Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2528








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2528
จุดจบของนักหนังสือพิมพ์บางคนเสียคนเมื่อยามชราภาพ             
 

   
related stories

ลดค่าเงินบาทปี 2524 ควันหลงที่เพิ่งจะสิ้นสุด 25 ธันวาคม 2527

   
search resources

สุรัตน์ โอสถานุเคราะห์
Newspaper
ไพจิตร เอื้อทวีกุล
Law
ประสาน มีเฟื่องศาสตร์
ดาวสยาม, หนังสือพิมพ์




กะแช่ หรือ ประสาน มีเฟื่องศาสตร์ หรือ สีเสียด ทั้งสามชื่อนี้เคยเก่าคร่ำหวอดอยู่ในวงการหนังสือพิมพ์มาตั้งแต่สมัยที่หนังสือพิมพ์คือกระดาษเปื้อนหมึก

กะแช่เริ่มทำงานใหญ่กับกำพล วัชรพล โดยเป็นคอลัมนิสต์ให้กับหนังสือพิมพ์ไทยรัฐแล้วแยกตัวออกมาทำหนังสือชื่อ "สยาม" ซึ่งสุรัตน์ โอสถานุเคราะห์เป็นเจ้าของ และนายทุนใหญ่ ตั้งขึ้นมาเพื่อแข่งกับไทยรัฐโดยเฉพาะ

ว่ากันว่าในครั้งนั้นมีการยกทีมออกจากไทยรัฐเป็นชุดเลย

"ประสาน มีเฟื่องศาสตร์ หรือกะแช่ หรือสีเสียด เคยขึ้นศาลคดีหมิ่นประมาทมามากแล้ว เคยโดนโทษรอลงอาญามา แต่พอประสานซึ่งเคยเป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์ดาวสยามเขียนด่าว่า ดร.ไพจิตร เอื้อทวีกุล อย่างสาดเสียสาดเท ในปี 2524 คราวลดค่าเงินบาทประสานและสหายก็เลยต้องเจอกฎแห่งกรรมเข้าเมื่อศาลต้นและอุทธรณ์พิพากษาให้จำคุกประสานและสหายคนละ 5 เดือน แต่ประสานกลัวคุกมากกว่ากลัวการเสียศักดิ์ศรี ก็เลยต้องเกิดเสียคนเมื่อตอนแก่ขึ้นมา"

การแข่งขันกันระหว่างสยามกับไทยรัฐเข้มข้นมาก มีการส่งภาษาดอกไม้ให้กันและกันในข่าวสังคมหน้า 4 กันอย่างเข้มข้น

ในที่สุด สุรัตน์ก็ถอนตัวเพราะสู้กับการขาดทุนไม่ไหว แต่บางกระแสข่าวยืนยันว่ามันเป็นเรื่องของการที่ได้มีการใช้อิทธิพลมืดซึ่งกันและกัน ทางสุรัตน์เลยถูกครอบครัวขอให้ถอนตัว

กะแช่ก็เลยต้องคว้างเหมือนถูกปล่อยเกาะ

แต่เมื่อขึ้นหลังเสือแล้วก็ต้องหาทางขี่ต่อไป ถ้าลงมาก็ต้องถูกกัดตายแน่ ๆ

กะแช่ หรือ ประสาน มีเฟื่องศาสตร์ ก็เลยต้องเพิ่มบทบาทจากคอลัมนิสต์หน้าสี่ มาเป็นเจ้าของหนังสือสยาม ซึ่งกะแช่เปลี่ยนชื่อเป็น "ดาวสยาม"

"ดาวสยาม" ถือกำเนิดมาก็ด้วยประการเช่นนี้ !

ข้อเขียนของกะแช่ในข่าวสังคมหน้าสี่และคอลัมน์ "สีแสด" ตอบสารพันปัญหาเป็นข้อเขียนที่คมยิ่งกว่ามีดสั้นของลี้คิมฮวงเสียอีก

แต่เผอิญมันคมเกินไปก็เลยไปบาดเอาคนหลายคนเข้าก็เลยเกิดการฟ้องร้องกันมาตลอด

พอจะเรียกได้ว่ากะแช่และหนังสือพิมพ์ดาวสยาม มีเรื่องถูกฟ้องร้องข้อหาหมิ่นประมาทอย่างชนิดไม่ได้มีวันพักผ่อนหายใจ

กะแช่และหนังสือพิมพ์ดาวสยามนั้นพอจะพูดได้ว่ามีบทบาทสูงในการทำให้เกิดเหตุการณ์นองเลือดในยุค 6 ตุลาคม 2519 เพราะหนังสือพิมพ์ดาวสยามประสานงานกับวิทยุเสียงยานเกราะในการกระตุ้นให้ลูกเสือชาวบ้าน ตลอดจนกลุ่มกระทิงแดงเข้าไปมีบทบาทผลักดันให้เจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าไปตะลุยการชุมชนประท้วงการเข้ามาของจอมพลถนอมและประภาสอย่างนองเลือด นักศึกษาลูกหลานประชาชนที่ถูกจับแก้ผ้าถอด

เสื้อนอนคว่ำ รวมทั้งที่ถูกกลุ่มบ้าคลั่งประชาทัณฑ์จนตายยิ่งกว่าสัตว์ที่ถูกฆ่า

ศพที่สิ้นลมหายใจไปแล้วถูกนำมาแขวนไว้บนต้นไม้แล้วประชาทัณฑ์ด้วยไม้ เหล็ก เท้า มีด

ถูกนำมาตีพิมพ์บนดาวสยาม

ในยุคนั้น กะแช่ยืดอกประกาศว่าตนและหนังสือพิมพ์ดาวสยามได้ทำหน้าที่ปกป้องชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ด้วยวีรกรรมที่นักประวัติศาสตร์ในอนาคตคงจะถือว่าเป็นยุคมืดของชาติไทยยุคหนึ่ง

หลังจากเหตุการณ์ 6 ตุลาคม ผ่านไปแล้วความสามัคคีสมานฉันท์ ระหว่างกะแช่กับกลุ่มกระทิงแดงของพลตรีสุดสาย หัสดินทร์ (ประธานองค์การ ร.ส.พ. ในปัจจุบัน) กับสมัคร สุนทรเวช ก็เริ่มแตกแยกกัน ด้วยความคิดเห็นไม่ตรงกัน

หนังสือพิมพ์ดาวสยามก็ดำเนินต่อไป

แต่สังคมไทยยุคหลังมันเริ่มรู้ข้อเท็จจริงเปลี่ยนแล้ว ประชาชนคนอ่านเริ่มรู้ข้อเท็จจริงทนไม่ได้กับความหยาบคายของภาพที่นักหนังสือพิมพ์ใช้ด่าคนที่ตัวเองไม่ชอบ

หนังสือพิมพ์ดาวสยามได้ตกไปจากความนิยมมาก

จนกระทั่งพิมพ์ดาวสยามได้ตกไปจากความนิยมมาก

จนกระทั่งมีการลดค่าเงินบาทขึ้นเมื่อปี 2524 ในยุคเปรม 2

ดร.ไพจิตร เอื้อทวีกุล รัฐมนตรีช่วยคลัง นักวิชาการ ถูกกะแช่ถล่มเสียยับเยินในเรื่องการลดค่าเงินบาท (รายละเอียดอ่าน ผู้จัดการ ฉบับที่ 15 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2527 หน้า 22-26)

แต่ ดร.ไพจิตรฯ เผอิญไม่ใช่หมูที่กะแช่จะด่าฟรีๆ ก็เลยฟ้องกลับในปี 2524

เป็นธรรมดาสามัญของการถูกหมิ่นประมาทแล้วฟ้องกับมักจะประนีประนอมขอขมาลาโทษกันเงียบๆ แล้วเรื่องก็จะจบสิ้นไป

แต่กรณีของ ดร.ไพจิตรฯ นับตั้งแต่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้กะแช่ผิด แล้วให้จำคุก 5 เดือน แล้วกะแช่อุทธรณ์ ระหว่างนั้นกะแช่ก็วิ่งเต้นสุดฤทธิ์หาผู้หลักผู้ใหญ่เข้ามาช่วยเจรจากับ ดร.ไพจิตรฯ แต่ก็ไม่เป็นผลสำเร็จ

อำนวย วีรวรรณ ถูกบุญชูวานให้ไปอย่างไม่เต็มใจในการเจรจากับ ดร.ไพจิตรฯ

กะแช่คงจะเห็นอนาคตตัวเองแล้วว่าถ้ามีเรื่องมีราวแบบนี้ต่อไปก็คงจะทำงานหนังสือพิมพ์ไม่สนุกแน่ ก็เลยขายหนังสือพิมพ์ดาวสยามให้กับเจ้าของหนังสือพิมพ์จีนฉบับหนึ่งไป แล้วก็มาวิ่งเต้นหาทางยอมความ

ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้จำคุกเหมือนเดิม

เมื่อศาลฎีกาพร้อมจะอ่านคำพิพากษา กะแช่และสหายก็เลื่อนคดีมาตลอด จนกระทั่งในที่สุดคู่เขยของกะแช่ต้องบินไปสหรัฐฯ เพื่อขอเจรจากับ ดร.ไพจิตร

และผลก็ตกลงออกมาว่า กะแช่หรือประสาน มีเฟื่องศาสตร์ ต้องนำเงิน 600,000 บาท ไปมอบให้มูลนิธิสายใจไทยและมูลนิธิดวงประทีปแห่งละ 3 แสนบาท พร้อมทั้งลงโฆษณาขอขมาในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เดลินิวส์ มติชน บ้านเมือง และดาวสยาม ในหน้าหลังสุดเป็นเวลา 7 วัน

สำหรับ ดร.ไพจิตร เอื้อทวีกุล แล้วมีหลายคนยังเสียดายที่ไหนๆ ก็สู้มาถึงศาลฎีกาและรอมาตั้งแต่ปี 2524 แล้วก็ไม่น่าจะต้องมายอมความเลย

สำหรับกะแช่นั้น ก็มีคนเสียดายว่าเกิดเป็นลูกผู้ชาย เมื่อกล้าที่จะทำก็ต้องกล้าที่จะรับ

ถ้าหมิ่นเขาก็ยอมติดคุกไปเถอะ ไม่เห็นจะมีอะไรเสียหาย มิหนำซ้ำกลับจะมีคนนับถือที่ใจนักเลง "คุณลองอ่านดูคำขอขมาดูซิว่ามันเจ็บปวดแค่ไหน มีชีวิตอยู่แบบนี้มิสู้ตายไปยังจะดีกว่า" ผู้สังเกตการณ์คนหนึ่งพูดขึ้นมา

นั่นนะซีคนเราตายได้ 2 แบบ

ตายแบบแรกคือตายหนักอย่างขุนเขา

หรือจะตายเบาแบบขนนก

สำหรับกะแช่ก็คงจะออกจากวงการหนังสือพิมพ์ไปตลอดแล้ว

ถ้าเด็กรุ่นหลังจะถามถึงวีรกรรมทางประวัติศาสตร์ของนักหนังสือพิมพ์ไทยที่สร้างสรรค์สังคม

เราเสียดายที่กะแช่คงจะไม่ได้มีส่วนในด้านนี้เลย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us