Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มีนาคม 2554
เต่าจะเป็นกระต่าย             
โดย นภาพร ไชยขันแก้ว
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน)

   
search resources

Banking
ธนาคารซีไอเอ็มบี
ณัฎฐ์ชัญญา ทวีวงศ์, ม.ล.
ดุษณี เกลียวปฏินนท์




“ปี 2554 จะเป็นปีที่ธนาคารจะเร่งการขยายตัวอย่างเต็มศักยภาพ หลังจากปรับโครงสร้างการเงิน โครงสร้างพื้นฐาน กระบวนการบริหารจัดการความเสี่ยง เพื่อสู่เป้าหมายให้ธนาคารซีไอเอ็มบีไทยเป็นธนาคารชั้นนำของไทยในอาเซียน เป็นเครือข่ายของกลุ่มที่สำคัญทางการเงินซีไอเอ็มบีต่อไป” สุภัค ศิวะรักษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) กล่าว

คำกล่าวของสุภัคแสดงถึงทิศทางชัดเจนของซีไอเอ็มบี และสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของธนาคารแม่ในมาเลเซียที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อไปสู่เป้าหมายเป็นธนาคารให้บริการการเงินครบวงจรทั้งในประเทศและกลุ่มอาเซียน

แต่สภาพแวดล้อมการแข่งขันของสถาบันการเงินค่อนข้างดุเดือด นับวันจะเพิ่มมากขึ้นเพื่อมุ่งไปสู่การขยายธุรกิจในยุคการแข่งขันเสรีทางด้านการเงิน โดยเฉพาะธนาคารรายใหญ่ในประเทศ อย่างเช่น ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงเทพ และธนาคารกสิกรไทย

ยังมีธนาคารรายใหม่น่าจับตามองที่มองหาช่องทางเข้ามาทำตลาดเช่น ธนาคารธนชาต หลังจากควบรวมกิจการกับธนาคารนครหลวงไทย และธนาคารไอซีบีซี หลังจากซื้อกิจการของธนาคารสินเอเซีย เมื่อปี 2553

สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นเรื่องท้าทายของธนาคารซีไอเอ็มบีไทย ที่มองตัวเองว่าเป็นธนาคารขนาดเล็ก ฐานรายได้น้อย ทว่าใครก็รู้ดีว่าเป็นกลุ่มซีไอเอ็มบีจากมาเลเซีย เป็นธนาคารอันดับ 5 ในภูมิภาคอาเซียน และอ้างว่ามีเครือข่ายสาขาธุรกิจรายย่อยใหญ่ที่สุด

ตลอด 2 ปีที่ผ่านมาธนาคารซีไอเอ็มบีไทย ธนาคารได้ปรับโครงสร้างรายได้ หนี้สิน และบริษัทในเครือบริหารคุณภาพสินทรัพย์

ภาพการปรับตัวของธนาคารซีไอเอ็มบีไทย โดยเฉพาะการกลับมาสร้างกำไร อีกครั้ง เริ่มจากปี 2552 กำไร 1.67 ล้านบาท และปี 2553 กำไรเพิ่มเป็น 893.60 (ม.ค.-ก.ย. 9 เดือน)

ในปีนี้จึงทำให้ธนาคารตั้งเป้าเติบโต ทุกๆ ด้าน เช่น รายได้ดอกเบี้ยไม่น้อยกว่า ร้อยละ 15 รายได้ไม่ใช่ดอกเบี้ยโตไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 อัตราผลตอบแทนต่อส่วนผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 8 และอัตราผล ตอบแทนต่อสินทรัพย์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 0.5

แต่การจะมุ่งไปสู่เป้าหมายได้ บุคลากรเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนการบริหารจัดการ โดยเฉพาะในปีที่ผ่านมา ธนาคารประกาศรับสมัครระดับผู้บริหาร ผู้จัดการสาขา และพนักงานทั่วไปถึง 500 คนในคราวเดียวกัน

ล่าสุดมีผู้บริหารใหม่เข้ามาเพิ่มคือ ม.ล.ณัฏฐ์ชัญญา ทวีวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายบริหารธุรกรรมการเงิน (Transaction Banking) เพื่อดูแลผลิตภัณฑ์ ด้านการเงินสำหรับลูกค้าสถาบันตั้งแต่รายใหญ่และรายย่อย ที่ต้องการใช้บริการธุรกรรมต่างประเทศ บริการดูแลหลักทรัพย์ และ cash management

ม.ล.ณัฏฐ์ชัญญามีประสบการณ์การเงินมากว่า 15 ปี ในกลุ่มธนาคารต่างชาติ เช่น ธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย ธนาคารซูมิโตโม มิตซุย แบงกิ้ง คอร์ปอเรชั่น และธนาคารดอยช์แบงก์

การดูแลธุรกรรมด้านการเงินให้กับลูกค้าจะมีเทคโนโลยีตัวหนึ่งที่กลุ่มซีไอเอ็มบีได้เริ่มปรับปรุงระบบไปแล้ว เรียกว่า 1 platform ระบบนี้จะทำให้การทำธุรกรรม ในกลุ่มซีไอเอ็มบีที่กระจายอยู่ในภูมิภาคเอเชียทำงานร่วมกันง่ายขึ้น

ม.ล.ณัฏฐ์ชัญญาได้อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์การเงินทุกประเภทที่จำหน่ายให้กับกลุ่มลูกค้าซีไอเอ็มบีทุกประเภทในภูมิภาคนี้ต้องสามารถให้บริการ ได้อย่างรวดเร็วและค่าบริการถูกกว่าคู่แข่ง โดยเฉพาะความรวดเร็วของการให้บริการ ธนาคารจะนำระบบ Internet Banking มาให้บริการ ซึ่งระบบนี้จะเริ่มใช้ในประเทศ อินโดนีเซียเป็นแห่งแรกในไตรมาส 4 ปีนี้

นอกเหนือจากการดูแลผลิตภัณฑ์การเงินแล้ว การเปิดโอกาสให้นักลงทุนไทย ได้พบกับนักลงทุนในภูมิภาคอาเซียนเพื่อสร้างสายสัมพันธ์และแสวงโอกาสลงทุนในอนาคต และในปีนี้ธนาคารได้วางแผนจัดสัมมนาในประเทศไทย เรียกว่า Explorer Thailand หลังจากปีที่ผ่านมาได้จัดในมาเลเซีย และสิงคโปร์

ส่วนดุษณี เกลียวปฏินนท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผลิตภัณฑ์เพื่อราย ย่อย มีหน้าที่กำหนดเป้าหมาย วางแผนออกผลิตภัณฑ์ตลอดจนธุรกรรมด้านการตลาดให้กับลูกค้าบุคคล ลูกค้ารายย่อย และการลงทุน ตลอดจนสินเชื่อลูกค้ารายย่อย

สิ่งที่ท้าทายเธอในปีนี้ก็คือ ลูกค้ารายย่อยจะต้องโต 100 เปอร์เซ็นต์

ดุษณีมีประสบการณ์ด้านลูกค้ารายย่อยมากว่า 16 ปี เธอได้ร่วมงานกับธนาคารยูโอบี ธนาคารจีอี มันนี่เพื่อรายย่อย และธนาคารซิตี้แบงก์

ตลาดลูกค้ารายย่อยเป็นตลาดมีการ แข่งขันสูงในสถาบันการเงิน ดังนั้น การสร้างช่องทางใหม่ๆ เพื่อให้เข้าถึงลูกค้าเป็นภารกิจหลัก และในปีนี้เป้าหมายของเธอก็คือการปรับปรุงประสิทธิภาพระบบขายตรงผ่านโทรศัพท์ โดยพนักงาน 1 คน จะต้องขายผลิตภัณฑ์ให้ลูกค้า 12 รายภายในหนึ่งเดือน จากปัจจุบันทำได้เพียง 2 รายต่อเดือน ส่วนผลิตภัณฑ์ทางด้านการเงินก็ได้กำหนดไว้ว่าจะสร้างผลิตภัณฑ์ ใหม่ 2 ประเภทต่อเดือน

ส่วนผู้บริหารใหม่ล่าสุดที่จะเข้ามาร่วมงานในเร็วๆ นี้อีก 1 คน คือ ธนชัย ธนชัยอารีย์ อดีตรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารยูโอบี มารับตำแหน่งแทนธาดา จารุกิจไพศาล อดีตผู้ช่วยกรรมการผู้จัด การใหญ่ ด้านบริหารช่องทางการขายและเครือข่าย เพื่อทำหน้าที่ดูแลสาขา

ก่อนหน้านี้ธนาคารได้มีผู้บริหารจาก ธนาคารยูโอบีอีก 1 คนเข้ามาร่วมงานด้าน บัตรเครดิต คือ พิมลพรรณ ติยะประเสริฐ์กุล อดีตผู้อำนวยการอาวุโส สายงานบัตรเครดิต ธนาคารยูโอบี

การเพิ่มผู้บริหารในธุรกิจรายย่อยนั้นอาจเป็นเพราะว่าผลประกอบการยังไม่เติบโตโดดเด่น โดยเฉพาะเงินฝากรายย่อย โตเพียงร้อยละ 4 จาก 57,638 ล้านบาท เป็น 59,735 ล้านบาท

นอกจากเพิ่มจำนวนผู้บริหารให้สามารถบริหารจัดการได้แล้ว ธนาคารได้ปรับโครงสร้างบริษัทในกลุ่มให้เหลือเพียงบริษัทที่มุ่งเน้นบริการทางการเงิน และขาย บริษัทที่ไม่เกี่ยวกับกับผลิตภัณฑ์การเงินออกไป เช่น บริษัท บีที ประกันภัย จำกัด บริการธุรกิจประกันภัย ขายให้กับบริษัทศรีอยุธยาประกันภัย จำกัด

ส่วนบริษัทอีก 2 แห่ง ได้ขายให้กับบริษัทในเครือของซีไอเอ็มบีกรุ๊ปนำไปบริหารเอง คือ บลจ.จัดการกองทุนซีไอเอ็ม บี พรินซิเพิล ที่ธนาคารมองว่ากลุ่มพรินซิเพิลในบริษัทแม่มีความเชี่ยวชาญด้านจัดการกองทุน ส่วนบริษัทบริหารสินทรัพย์ สาทร จำกัด บริษัทแม่ได้ซื้อไปบริหารเช่นเดียวกัน

ปัจจุบันจึงมีบริษัทในเครือเหลืออยู่ 3 แห่ง บริษัทหลักทรัพย์ ซีไอเอ็มบี (ประ เทศไทย) บริษัท เวิลด์ลีส จำกัด ให้บริการ เช่าซื้อรถจักรยานยนต์ บริษัท เซ็นเตอร์ โอโต้ ลีส จำกัด ให้บริการเช่าซื้อรถยนต์

ในปีที่ผ่านมาบริษัทเวิลด์ลีสฯ และบริษัท บริษัท เซ็นเตอร์ได้ขยายสินเชื่อเพิ่ม ร้อยละ 50 เวิลด์ลีสฯ เพิ่มยอดสินเชื่อเป็น 1.4 พันล้านบาท ขณะที่บริษัท เซ็นเตอร์ฯ เพิ่มสินเชื่อ 4.3 พันล้าน ส่วน บล.แม้จะไม่ เปิดเผยตัวเลขกำไร แต่ได้มีการปรับปรุงระบบไอทีเพื่อการซื้อขาย เรียกว่า iTrade @CIMB เป็นระบบค้าหุ้นออนไลน์ของกรุ๊ปในระดับภูมิภาค

โครงสร้างผู้บริหารและบริษัทในเครือมีความชัดเจนมากขึ้น ทำให้ธนาคารมั่นใจจะสร้างผลกำไรให้กับซีไอเอ็มบีกรุ๊ป ที่คาดหวังไว้ว่า ธนาคารซีไอเอ็มบีไทยจะต้องมีกำไรร้อยละ 10-15 อีก 2-3 ปีข้างหน้า จากปี 2553 ทั้งกรุ๊ปมีกำไร 16,000 ล้านบาท

ธนาคารซีไอเอ็มบีไทยเปรียบเสมือน จิ๊กซอว์ตัวหนึ่งของซีไอเอ็มบีกรุ๊ปได้คาดหมายไว้ว่าเป็นธนาคารอาเซียนในประเทศ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ เริ่มเด่นชัดขึ้นเรื่อยๆ

โดยเฉพาะการเชื่อมโยงบริการทางด้านการเงิน เริ่มตั้งแต่การเปิดให้ผู้ถือบัตร เอทีเอ็มของซีไอเอ็มบีในภูมิภาคนี้กดเงินใน ตู้เอทีเอ็มโดยไม่เสียค่าธรรมเนียม เรียกบริการนี้ว่า Regional ATM Link และบริการสินเชื่อรายย่อยภูมิภาค ระยะที่ 1ได้ดำเนินการแล้วเสร็จไปแล้ว รวมถึงบริการ ให้คำปรึกษาทางด้านการเงินและปล่อยสินเชื่อให้กับลูกค้าในระดับภูมิภาคที่เรียกว่า CIMB Preferred

จากปีที่ผ่านมา สุภัคมองว่าเป็นปีแห่งความท้าทายและปีนี้จะเป็นปีแห่งโอกาส เพราะกระบวนปรับองค์กรที่ผ่านมาทำให้ระบบการทำงานเชื่องช้าเหมือน “เต่า” แต่ปีนี้เขาบอกว่าจะเป็นปีกระต่าย และไม่ใช่กระต่ายธรรมดา แต่จะเป็น “กระต่ายทอง”   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us