เจริญโภคภัณฑ์อาหารควักเงิน 56 ล้านบาท ถือหุ้นใหญ่ฟาร์มเลี้ยงกุ้ง จันทบุรีฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
หวังขยายธุรกิจฟาร์มเลี้ยงกุ้ง ด้านเจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธ์ เร่งพัฒนาคุณภาพ เมล็ดพันธ์
เป้าหมายต่อไป ยางพารา ปาล์มน้ำมัน พืชเศรษฐกิจทำรายได้ติดอันดับของประเทศ
นายอดิเรก ศรีประทักษ์ กรรมการ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด(มหาชน)(CPF)
เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ เมื่อ วันที่ 15 ตุลาคม 2546 ได้มีมติอนุมัติให้บริษัทเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัท
จันทบุรีฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ จำกัด (CAF) จากที่ถืออยู่เดิม 18.0% เพิ่มเป็น
99.99% ภายในเดือนตุลาคมนี้
บริษัทได้เข้าซื้อหุ้นสามัญจากผู้ถือหุ้นรายอื่น คือ บริษัท ซี.พี. อินเตอร์เทรด
จำกัด (CPI) บริษัท ซีฟาร์ม จำกัด (SF) และบริษัท โภคภัณฑ์หาดใหญ่ จำกัด (PH) จำนวน
1,750,000 หุ้น 1,319,994 หุ้นและ 210,000 หุ้นตามลำดับ ในราคาหุ้นละ 17 บาท รวมเป็นเงิน
55,759,898 บาท
ทั้งนี้ ผู้ขายหุ้นทั้ง CPI และ SF มีความสัมพันธ์ในลักษณะเกี่ยวโยงกับบริษัท
ตามประกาศตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และการเปิดเผยรายการที่เกี่ยวโยงกันของบริษัทจดทะเบียน
ส่วนผู้ขายในลำดับที่ 3 ไม่มีความสัมพันธ์ในลักษณะที่เกี่ยวโยงกันกับ CPF
การตัดสินใจเข้าไปถือหุ้นทั้งหมดของจันทบุรีฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำครั้งนี้
เพื่อต้องการขยายธุรกิจ ฟาร์มเลี้ยงกุ้ง
บริษัท จันทบุรีฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ดำเนิน ธุรกิจฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้ง มีทุนจดทะเบียน
40,000,000 บาท แบ่งออกหุ้นเป็นสามัญ 4,000,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10
บาท โดยผลดำเนินงาน งวดปี 2545 มียอดขาย 73 ล้านบาท และกำไรสุทธิ 5 ล้านบาท และงวดครึ่งปีแรก
2546 มียอดขาย 31 ล้านบาท และกำไรสุทธิ 6 ล้านบาท
ปัจจุบัน บริษัทดังกล่าวมีสินทรัพย์รวม 113 ล้านบาท หนี้สินรวม 48 ล้านบาทและกำไรสะสม
25 ล้านบาท
ด้านนายมนตรี คงตระกูลเทียน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์
จำกัด และกลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร หนึ่งในเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซี.พี.) เปิดเผยถึงความก้าวหน้างานพัฒนาวิจัยและค้นคว้าทดลอง
เกี่ยวกับพืชไร่และพืช สวนต่อเนื่องของเจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์ว่า เจริญ โภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์ประสบความสำเร็จ
พัฒนาพืชไร่ พืชสวนหลายชนิด ให้มีผลผลิตที่ดี ทั้งปริมาณและคุณภาพ อาทิ ข้าวโพด
ข้าว ส้มปลอดโรค มะม่วง เป็นต้น
พืชเป้าหมายต่อไปของเจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์ คือยางพารา และปาล์มน้ำมัน ซึ่งเป็นพืชเศรษฐ-กิจสำคัญของไทย
โดยเจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์ทุ่มเทกำลัง ศึกษาค้นคว้าวิจัย และมีทีมงานเชี่ยวชาญ
ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ยังมีนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยมีชื่อเสียง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
เป็นที่ปรึกษา ผนวกประสบการณ์ยาวนานวงการพืชไร่พืชสวนกว่า 10 ปี จึงตัดสินใจก้าวสู่ตลาดยางพารา
ของไทยครั้งแรก ประมูลกล้ายางจากโครงการประมูล ต้นกล้ายางพารา 90 ล้านต้น มูลค่า
1,440 ล้านบาท จากกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
การประมูลครั้งนี้ กรมวิชาการเกษตร กำหนด เงื่อนไขอย่างละเอียด และกฎเกณฑ์เข้มงวดหลายประการ
การประมูลครั้งนี้ไม่ใช่ประมูลแบบซื้อมาขายไป แต่เป็นการทำงานทั้งระบบ (Turn Key)
ประกอบด้วยการเพาะกล้า ใช้กิ่งตายางพันธุ์ดี ติดตายาง บำรุงรักษาต้นยางติดตาในถุง
และการอนุบาลต้นยางชำถุง ตลอดจนกระจายพันธุ์ไปภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ
อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการใช้ระบบดังกล่าวในการประมูล จะทำให้โครงการเป็นไปตามเป้าหมายของรัฐบาล
ที่ต้องการจะกระจายต้นกล้ายางพาราพันธุ์ดีสู่เกษตรกร
ผลงานความสำเร็จเจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์ ด้านพืชไร่ ข้าวโพด เป็นพืชที่สร้างชื่อเสียงให้เจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์
จนเป็นที่ยอมรับมานานนับสิบปี ซึ่งปัจจุบัน ข้าวโพดของซีพี เป็นที่นิยมทั้งในประเทศและทั่วเอเชีย
สามารถผลิตพันธุ์ข้าวโพดลูกผสมเดี่ยว พันธุ์ ซี.พี.888 ให้ปริมาณผลผลิตมาก กว่า
1,000 กิโลกรัม/ไร่ จากเดิม เกษตรกรเคยใช้ข้าว โพดพันธุ์อื่น ให้ผลผลิตเพียงไร่ละ
300-400 กิโลกรัม ยังทำให้เกษตรกรไทยลดพื้นที่เพาะปลูก จากเดิม 13-14 ล้านไร่ เป็น
7 ล้านไร่ ปริมาณผลผลิต 4.5-5 ล้านตันเท่ากัน ทำให้สามารถนำพื้นที่ที่เหลือ ปลูกไม้ผลยืนต้นได้อีก
ข้าวลูกผสม เป็นอีกผลงานที่เจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์ประสบความสำเร็จจากการศึกษาค้นคว้า
โดยมีงานทดลองจากจีนเป็นต้นแบบ พร้อมร่วมมือกับนักวิชาการจากจีน และสถานีวิจัยข้าวนานาชาติ
(อีรี) ฟิลิปปินส์ โดยมีนักวิชาการจากฟิลิปปินส์ร่วมมือใกล้ชิด สร้างผลผลิตข้าวลูกผสมได้ถึง
2,000 กิโลกรัม/ไร่ จากการทดสอบสายพันธุ์ที่ผ่านมา คาด ว่าชาวนาจะได้ผลผลิตไม่ต่ำกว่า
1,500 กิโลกรัม/ ไร่ ซึ่งอีกไม่นาน จะนำข้าวลูกผสมพันธุ์ดังกล่าวออกสู่ตลาด
ขณะเดียวกัน เจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์ก็ไม่ได้ หยุดนิ่งค้นคว้าวิจัย โดยนำพันธุ์ข้าวสุพรรณบุรี
1 ปทุมธานี 1 พิษณุโลก 2 และ ชัยนาท 1 เป็นต้น คัดพันธุ์และทดสอบ ทำให้ได้พันธุ์บริสุทธิ์มากขึ้น
เพื่อ ส่งเสริมชาวนาไทยปลูก ซึ่งจะทำให้ได้ผลผลิตเพิ่มจาก เดิม เป็นที่พอใจของเกษตรกรอย่างยิ่ง
ส่วนพืชสวนที่เจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์ประสบความสำเร็จ ได้แก่ การทดสอบกิ่งพันธุ์ส้มปลอดโรคตามข้อกำหนดมาตรฐานโลก
ที่ผ่านมาไทย นิยมใช้กิ่งตอนจากกิ่งแม่เหมือนมะม่วงที่ใช้วิธีทาบกิ่ง ทำให้เกิดโรคติดต่อจากการใช้กิ่งตอน
ด้วยเหตุนี้จึงค้นคว้าวิจัยเพื่อหาทางแก้ไข โดย สามารถพัฒนากิ่งส้มปลอดโรคด้วยการใช้เทคโนโลยี
ทันสมัย ใช้เมล็ดส้มต้นตอลูกผสมจากต่างประเทศเพาะ และติดตาภายหลัง ซึ่งแม่พันธุ์ต้องถูกควบคุม
ในมุ้งที่ปราศจากโรคแมลงรบกวน ทำให้สามารถสร้างผลผลิตสูงขึ้น เป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศ