Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2528








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2528
เจ้าพ่อส่งออกบุกตลาดแอฟริกา เปิดศักราชใหม่ให้กับปี 2528             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารกรุงเทพ

   
search resources

ธนาคารกรุงเทพ, บมจ.
ชาญชัย ลี้ถาวร
Import-Export
Banking
อำนวย วีรวรรณ




"ปฏิบัติการของธนาคารกรุงเทพร่วมกับผู้ส่งออกระดับเจ้าพ่อ ซึ่งสวนทางความเชื่อเก่าๆ ด้วยการบุกถึงตัวผู้ซื้อในทวีปแอฟริกา ตั้งเป้าขายกันให้ระเบิด…….."

วิจารณ์กันมานานเต็มทีว่า ตลาดส่งออกของไทยเรานั้นมีอยู่ค่อนข้างจะแคบมาก

คือมักจะวนเวียนค้าขายกันอยู่แถวๆ ญี่ปุ่น ฮ่องกง สหรัฐอเมริกา ยุโรปตะวันตก กลุ่มประเทศอาเชียน และก็อีกไม่กี่สิบประเทศ

เมื่อตลาดมีอยู่อย่างจำกัด แต่การแข่งขันเพิ่มความเข้มข้นขึ้น จำนวนผู้แข่งก็มากขึ้น ในที่สุดรายได้จากการส่งออกก็เริ่มจะไม่ขยายตัวตามความคาดหวัง ดุลการค้าก็เริ่มจะเสียดุลหนักข้อขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี

เพราะฉะนั้นในวันหนึ่ง…ไม่นานมานี้ ทั้งภาครัฐบาลและภาคเอกชนของไทยก็พบว่า จะต้องให้ความสนใจเรื่องการส่งออกกันอย่างจริงจัง โดยภารกิจหนึ่งในหลายๆ ภารกิจที่จะต้องเร่งรีบทำกันก็คือ การแสวงหาตลาดใหม่ๆ เพิ่มขึ้น

จากยุคที่รอให้ผู้ซื้อมาหาถึงบ้าน ก็คงต้องเปลี่ยนเป็นยุคที่จะต้องบุกให้ถึงตัวของผู้ซื้อกันแล้ว

และคงไม่ใช่หน้าที่ของภาครัฐบาลแต่ลำพังหรือเป็นด้านหลักอีกต่อไป หากต้องเป็นหน้าที่ของภาคเอกชนร่วมไปด้วย

ว่าแล้วในช่วงวันที่ 14-15 มกราคม ที่เพิ่งผ่านไปหมาดๆ นี้ คณะผู้แทนการค้าเป็นเอกชนล้วนๆ จำนวน 15 คนของไทย ก็ได้เปิดศักราชใหม่วงการส่งออกด้วยการบินไปเปิดความสัมพันธ์ทางการค้าขึ้นที่แอฟริกา ทวีปซึ่งในอดีตมีการติดต่อค้าขายโดยตรงกับประเทศไทยน้อยมาก และหลายๆ คนที่ทำงานด้านส่งออกมักจะพูดกันว่า "ถ้ามีตลาดอื่นๆ อยู่ จะไม่เสี่ยงค้าขายกับแอฟริกาเด็ดขาด"

คณะผู้แทนการค้าหรือ "เทรดมิชชั่น" ของไทยชุดนี้ ได้รับการสนับสนุนจากธนาคารกรุงเทพมี ดร.อำนวย วีรวรรณ และชาญชัย ลี้ถาวร ประธานกรรมการบริหารและกรรมการบริหารของธนาคารกรุงเทพ เป็นผู้นำทีมไปด้วยตัวเอง

ธนาคารกรุงเทพเป็นสถาบันภาคเอกชนสถาบันหนึ่งซึ่งประกาศตัวว่า จะให้การสนับสนุนทุกๆ ทางต่อนโยบายส่งเสริมการส่งออกของรัฐบาล และได้จัดกิจกรรมด้านนี้ไปแล้วหลายประการในรอบปี 2527 ที่ผ่านมา

การนำคณะผู้แทนการค้าไปเปิดตลาดแอฟริกาจึงต้องนับถืออีกก้าวหนึ่งของความพยายามที่จะปฏิบัติตามเจตนารมณ์ที่ประกาศไว้ และก็คงต้องนับเป็นก้าวสำคัญที่เสี่ยงต่อความล้มเหลวอย่างมากๆ ด้วย

แอฟริกาได้ชื่อว่า เป็นทวีปที่ยากจน ขาดแคลนทรัพยากร และถูกครอบงำโดยกลุ่มชาติมหาอำนาจ ประการนี้เองที่เป็นข้อจำกัดหากต้องการติดต่อค้าขายโดยตรง

กำจาย เอี่ยมสุรีย์ ประธานบริษัทกมลกิจ ซึ่งร่วมในคณะผู้แทนการค้าชุดดังกล่าวนี้บอกกับ "ผู้จัดการ" ว่า กลุ่มประเทศแอฟริกาเมื่อปี 2527 สั่งซื้อข้าวและข้าวโพดของไทยเป็นจำนวน 140,000 ตัน และ 700,000 ตัน ตามลำดับ ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับปริมาณการส่งออกผลผลิตการเกษตรทั้ง 2 อย่างนี้ไปยังต่างประเทศแล้ว ก็จะอยู่ในสัดส่วนราวๆ 1 ใน 3 ทางด้านข้าว และ 1 ใน 4 ทางด้านข้าวโพด

ดังนั้น แม้จะมีปัญหาที่เป็นข้อจำกัดอยู่ แต่กำจาย เอี่ยมสุรีย์ ก็ยังเชื่อว่า "แอฟริกาเป็นตลาดที่น่าสนใจอย่างมากทีเดียว มันยังมีลู่ทางที่จะทำให้การค้าขยายตัวออกไป ทั้งสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตัดต่อค้าขายกันโดยตรงมีความจำเป็นมาก ไม่ใช่ขายโดยผ่านนายหน้าหรือคนกลางดังที่ผ่านๆ มา…….."

คณะผู้แทนการค้าชุดเปิดศักราชบุกแอฟริกาได้บินตรงไปตั้งหลักที่ลอนดอน ประเทศอังกฤษ เป็นแห่งแรก วัตถุประสงค์ก็เพื่อพบปะบรรดานักธุรกิจและบรรดานายแบงก์สำคัญๆ ซึ่งทำการค้าอยู่กับหลายประเทศในแอฟริกาเสียก่อน

"พวกเราอยู่ที่ลอนดอน 3 วัน ก็ได้พบกับเทรดดิ้งคัมปานีหลายแห่ง นายธนาคารหลายคน เป้าหมายก็เพื่อรับทราบข้อมูลต่างๆ เพื่อใช้เป็นลู่ทางต่อไป" ดร.อำนวย วีรวรรณ เปิดเผยให้ฟัง

จากลอนดอนคณะผู้แทนการค้าของไทยก็เดินทางไปประเทศเคนยา ซึ่งประเทศเคนยานี้เป็นตลาดสำคัญแห่งหนึ่งของทวีปแอฟริกา โดยเฉพาะในเขตที่เรียกกันว่า แอฟริกาตะวันออก

จากการเปิดเผยของหลายคนที่ร่วมทีมก็คงพอสรุปได้ว่า คณะผู้แทนการค้าของไทยได้มีโอกาสเข้าพบประธานาธิบดีเคนยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการเกษตร และคณะกรรมการหลายชุดที่มีงานด้านการจัดซื้อและการนำเข้าของภาครัฐบาล

"เราได้เข้าพบเจรจากับคณะกรรมการจัดซื้อข้าวโพดของเคนยา ซึ่งเป็นองค์กรของรัฐบาลเป็นผู้นำเข้าข้าวโพดผูกขาดอยู่รายเดียว เราก็ได้นำเอาบริษัทผู้ส่งออกข้าวโพดไปลงทะเบียนไว้ เมื่อไหร่ที่เขามีการเปิดประมูลซื้อ เขาก็จะได้เรียกเราเข้าร่วมประมูลด้วย…." ชูเกียรติ โอภาสวงศ์ แห่งบริษัท ฮ่วยชวนค้าข้าว รายงานให้ทราบ

"จะมีการสั่งซื้ออะไรบ้าง ถ้าเอาแน่นอนจริงๆ ก็คงต้องรอให้เขาเปิด แอล/ซี เข้ามาเสียก่อนก็คงอีกเดือนสองเดือนนี้ ตอนนี้อย่าเพิ่งพูดรายละเอียดดีกว่า….." ดร.อำนวย ในฐานะผู้นำทีมบอก "ผู้จัดการ" พร้อมกับยืนยันว่า สินค้าที่ได้เสนอขายไปนั้นล้วนอยู่ในราคาที่สู้กับคู่แข่งได้ อีกทั้งได้เสนอระยะเวลาการชำระเงินให้ถึง 1 ปีด้วย

"ปกติการค้าทั่วไปเขาจะให้กัน 6 เดือน แต่เราเสนอเงื่อนไขที่ดีขึ้นไปอีกคือ ให้ได้ถึง 1 ปี นอกจากนี้บรรดาธนาคารหลายแห่งในยุโรปซึ่งมีสำนักงานอยู่ในแอฟริกา เขาก็ยินดีมากหากมีการเปิดแอล/ซี เข้ามาซื้อสินค้าจากประเทศไทย เขาก็จะให้คำรับรองของแอล/ซีที่เปิดเข้ามา……"ดร.อำนวยกล่าวเสริม

และเพื่อให้การเดินทางไปเปิดตลาดแอฟริกาครั้งนี้ประทับตราตรึงใจไปนานๆ คณะผู้แทนการค้าไทยได้ถือโอกาสบริจาคข้าวโพดเข้ากองทุนขจัดความอดอยากของประธานาธิบดีเคนยาไปเป็นจำนวน 50 ตัน มูลค่าประมาณ 2 แสนบาท โดยทุกคนที่ร่วมไปในคณะนี้ช่วยกันเฉลี่ยค่าใช้จ่ายเป็นส่วนๆ ธนาคารกรุงเทพในฐานะหัวเรือใหญ่ก็ควักจ่ายไป 6 หมื่นบาทเศษๆ

ถือเป็นน้ำใจเล็กๆ น้อยๆ จากคนไทย ก่อนเดินทางกลับ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us