ทุกสิ่งทุกอย่างจะต้องเปลี่ยนไปตามกาลเวลา
สัจธรรมข้อนี้เป็นสิ่งที่พิสูจน์ได้มาทุกยุคทุกสมัย ตั้งแต่ดึกดำบรรพ์กาลมา
โทรทัศน์ช่อง 3 ในนามของบริษัทบางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์เช่นกัน
หลังจากความผิดพลาดในทางธุรกิจของ วัลลภ ธารวณิชกุล หรือ จอห์นนี่ มาร์
แห่งธนาคารเอเซียทรัสต์ (โปรดอ่านรายละเอียดในผู้จัดการฉบับที่ 12 ประจำเดือนสิงหาคม
2527) นอกจากจะมีผลกระทบต่อธุรกิจรอบด้านของกลุ่มธารวณิชกุล ทีวี ช่อง 3
ก็โดนหางเครื่องกับเขาไปด้วย
"เดิมทีช่อง 3 ใช้เงินของเอเซียทรัสต์มาตลอด ติดหนี้เอเซียทรัสต์ไว้
พอถึงกำหนดก็ต่อไปเรื่อยๆ แต่มาตอนนี้ไม่ได้แล้ว เพราะนอกจากจะใช้เงินแทบจะไม่ได้คล่องเหมือนเดิมแล้ว
ก็ยังถูกเรียกเงินเก่าคืนอีก คุณวิชัย มาลีนนท์ เองก็ไปเซ็นกู้แทนจอห์นนี่
มาร์ เป็นร้อยๆ ล้านบาท ก็ต้องมีภาระรับผิดชอบตามกฎหมายไป" แหล่งข่าวในธนาคารสยามหรือเอเซียทรัสต์เก่าพูดกับ “ผู้จัดการ
ทุกวันนี้จะมีแต่พวกมาลีนนท์เท่านั้น ที่ยังพยายามประคับประคองช่อง 3 นานแล้ว
"ตอนนี้ก็ระมัดระวังการใช้เงินอย่างมาก ๆ อะไรที่เคยได้มาง่ายๆ เดี๋ยวนี้ยากกว่าเก่ามาก"
แหล่งข่าวในช่อง 3 เปิดเผยให้ฟัง
ทุกวันนี้คนที่บริหารช่อง 3 โดยเต็มตัวและมีอำนาจก็คือ ประวิทย์ มาลีนนท์
"คุณวิชัยแกไว้เนื้อเชื่อใจลูกชายคนนี้มาก เพราะเป็นคนทำงานจริงและทำงานเป็นรวมทั้งแทบจะไม่มีผลประโยชน์ส่วนตัวที่เกี่ยวกันกับช่อง
3 เหมือนคนอื่น ส่วนประชา มาลีนนท์ นั้นก็ออกไปทำกิจการของตัวเองตั้งแต่ห้องอาหารคุ้มหลวง
หนังสือพิมพ์พิมพ์ข่าววิดีโอ 3 รับจัดละครให้ช่อง 3 นั้น ประชาไม่ได้มีอำนาจอะไรอีกแล้ว"
คนที่รู้เรื่องนี้ดีเล่าให้ฟัง
สัญญาในการเช่าช่วงช่อง 3 ที่บริษัทบางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์มีอยู่กับองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทยจะหมดใน
5 ปีข้างหน้าหรือ พ.ศ.2532 นี้
และเมื่อเร็วๆ นี้กลุ่มหนังสือพิมพ์ไทยรัฐก็ได้ติดต่อเข้าไปขอรับซื้อสัญญาเช่าช่วง
5 ปี ที่เหลือนี้ในราคา 500 กว่าล้านบาท หรือปีละ 100 กว่าล้านบาท
แต่กลุ่มมาลีนนท์และวิจิตรานนท์ไม่ตกลง
"เขาอาจจะเห็นว่าถูกไปก็ได้ เพราะช่อง 3 มีรายได้รวมก่อนหักค่าใช้จ่ายประมาณเกือบ
3 ล้านบาทต่อวัน ใน 5 ปีที่เหลือนี่ กำไรสุทธิแค่ 500 กว่าล้านนี่สบายอยู่แล้ว"
ถึงแม้ว่ารายได้ช่อง 3 จะยังคงดีอยู่แค่ขณะนี้ผู้บริหารกำลังหนักใจกับรายการของสถานี
"ตอนนี้ทางช่อง 3 กำลังตกต่ำ ช่อง 7 มาแรงมากและดีกว่าด้วย ตอนนี้ช่อง
3 ก็เลยต้องหาหนทางทำอะไรขึ้นมาเพื่อกลับเข้าสู่สถานภาพเดิม"
ความจริงช่อง 3 มีกำลังคนโดยเฉพาะอย่างยิ่งระดับหัวหน้าฝ่าย 4-5 คน ที่เก่งมากๆ
พอจะเรียกได้ว่าเก่งที่สุดในอุตสาหกรรมด้านนี้
แต่ค่าตอบแทนที่พนักงานระดับบริหารแบบมันสมองได้รับไม่คุ้มค่าเลยเมื่อเปรียบเทียบกับธุรกิจช่อง
3 ที่มีปริมาณปีละเกือบพันล้านบาท
"หัวหน้าฝ่ายมีเงินเดือนแค่หมื่นกว่าบาท รวมค่ารถอีกเล็กน้อย ซึ่งตลกมากในขณะที่ช่อง
3 พูดให้ฟัง
สำหรับไทยรัฐแล้ว ถ้าช่อง 3 ได้ก็จะทำให้กลุ่มตัวเองเข้าไปควบคุมธุรกิจทางด้านสื่อสารและบันเทิงจนเกือบจะครบวงจรในตัวของมันเอง
ตั้งแต่หนังสือพิมพ์รายวัน ห้องอาหาร ดิสโก้เธค ลานสเกต โทรทัศน์ ฯลฯ เมื่อเข้าไม่ได้ตอนนี้ก็คงต้องรอไปอีก
5 ปี แล้วค่อยว่ากันใหม่ แต่ 5 ปีเป็นระยะเวลาที่ยาวนานจนเกินไปที่จะทำนายทายทักว่าใครจะเป็นอะไร
เพราะทั้งธุรกิจของช่อง 3 และของไทยรัฐเอง ล้วนแต่มีตัวแปรอยู่มากเหลือเกิน
และหนึ่งในตัวแปรหลายตัวที่สำคัญมากๆ คือการเมืองซึ่งมีสิทธิ์ทำให้ความแน่นอนกลายเป็นความไม่แน่นอนได้เหมือนกัน