"สามารถ-ซีเมนส์" จับมือชิงดำโครงการติดตั้งระบบสารสนเทศ (AIMs) ในสนามบินสุวรรณภูมิ
2,300 ล้านบาท ได้คะแนนเทคนิคอันดับหนึ่ง บทม.เตรียมเปิดซองราคา 17 ต.ค.นี้ คาดลงนามสิ้นต.ค.นี้
พล.อ.สมชัย สมประสงค์ รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยาน สากลกรุงเทพแห่งใหม่
จำกัด (บทม.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) บทม.ที่มีนายศรีสุข จันทรางศุ
ปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นประธาน วานนี้ (16 ต.ค.) ว่า ที่ประชุมได้เห็นชอบผลการพิจารณาด้านเทคนิคในโครงการจัดซื้อพร้อมติดตั้งระบบการบริหารและสารสนเทศของท่าอากาศยาน
(AIMS) ในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยกลุ่ม ASIS ซึ่งประกอบด้วย บริษัท ซีเมนส์ จำกัด,
บริษัท สามารถคอมเทค จำกัด ในเครือ บมจ. สามารถคอร์ปอเรชั่น, บริษัท ซัทยัม คอม-พิวเตอร์เซอร์วิสเซท
จำกัด, บริษัท เอบีบี จำกัด และบริษัท เอบีบี แอร์พอร์ต เทคโนโลยี เนื่องจากได้รับคะแนนด้านเทคนิคดีที่สุด
(Best Technic) เป็นอันดับหนึ่ง
โดยคณะกรรมการคัดเลือกจะทำการเปิดซองข้อเสนอด้านราคา ของกลุ่ม ASIS ซึ่งได้คะแนนด้านเทคนิคอันดับหนึ่ง
ในวันที่ 17 ต.ค.นี้ ซึ่งหากอยู่ในราคาที่บทม. กำหนด ไว้ 2,230 ล้านบาท โดยจะมีการเจรจาต่อรองราคาลงมา
และเสนอผลสรุปให้ที่ประชุม บอร์ดบทม.อนุมัติต่อไป แต่หากกลุ่ม ASIS เสนอราคาสูงกว่าราคาที่กำหนด
จะทำการเปิด ซองข้อเสนอด้านราคากลุ่มที่ได้คะแนนเทคนิคอันดับสองต่อไป โดยคาดว่าจะสามารถ
ลงนามในสัญญากับผู้ได้รับการคัดเลือกได้ภายในเดือนตุลาคม นี้
สำหรับโครงการ AIMS นั้นผู้ยื่นซองประกวดราคาทั้งหมด 4 กลุ่ม แต่ผ่านการพิจารณาเพียง
3 กลุ่ม ประกอบด้วย 1.Airport System Intergration Speccia- lists Consortium (ASIA)
2. กลุ่ม ITD-SITA Joint Venture ประกอบด้วย Italian-Thai Development Co.,Ltd
, SITA Information Networking Computing (Thailand) Co.,Ltd และ Hewlett-Packard
(Thailand) Ltd 3. กลุ่ม AIMS Consortium ประกอบด้วย ABC Technology Co.,Ltd ,Asia
Multimedia Co.,Ltd , IBM Thailand Co.,Ltd ,MAA Consortium Co.,Ltd และ Soft Square
1999 Co.,Ltd ส่วนกลุ่ม PASS Consortium ประกอบด้วย Samsung SDS Co.,Ltd ,ARINC
Incorporated a Delaware Corporation Prida Pramote Co.,Ltd ไม่ผ่านด้านเทคนิค
กลุ่มสามารถมั่นใจทำเสร็จทัน
นายสงวน ตรีเจริญวิวัฒน์ กรรมการผู้อำนวย การสายธุรกิจงานรัฐ บริษัท สามารถคอร์ปอเรชั่น
กล่าวว่า กลุ่มสามารถใช้เวลาเตรียมงานกว่า 2 ปี ในการเลือกพาร์ตเนอร์ จนมาได้ข้อสรุปกับเยอรมัน
ซึ่งมีความเป็นได้มากที่สุดที่จะทำงานให้เสร็จทันภายในกำหนด เพราะหากเป็นสนามบินทั่วๆ
ไปต้อง ใช้เวลาอย่างน้อย 3 ปีแต่สำหรับสนามบินสุวรรณภูมิ ใช้เวลาเพียง 18 เดือน
เหตุผลที่มั่นใจ เพราะในกลุ่มมีโซลูชั่นเรียบร้อย อยู่แล้วไม่ต้องเสียเวลาพัฒนาแต่ละระบบขึ้นมาใหม่
และจากประสบการณ์ของABBในการวางระบบให้กับสนามบินขนาดใหญ่หลายประเทศทั่วโลก เช่น
เอเธนส์, ฮันโนเวอร์ประเทศเยอรมนี, สนามบินในประเทศตุรกี,ประเทศซิมบับเว,ประเทศ
เอสโทเนีย
นอกจากนี้ ที่ประชุมได้ อนุมัติให้บริษัท S&V Joint Venture เป็นผู้ชนะการประมูลก่อสร้างทางยกระดับเข้าออกอาคารผู้โดยสาร
เนื่องจากบริษัทดังกล่าวเป็นผู้เสนอราคาต่ำสุดคือ 894.3 ล้านบาท สูงกว่าราคากลาง
814 ล้านบาทเพียง 15% แต่ทั้งนี้ ยังต่ำกว่าวงเงินงบประมาณที่ 1,208.85 ล้านบาทซึ่งจะลงนามสัญญาในเดือนต.ค.นี้
หลังจากได้รับความเห็นชอบจากธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศญี่ปุ่น (เจบิค)
สำหรับกรณีที่ คณะกรรมการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ(กทภ.)ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานมติให้เพิ่มวงเงินลงทุน
14,200 บาท เพื่อขยายขีดความสามารถของอาคารผู้โดยสารจาก 30 ล้านคนต่อปีเป็น 45
ล้านต่อปีคนนั้น พล.อ.สมชัยกล่าวว่า อาคารผู้โดยสารจะต้องมีการปรับปรุงเพิ่มเติมอีกในอนาคต
ซึ่งหมายถึงจะต้องมีการขยายอาคารเพื่อรองรับผู้โดยสารจาก 45 ล้านคนเป็น 50 ล้านคน
และเป็น 100 ล้านคนในอนาคต
โดยมั่นใจว่าหลังจากการประชุมสุดยอดผู้นำเอเปกแล้วจะทำให้ภาพพจน์ของเมืองไทยดีขึ้น
จากการเตรียมการต้อนรับอย่างดีเยี่ยมของรัฐบาลจะทำ ให้มีคนหลั่งไหลเข้ามาในเมืองไทยมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของภาพรวมในการก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมินั้น ขณะนี้มีความคืบหน้าไปแล้วประมาณ
37% ล่าช้ากว่าแผนที่กำหนดไว้ประมาณ 11%