Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา เมษายน 2554
เมื่อบุรุษเหล็กกลายเป็นหุ่นฟาง             
 


   
search resources

Political and Government




ผลกระทบลูกโซ่จากการลุกฮือของประชาชนในชาติอาหรับ

ไม่เพียงผู้นำเผด็จการในตะวันออกกลาง แต่ยังรวมถึงผู้นำ ในยุโรป และสหรัฐฯ ต่างก็รู้สึกวิตกว่า จะมีผลกระทบอะไรเกิดขึ้น ต่อไปจากการปฏิวัติประชาชนครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นพร้อมๆ กัน ในตูนิเซีย อียิปต์ ลิเบีย และที่กำลังคุกรุ่นในบาห์เรนและเยเมน

พวกเขายังวิตกด้วยว่า เป็นไปได้ว่า ความไม่สงบนี้อาจแพร่ กระจายออกไปไกลกว่าเพียงโลกอาหรับ แต่อาจไปถึงอาเซอร์ไบจันจนถึงซิมบับเว “สถานการณ์ขณะนี้คล้ายกับในยุโรปตะวันออกในช่วงทศวรรษ 1990” แหล่งข่าวเจ้าหน้าที่ระดับสูงในฝ่ายข่าวกรองของรัฐบาลสหรัฐฯ แสดงความวิตก มันเหมือนกับเราเปิดฝาหม้อออก นาทีนี้อะไรก็เกิดขึ้นได้

การลุกฮือในตะวันออกกลางขณะนี้กลับกลายเป็นภัยที่คุกคามยุโรปมากที่สุด นับตั้งแต่ยุคสงครามที่เกิดขึ้นในคาบสมุทร บอลข่านในช่วงทศวรรษ 1990 เป็นต้นมา ในนามของเสถียรภาพ ทำให้ผู้นำยุโรปในยุคนี้ ทำตัวเป็นผู้นำแบบ “โชว์พาว” แต่แท้จริง แล้วกลับอ่อนปวกเปียก

ผู้นำชาติตะวันตกดำเนินนโยบายทั้งด้านเศรษฐกิจ การทูต และการทำสงครามกับการก่อการร้าย ด้วยนโยบายที่ดูเหมือนว่าเข้มแข็งในด้านต่างๆ ได้แก่ การมีแหล่งพลังงานที่พึ่งพาได้ การควบคุมการอพยพเข้าเมืองอย่างเข้มงวด การมีกองกำลังความมั่นคงที่แข็งแกร่ง เพื่อประกันความเป็นระเบียบเรียบร้อยในประเทศ ครั้งหนึ่งนโยบายเหล่านี้เคยเป็นที่ยอมรับ แต่ขณะนี้ ไม่มีใครรู้ว่าประเทศใดจะเป็นรายต่อไป แม้แต่ในยุโรปเอง

เสถียรภาพเป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วงมากที่สุด แต่ไม่ใช่อย่างที่ผู้นำเผด็จการของลิเบีย Muammar Gaddafi กล่าวหาส่งเดชว่า Al Qaeda อยู่เบื้องหลังการลุกฮือครั้งใหญ่ของชาวลิเบียเพื่อต่อต้านเขา แม้กระทั่งหากสันติภาพมาเยือนลิเบียและประเทศต่างๆ ในแอฟริกาเหนือที่อยู่ริมทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและริมแม่น้ำไนล์ จริงและเกิดมีรัฐบาลประชาธิปไตยเกิดขึ้นจริง เพื่อปกครองประเทศ แทนผู้นำเผด็จการ

แต่อะไรจะเกิดขึ้นกับพื้นที่แถบทะเลทรายอันกว้างใหญ่ในแอฟริกาเหนือ ที่ซึ่ง Al Qaeda พยายามมานานหลายปีที่จะยึดครองให้ได้ “พื้นที่แถบนั้นอาจกลายเป็นพื้นที่ไร้ประเทศ” เจ้าหน้าที่ ข่าวกรองคนเดิมในสหรัฐฯ ให้ความเห็น กล่าวคือ อาจกลายเป็น FATA เวอร์ชั่นแอฟริกาเหนือ FATA ย่อมาจาก Federally Administered Tribal Areas ในปากีสถาน เป็นพื้นที่ที่เหล่าบรรดา ผู้นำระดับรองจาก Osama bin Laden กบดานซ่อนตัวอยู่ และ เหมือนอย่างในเยเมนขณะนี้ ก็มีพื้นที่ที่อยู่นอกการปกครองของรัฐบาลกลางเช่นเดียวกับ FATA ในปากีสถาน

ความกลัวว่าจะเกิดแหล่งกบดานของผู้ก่อการร้ายแห่งใหม่ ในแอฟริกาเหนือ ยังไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัวที่สุด ทุกวัน เรือลำเล็กๆ ที่บรรทุกผู้อพยพที่รอนแรมข้ามน้ำข้ามทะเลมาจากแอฟริกาเหนือ แอฟริกาซับซาฮาร่า เอเชียใต้ และจากประเทศอื่นๆ รวมหลายพันคนต่อวัน จะเดินทางมาถึงอิตาลี การต่อต้านคนต่างด้าวและมุสลิม เป็นนโยบายหลักของนักการเมืองปีกขวาในยุโรปอยู่แล้ว และมีแต่จะเพิ่มสูงขึ้นอีก

ความไม่สงบที่กำลังเกิดขึ้นในโลกอาหรับขณะนี้ จะทำให้คลื่นของผู้อพยพและผู้ขอลี้ภัยจากประเทศเหล่านั้น หลั่งไหลเข้าท่วมยุโรปมากขึ้น Jesn-David Levitte ที่ปรึกษาสูงสุดด้านนโยบายต่างประเทศของประธานาธิบดี Nicolas Sarkozy ของฝรั่งเศส ถึงกับเตือนว่า ยุโรปกำลังเผชิญกับการทะลักเข้ามาของผู้อพยพ ซึ่งจะท้าทายหลักการพื้นฐานของสหภาพยุโรป (EU) ที่ต้องการรักษาหลักการพรมแดนเปิด แต่ยุโรปไม่พร้อมที่จะรับมือการทะลักเข้ามาของผู้อพยพต่างชาติ

ผู้นำยุโรปยอมกลืนน้ำลายตัวเอง เอาหูไปนาเอาตาไปไร่กับพฤติกรรมก่อการร้ายในอดีตของ Gaddafi แถมยังเอาอกเอาใจ ผู้นำลิเบีย เพื่อจะทำให้ Gaddafi ยอมขายน้ำมันของลิเบียที่ว่ากันว่าเป็นน้ำมันที่มีคุณภาพสูงกว่าน้ำมันจากพื้นที่อื่นๆ ให้แก่ยุโรป

นายกรัฐมนตรี Silvio Berlusconi ของอิตาลี ไปไกลยิ่งกว่า ผู้นำยุโรปอื่นๆ เขาผลักดันให้บริษัทอิตาลีทุ่มลงทุนหลายพันล้านยูโรในลิเบีย และนำผลตอบแทนจากการลงทุนกลับเข้าสู่ระบบธนาคาร อุตสาหกรรม และแม้กระทั่งทีมฟุตบอล Juventus ของอิตาลี

สิ่งที่ทุกคนต้องการรู้คือ การปฏิวัติพลังประชาชนในตะวัน ออกกลางจะแพร่กระจายไปไกลหรือรวดเร็วเพียงใด โชคร้ายที่ไม่มีใครตอบได้ Levitte ที่ปรึกษาผู้นำฝรั่งเศสให้ความเห็นว่า เพราะแต่ละประเทศในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ ล้วนแต่มีความแตกต่างกัน แต่ละประเทศในโลกอาหรับต่างมีประวัติ ศาสตร์ ประเพณี และการปกครองที่ไม่เหมือนกันเลย อาจมีเพียง อย่างเดียวที่เหมือนกันคือ ความผิดหวังในตัวผู้นำและระบอบการ ปกครอง

แต่ความผิดหวังนี้ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงสังคมอาหรับและมุสลิมเท่านั้น Kofi Annan อดีตเลขาธิการสหประชาชาติ ซึ่งเป็น ชาวแอฟริกาชี้ว่า การลุกฮือในโลกอาหรับจะส่งแรงกระเพื่อมไปทั่วโลก ไม่เพียงแต่เฉพาะในแอฟริกาเหนือและแอฟริกาเท่านั้น เพราะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอยู่ในสายตาของคนทั่วโลก และเตือนบรรดาผู้นำทั่วโลก ให้ใส่ใจสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในตะวันออกกลางและ แอฟริกาให้ดี สถานการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว และผู้นำจำเป็น ต้องปรับตัว

ที่ผ่านมาสหรัฐฯ เชื่อมาตลอดว่า Hosni Mubarak กับ Gaddifi คือบุรุษเหล็กผู้ทรงอำนาจ แต่บัดนี้ แม้แต่ผู้นำที่แข็งแกร่ง ที่สุดยังสั่นคลอน กษัตริย์บาห์เรนและจอร์แดนทรงกำลังถูกท้าทาย ในปัจจุบันนี้ ผู้นำที่อยู่ในอำนาจมานานเกิน 30-40 ปี เสี่ยงที่จะเจอการลุกฮือต่อต้านมากยิ่งขึ้น เพราะประชาชนรู้สึกเบื่อขี้หน้าผู้นำเผด็จการที่ครองอำนาจตลอดกาล

ผู้นำแบบนี้เอง คือเป้าหมายที่สมบูรณ์แบบที่จะตกเป็นเป้า ความเกลียดชังของประชาชน ไม่ว่าจะผ่านกลุ่มใน Facebook หรือจากบรรดาหัวหน้าเผ่าต่างๆ แต่ถ้าเป็นในประเทศที่ความเกลียดชังหาเป้าหมายเป็นตัวบุคคลที่ชัดเจนไม่ได้ ก็ยากที่จะระดม พลังมวลชนได้

การประท้วงในตะวันออกกลางขณะนี้ ความจริงแล้วเริ่มต้น ที่แอลจีเรียก่อนอียิปต์เสียอีก แต่การประท้วงที่แอลจีเรียไม่เคยถึงจุดวิกฤติ เหตุผลหนึ่งอาจเป็นเพราะประธานาธิบดี Abdelaziz Bouteflika ของแอลจีเรีย มีความสำคัญน้อยกว่ากลุ่มนายทหารระดับสูงของแอลจีเรีย ที่มีความน่ากลัวกว่า แต่แทบจะ “ไร้หน้า” ชาวแอลจีเรียเพียงแต่เรียกกลุ่มนายทหารนี้โดยรวมๆ ว่า Le Pouvoir (กลุ่มอำนาจ)

ตระกูลของ Bashar al-Assad อาจจะปกครองซีเรียมาเนิ่นนานตั้งแต่ปี 1970 แต่ตัวเขาเองเพิ่งเป็นประธานาธิบดีซีเรียได้เพียงไม่กี่ปี (ตั้งแต่ปี 2000) เท่านั้น และซีเรียก็ดูเหมือนจะสามารถหลบเลี่ยงกระแสความไม่สงบในตะวันออกกลางไปได้ อย่างน้อยก็ในขณะนี้

หนึ่งในการวิเคราะห์เกี่ยวกับผู้นำเผด็จการในตะวันออก กลางคือการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างราคาน้ำมันกับจังหวะเวลาที่เกิดความไม่สงบและกระแสปฏิรูปการเมืองว่า เมื่อน้ำมันมีราคาถูก จะเปิดช่องให้ฝ่ายต่อต้านโจมตีรัฐบาลได้ และประชาชน จะฟัง แต่เมื่อน้ำมันมีราคาแพง ผู้นำในตะวันออกกลางจะหว่านเงินไปอย่างทั่วถึง และใครที่ไม่ยอมถูกซื้อ ก็จะถูกโดดเดี่ยวหรือไม่ก็ถูกกำจัดไปเลย

แต่กรณีของลิเบียกำลังท้าทายการวิเคราะห์ดังกล่าว แม้ราคาน้ำมันในตลาดโลกจะพุ่งสูงลิ่ว และลิเบียยังคงร่ำรวย แต่ Gaddafi กลับไม่สามารถใช้เงินซื้อสันติภาพได้ ไม่แม้กระทั่งจะรักษาความภักดีจากรัฐมนตรีในรัฐบาลของเขาเอง จากทหารในกองทัพ และจากทูตของลิเบียในต่างประเทศ ซึ่งต่างก็แปรพักตร์ไปจากเขาเป็นจำนวนมาก

อิหร่านเป็นอีกตัวอย่างหนึ่ง ความจริงแล้วอิหร่านเป็นประเทศแรกในตะวันออกกลาง ก่อนอียิปต์ ก่อนตูนิเซียเสียอีก ที่เกิดการประท้วงใหญ่ของประชาชน เพราะไม่พอใจการโกงเลือกตั้งประธานาธิบดีอิหร่านในปี 2009

การประท้วงที่อิหร่านกลายเป็นตัวอย่างแรกของ “พลังประชาชน” ที่ได้ผลในตะวันออกกลาง แต่ในที่สุด Ali Khamenei ผู้นำสูงสุดของอิหร่าน และประธานาธิบดี Mahmoud Ahmadine-jad ก็สามารถบดขยี้ผู้ประท้วงได้ เหตุผลหนึ่งอาจเป็นผู้ประท้วงไม่อาจระบุให้ใครเป็นเป้าหมายที่ชัดเจนได้ ระหว่าง Khamenei หรือ Ahmadenejad

ทุกวันนี้ การประท้วงในอิหร่านยังคงเกิดขึ้นประปรายและ ดูเหมือนจะมีเป้าหมายการโจมตีชัดเจนขึ้น “Khanenei ออกไป” คือเสียงร้องตะโกนของผู้ประท้วงอิหร่านในวันนี้ แม้อิหร่านจะปิดกั้นประชาชนอย่างเข้มงวด แต่การถูกโค่นล้มของผู้นำชาติอาหรับรายต่อไป จะเพิ่มแรงกดดันต่อผู้นำอิหร่านมากขึ้น

เครื่องหมายคำถามอันใหญ่อยู่ที่ซาอุดีอาระเบีย แม้ขณะนี้ ซาอุดีอาระเบียจะสงบจากคลื่นลมการประท้วงในตะวันออกกลาง แต่กษัตริย์ Abdullah แห่งซาอุดีอาระเบียไม่ทรงต้องการเสี่ยงใดๆ หลังเสด็จฯ กลับจากการผ่าตัดพระปฤษฎางค์ (หลัง) และพักฟื้น ในต่างประเทศเป็นเวลา 3 เดือน ทรงประกาศจะเพิ่มเงินสวัสดิการ สังคมถึง 36,000 ล้านดอลลาร์ ยุโรปและชาติตะวันตกคงจะลุ้นให้นโยบายดังกล่าวได้ผล

เพราะซาอุดีอาระเบียเป็นประเทศเดียวที่สามารถเพิ่มการผลิตน้ำมันชดเชยปริมาณการผลิตที่ลดลงในประเทศที่เกิดความไม่สงบและทำให้ราคาน้ำมันไม่พุ่งกระฉูดมากนัก

อย่างไรก็ตาม คนหนุ่มสาวซาอุดีอาระเบียหาได้มีความรู้สึกคับข้องใจน้อยไปกว่าประชาชนในประเทศอื่นๆ ของตะวันออก กลาง ครึ่งหนึ่งของประชากรซาอุดีอาระเบียมีอายุ 25 ปีและ 60% ของบัณฑิตจบใหม่ตกงาน ซาอุดีอาระเบียจะสงบไปได้อีกนานแค่ ไหนก็ยังไม่มีใครบอกได้

ผู้นำเผด็จการในประเทศที่อยู่ในส่วนอื่นๆ ของโลก ก็เริ่มได้กลิ่นปัญหายุ่งยากที่จะเกิดขึ้น ในจีน จู่ๆ บอร์ดสนทนาบนอินเทอร์เน็ตเกี่ยวกับการลุกฮือของประชาชนในแอฟริกาเหนือ ก็ใช้งานไม่ได้ ในซิมบับเว มีคนถูกจับกุม 46 คนในข้อหากบฏ หลังจากไปเข้าร่วมการพูดคุยเกี่ยวกับการลุกฮือในอียิปต์และตูนิเซีย

นักการเมืองสายอนุรักษนิยมในเกาหลีใต้ เริ่มโครงการส่งแผ่นพับติดลูกบอลลูนลอยไปยังเกาหลีเหนือ ในแผ่นพับมีข้อมูลเกี่ยวกับการลุกฮือของประชาชนในโลกอาหรับ และเรียกร้องให้ชาวเกาหลีเหนือทำตามอย่างบ้าง

แต่ภูมิภาคที่น่าวิตกที่สุดอาจเป็นประเทศที่ผลิตน้ำมันในเอเชียกลางและคอเคซัส โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาเซอร์ไบจัน ผู้นำอาเซอร์ไบจันกำลังวิตกและฉุนเฉียวกับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในอียิปต์และตะวันออกกลาง

Ilham Aliyev วัย 49 ปีก้าวขึ้นเป็นประธานาธิบดีอาเซอร์ไบจัน โดยสืบทอดอำนาจต่อจากบิดาของเขาในปี 2003 ได้ริเริ่มโครงการต่อต้านคอร์รัปชั่นเพื่อเอาใจประชาชน แต่ผู้ประท้วงก็ยังคงออกมาชุมนุมในกรุง Baku เมืองหลวงของอาเซอร์ไบจัน รอบๆ อนุสาวรีย์ Mubarak ที่สร้างเป็นเกียรติแก่ผู้นำอียิปต์

แม้ผู้ประท้วงจะเป็นเพียงกลุ่มเล็กๆ แต่อย่าลืมว่า การประท้วงในตูนิเซีย อียิปต์และลิเบีย ก็เริ่มจากผู้ประท้วงกลุ่มเล็กๆ เช่นกัน ปฏิกิริยาลูกโซ่ยังคงไม่หยุดทำงาน

แปล/เรียบเรียง เสาวนีย์ พิสิฐานุสรณ์
เรื่อง นิวสวีค   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us