Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2528








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2528
เป็นนายกฯ เหมาะที่สุด             
 

   
related stories

คณะรัฐมนตรีในยามหน้าสิ่วหน้าขวาน!

   
www resources

โฮมเพจ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

   
search resources

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
ธนาคารสยาม
โรงกลั่นน้ำมันทหาร (โรงกลั่นน้ำมันบางจาก)
เกษม จาติกวณิช
Political and Government




ตอนเช้าๆ บางวันที่คอฟฟี่ชอปคัพปูชิโนในโรงแรมเพรสซิเดนท์ แถวถนนเกษร จะมีชายไทยรูปร่างค่อนข้างสูงใส่เสื้อแขนสั้นสีขาว ผูกเนกไท อายุใกล้ 60 เดินเข้ามานั่งแล้วสั่งมะละกอ ตามด้วยโจ๊กหมูใส่ไข่รับประทานไปพร้อมทั้งอ่านหนังสือพิมพ์ตอนเช้าไปด้วยอย่างเอาจริงเอาจังกับข่าวสารบนหน้ากระดาษนั้น

ชาวต่างชาติต่างๆ ที่นั่งรับประทานอยู่ทั่วไปก็คงจะไม่มีใครสนใจชายไทยที่ใส่แว่นตาคนนั้น

แต่ถ้าพวกเขารู้ว่าบุรุษที่แต่งตัวค่อนข้างจะสมถะนั้น คือคนที่รับผิดชอบองค์การ องค์การหนึ่ง ซึ่งเมื่อปี 2527 มีทรัพย์สินรวมถึง 70,000 กว่าล้านและมีกำไร 3 พันกว่าล้านบาทแล้ว พวกเขาก็คงจะทึ่งเป็นอย่างมาก

และเขาก็คงทึ่งต่อไปอีก ถ้าเขาเกิดรู้ว่าคนคนนั้นยังเป็นประธานธนาคารสยาม เป็นประธานโรงกลั่นน้ำมันไทย เป็นประธานโรงกลั่นน้ำมันบางจาก ฯลฯ ซึ่งถ้ารวมสินทรัพย์ทั้งหมดแล้วก็เกือบแสนล้านบาท สำหรับคน คนหนึ่งที่เข้ามาบริหาร

คนคนนั้นราศีมีน ลักษณะคนราศีมีนว่ากันไว้ดังนี้ "มักจะอยู่อย่างสมถะ ไม่ค่อยชอบยุ่งเกี่ยวกับเรื่องของคนอื่น แต่ถ้าได้รับการร้องขอความช่วยเหลือใดๆ ก็ตาม ชาวราศีมีนจะเข้าไปช่วยอย่างเต็มอกเต็มใจและด้วยความสุจริตใจทันที"

เขาจะไม่มองเห็นคนอื่นเป็นศัตรูเพราะจะมองคนทุกคนในฐานะมนุษย์ที่มีจิตใจเท่าเทียมกันหมด เพราะฉะนั้นถ้าหากใครเป็นศัตรูของเขา เขาจะพยายามหาทางให้ศัตรูสงบลงหรือยุติการเป็นศัตรูด้วย

คุณธรรมหรือด้วยการเอาความดีเข้าสู้

เกษม จาติกวณิช คือคนคนนั้น !

เขาเกิดเมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2467 ในกรุงเทพฯ บิดาชื่อนายซอเทียหลุย ชื่อไทย

หลุย จาติกวณิช ต่อมาได้บรรดาศักดิ์เป็นพระอธิการณ์ประกาศ กินตำแหน่งอธิบดีกรมตำรวจ

เมื่อเด็ก ๆ เกษมเรียนหนังสือที่อัสสัมชัญบางรัก และ St. STEPHENS COLLEGE ที่ฮ่องกง

เขาจบปริญญาตรีด้านวิศวกรรมเครื่องกลที่จุฬา เมื่อ พ.ศ.2489 และปริญญาโทด้านวิศวไฟฟ้าที่มหาวิทยาลัยยูทาห์ในปี 2493

ชีวิตของเกษมเป็นชีวิตของการอุทิศตนเป็น TECHNOCRAT รับราชการมาตลอด โดยเริ่มเป็นวิศวกรประจำกระทรวงอุตสาหกรรมในปี พ.ศ.2495 - 2496 หลังจากนั้นก็มาอยู่กรมชลประทาน กระทรวงเกษตร ในปี 2496 - 2502 กับ ม.ล.ชูชาติ กำภู

แต่อาจจะเป็นเพราะเกษมไม่เคยชินกับระบบค่อนข้างเผด็จการของ ม.ล.ชูชาติ กำภู ก็เลยออกมาทำงานบริษัทล็อกซ์เล่ย์อยู่พักหนึ่ง หลังจากนั้นก็ไปเป็นรองผู้จัดการทั่วไปของการไฟฟ้ายันฮี ประมาณ 2-3 ปี แล้วขึ้นมาเป็นผู้ว่าการการไฟฟ้ายันฮี ในปี พ.ศ.2504 จนถึงปี 2515 ที่มีการรวมการไฟฟ้ายันฮีเข้ากับการไฟฟ้าลิกไนต์และการไฟฟ้าตะวันออกเฉียงหนือ เป็นการไฟฟ้าฝ่ายผลิตโดยมี เกษม จาติกวนิช เป็นผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตตั้งแต่ปี 2515 ถึงปัจจุบัน

23 ปีที่เกษม จาติกวณิช บริหารการไฟฟ้าฝ่ายผลิตให้เจริญเติบโตจากทรัพย์สินรวมในปี 2515 จำนวน 5,871 ล้านบาท มาเป็น 70,000 กว่าล้านบาท ในปี 2527

ถ้าจะถามว่าความสำเร็จของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตนั้นอยู่ที่ไหน?

ก็เห็นจะต้องตอบว่าส่วนหนึ่งที่สำคัญมากอยู่ที่ตัวเกษม จาติกวณิช คนนี้

"งานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตนั้นไม่ใช่แค่งานของการผลิตกระแสไฟฟ้าป้อนให้คนไทยใช้เท่านั้น แต่มองให้ลึกไปแล้วมันเป็นงานของการวางแผนเพื่ออนาคตโดยแท้จริง เพราะไฟฟ้าที่มีใช้โดยไม่ขาดมาตลอดนั้นเป็นผลพวงจากการวางแผนทีเดียว 10 ปี และการลงทุนที่ปีละหลายพันล้านบาท" นักบริหารระดับ CORPORATE PLANNING ให้ความเห็นเมื่อถูกขอให้ REVIEW การทำงานของเกษม จาติกวณิช

และเมื่อพูดถึงการลงทุนก็ต้องยอมรับว่าในระดับองค์กรด้วยกันแล้ว การไฟฟ้าฝ่ายผลิต กู้เงินมากที่สุดและก็กู้เก่งที่สุด

"การไฟฟ้าฝ่ายผลิตเป็นลูกค้าของธนาคารโลก และธนาคารโลกก็เชื่อมือคุณเกษมมาก เพราะกู้ไปทีไรเวลาใช้คืนไม่เคยผิดนัดเลยแม้แต่วันเดียว นอกจากนั้นแล้วการทำงานก็บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้เกือบ 100%" เจ้าหน้าที่ WORLD BANK ในประเทศไทยเล่าให้ “ผู้จัดการฟัง”

สำหรับกำไร 3 พันกว่าล้านบาทต่อยอดทรัพย์สิน 2 หมื่นกว่าล้านบาทก็ตกประมาณ 5%

"สำหรับ PUBLIC UTILITY แล้วดีมาก" เจ้าหน้าที่ WORLD BANK คนเก่าพูดต่อ

ความไว้เนื้อเชื่อใจที่สถาบันการเงินต่างประเทศที่มีต่อเกษมนั้น ไม่ได้เชื่อเพราะการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแต่เชื่อเพราะ งานชิ้นนั้นคนชื่อเกษม จาติกวณิช เป็นคนจับอยู่

"มาพิสูจน์กันจริงๆ ก็ตอนธนาคารสยาม (เอเชียทรัสต์) พอคุณเกษมเข้ามาปั๊บ เทเล็กซ์ทวงเงินจากเมืองนอกค่อยๆ ลดน้อยลงจนไม่มี และพอโรงกลั่นบางจากต้องการทำโครงการ ก็เอาคุณเกษมมาเป็นประธาน เพราะรู้ว่ากู้เงินเป็นหลายพันล้านนี้ต้องใช้ชื่อเกษม มาเป็นประธาน ไทยออยล์ก็เหมือนกัน การที่เอาคุณเกษมเข้ามาก็เพราะต้องการให้ต่างชาติเชื่อมือ" CORPORATE PLANNER คนเก่าเล่าต่อ

"คุณเกษมเป็นประเภทที่ฝรั่งเรียกว่า ALL ROUNPER แกเหมาะที่จะทำงานอะไรก็ตามที่มีลักษณะการต้องมองอนาคต และในลักษณะพิเศษ เช่น CRISIS MANAGEMENT นั้นแกเหมาะที่สุด" คนที่เคยทำงานกับเกษม จาติกวณิช พูดให้ฟัง

ก็น่าจะเป็นเช่นนี้เพราะงานของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ เท่าที่เจริญเติบโตขึ้นมาตลอด 23 ปีนั้น ต้องผ่านอุปสรรคต่างๆ นานา ที่จะต้องโดนวิพากษ์วิจารณ์โจมตีตลอด

"ความจริงแล้วการบริหารการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ นี่ก็กึ่งๆ CRISIS MANAGEMENT อยู่แล้ว ลองคิดดูซิว่าคุณมีหน้าที่จะต้องผลิตกระแสไฟฟ้าในราคาที่ต่ำที่สุด แต่ต้องมีกำไรจำนวนหนึ่งเพื่อที่จะเอาผลกำไรไปลงทุนต่อไปเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าเพิ่มขึ้น เพื่อรองรับการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น และในขั้นตอนของการทำ

เช่นนั้นได้ คุณต้องเผชิญสื่อมวลชน ต้องเผชิญกับนักอนุรักษ์ธรรมชาติที่หวงแหนต้นไม้ทุกต้นที่จะต้องถูกน้ำท่วมเมื่อทำเขื่อน ต้องเผชิญกับชาวบ้านซึ่งไม่ต้องการจะโยกย้ายออกไปจากถิ่นฐานเดิม ต้องเผชิญกับ

นักการเมืองที่ต้องการหาเสียงกับประชาชน ต้องเผชิญกับเจ้าหน้าที่กระทรวงการคลัง กองรัฐวิสาหกิจ

นักเศรษฐศาสตร์หนุ่มๆ เป็นผู้พิจารณาโครงการเป็นหมื่นล้าน ฯลฯ" คนในการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ พูดให้ฟัง

แต่ทั้งหมดนี้เกษม จาติกวณิช ก็ใช้ความสามารถบริหารจนผ่านมาได้ตลอด "คุณเกษม แกมีบุคลิกหนึ่งซึ่งดีมาก คือแกไม่ไปกระโดดโลดเต้นไปตามเพลงที่ฝ่ายต่อต้านบรรเลงให้ฟัง ตัวอย่างเช่น การสร้างเขื่อน เขื่อนหนึ่งก่อนสร้างนั้นการไฟฟ้าฯ ก็ได้มีการว่าจ้างสถาบันการศึกษาให้ตรวจสอบดูความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับธรรมชาติ ถ้าไม่เสียหายถึงระดับร้ายแรงก็จะทำ การโยกย้ายชาวบ้านออกไปหาที่ทำกินใหม่นั้น การไฟฟ้าฯ ก็ได้จัดที่จัดทางใหม่ให้เป็นอย่างดี ทีนี้พอมีการต่อต้านอะไรที่เรารู้ว่ามันไม่จริงหรือสื่อมวลชนโจมตีมา อย่างมากคุณเกษมแกก็หัวเราะเฉยแล้วก็ปล่อยผ่านไป" คนการไฟฟ้าฯ พูดเสริมต่อ

โครงการเขื่อนน้ำโจนเป็นกรณีตัวอย่างที่เห็นได้ชัด

การสร้างเขื่อนน้ำโจนนั้นมันหมายถึงการสูญเสียผลประโยชน์ของคนหลายฝ่าย เช่น เส้นทางของเถื่อนจากพม่าผ่านมาทางกาญจนบุรีที่โดนเรียกค่าผ่านทางคันรถละหลายหมื่นก็ต้องถูกน้ำท่วมไป หรือการขุดแร่ที่ต้องรอเวลาอีกหลายปีค่อยขุดถึงจะได้กำไรดีก็หมดโอกาสไปเช่นกัน ผลประโยชน์เหล่านี้แอบแฝงมากับการต่อด้านเรื่องเขื่อนน้ำโจน

และในที่สุดก็ต้านไม่ได้ เพราะรัฐบาลได้อนุมัติหลังจากตั้งคณะกรรมการขึ้นมาพิจารณาหลายต่อหลายคณะแล้ว

แต่ "เราคงไม่สร้างเพราะไม่คุ้ม" แหล่งข่าวการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ พูดให้ฟัง

เกษม จาติกวณิชเป็นคนเก่งมานานแล้วแต่ไม่ค่อยมีใครสังเกต!

อาจจะเป็นเพราะว่าประเทศเรามีแต่วิกฤตการณ์ทางการเมืองมาตลอด

เพิ่งจะมีใน 2-3 ปี ที่ผ่านมานี้เองที่เราเริ่มประสบกับวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจที่ทำให้เราหันไปมองกิจการรอบตัวเราแล้วพบว่า ท่ามกลางความวุ่นวายสับสนทั้งหลายที่เกิดขึ้นรอบตัวพบว่า รัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่งที่ทุกคนในนั้นมีความสุขและเจริญก้าวหน้ามาตลอดระยะเวลา 23 ปี ที่ตั้งขึ้นมา

ผลผลิตและผลงานของรัฐวิสาหกิจนั้นก็ได้ตอบสนองความต้องการและเอื้ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนในสังคมมาอย่างคงเส้นคงวาตลอดมา โดยไม่เคยทำความผิดหวังให้กับเราซึ่งเป็นสมาชิกของสังคมที่เสียภาษีให้แก่รัฐ และรัฐวิสาหกิจนั้นคือการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ

และคนที่เราเพิ่งจะมองเห็นว่ามีคุณภาพสูงทั้งๆ ที่ต่างประเทศรู้ซึ้งในคุณภาพของคน คนนี้มานานแล้วก็คือ เกษม จาติกาวณิช

ประเทศไทยเป็นประเทศที่โชคร้ายในเรื่องผู้นำประเทศ

อาจจะเป็นเพราะว่าเรามีความสับสนเกินไปจนไม่รู้ว่าพื้นฐานและวัฒนธรรม ตลอดจนความเป็นอยู่ของสังคมเรานั้นควรจะมีการปกครองแบบใด?

ฉะนั้นผู้นำที่เราได้มาแต่ละยุคแต่ละสมัยนั้น ก็เป็นผลพวงของการได้มาจากการแสวงหาแท้ๆ

แม้กระทั่งทุกวันนี้เราก็ยังคงแสวงหากันอยู่ และการแสวงหาของเรานั้นมักจะแสวงหาตัวบุคคลที่

สามารถเข้ากับเงื่อนไขทางการเมืองมาตลอด และนี่คือสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้นำเรามีความอ่อนไหวทางการเมือง

แต่อ่อนแอทางการบริหาร

ในอดีตนั้นเรามักจะเอาการเมืองมานำหน้าการเศรษฐกิจ!

แต่เหตุการณ์ใน 2-3 ปีที่ผ่านมานี้ เราต้องยอมรับกันเสียทีว่า การบริหารเศรษฐกิจให้ดีกลับจะเป็นตัวชี้นำถึงลักษณะการเมืองที่เราต้องการ

ถ้าเราจะเปรียบประเทศเป็นองค์กรหนึ่ง นายกรัฐมนตรีเป็นผู้จัดการใหญ่และบรรดารัฐมนตรี

เป็นผู้จัดการแผนกต่างๆ แล้ว

เราจะเห็นได้ชัดว่าใน 5 ปีที่ผ่านมานี้ บริษัทประเทศไทยจำกัดบริหารงานล้มเหลวมาตลอด

ถ้าเราจะวัดการส่งออกคือยอดการขายของบริษัทแล้วจะเห็นว่าตั้งแต่ปี 2523 จนถึง 2527 นั้น เราขายเพิ่มขึ้นกว่าเดิมโดยเฉลี่ยแล้วไม่ถึง 6% ดี

ในขณะที่ดุลการค้า คือยอดกำไรขาดทุนของเรานั้นขาดทุนมาตลอดและขาดทุนเพิ่มเฉลี่ยปีละ 38% จากยอดขาดทุนเดิม

นายกรัฐมนตรี คือ กรรมการผู้จัดการที่จะต้องเซ็นงบดุลประจำปี!

และงบดุลในลักษณะนี้น่าจะเป็นงบดุลที่สะท้อนให้เห็นความไม่มีประสิทธิภาพและไร้ความสามารถของคณะจัดการชุดนี้

นี่ขนาดยังไม่ได้รวมเอาสิ่งที่วัดกันด้วยตัวเลขไม่ได้เช่นคุณภาพชีวิตที่ตกต่ำลง ความปลอดภัยในชีวิตที่ลดน้อยลง

ภาวการณ์ของประเทศขณะนี้คือภาวการณ์วิกฤตที่ต้องใช้การบริหารในภาวะวิกฤตที่ฝรั่งเรียกว่า CRISIS MANAGEMENT

ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2527 เป็นต้นมา นับจากวันลดค่าเงินบาท คำพูดที่บรรดาผู้มีเกียรติทั้งหลาย เช่น ดร.วีรพงษ์ รามางกูร หรือ ไตรรงค์ สุวรรณคีรี หรือบรรดาเกจิอาจารย์ของกระทรวงการคลัง และกระทรวงพาณิชย์ที่บอกว่าหลังลดค่าเงินบาทแล้วเราจะดีขึ้น

นี่ก็จะขึ้นเดือนที่ 5 แล้วหลังจากการลดค่าเงิน ของก็ขายไม่มากขึ้น เงินบาทก็ตกไปเกิน 28 บาท

(ทั้งๆ ที่ทุกคนที่เป็นเกจิอาจารย์ของธนาคารชาติว่าจะตกไม่เกิน 28 บาทแน่ๆ )

สิ่งต่างๆ เหล่านี้พอจะบอกให้เราเห็นอนาคตของประเทศได้รางๆ ว่าอะไรกำลังจะเกิดขึ้น

ในภาวการณ์แบบนี้การใช้การเมืองนำหน้าเศรษฐกิจอยู่นั้นเป็นเหตุผลที่เลวร้ายมาก

เพราะในภาวการณ์แบบนี้เราต้องการผู้จัดการประเทศที่มืออาชีพไม่ใช่นักการเมือง

ไม่ใช่อดีตผู้บัญชาการทหารบก ไม่ใช่พ่อค้า แต่เป็นผู้ที่พิสูจน์มาแล้วว่า เขามี TRACK RECORD ที่ดี และที่สำคัญที่สุด เขามีคุณสมบัติของผู้นำองค์กรที่จะพานาวาไปได้ตลอดรอดฝั่ง

และเราขอเสนอ "เกษม จาติกวณิช" เป็นนายกรัฐมนตรี

ทำไมเกษมจึงเหมาะที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีมากที่สุดในขณะนั้น?

เราขอตอบคำถามข้างต้นนั้นด้วยคำถามที่ว่า ทุกวันนี้ผู้นำประเทศเราขาดคุณสมบัติอะไรบ้าง?

ผู้นำเราทุกวันนี้ขาด:-

1. ความรอบรู้
2.
ความรอบรู้ในที่นี้ก็มีความหมายในตัวของมันอยู่แล้ว เกษม จาติกวณิช เป็นนักวิศวฯ ที่มีความรู้

ด้านเศรษฐกิจที่ดีมาก ประกอบกับการต้องติดต่อทำโครงการใหญ่ๆ ทำให้เขาเข้าใจถึงความสำคัญของการเงินการคลังไปจนกระทั่งการที่เขาผลิตงานที่ประชาชนต้องใช้ เช่น ไฟฟ้า ทำให้เขาสามารถเข้าถึงความต้องการของประชาชนระดับล่างได้ดี

3. การตัดสินใจฉับไวที่สนองทันเหตุการณ์
4.
ปัญหาของชาติด้านเศรษฐกิจต้องเป็นปัญหาที่ผู้นำจะวางเฉยไว้นานไม่ได้หรือจะทำตนอยู่เหนือ

ความขัดแย้งไม่ได้เด็ดขาด เพราะเมื่อร่วมทีมงานกันแล้วผู้นำจะต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของลูกน้องทุกประการ !

เกษมเป็นผู้ฟังที่ดี และสามารถจะจับประเด็นได้เร็ว จากการทำงานในอดีตเกษมจะเก็บความเห็น

ของคนทุกคน และสามารถหาบทสรุปพร้อมทั้งความคิดเห็นของตัวเองที่เป็นแนวตัดสินใจออกมาได้ในเวลาไม่นาน

การตัดสินใจของเกษมจะฉับไว ก็มีผิดบ้าง แต่ถูกส่วนใหญ่ การตัดสินใจช้าไม่ใช่ว่าจะไม่มีผิด ถึงจะถูกแต่ความล่าช้าก็ได้ก่อความเสียหาย จนกระทั่งถึงตัดสินใจถูกก็จะไม่มีความหมาย

5. การเลือกใช้คนที่เหมาะกับงานและไม่เล่นพวกเล่นพ้อง
6.
ในการแก้ไขปัญหาประเทศชาติขณะที่คับขัน ไม่ใช่เวลาของการมาเลือกคนบ้านเราหรือเกรงใจ

พรรคใดพรรคหนึ่งหรือเพียงเพราะเคยเรียนมัธยมมาด้วยกัน

เกษม จาติกวณิชเป็นคนไม่มีเพื่อน ไม่มีญาติมิตร เมื่อพูดถึงการเลือกคนหรือใช้คน สำหรับเกษมแล้วไม่มีคำว่า "ลูกรัก" หรือ "หลายรัก" หรือ "เพื่อนรัก" ประวัติการรับคนทำงานและเลื่อนคนของเกษมในการในการไฟฟ้าฯ เป็นหลักฐานพิสูจน์ได้เสมอมา

7. การยอมรับการเปลี่ยนแปลง
8.
ผู้นำที่ดีนั้นต้องเป็นคนไม่ยึดถือหลักการใดเป็นสรณะ

อะไรที่สามารถทำได้ดีกว่าเก่าจะต้องถูกนำมาใช้ทันที

เกษมเป็นคนที่เชื่อในเทคโนโลยีใหม่ๆ มาก และคนประเภทนี้ก็พร้อมที่จะยอมรับการเปลี่ยนแปลง

นำวิธีการใหม่ๆ เข้ามาเสมอ

9. การวางแผนระยะยาวและการตัดสินใจระยะสั้นเพื่อผลระยะยาว

เกษมในช่วงที่เป็นรัฐมนตรีอุตสาหกรรมในยุคสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายกฯ หลัง 14 ตุลา เป็นคน

ตัดสินใจให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ เป็นลูกค้าซื้อก๊าซธรรมชาติของยูเนี่ยนออยล์ เพราะเกษมรู้ว่า ถ้ายูเนี่ยนฯ ไม่มีลูกค้าเช่นการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ ไว้ก่อนแล้ว โครงการขุดก๊าซธรรมชาติก็จะเริ่มไม่ได้ และผู้สูญเสียจริงๆ คือ

ประเทศชาติ

การตัดสินใจครั้งนั้นของเกษมเป็นการกล้าตัดสินใจโดยฉับไว โดยหวังผลระยะยาวเอาไว้

และกาลเวลาก็พิสูจน์ว่า เกษมทำถูก !

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่อาจจะให้คำตอบได้ว่า ทำไม เกษม จาติกวณิช จึงเหมาะที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีของเราในยามหน้าสิ่วหน้าขวานนี้

จริงอยู่ ความคิดนี้อาจจะเป็นความคิดที่เพ้อเจ้อเมื่อเราเอาสภาพสิ่งแวดล้อม ตลอดจนมลภาวะของสังคม เช่น ผลประโยชน์ทางการเมือง อำนาจทางการทหาร และสถาบันราชการที่ไม่เอาไหน เข้ามาพิจารณาร่วมกัน

หลายคนก็อาจจะคิดว่า "บ้าที่สุด มันเป็นไปได้หรอก"

แต่ก็นั่นแหละ เรามักจะมองประเด็นว่า "มันเป็นไปได้หรือเป็นไปไม่ได้" เสมอ

เราน่าจะถามตัวเองว่า "ถ้าเรามี เกษม จาติกวณิช เป็นนายรัฐมนตรีแล้วเราจะมีอนาคตดีกว่านี้หรือเปล่า ประเทศเราจะพัฒนาและเจริญก้าวหน้าไปในทางที่เป็นแสงสว่างของการอยู่ดีกินดีในข้างหน้าหรือเปล่า ? "

สรุปแล้วก็คือว่า "ถ้าเรามีนายกรัฐมนตรี ชื่อ เกษม จาติกวณิช แล้วสถานภาพเราก็คงจะไม่เลวร้ายไปกว่านี้แน่ ๆ

และในเมื่อเรารู้ว่ามันน่าจะดีกว่าเก่าแน่นอน ทำไมเราไม่ช่วยกันคิดหาทางเล่า ?

หรือจะนั่งน้ำตานองหน้า ฟังผู้นำเราร้องเพลงอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ?

อย่าลืมว่า ไม่มีอะไรในโลกนี้ที่จะเป็นไปไม่ได้

อย่างน้อยที่สุด ในปี 2527 ที่ผ่านมา เราก็มีเรื่องที่เป็นไปไม่ได้แต่กลับเป็นไปได้มาทุกเรื่อง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us