Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2528








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2528
การพัฒนาพลังงานในการผลิตปูนซีเมนต์ลดความเสี่ยงและลดต้นทุนพร้อมๆ กันไป             
 


   
www resources

โฮมเพจ เครือซิเมนต์ไทย

   
search resources

เครือซิเมนต์ไทย
Cement
Oil and gas




ถ้าจะถามว่าปัจจุบันการผลิตตัวใดมีความสำคัญอย่างเอกอุสำหรับอุตสาหกรรมลิตปูนซีเมนต์แล้ว?

คำตอบนั้นก็คงจะระบุไปที่พลังงานในรูปของเชื้อเพลิง ซึ่งปัจจุบันต้นทุนตัวนี้ผู้ผลิตปูนซีเมนต์จะต้องจ่ายกันออกไปประมาณร้อยละ 40 ของต้นทุนรวม

เมื่อข้อเท็จจริงเป็นเช่นนี้ ก็มีข้อควรคำนึงอยู่ว่า ปัจจัยการผลิตดังกล่าวส่วนใหญ่มีแหล่งซัพพลายอยู่ในต่างประเทศ ความเคลื่อนไหวด้านปริมาณและราคาเป็นเรื่องที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของผู้ผลิตปูนซีเมนต์ไนประเทศ

เพราะฉะนั้นปัญหาพลังงานจึงค่อนข้างที่จะมีความเสี่ยงอยู่มาก คือไม่มีใครสามารถคาดหมายได้อย่างแม่นยำว่า ราคาเชื้อเพลิงที่สั่งเข้ามาจะขึ้นหรือจะลงเมื่อใด? จะมีให้ใช้ไปอย่างสม่ำเสมอหรือจะเกิดการขาดแคลนขึ้นไปช่วงไหน?

สรุปแล้วการตระเตรียมแผนงด้านพลังงานเพื่อรับมือเสียแต่เนิ่นๆ จึงออกจะเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างมากๆ

แผนด้านพลังงานที่จัดเตรียมไว้นี้นัยหนึ่งก็คือการตอบคำถามว่าควรทำอย่างไรจึงจะมีพลังงานทดแทน หากเกิดการขาดแคลนอย่างหนึ่งก็จะสามารถปรับการผลิตไปใช้พลังงานอีกอย่างหนึ่ง

หรือพูดกันง่ายๆ ก็คือ แผนซึ่งมีเป้าหมายเพื่อลดความเสี่ยงในเรื่องการขาดแคลนพลังงาน และในขณะเดียวกันก็มีเป้าหมายเพื่อใช้พลังงานตัวที่มีต้นทุนต่ำที่สุดพร้อมๆ ไปด้วย

คงพอจะกล่าวได้อย่างเต็มปากว่าในจำนวนผู้ผลิตปูนซีเมนต์ของไทยทั้ง 3 ราย อันได้แก่ บริษัทปูนซิเมนต์ไทย บริษัทปูนซีเมนต์นครหลวง และบริษัทชลประทานซิเมนต์นั้น

รายที่มีเคลื่อนไหวปรับตัวเพื่อรับมือกับปัญหาในอนาคตมากที่สุด เห็นจะต้องยกให้บริษัทปูนซิเมนต์ไทย ผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุด ซึ่งในขณะนี้มีกำลังการผลิตตกปีละ 5.7 ล้านตัน มีโรงงานเดินเครื่องอยู่ 3 แห่ง คือโรงงานท่าหลวง โรงงานแก่งคอย จังหวัดสระบุรี และโรงงานที่อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช

นับตั้งแต่ปี 2456 อันเป็นปีแรกที่บริษัทปูนซิเมนต์ไทยเริ่มเดินเครื่องผลิตนั้น พลังงานเชื้อเพลิงที่ใช้อยู่มีอย่างเดียวคือ น้ำมันเตา ซึ่งสั่งซื้อจากต่างประเทศในราคาที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ

เป็นไปได้ที่ปูนซิเมนต์ไทยอาจจะยังต้องใช้น้ำมันเตาเป็นเชื้อเพลิงหลักเพียงอย่างเดียวต่อไปเรื่อยๆ ถ้าหากไม่มีเหตุการณ์ใหญ่หลวงในช่วงปี 2517 เกิดขึ้นให้ต้องฉุกคิดถึงอนาคตข้างหน้า ซึ่งก็ไม่ต่างไปจากอุตสาหกรรมอีกหลายๆ ประเภทที่ต้องพึ่งน้ำมันเป็นพลังงานในการผลิต

เหตุการณ์ใหญ่ในช่วงปี 2517 นี้ ก็คือการประกาศขึ้นราคาน้ำมันของกลุ่มโอเปก

จากการทยอยประกาศขึ้นราคาน้ำมันเป็นระลอก ทำให้เริ่มคาดหมายกันออกว่าราคาน้ำมันคงจะโน้มตัวสูงขึ้นไปเรื่อยๆ และก็เป็นไปได้ที่อาจจะเกิดการขาดแคลนขึ้นในอนาคตข้างหน้า

ซึ่งแน่นอนว่าย่อมจะต้องมีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อผู้ผลิตปูนซิเมนต์ไทย

ดังนั้นการศึกษาอย่างจริงจังเพื่อหาทางใช้พลังงานชนิดอื่นทดแทนน้ำทันเตาจึงได้กลายเป็นปัญหาเฉพาะหน้าไปทันที

การค้นพบก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยในช่วงใกล้ๆ นั้น เป็นจุดหนึ่งที่ปูนซิเมนต์ไทยให้ความสนใจมาก และได้ลงมือศึกษาความเป็นไปได้ของการนำก๊าซธรรมชาติมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตปูนซีเมนต์ในเวลาต่อมา

ในปี 2524 หลังจากผลการศึกษาความเป็นไปได้สรุปออกมาว่า มีความเหมาะสมคุ้มกับการลงทุน ปูนซิเมนต์ไทยก็ได้เริ่มโครงการพัฒนาการใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง

โครงการนี้เฉพาะการลงทุนเพื่อวางท่อส่งก๊าซจากบางพลี สมุทรปราการ ไปที่โรงงานแก่งคอยและโรงงานท่าหลวงก็ต้องใช้เงินไปทั้งสิ้นกว่า 1,200 ล้านบาท และได้ก๊าซธรรมชาติจากการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยไปยัง 2 โรงงานดังกล่าวเมื่อเดือนสิงหาคม 2526

ขณะนี้ทั้งโรงงานที่ท่าหลวงและแก่งคอยใช้ก๊่ซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงรวมกันประมาณวันละ 30 ล้านลูกบาศก์ฟุต โดยใช้ร่วมกันกับน้ำมันเตาและพลังงานทดแทนอีกตัวหนึ่งคือ ลิกไนต์

การใช้ลิกไนต์เป็นพลังงานทดแทนน้ำมันเตาก็เริ่มขึ้นในช่วงใกล้ๆ กับการใช้ก๊าซธรรมชาติ โดยเริ่มเป็นแห่งแรกที่โรงงานแก่งคอย ส่วนที่โรงงานท่าหลวงนั้น ระหว่างนี้กำลังอยู่ในระยะการติดตั้งเครื่องจักรเพื่อใช้กับลิกไนต์ เป็นที่คาดหมายว่าในราวกลางปี 2528 นี้การติดตั้งเครื่องจักรก็คงจะแล้วเสร็จ

และทั้ง 2 โรงงานจะใช้ลิกไนต์ในปริมาณราวๆ 300,000 ตันต่อปี

ส่วนว่าแต่ละโรงงานจะใช้เชื้อเพลิงในรูปแบบน้ำมันเตา ก๊าซธรรมชาติและลิกไนต์เป็นอัตราส่วนเท่าใดต่อเท่าใดนั้นก็จะเป็นเรื่องของความเหมาะสมในแต่ละช่วงๆ ไป ซึ่งตัวพิจารณาหลักก็คือ ความพยายามที่จะใช้เชื้อเพลิงตัวที่เสียค่าใช้จ่ายต่ำที่สุดให้อรรถประโยชน์สูงสุดนั่นเอง

อย่างไรก็ตาม สำหรับลิกไนต์จากจังหวัดลำพูนที่ปูนซิเมนต์ไทยนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงร่วมกับน้ำมันเตาและก๊าซธรรมชาตินี้ ค่อนข้างจะมีความร้อนต่ำมาก เมื่อเปรียบเทียบกับเชื้อเพลิงตัวอื่นๆ ที่ใช้อยู่

เพราะฉะนั้นการค้นหาเชื้อเพลิงตัวอื่นๆ มาใช้จึงต้องทำกันต่อไป ซึ่งถ่านหินก็เป็นตัวหนึ่งที่ได้รับความสนใจอยู่ในอันดับต้นๆ ด้วยเหตุผลว่าถ่านหินจะให้ค่าความร้อนใกล้เคียงกับน้ำมันเตาแล้ว ราคาก็ยังถูกกว่ากันพอสมควร

ปูนซิเมนต์ไทยเริ่มใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตที่โรงงานทุ่งสงเป็นแห่งแรก โดยได้ทดลองใช้สลับกับน้ำมันเตาตั้งแต่เดือนเมษายน 2527 และใช้เป็นเชื้อเพลิงหลักเพียงอย่างเดียวเมื่อต้นปี 2528

โครงการนี้ปูนซิเมนต์ไทยลงทุนไปทั้งสิ้น 150 ล้านบาท

เหตุผลสำคัญที่ต้องเลือกใช้ถ่านหินกับโรงงานทุ่งสงนั้นก็เพราะโรงงานแห่งนี้อยู่ห่างจากแหล่งพลังงานทดแทนอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยหรือลิกไนต์ที่จังหวัดลำพูน ดังนั้นถ่านหินซึ่งนำเข้ามาจากประเทศอินโดนีเซียจึงให้ความสะดวกและประหยัดค่าใช้จ่ายในการขนส่งมากกว่า

เป็นที่คาดหมายว่าโรงงานทุ่งสงจะต้องใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตตกประมาณปีละ 100,000 ตัน ด้วยต้นทุนตันละ 1,800-2,000 บาท เท่ากับนำเข้าถ่านหินจากอินโดนีเซียมาใช้ปีละเกือบ 200 ล้านบาท

นอกจากนี้ปูนซิเมนต์ไทยยังจะนำถ่านหินไปใช้กับโรงงานที่แก่งคอยและโรงงานที่ท่าหลวงอีกด้วย โดยคาดว่าสามารถติดตั้งเครื่องจักรเพื่อใช้ถ่านหินได้แล้วเสร็จในปี 2529 ซึ่งนั่นก็หมายความว่าทั้งโรงงานแก่งคอยและโรงงานท่าหลวงจะสามารถใช้เชื้อเพลิงในการผลิตได้ถึง 4 ชนิดด้วยกัน คือ น้ำมันเตา ก๊าซธรรมชาติ ลิกไนต์ และถ่านหิน

หากเชื้อเพลิงตัวใดเกิดขาดแคลนหรือราคาสูงเกินไป ปูนซิเมนต์ไทยก็มีความพร้อมในการปรับกระบวนการผลิตหันไปใช้เชื้อเพลิงตัวอื่นๆ แทน โดยไม่ต้องชะลอหรือหยุดการผลิตและอาจจะไม่ต้องปรับราคาปูนขึ้นไปตามราคาเชื้อเพลิงก็เป็นได้

โครงการพัฒนาพลังงานเพื่อลดความเสี่ยงและลดต้นทุนการผลิตนี้ จริงอยู่ที่จะต้องลงทุนไปเป็นเงินหลายพันล้านบาทสำหรับการติดตั้งเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่จำเป็น แต่ถ้าพิจารณาถึงหลักประกันในอนาคตแล้ว ก็จะเห็นได้ว่าปูนซิเมนต์ไทยมีอยู่พร้อมมาก

สำหรับในอนาคตข้างหน้าที่ผู้ผลิตปูนซีเมนต์ไม่มีรายใดที่จะพยากรณ์ได้อย่างแม่นยำว่าปัญหาด้านพลังงานจะเป็นเช่นไรนั้น

ปูนซิเมนต์ไทยในวันนี้ดูจะมองออกไปข้างหน้าด้วยสายตาที่เชื่อมั่นต่อความเป็นเลิศของตัวเองเป็นพิเศษ

ซึ่งก็น่าจะต้องเชื่อมั่น… มิใช่หรือ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us