|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
เป็นธรรมเนียมของธนาคารเอชเอสบีซีจะต้องมีซีอีโอคนใหม่มาทุกๆ 2 ปี ล่าสุดคือแมตทิว ล็อบเนอร์ วัยเพียง 39 ปี
ล็อบเนอร์ก้าวเข้ามารับตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย เมื่อเดือนมกราคม 2554 เขาร่วมงานกับธนาคารสัญชาติอังกฤษที่มีอายุเก่าแก่ที่สุด 123 ปี
เขาเริ่มต้นทำงานกับกลุ่มเอชเอสบีซี ณ สำนักงานกรุงชิคาโก สหรัฐอเมริกา รับผิดชอบบริหารงานด้านสินเชื่อรายย่อย ก่อนได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง ณ สำนักงาน ใหญ่ของเอขเอสบีซี ในกรุงลอนดอน รับผิดชอบกำกับดูแลธุรกิจระหว่างประเทศในภูมิภาคยุโรปและตะวันออกกลาง
ในปี 2552 เขาย้ายมารับตำแหน่งผู้อำนวยการบริหารด้านธุรกิจลูกค้าองค์กรและธุรกิจระหว่างประเทศ ฝ่ายพาณิชย์ธนกิจ ในฮ่องกง
ก่อนร่วมงานกับเอชเอสบีซี เคยรับตำแหน่ง Associate Principal ที่บริษัท แมคคินซีย์ แอนด์ คอมปะนี รับผิดชอบทีมงาน กำกับดูแลนโยบายธุรกิจด้านบุคคลธนกิจสินเชื่อรายย่อย และธุรกิจประกัน ปัจจุบันมีตำแหน่งเป็นกรรมการสมาคมธนาคารนานาชาติ นอกจากร่วมงานกับภาคเอกชน เขาได้ทำงานในภาครัฐ กองทัพเรือสหรัฐอเมริกา
ด้านการศึกษา เขาจบระดับปริญญาโทด้านวิทยาศาสตร์ จากสถาบัน Massachusetts Institute of Technology และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีเกียรตินิยม ด้านวิทยาศาสตร์ จากสถาบันวิชาการทหารเรือของกองทัพเรือสหรัฐอเมริกา ปัจจุบัน สมรสแล้วและมีบุตรธิดา 3 คน
ประสบการณ์ทำงาน 7 ปีในธนาคารเอชเอสบีซี และเป็นองค์กรที่สามารถสร้างผลกำไรอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในปี 2553 ธนาคารมีกำไรก่อนหักภาษี เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 36 เป็น 18.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ
ส่วนในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก (ยกเว้นฮ่องกง) มีกำไรก่อนหักภาษี ในปี 2553 เติบโตร้อยละ 29 เมื่อเทียบ กับปีที่ผ่านมา หรือคิดเป็นมูลค่า 5.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ และปล่อยสินเชื่อเติบโตร้อยละ 27
สำหรับสถานภาพในประเทศไทยเมื่อเปรียบเทียบกับภูมิภาคเอเชียด้วยกันมีอัตราการเติบโตใกล้เคียงกัน โดยเฉพาะในปีที่ผ่านมาจีดีพีโตร้อยละ 7-8 ทำให้เห็นว่า สถานการณ์การเมืองไม่ได้ส่งผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจมากนัก
ก่อนหน้านี้ล็อบเนอร์มองว่า ประเทศไทยจะยังมีอัตราการ เติบโตจีดีพีเติบโตร้อยละ 5 ซึ่งมองสูงกว่าสถาบันการเงินในประเทศไทย เพราะวิเคราะห์จากการบริโภคภายในประเทศ รวมถึงการลงทุนและธุรกิจส่งออกยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง
แต่หลังจากเกิดเหตุการณ์สึนามิในญี่ปุ่น อาจต้องทบทวน ตัวเลขจีดีพีใหม่อีกครั้ง เพราะธุรกิจส่งออกของประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นของผู้ประกอบการญี่ปุ่น ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และยานยนต์
สิ่งที่ท้าทายสำหรับล็อบเนอร์คือการนำบริษัทในประเทศไทยออกไปลงทุนในต่างประเทศ เน้นลูกค้าระดับกลางและระดับ องค์กรขนาดใหญ่ สอดคล้องกับนโยบายของธนาคาร
แต่อีกสิ่งหนึ่งน่าจะเป็นเรื่องใหม่ของเขาต้องมาดูแลในฐานะซีอีโอคนแรก หลังจากธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ธนาคารต่างชาติเปิดสาขาได้ และธนาคารได้เปิดแห่งแรกที่สาขา ทองหล่อ เพื่อให้บริการลูกค้าบุคคลด้านสินเชื่อ และบัตรเครดิต โดยเฉพาะสามารถชำระค่าบัตรเครดิตด้วยเงินสดหรือเช็คผ่านเครื่องอัตโนมัติ 24 ชั่วโมง
นับว่าเป็นครั้งแรกของธนาคารที่ได้เพิ่มช่องทางการติดต่อ สื่อสารให้กับลูกค้าเพิ่มมากขึ้น หลังจากที่ต้องติดต่อสำนักงานใหญ่ บนถนนพระราม 4 เพียงแห่งเดียว
ภารกิจของล็อบเนอร์นับจากนี้อีก 2 ปีในเมืองไทย เป็นเรื่องท้าทายสำหรับเขาไม่น้อย เพราะโลกธุรกิจเปลี่ยนแปลงบ่อย จนบางครั้งไม่สามารถคาดเดาอะไรได้มากนัก
|
|
|
|
|