hubs ในหลากหลายอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมยานยนต์ เหล็ก การกลั่นน้ำมัน อุปกรณ์สื่อสาร และอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งภาพความเสียหายที่ได้พบเห็นจากซากรถยนต์เกลื่อนกลาด และเปลวเพลิงที่โหมกระหน่ำโรงกลั่นน้ำมันคงเป็นประจักษ์พยานในเรื่องดังกล่าวได้ดี

แม้สังคมญี่ปุ่นจะมีแผนรองรับกับเหตุวินาศภัย และได้พัฒนาองค์ความรู้ในเรื่องภัยธรรมชาติมาอย่างต่อเนื่อง แต่นั่นก็มิได้เป็นหลักประกันว่าจะไม่มีความเสียหายเมื่อปรากฏเหตุร้ายแรงขึ้นจริง

ด้วยสภาพทางภูมิศาสตร์ที่ประกอบด้วยหมู่เกาะใหญ่น้อย ในเขตภูเขาไฟตามแนว Pacific Ring of Fire และตั้งอยู่บนแนวแยกเลื่อน (Fault line) ทำให้ในแต่ละปีมีเหตุแผ่นดินไหวในประเทศญี่ปุ่น ที่ตรวจนับได้มากถึงกว่า 1,000 ครั้ง ด้วยแรงสั่นสะเทือนและผลกระทบขนาดต่างๆ กัน การเรียนรู้ที่จะปรับแต่งสภาพความเป็นอยู่ให้สอดคล้องกับวิถีแห่งธรรมชาติ ในระดับสังคมชุมชนรากหญ้าของญี่ปุ่น ด้วยการสร้างบ้านเรือนที่ประกอบ ด้วยฝาไม้ และวัสดุน้ำหนักเบา จึงกลายเป็นภาพที่ชินตา

แต่จุดเปลี่ยนที่ก่อให้เกิดเป็นเค้าโครงของ platform ในเชิงยุทธศาสตร์ว่าด้วยการป้องกันและบรรเทาวินาศภัยในระดับชาติของญี่ปุ่น ส่วนหนึ่งเป็นผลจากภัยพิบัติครั้งร้ายแรงที่ได้รับการขนานนามในฐานะ The Great Kanto Earthquake ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน 1923

The Great Kanto Earthquake สร้างความสูญเสียอย่าง มหาศาลและครอบคลุมพื้นที่ของ Tokyo Yokohama รวมถึง Chiba Kanagawa และ Shizuoka โดยผลของแผ่นดินไหวก่อให้เกิดเหตุเพลิงไหม้กระจายอยู่ทั่วพื้นที่กรุงโตเกียว และพื้นที่โดยรอบ ส่งผลให้มีบ้านเรือนถูกทำลายเสียหายมากกว่า 570,000 หลังคาเรือน ทำให้ประชาชนกว่า 2 ล้านคนไร้ที่อยู่อาศัยหรือต้อง อพยพออกจากพื้นที่

ภายหลังเหตุการณ์สงบลง ญี่ปุ่นพยายามจัดวางแผนแม่บท เพื่อการป้องกันภัยไม่ให้เกิดความสูญเสียจากเหตุรุนแรงในอนาคต ด้วยการวางโครงข่ายถนนและรถไฟ รวมถึงบริการสาธารณะอื่นๆ ในกรุงโตเกียวขึ้นใหม่ พร้อมกับการเสนอผังเมืองใหม่ให้มีสวนสาธารณะในจุดต่างๆ กระจายทั่วกรุงโตเกียว เพื่อใช้สำหรับเป็นสถานที่หลบภัยและศูนย์อพยพในกรณีที่เกิดเหตุแผ่นดินไหวหรือวิบัติภัยอื่นๆ ในอนาคต

ขณะที่อาคารที่ทำการของหน่วยงานภาครัฐแต่ละแห่งยังได้รับการออกแบบอย่างเข้มงวดให้มีมาตรฐานความแข็งแรงที่สูงขึ้น ควบคู่กับการวางระบบสาธารณูปการพื้นฐานสำรองไว้ สำหรับการแปลงสภาพเป็นที่พักพิงชั่วคราวเพื่อรองรับการอพยพของประชาชนด้วย

ก่อนที่ภัยแห่งสงครามโลกครั้งที่ 2 จะขยายตัวเข้ามาสร้างความเสียหายให้กับกรุงโตเกียวและประเทศญี่ปุ่นอีกครั้ง โดยมี Hiroshima และ Nagasaki เป็นประจักษ์พยานแห่งความโหดร้ายของสงครามบนแผ่นดินญี่ปุ่น

ประสบการณ์ที่ได้รับจากการเผชิญหน้ากับความสูญเสียครั้งใหญ่ถึง 2 ครั้ง ทั้งจากธรรมชาติและน้ำมือของมนุษย์ในช่วงเวลาห่างกันเพียง 2 ทศวรรษดังกล่าว กลายเป็นประหนึ่งบททดสอบพิสูจน์ความสามารถ ที่เปิดโอกาสให้ญี่ปุ่นได้กำหนดทิศทาง การพัฒนาและวิธีจัดการกับวินาศภัยในเวลาต่อมา

ความกังวลใจประการสำคัญของสังคมญี่ปุ่นเกี่ยวกับเหตุแผ่นดินไหว ในยุคหลัง The Great Kanto Earthquake อยู่ที่การคาดหมายของนักวิทยาศาสตร์และนักธรณีวิทยา ซึ่งระบุถึงความเป็นไปได้ที่จะเกิดเหตุแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ ที่ได้รับการกล่าว ถึงในฐานะของ Big One เพราะจะมีความรุนแรงในการทำลายสูง และอาจเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ทั้งในเขตมหานครกรุงโตเกียวและปริมณฑลโดยรอบของเขต Kanto เลยทีเดียว

ขณะเดียวกันองค์ความรู้เกี่ยวกับ Tsunami ที่ได้พัฒนาขึ้นเป็นลำดับ นอกจากจะทำให้ประชาคมนานาชาติประสานความร่วมมือกันในการสร้างระบบเตือนภัยล่วงหน้า เช่นในกรณี ของ Pacific Tsunami Warning System: PTWS แล้ว

การป้องกันภัย Tsunami ที่เป็นรูปธรรมของญี่ปุ่น ยังปรากฏออกมาในรูปของการลงทุนสร้างเขื่อน และกำแพงคอนกรีต (breakwater) เป็นแนวยาวครอบคลุมชายฝั่งในพื้นที่เสี่ยงภัยรวมระยะทางกว่า 15,065 กิโลเมตร จากชายฝั่งทะเลทั้งหมดของ ประเทศที่มีระยะทางรวม 34,840 กิโลเมตร

และเมื่อระบบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเข้าสู่ยุคสมัยของยุคหลังสงครามเย็น (Post Cold War Era) ตั้งแต่ช่วงต้นของทศวรรษ 1990 ได้มีส่วนสำคัญผลักดันให้ญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจโลกพยายามที่จะแสดงบทบาทนำในเวทีประชาคมนานาชาติเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ

การประชุมภายใต้กรอบ United Nations Framework Convention on Climate Change (UNFCCC) หรือที่เรียกขานอย่างไม่เป็นทางการว่า Earth Summit ซึ่งเริ่มต้นขึ้นในปี 1992 ที่เมือง Rio de Janeiro โดยมีวัตถุประสงค์อยู่ที่ความพยายามลดปริมาณการปล่อยสารเรือนกระจก (greenhouse gas emission) ดูจะเป็นตัวอย่างบทบาทของญี่ปุ่นในเวทีความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศที่เด่นชัดที่สุดกรณีหนึ่ง

ก่อนที่ข้อตกลงที่เกิดจากการประชุมภายใต้กรอบดังกล่าว ได้รับการเรียกขานในฐานะ Kyoto Protocol จากผลของการเจรจา ที่เมืองเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น เมื่อเดือนธันวาคม 1997

ขณะที่การประชุมภายใต้กรอบของสหประชาชาติว่าด้วย World Conference on Disaster Reduction (UNWCDR) ครั้งแรกซึ่งได้จัดให้มีขึ้นเมื่อเดือนพฤษภาคม 1994 ที่ Yokohama ประเทศญี่ปุ่น ได้นำไปสู่ร่างแผนยุทธศาสตร์ระดับนานาชาติ ภายใต้ชื่อ Yokohama Strategy and Plan of Action for a Safer World สำหรับลดทอนผลกระทบจากวิบัติภัยจากธรรมชาติ ที่ก่อให้เกิดความสูญเสียในชีวิตและความเสียหายทางเศรษฐกิจอย่างมากมายตลอดเวลาที่ผ่านมาด้วย

Yokohama Strategy ดังกล่าวนอกจากจะเปิดศักราชใหม่ในความพยายามของมนุษย์ที่จะอยู่ร่วมกับวิบัติภัยจากธรรมชาติหลากหลายรูปแบบด้วยความเข้าใจและปลอดภัยแล้ว กรณีดังกล่าวยังนับเป็นการเปิดโอกาสและพื้นที่ให้ญี่ปุ่นได้แสดงบทบาทนำ ในฐานะ The Big One ในเวทีระดับนานาชาติ ที่มีความพร้อมทั้งระดับเทคโนโลยี และปัจจัยทางเศรษฐกิจสำหรับสนับสนุนกิจกรรมดังกล่าวอย่างไม่อาจปฏิเสธ

บททดสอบพิสูจน์ศักยภาพในการก้าวขึ้นเป็น The Big One ของญี่ปุ่นในระเบียบโลกใหม่ ภายหลังการประชุมดังกล่าว เดินทางเข้ามาตรวจสอบและท้าทายอย่างรวดเร็วในอีกไม่กี่เดือนถัดมา เมื่อเหตุแผ่นดินไหวครั้งร้ายแรงที่เมือง Kobe ในเขตจังหวัด Hyogo ซึ่งได้รับการขนานนามต่อมาว่า The Great Hanshin Earthquake เมื่อวันที่ 17 มกราคม 1995

แรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวได้ส่งผลให้สิ่งปลูกสร้างและอาคารพังทลายทับถมร่างของประชาชน เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมากถึง 6,500 คน มีมูลค่าความเสียหาย ทางเศรษฐกิจได้รับการประเมินว่าอยู่ในระดับที่มากถึง 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐ

เหตุการณ์ดังกล่าวได้ก่อให้เกิดคำถามและข้อท้าทายใหม่ๆ สำหรับสังคมญี่ปุ่นในเวลาต่อมา โดยเฉพาะกรณีว่าด้วยมาตรฐาน การก่อสร้างที่วิศวกรญี่ปุ่นเคยมั่นใจในความปลอดภัยได้รับการทบทวนใหม่ควบคู่กับการคิดค้นเพื่อสร้างแบบจำลองอาคารและสิ่งปลูกสร้างที่มีความมั่นคงและสามารถรองรับรูปแบบการสั่นเคลื่อนจากเหตุแผ่นดินไหวในลักษณะต่างๆ สำหรับรองรับกับวินาศภัยที่มองไม่เห็นและคาดการณ์ไม่ได้นี้

การบูรณะและฟื้นฟู Kobe จากซากความเสียหายดำเนิน ไปอย่างรวดเร็ว และเสร็จสิ้นสมบูรณ์ลงด้วยระยะเวลาเพียง 5 ปี ซึ่งกรณีดังกล่าวได้สะท้อนให้เห็นถึงความสามารถของญี่ปุ่นในการบรรเทาสาธารณภัยที่มิได้เกิดขึ้นเพียงเพราะระดับขั้นของพัฒนาการทางเทคนิควิทยาการที่ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องเท่านั้น หากแต่ในด้านหนึ่งเป็นผลของการเก็บรับประสบการณ์เลวร้าย ที่เกิดขึ้นอย่างหลากหลายมาเป็นบทเรียนได้อย่างแหลมคม

การเก็บกู้ซากความเสียหายดำเนินไปอย่างมีแผนการ ควบคู่กับการเว้นร่องรอยความเสียหายในพื้นที่บางส่วนไว้สำหรับ จัดสร้างเป็นอนุสรณ์สถาน เพื่อให้ญาติของผู้เสียชีวิตได้มีโอกาสเข้าร่วมพิธีรำลึกเหตุการณ์

ขณะเดียวกันก็เป็นเครื่องเตือนใจสำหรับผู้ที่ไม่ได้มีโอกาส ได้รับรู้ความรุนแรงและความสูญเสียจากเหตุแผ่นดินไหวในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการให้การศึกษาด้วย ซึ่งกรณีดังกล่าวย่อมยากที่จะเกิดขึ้นได้ หากไม่มีการเตรียมการและแผนแม่บทรองรับ ทั้งในระดับนโยบายและผู้ปฏิบัติการ

แต่ความเสียหายจากเหตุการณ์ที่ได้รับการเรียกขานในปัจจุบันว่า 2011 Tohoku Earthquake and Tsunami ดูจะเป็น กรณีที่มีบริบทเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์ไปไกลกว่าที่สังคมญี่ปุ่นได้เตรียมการรองรับไว้อย่างมากทีเดียว

โดยเฉพาะความเสียหายที่เกิดขึ้นกับเตาปฏิกรณ์โรงไฟฟ้า พลังงานนิวเคลียร์ ฟุกุชิมะ ไดอิชิ ไม่เพียงแต่สั่นคลอนความน่าเชื่อถือของระบบการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของญี่ปุ่นเท่านั้น หากยังส่งผลกระเทือนต่อกระบวนการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชน และการทบทวนการตรวจสอบทางการเมืองการบริหาร

บริษัทผู้ผลิตไฟฟ้า TEPCO หรือ Tokyo Electric Power Company ถูกเปิดโปงว่ารายงานผลการตรวจสอบโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะที่เป็นเท็จ โดยอุปกรณ์กว่า 33 ชิ้นไม่ได้รับการตรวจสอบ และแผงจ่ายไฟฟ้าวาล์วควบคุมอุณหภูมิ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ สำคัญไม่ได้รับการตรวจสภาพมานานถึง 11 ปี และเป็นเหตุให้เมื่อเกิดแผ่นดินไหว เครื่องปั่นไฟในระบบหล่อเย็นไม่ทำงาน จนก่อให้เกิดความเสียหายตามมา

ที่สำคัญก็คือ นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ TEPCO รายงานเท็จเรื่องการตรวจสอบความปลอดภัยโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เพราะเมื่อ 9 ปีก่อน TEPCO ก็เคยรายงานเท็จ จนในที่สุดรัฐบาลญี่ปุ่นต้องสั่งปิดเตาปฏิกรณ์ 17 แห่งเพื่อตรวจสอบความปลอดภัยมาแล้ว

ความเป็นไปและอนาคตของ TEPCO นับจากนี้กำลังถูกจับตามอง และมีความเป็นไปได้อย่างมากที่รัฐบาลญี่ปุ่นอาจเข้าครอบครองกิจการของ TEPCO เพื่อตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ หลังจากที่ TEPCO อาจต้องจ่ายเงินชดเชยความเสียหายครั้งนี้เป็นเงินมากถึง 4 ล้านล้านเยน

ขณะที่แผนการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เพิ่มเติมอีก 14 แห่ง ซึ่งมีกำหนดจะสร้างเสร็จภายในปี 2573 ถูกคำสั่งให้ทบทวน หรือแม้กระทั่งระงับโครงการไปโดยปริยาย

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ จึงเป็นประหนึ่งลิ่มที่ตอกแทงเข้าไปทำลายความน่าเชื่อถือของระบบการบริหารจัดการของญี่ปุ่นอย่างรุนแรง

โดยเฉพาะเมื่อประกอบส่วนกับการรั่วไหลของกัมมันตภาพ รังสีที่ปนเปื้อนผลิตผลทางการเกษตรทั้งพืชผักและเนื้อสัตว์ รวมถึงน้ำนม ซึ่งผลักให้ญี่ปุ่นต้องเผชิญกับปัญหารอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นวิกฤติพลังงาน วิกฤติด้านอาหาร หรือแม้กระทั่งวิกฤติทางการเมืองในระยะถัดจากนี้

รวมทั้งยุทธศาสตร์และทิศทางในแนวนโยบายว่าด้วยพลังงานของญี่ปุ่นอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนไปพร้อมกัน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us