Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2544
จากตะวันโมบายสู่ "ฮัทชิสัน"             
โดย ไพเราะ เลิศวิราม
 

   
related stories

ชิดชัย นันทภัทร์

   
search resources

ล็อกซเล่ย์, บมจ.
ฮัทชิสัน เทเลคอมมิวนิเคชั่นส์ (ประเทศไทย), บจก.
ตะวันโมบายเทเลคอม
ไอ-โมบาย โฮลดิ้ง
บีเอฟเคที (ประเทศไทย)
ชิตชัย นันทภัทร์
เธียร ปฏิเวชวงศ์
Mobile Phone




การกลับมาใหม่ของ ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ระบบ 1900 ที่เคยได้ชื่อว่า มีลูกค้าน้อยที่สุด

ในช่วงหลายเดือนมานี้ ชิตชัย นันทภัทร์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทตะวันโมบายเทเลคอม ต้องใช้เวลาเกือบทั้งหมดไปกับการเดินทางไปหลายประเทศ เพื่อพบปะพูดคุย ร่วมฟังสัมมนาเกี่ยวกับวิวัฒนาการของโทรศัพท์เคลื่อนที่ ที่ฮัทชิสัน เทเลคอมมิวนิเคชั่น จัดขึ้นให้กับผู้บริหารทั่วโลก ที่จะสามารถบินไปหาความรู้ได้ตลอดเวลา

นั่นเพราะในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า โทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ CDMA ของบริษัทตะวันโมบายจะเปิดตัวสู่ตลาดอีกครั้ง ด้วยโฉมหน้าใหม่ที่เป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผู้ถือหุ้น และชื่อ brand ของสินค้าใหม่ ที่จะใช้ชื่อว่า "ไอโมบาย" ที่อยู่ภายใต้การดำเนินงานของฮัทชิสัน เทเลคอมมิวนิเคชั่น เจ้า ของกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ จากเกาะฮ่องกง

ก่อนหน้านี้ ตะวันโมบายเทเลคอม เป็นเอกชนเพียงไม่กี่รายที่สามารถ ก้าวล่วงเข้าสู่ธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งยังเป็นตลาดที่ยังถูกผูกขาดโดยเอกชน เพียงแค่ 2 ราย เธียร ปฏิเวชวงศ์ อดีตผู้บริหารของเลนโซ่เพจจิ้ง ที่เคยสร้างตำนานขายเพจเจอร์ในราคาบาทเดียว อาศัยประสบการณ์และความคุ้นเคยกับการสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.) ยื่นขอเป็นตัวแทนทำตลาดบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ระบบ CDMA ให้กับกสท. โทรศัพท์เคลื่อนที่ ระบบ CDMA เป็นระบบดิจิตอลที่พัฒนามาจากระบบแอมป์ 800 แบนด์ A ซึ่งเป็นระบบอนาล็อก ที่นับวันความนิยมของระบบนี้จะลดลงไปเรื่อยๆ กสท. จึงต้องการนำคลื่นความถี่ 800 เมกะเฮิรตซ์ ที่มีอยู่นำไปพัฒนาไปสู่ระบบดิจิตอล เพื่อให้สามารถแข่งขันในตลาดได้ และด้วยการขาดประสบการณ์ในเรื่องการตลาด จึงมอบหมายให้ เอกชนเป็นผู้ดำเนินการส่วนนี้ ส่วนเรื่องการลงทุนในเรื่องของการสร้างเครือข่าย (network) เป็นหน้าที่ของ กสท.

แต่เนื่องจากข้อจำกัดในเรื่องของเครือข่ายที่ยังไม่สามารถให้บริการได้ทั่วประเทศ ให้ บริการได้เฉพาะในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ประกอบกับเป็นเทคโนโลยีใหม่ ที่ต้องให้ความรู้ แก่ผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ CDMA จึงไม่เป็นที่นิยมในตลาด มีผู้ใช้บริการลูกค้าที่ใช้บริการเพียงไม่กี่พันราย ชื่อของตะวันโมบาย จึงแทบไม่เป็นที่รู้จักในตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่

ยิ่งมาเจอกับภาวะวิกฤติเศรษฐกิจด้วยแล้ว ทำให้เธียรตัดสินใจขายหุ้นทั้งหมดที่ถืออยู่ 65% ของตะวันโมบาย ให้กับบริษัท ไอ-โมบาย โฮลดิ้ง ซึ่งสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทนี้ประกอบ ไปด้วย ฮัทชิสัน เทเลคอมมิวนิเคชั่น อินเวส เมนท์ จากฮ่องกง 49% ส่วน 10% ถือในนาม บุคคล คือ วิรัตน์ โอวารินท์ และประยงค์ บุญสูง และที่เหลืออีก 41% เป็นผู้ถือหุ้นฝ่ายไทย คือ บริษัทจีเอ็มพาร์พี นอกจากนี้ กสท.ยังได้อนุมัติเปลี่ยนเงื่อนไขจากการเป็นผู้ลงทุนสร้าง network เองมาใช้วิธีเช่าต่อจากบริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย) โดยให้บริษัท ไอ-โมบาย โฮลดิ้ง เป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่าย และค่าเช่าทั้งหมดแทน กสท. ซึ่ง กสท.ยังคงสภาพการเป็นเจ้าของเครือข่ายให้บริการและดำเนินโครงการ ทั้งนี้ บริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย) นั้น มีฮัทชิสัน เทเลคอมมิวนิเคชั่น จำกัด เป็นเจ้าของและเป็นผู้ก่อตั้ง การเปลี่ยนแปลงเงื่อน ไขเหล่านี้ จึงเท่ากับเป็นการปรับเปลี่ยนทั้งรูปแบบและเงื่อนไขของสัมปทานและผู้รับสัมปทาน ที่จะถูกเปลี่ยนไปอยู่ในมือของผู้ให้บริการโทร ศัพท์เคลื่อนที่ข้ามชาติอย่าง ฮัทชิสัน เทเลคอม มิวนิเคชั่น ที่จะเข้ามาเป็นทั้งผู้สร้างเครือข่ายและให้บริการแบบเต็มตัว ฮัทชิสัน เทเลคอมมิวนิเคชั่นเป็นเจ้าของ กิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ระบบ CDMA เป็นรายแรกๆ ของโลก ที่ให้บริการระบบดังกล่าวอยู่ในฮ่องกง ออสเตรเลีย สิงคโปร์ เกาหลีและ เคยเป็นเจ้าของกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ในนาม ของ "ออเรนจ์" ในประเทศอังกฤษ ก่อนจะขาย กิจการนี้ไปให้กับผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รายใหญ่ในประเทศเยอรมนี การรุกเข้ามาในไทย เป็นส่วนหนึ่งในการขยายเครือข่ายธุรกิจ โทรศัพท์เคลื่อนที่ระดับภูมิภาค เพื่อทำให้ระบบ CDMA แพร่หลายเหมือนอย่างที่ระบบ GSM ที่ใช้ไปทั่วโลกแล้ว ถึงแม้ว่า ฮัทชิสันจะมีธุรกิจวิทยุติดตาม ตัว ธุรกิจอินเทอร์เน็ต คือ การเปิดเว็บไซต์ lemononline.com แต่การเข้าสู่ธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ในไทย นับเป็นความพยายามที่มีมานานของฮัทชิสัน หากไม่เป็นเพราะวิกฤติเศรษฐ กิจแล้ว การเข้ามาของฮัทชิสันในช่วงเวลาดังกล่าว อาจทำได้ไม่ง่ายดายนัก ที่มากไปกว่านั้น ก็คือ การที่ฮัทชิสันนั้น เปรียบตัวเองไม่ต่างอะไรกับฟรานซ์เทเลคอม หรือดอยช์เทเลคอม ซึ่งเคยเป็นรัฐวิสาหกิจแต่ต่อมาได้แปรรูปเป็นบริษัทเอกชนที่ต้องการรุก ขยายการลงทุน เพื่อสร้างเครือข่ายธุรกิจในหลายประเทศ สิ่งที่ฮัทชิสันต้องการมากไปกว่านี้ ก็คือ การเป็น strategic partner ของ กสท. และองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.) ซึ่งฮัทชิสันหวังว่า การเข้าสู่ธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อน ที่จะเป็นใบเบิกทางให้เขาก้าวไปสู่เป้าหมายเหล่านี้ได้ไม่ยากนัก

แต่สิ่งที่ท้าทายสำหรับฮัทชิสันในเวลานี้ ก็คือ การที่ต้องช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดในตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่มีผู้ให้บริการรายเก่า 2 ราย เป็นผู้ครองตลาดส่วนใหญ่อยู่ในเวลานี้ รวมถึงผู้ให้บริการหน้าใหม่อย่าง WCS ที่เตรียมจะลงแข่งขันในช่วงปลายปีนี้

และนี่ก็คือ สาเหตุที่ฮัทชิสันต้องดึงเอาชิตชัย นันทภัทร์ ผู้บริหารเก่าแก่ของล็อกซเล่ย์ มานั่งเก้าอี้ กรรมการผู้จัดการ บริษัทตะวันโมบายเทเลคอม สิ่งที่ฮัทชิสันจะได้มา นอกเหนือจากประสบการณ์ของผู้บริหารคนไทยอยู่ในตลาดโทรคมนาคมมานานแล้ว ยังรวมไปถึงการ ที่จะได้ล็อกซเล่ย์มาเป็นพันธมิตร เพื่อช่วยในเครือข่ายระบบจัดจำหน่ายและระบบบริการ ที่ จะเกื้อกูลธุรกิจระหว่างกันได้

ถึงแม้ว่า ล็อกซเล่ย์จะไม่ได้เป็น 1 ใน ผู้ถือหุ้นในโครงการดังกล่าว แต่การที่ฮัทชิสันมีสายสัมพันธ์อันดีกับกลุ่มล็อกซเล่ย์มายาวนาน ในการร่วมทุนทำธุรกิจวิทยุติดตามตัวในนาม "ฮัทชิสัน" ที่เปิดให้บริการมา 10 ปี มีการลงทุน ในเรื่องของระบบ call center ที่จะสามารถใช้ประโยชน์ให้กับธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้

"มันเป็นความสมบูรณ์แบบที่ฮัทชิสันจะได้รับจากซินเนอยีธุรกิจร่วมกันกับล็อกซเล่ย์ เพราะสิ่งเหล่านี้จะถูกใช้เป็นจุดแข็งของเรา" ชิตชัยกล่าว สำหรับฮัทชิสัน นอกเหนือจากเรื่องของ เทคโนโลยี CDMA ที่ทำมาแล้วในหลายประเทศ ทั่วโลก ประสบการณ์ในด้านการตลาด และใน ธุรกิจค้าปลีก ที่ฮัทชิสันเป็นเจ้าของปาร์คแอนด์ ชอป และร้านค้าปลีกวัตสัน ที่เปิดให้บริการและมีสาขาจำนวนมากแล้วในไทย ชิตชัยเชื่อว่า สิ่งเหล่านี้จะทำให้ฮัทชิสัน ไม่ต้องเริ่มต้นจากศูนย์ แต่จะสามารถอาศัยเครือข่ายช่องทางจัดจำหน่ายเหล่านี้ ให้เป็นประโยชน์กับกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ของฮัทชิสัน และจะถูกใช้เป็นจุดแข็งอย่างหนึ่งของฮัทชิ สัน เพราะปัจจุบันกลไกการค้าเครื่องลูกข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ เป็นธุรกิจที่เปิดกว้างไม่ได้ผูกขาดกับผู้ให้บริการรายใดรายหนึ่งอยู่แล้ว

"เวลานี้หวังว่าจะขายเครื่องแล้วได้กำไร มันก็หมดยุคไปแล้ว ต้องไปดูเรื่องแอร์ไทม์ และ เทคโนโลยีมากกว่าการแข่งขันทำให้ทุกอย่างเป็น ไปตามกลไก" ถึงแม้ว่าเรื่องของเทคโนโลยีจะไม่ใช่เรื่อง ที่น่าเป็นห่วงสำหรับฮัทชิสัน เนื่องจากระบบ CDMA จะมีข้อดีในเรื่องของเทคโนโลยีของระบบที่ใช้การส่งสัญญาณด้วยรหัส (code) ซึ่งจะทำให้สามารถรองรับกับปริมาณการใช้งานได้มากกว่าระบบอื่นๆ และยังสามารถพัฒนาไปสู่ระบบ 2.5 G ที่บริษัทเอ็นทีทีโดโคโมนำไปให้บริการและเตรียมจะเปิดบริการ w-cdma ภายในเดือนพฤษภาคมนี้ เราเปิดให้บริการกันยายนนี้ แต่สิ่งที่น่าห่วงสำหรับฮัทชิสันนั้น ไม่เพียงแต่ CDMA กลับเป็นสิ่งใหม่ที่ผู้บริโภคแทบ ไม่รู้จักภาพลักษณ์ของตะวันโมบายเทเลคอมกลายเป็นเรื่องความจำเป็นที่ฮัทชิสันต้องเปลี่ยน ชื่อบริการ (re-brand) ใหม่ จากตะวันโมบายมา เป็น i-mobile เพื่อล้างภาพเดิมๆ ของการให้บริการในอดีต ที่ฮัทชิสันต้องทำอย่างเข้มงวด งบประมาณกว่า 10,000 ล้านบาท จะถูกใช้สำหรับการวางเครือข่ายและการตลาด ที่ จะต้องครอบคลุมการให้บริการ 20 จังหวัด ซึ่ง รวมไปถึงการที่ต้องเพิ่มทีมงานจาก 100 คน เป็น 700-800 คน เพื่อรองรับกับงาน โดยมีกำหนดเปิดให้บริการในเดือนกันยายน 2544 เ ป้าหมาย ของพวกเขา คือ การมียอดขายปีละ 2-3 แสน

"ก็เหมือนกับธุรกิจวิทยุติดตามตัว มีผู้ให้ บริการถึง 6 ราย แต่ทำไมคนใช้ฮัทชิสันทั้งๆ ที่ เครื่องลูกข่ายก็ใช้ยี่ห้อเดียวกัน ก็เพราะว่าเทคโนโลยีและซอฟต์แวร์ไม่เหมือนกัน" ชิตชัยกล่าวถึงประสบการณ์ในธุรกิจวิทยุติดตามตัว ที่เขาเชื่อว่า ไม่แตกต่างไปจากธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ เป้าหมายของชิตชัย ไม่ใช่แค่การมีส่วน แบ่งในตลาดเท่านั้น แต่ต้องการเป็นผู้กำหนดมาตรฐานของการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งเป็นมิติใหม่ที่ฮัทชิสันเชื่อว่า จะทำให้พวก เขาแทรกตัวอยู่ในตลาดโทรศัพทเคลื่อนที่ของ เมืองไทย อันเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ของ การสร้างเครือข่ายขึ้นทั่วโลก

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us