|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
ในบรรดากิจการที่น่าติดตามความเคลื่อนไหวและการเปลี่ยนแปลงในเชิงนโยบายทางการตลาดอย่างสม่ำเสมอ และมีความกล้าหาญในการทดสอบแนวทางการตลาดแบบใหม่ กิจการของสตาร์บัคส์ดูเหมือนว่าจะติดอันดับของกิจการและแบรนด์ที่สร้างความสนใจให้กับนักการตลาดและนักวิเคราะห์ได้อย่างไม่ตกหล่น
ล่าสุดของการเปลี่ยนแปลงของสตาร์บัคส์เกิดขึ้น หลังจากการประกาศความร่วมมือกันทางธุรกิจระหว่างสตาร์บัคส์กับกรีน เมาท์เท่น คอฟฟี่ ในการผลิต เค-คัพ ก็ปรากฏว่าสตาร์บัคส์เปิดเผยต่อผู้ถือหุ้นในการประชุมประจำปีของผู้ถือหุ้นของสตาร์บัคส์เองว่า สตาร์บัคส์กำลังจะขยายธุรกิจใหม่ ด้วยการผลิตเครื่องปรุงกาแฟแบบเสิร์ฟทีละแก้ว เพื่อแข่งขันกับกิจการชื่อ คูริก ซิสเต็ม ที่เป็นผู้นำในตลาดเครื่องปรุงกาแฟแบบนี้อยู่แล้ว
การที่สตาร์บัคส์กล้าที่จะขยายธุรกิจด้านนี้เป็นเพราะผู้บริหารของสตาร์บัคส์ตัดสินใจที่จะขยายความสัมพันธ์ทางพันธมิตรระหว่างสตาร์บัคส์กับคอร์เทซี่ โปรดักส์ ผู้นำในสหรัฐฯ ในด้านการให้บริการกาแฟตามห้องพักในโรงแรมต่างๆ ที่จะช่วยเสริมความได้เปรียบในด้านการแข่งขันของสตาร์บัคส์
โดยเครื่องจักรในการปรุงกาแฟทีละแก้วที่จะเปิดตัวรอบใหม่นี้ จะทำการปรุงกาแฟในระบบใหม่ที่สตาร์บัคส์คิดค้นขึ้น และทำให้ระดับราคาของการให้บริการด้วยเครื่องปรุงกาแฟต่ำกว่าของกิจการคู่แข่งขันดังกล่าว แม้ว่ากิจการที่ว่านี้จะเป็นผู้นำในตลาดปัจจุบันก็ตาม
ปัจจุบัน คู่แข่งที่ทำการผลิตเครื่องปรุงกาแฟจำหน่าย ได้ตั้งระดับราคาของเครื่องปรุงกาแฟของตนที่ 249.95 ดอลลาร์ แม้ว่าจะมีบางรุ่นที่ราคาต่ำมากราว 99.95 ดอลลาร์ และมีส่วนแบ่งทางการตลาดกว่า 80% ของมูลค่าทางการตลาดของเครื่องปรุงกาแฟทั้งหมดก็ตาม
แต่เครื่องปรุงกาแฟทีละแก้วของสตาร์บัคส์ จะให้บริการปรุงกาแฟทั้งที่เป็นแบรนด์ของสตาร์บัคส์เองและแบรนด์ซีแอตเติล เบสท์ คอฟฟี่ รวมทั้งแบรนด์ทาโก้ทีด้วย
การเปลี่ยนแปลงในธุรกิจด้านเครื่องปรุงกาแฟนี้ เกิดขึ้นภายหลังจากที่มีการประกาศก่อนหน้านี้ว่าสตาร์บัคส์ได้จับมือกับกรีน เมาท์เท่น คอฟฟี่ ผู้ผลิตเครื่องปรุงกาแฟแบบเสิร์ฟทีละแก้วให้กับกิจการคู่แข่งของสตาร์บัคส์ เพื่อทำการจำหน่ายหม้อต้มกาแฟสตาร์บัคส์และกาแฟและชายี่ห้อทาโก้ คอฟฟี่ ที่ทำจากเครื่องปรุงกาแฟที่ว่านี้
สตาร์บัคส์อ้างผลการศึกษาที่พบว่าราว 80% ของลูกค้าในสหรัฐฯ ในปัจจุบันของสตาร์บัคส์ ยังไม่ได้เป็นเจ้าของเครื่องปรุงกาแฟแบบทีละแก้วนี้ จึงมีความเป็นไปได้ที่สตาร์บัคส์จะขยายตลาดของเครื่องปรุงกาแฟในหมู่ของฐานลูกค้าที่เป็นสาวกของรสชาติกาแฟสตาร์บัคส์อยู่แล้ว
การดำเนินธุรกิจในด้านการจำหน่ายเครื่องปรุงกาแฟและชาของสตาร์บัคส์ครั้งนี้ ดูเหมือนว่าจะเป็นอีกหนึ่งความพยายามของสตาร์บัคส์ที่จะกระจายโครงสร้างของการดำเนินธุรกิจของตนออกจากการเป็นร้านกาแฟที่จำหน่ายกาแฟแบบตั้งอยู่กับที่อย่างเดียว ซึ่งเป็นธุรกิจดั้งเดิมของตนมานาน
ธุรกิจด้านการผลิตเครื่องปรุงกาแฟในแบบของสตาร์บัคส์ เพิ่งจะเข้ามาอยู่ในความสนใจของตลาดนักดื่มกาแฟเมื่อประมาณปีที่แล้ว โดยสตาร์บัคส์เริ่มทดสอบตลาดกับเครื่องปรุงกาแฟแบบพร้อมดื่มยี่ห้อเวียของสตาร์บัคส์
ในการสานความสัมพันธ์ทางธุรกิจระหว่างสตาร์บัคส์กับคอร์เทซี่ โปรดักส์ ครั้งนี้ นอกจากจะเกี่ยวข้องกับการขยายตลาดของเครื่องปรุงกาแฟแบบทีละแก้วแล้ว ยังทำให้สตาร์บัคส์มีโอกาสมากขึ้นที่จะขยายตลาดกาแฟผ่านเครือข่ายที่เป็นโรงแรมระดับหรูและระดับพรีเมียมของคู่ค้ารายใหม่ของสตาร์บัคส์ที่มีรวมกันกว่า 500,000 ห้องในสหรัฐฯ
ด้วยการขยันหากลยุทธ์ใหม่ๆ มาทดสอบตลาดแบบนี้นี่เอง ที่ทำให้ชื่อของสตาร์บัคส์ไม่เคยลบเลือนหรือห่างหายจากความทรงจำของลูกค้าในสหรัฐฯ และอาจจะรวมไปถึงลูกค้าทั่วโลกด้วย
|
|
 |
|
|