|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
iPad มิได้เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อความบันเทิงแต่เพียงอย่างเดียว หากยังเป็นสื่อใหม่สำหรับการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 อีกด้วย
โรงเรียนประถมศึกษา Burley แห่งนครชิคาโก เป็น 1 ใน 20 โรงเรียนรัฐในพื้นที่ชิคาโกที่ได้รับทุนทดลองใช้ iPad ในห้องเรียน อันเป็นส่วนหนึ่งของโครงการนำร่องการใช้เทคโนโลยี iPad ในวงการศึกษาสหรัฐฯ เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปลายปี 2010 ที่ผ่านมา โดย Chicago Public Schools (CPS) เปิดโอกาสให้แต่ละโรงเรียนสามารถยื่นประกวดข้อเสนอแนวทางการใช้ iPad ในห้องเรียน เพื่อรับทุนสนับสนุนมูลค่า 20,000 เหรียญสหรัฐ แบ่งเป็น iPad จำนวน 32 เครื่อง คอมพิวเตอร์ MacBook Pro จำนวน 1 เครื่อง สำหรับใช้เป็นศูนย์กลางในการ syncing และเครดิตมูลค่า 200 เหรียญ สำหรับซื้อ application จากร้าน iTunes และรถใส่อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ทั้งหลาย นอกจากนั้น ครูที่เข้าร่วมโครงการ จะได้รับการฝึกอบรมการใช้ iPad ในห้องเรียนอย่าง ถูกวิธีไปในทิศทางเดียวกัน พร้อมทั้งมีการแลกเปลี่ยน ประสบการณ์การปฏิบัติ รวมถึงแง่คิดและมุมมองใหม่ๆ ระหว่างโรงเรียนด้วย โดยมี Apple เป็นศูนย์กลางในการจัดการอบรม
วัตถุประสงค์หลักของโรงเรียน Burley ต่อการใช้ iPad ในห้องเรียนคือเพื่อพัฒนาวิถีทางเพิ่มทักษะความสามารถของนักเรียนในการตั้งโจทย์คำถาม การค้นคว้าหาข้อมูลอย่างเป็นระบบ รวมไปถึงการร่วมมือและแบ่งปันความรู้กับผู้อื่น เพื่อขยาย ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วย ปรับปรุงการเรียนรู้ของนักเรียน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเข้าใจบทเรียนของนักเรียน ด้วยการจัดหาบทเรียนมัลติมีเดียที่หลากหลายมาใช้ในห้องเรียน ด้วยการเลือกใช้ applications ที่เหมาะสม เพื่อเพิ่มทักษะในการฟังและการอ่าน ท้ายสุด กำหนด นโยบายสำหรับนักเรียนใช้ในการแบ่งปันความรู้เนื้อหาสาระที่ถูกต้องซึ่งกันและกัน
ในเบื้องต้น ทางโรงเรียน Burley ให้นักเรียน ในระดับเกรด 1 และเกรด 2 หรือนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 1 และ 2 ใช้ iPad ในศูนย์การอ่านในช่วง เวลาเรียนตอนบ่าย โดยมีครูเป็นผู้แนะแนวทางในการใช้ application บน iPad ด้วยการแบ่งนักเรียน ออกเป็นกลุ่มเล็กๆ ให้เด็กมีความคุ้นเคยกับอุปกรณ์ ชิ้นใหม่และกิจวัตรการเรียนแบบใหม่นี้ เพื่อเพิ่มทักษะความเข้าใจในการอ่าน การฟังและจดจำคำศัพท์ โดยหัดตั้งคำถามในใจ ระหว่างที่กำลังฟังกำลังอ่าน หรือกำลังดูอยู่ และพยายามตอบคำถามนั้นให้ได้ ไม่ว่าจะด้วยวิธีใดก็ตาม คำตอบไม่จำเป็นต้องมาจากตัวหนังสือเพียงอย่างเดียว
จากนั้น เริ่มให้นักเรียนเรียนรู้วิธีการบันทึกเสียงของตนเองลงบน iPad เพื่อเป็น การฝึกฝนการอ่านและการออกเสียง นักเรียนสามารถฟังเสียงบันทึกของตนเองและสามารถ แก้ไขและบันทึกให้ถูกต้องตามกฎที่ครูให้มา นอกจากนั้นนักเรียนยัง เรียนรู้การใช้โปรแกรมกราฟิก และเอกสารปฏิสัมพันธ์ เพื่อสร้างแผนงานร่วมกัน โดยนักเรียนจะรู้จักการนำรูปภาพ วิดีโอ พอดแคส และสไลด์ มาใช้ประกอบในการผลิตผลงาน เป็นการช่วยเพื่อนที่ไม่ชอบการอ่านสามารถเข้าใจบทเรียนได้เหมือนกัน
กิจกรรมเหล่านี้จะช่วยให้ฝึกให้นักเรียนคิดอย่างสร้างสรรค์ ก่อให้เกิดความเข้าใจในการอ่านและการออกเสียง นำนักเรียนไปสู่แนวคิดของการบันทึกเสียงอย่างสร้างสรรค์ ซึ่งในอนาคตถือเป็นองค์ประกอบสำคัญสำหรับงานที่ต้องใช้การสัมภาษณ์และการบันทึกเสียง ในที่นี้หมายถึง podcasting นับได้ว่า โครงการนำร่องนี้เป็นการฝึกเยาวชนรุ่นใหม่ให้มีความสามารถใน การผลิตผลงานสื่อของตัวเอง เพื่อนำไปใช้ได้ในอนาคต ที่การรับรู้และนำเสนอสื่อสำหรับการเรียนรู้จะเปลี่ยน แปลงไปสู่ยุคดิจิตอลอย่างแท้จริง
แน่นอน เทคโนโลยีใหม่ทำให้ครูหลายคนตื่นเต้น ตื่นตัวที่จะเรียนรู้เทคนิคการใช้ iPad เพื่อการสอน แต่ทุกอย่างล้วนมีข้อดีและข้อเสีย เสมือนดาบสองคม หาก iPad ตกไปอยู่ในมือของผู้ใช้ ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ที่มีวินัยและความรับผิดชอบต่ำ ผลเสียจากการใช้ เทคโนโลยีสมัยใหม่นี้ย่อมเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน ดังนั้น ผู้เกี่ยวข้องในเชิงนโยบายต้องมีมาตรการการควบคุมและข้อปฏิบัติการใช้ iPad ในห้องเรียนที่มีมาตรฐานเพื่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด
จากระยะเวลาเพียงไม่กี่เดือน โรงเรียนเริ่มเห็นความเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน โดยสังเกตว่า นักเรียนมีความกระตือรือร้น ในการเรียนมากขึ้น มีความคิดสร้างสรรค์และมีการแสดงออกในบทเรียนมากกว่าการเรียนจากหนังสือที่เต็มไปด้วยตัวหนังสือเพียงอย่างเดียว เนื่องจากการเรียนจากหนังสือเป็นการเรียนรู้แบบทางเดียว ไม่มีการโต้ตอบ ไม่สนุกท้าทาย เหมือนการเรียนรู้จาก application บน iPad ที่นักเรียนสามารถโต้ตอบ สร้างคำถาม และหาคำตอบได้ทันที เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้กันแบบสองทางระหว่างผู้ใช้กับสื่อ เป็นเสมือนการเล่นเกมที่ให้สาระความรู้ไปด้วย จึง ทำให้เด็กจดจำและเข้าใจบทเรียนได้ดีขึ้น
ข้อดีอีกประการของ iPad สภาเทศบาลเมือง ชิคาโก มองว่า iPad น่าจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการใช้กระดาษได้ไม่มากก็น้อย “แทนที่นักเรียนจะต้องหอบหนังสือจำนวนมากทุกวัน ทุกวิชาอยู่ใน iPad apps iPad เปิดโอกาสให้นักเรียน compress บทเรียนจากหนังสือเล่มโตหนักกว่า 50 ปอนด์ มารวมอยู่ใน iPad app เพียง app เดียว” เป็นคำกล่าวของ S.Mark Williams ซีอีโอแห่ง Modality ผู้สร้างสรรค์ applications ด้าน Healthcare ที่ชี้ให้เห็นข้อดีของ iPad และ applications ต่างๆ
ขณะที่ Malik Burnett นักศึกษาแพทย์ และบริหารธุรกิจแห่งมหาวิทยาลัย Duke กล่าวเสริมว่า เขา “สามารถเลือกที่จะดาวน์โหลดบทเรียนที่ต้องการ โดยไม่ต้องสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการซื้อหนังสือเล่มใหม่ทุกปี มันทำให้การใช้ชีวิตง่ายขึ้นมาก” เรียกว่า เราเริ่มต้นเข้าสู่ยุคการเรียนการสอนแบบ Paperless Classroom แล้ว
ภายในสิ้นปีนี้ โรงเรียนในโครงการนำร่องเหล่านี้จะรายงานสรุปผลการทดลองใช้ iPad ในห้องเรียนในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ว่าระดับการเรียนรู้ของนักเรียนมีเพิ่มมากขึ้นหรือไม่ แตกต่างจากห้อง เรียนดั้งเดิมอย่างไร ยิ่งกว่านั้น โครงการนี้จะช่วยทำให้มั่นใจว่า การใช้ iPad ในห้องเรียนเป็นสื่อในการเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนการสอน มิใช่เป็นเพียงแค่ของเล่นไฮเทคอีกชิ้นหนึ่งเท่านั้น
|
|
|
|
|