Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มีนาคม 2554
เมื่อ “โรลส์-รอยซ์” ปรับสู่ความจำเป็นพื้นฐาน             
โดย ปิยาณี รุ่งรัตน์ธวัชชัย
 


   
search resources

Energy
โรลส์-รอยซ์, บจก.




การจะทำธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน อยู่ได้ สิ่งที่ต้องมองให้ออกคือแนวโน้มและการปรับเปลี่ยนองค์กรบนฐานข้อมูลที่แม่นยำทางการตลาด เพื่อกำหนดอนาคตได้ถูกทาง เช่นเดียวกับโรลส์-รอยซ์ซึ่งแม้จะได้ชื่อว่าเป็นแบรนด์ของเครื่องยนต์ระดับบนทั้งอากาศยานและยานพาหนะทางบก แต่เมื่อบริบทของโลกเปลี่ยน การมุ่งแต่จะรักษาภาพลักษณ์ของแบรนด์โดยไม่ใส่ใจความจำเป็นแห่งยุคสมัยก็อาจจะทำให้แบรนด์เหลือแค่ตำนาน การปรับตัวสู่ความจำเป็นพื้นฐานจึงกลายเป็นทิศทางใหม่ของโรลส์-รอยซ์ที่ประกาศชัดสำหรับการดำเนินธุรกิจ อย่างน้อยก็ในประเทศไทยนับจากนี้เป็นต้นไป

ธุรกิจของโรลส์-รอยซ์ที่ทำอยู่ทั้งในตลาดโลกและในไทยมีด้วยกัน 4 ตลาด ได้แก่ เครื่องยนต์ในอุตสาหกรรมการบินพาณิชย์ การบินทหาร การเดินเรือและกลุ่ม พลังงาน ซึ่งยวน แม็คโดนัลด์ กรรมการผู้จัดการบริษัท โรลส์-รอยซ์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวอย่างชัดเจนว่า สำหรับการดำเนินงานในไทยในระยะ 5 ปีจากนี้ บริษัทจะเน้นธุรกิจในกลุ่มพลังงานเป็นหลัก ตาม แนวทางของรัฐบาลไทยที่หันมาให้การส่งเสริมการก่อสร้างโรงไฟฟ้าขนาดเล็กของภาคเอกชน เนื่องจากแนวโน้มความต้อง การใช้พลังงานไฟฟ้าที่เพิ่มสูงขึ้นทุกปี แต่แนวโน้มการสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ในประเทศทำได้ยากขึ้น

จากการศึกษาความต้องการเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยระบบก๊าซเทอร์ไบน์และน้ำมันในตลาดของโครงการผู้ผลิตไฟฟ้าภาคเอกชนรายเล็ก (เอสพีพี) ในประเทศไทยพบว่ามีจำนวนถึง 22 โครงการ ที่ได้รับอนุญาตให้สร้างและปฏิบัติการโรงไฟฟ้าพลังงานร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ภายใต้โครงการรับซื้อไฟฟ้าจากเอสพีพี

โรลส์-รอยซ์เข้าร่วมประกวดราคาและตั้งเป้าไว้ว่าจะได้ลูกค้าจากกลุ่มนี้อย่างน้อย 4-5 ราย ซึ่งหากเป็นไปตามเป้าหมายจะทำให้บริษัทมีรายได้ในช่วง 5 ปีจากนี้อย่างน้อย 200 ล้านบาท จากการจำหน่ายเครื่องยนต์ก๊าซเทอร์ไบน์เพื่อเป็นแหล่งกำเนิดพลังงานไฟฟ้าของโรงงาน และเท่ากับเป็นการสร้างอัตราเติบโตถึง 200% ให้กับบริษัทในกลุ่มธุรกิจพลังงานในช่วง 5 ปีนี้ด้วย

ตลาดพลังงานของไทยในปัจจุบันตอบรับการผลิตพลังงานไฟฟ้าจาก 2 ระบบ คือจากก๊าซและน้ำมันเป็นหลักเท่านั้น โดย ปฏิเสธการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินเพราะเชื่อว่าก่อให้เกิดมลพิษ ขณะที่เชื้อเพลิงอย่าง น้ำมันเตาก็แพงจนไม่มีโรงงานผลิตไฟฟ้าแห่งไหนใช้เป็นเชื้อเพลิงอีกแล้ว ส่วนพลังงานทางเลือกอย่างพลังงานน้ำ ลม และ แสงอาทิตย์ก็ยังไม่สามารถตอบสนองความ ต้องการได้อย่างมีเสถียรภาพ จึงไม่น่าแปลกที่ปัจจุบันนี้ประเทศไทยจะมีสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติสูงถึง 74% ของจากประเภทเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด

ในฐานะผู้จำหน่ายเครื่องยนต์กำเนิด พลังงานไฟฟ้า งานนี้ โรลส์-รอยซ์จึงจะต้อง เจอกับคู่แข่งในตลาด ซึ่งมีทั้งแบรนด์ระดับ โลกที่พัฒนาระบบไปไกลแล้ว โดยเฉพาะภาพลักษณ์ของเครื่องยนต์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่าง GE และแบรนด์ที่เน้นแข่งขันด้วยราคาอีกสารพัดแบรนด์จากจีนอีกด้วย ดังนั้นการคาดหวังที่จะได้ลูกค้าเกือบ 1 ใน 4 ของตลาดที่มีอยู่จึงไม่ใช่เรื่องง่ายเลย

“เราเชื่อว่าตลาด SPP เป็นโอกาสที่ยิ่งใหญ่ของโรลส์-รอยซ์ เพราะเรามีทั้งขนาดและประเภทของเครื่องยนต์ที่พร้อมจะตอบสนองความต้องการของตลาด ซึ่งการรุกตลาดพลังงานครั้งนี้ก็ไม่ต่างอะไรกับการที่เราพยายามทำตลาดเครื่องยนต์สำหรับอากาศยานกับการบินไทย ซึ่ง 15 ปี ก่อนหน้านั้น การบินไทยไม่เคยใช้เครื่อง ยนต์ของโรลส์-รอยซ์ ปัจจุบันการบินไทยก็เลือกที่จะใช้เครื่องยนต์ของเราในเครื่องบินมากกว่า 100 เครื่อง เราจึงเชื่อว่าโรลส์-รอยซ์จะสามารถเป็นที่ยอมรับในตลาดธุรกิจพลังงานได้ในรูปแบบเดียวกัน” ยวน กล่าว

อย่างไรก็ดี อีกด้านหนึ่งโรลส์-รอยซ์ ยังมีความมั่นใจที่จะทำตลาดโดยอาศัยประสบการณ์เดิม ปัจจุบันบริษัทมีเครื่อง ยนต์ก๊าซเทอร์ไบน์ประมาณ 34 เครื่อง ที่ให้บริการกับบริษัทด้านน้ำมันและก๊าซกับลูกค้าอย่างเชฟรอน และ ปตท.ซึ่งนำมาใช้ สำหรับผลิตไฟฟ้าภายใต้การดำเนินงานของ บริษัทต่างๆ ในประเทศอยู่แล้วและจากจำนวนที่ใช้งานกันอยู่ทั่วเอเชียแปซิฟิกมากกว่า 700 เครื่อง

ปัจจุบันประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการใช้พลังงานมากที่สุดในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และยังมีการเติบโต ด้านความต้องการพลังงานสูงสุดเป็นอันดับ สองรองจากเวียดนาม โดยมีความต้องการ ใช้พลังงานสูงถึง 22 กิ๊กกะวัตต์ ในปี 2552 คาดว่าจะเพิ่มเป็นเกือบ 55 กิ๊กกะวัตต์ ในปี 2568

“เมื่อโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ไม่สามารถ เกิดขึ้นได้ กฟผ.จึงมีนโยบายรองรับการขยายตัวของความต้องการนี้จากกลุ่มเอสพีพีจำนวน 22 รายให้เป็นผู้จัดหาพลังงาน ดังกล่าว ซึ่งแต่ละโครงการจะสามารถผลิตไฟฟ้าได้ราว 100 เมกะวัตต์สำหรับพลังงานไฟฟ้าที่จะขยายปริมาณเพิ่มขึ้น 2,000 เมกะวัตต์ ซึ่งโรลส์-รอยซ์มีเครื่องกำเนิดพลังงานในระดับที่เอสพีพีต้องการไปจนถึงระดับ 500 เมกะวัตต์ที่สามารถรองรับความ ต้องการของกลุ่มผู้ผลิต” มาเฮ็นดร้า สิงห์โชฮาน หัวหน้าอาวุโสฝ่ายการขาย ธุรกิจพลังงานภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก ซึ่งจะเป็นผู้ดูแลธุรกิจในหมวดพลังงานของ โรลส์-รอยซ์ในไทยกล่าว

ความต้องการไฟฟ้า ในปริมาณ 2,000 เมกะวัตต์ที่ประเมินนี้สำหรับครัวเรือนประมาณ 4 แสนครัวเรือน โดยสันนิษฐานว่าแต่ละครัวเรือน มีความต้องการใช้ไฟเฉลี่ยครัวเรือนละ 5 กิโลวัตต์

จุดขายหลักของเครื่องยนต์ในการให้กำเนิดพลังงานที่โรลส์-รอยซ์นำเสนอสู่ตลาด จะเน้นที่ประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ ที่สามารถปฏิบัติการได้ต่อเนื่องทั้งกลางวัน กลางคืน เพื่อเน้นสร้างผลตอบแทนด้านการเงินสูงสุดให้กับเจ้าของโครงการเอสพีพี มีความยืดหยุ่นหลายด้าน ในแง่ของเครื่อง ยนต์มีความยืดหยุ่นในการเปิดเดินเครื่อง การทำงานและการผสมผสานของเครื่อง ยนต์ที่เปลี่ยนเชื้อเพลิงในการใช้งานรองรับการผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อการใช้งานระดับทั่วไป (Base Load) และรองรับการใช้งาน ในช่วงปริมาณสูง (Peak Load) รวมทั้งความยืดหยุ่นในการจัดรูปแบบสำหรับบริการดูแลรักษาเครื่องยนต์

“เราเน้นเรื่องของความยืดหยุ่นในการนำเสนอสินค้าและบริการ เพราะจากประสบการณ์ของเราพบว่า สิ่งที่ลูกค้าต้องการจากบริษัท คือความยืดหยุ่นของระบบทั้งตัวเครื่องยนต์และบริการ และบริษัทที่เชื่อถือได้” มาเฮ็นดร้ากล่าว

แม้โรลส์-รอยซ์จะวางแผนงานในกลุ่มธุรกิจพลังงานไว้ในระยะสั้นแค่ 5 ปี แต่ดูเหมือนบริษัทมีเป้าหมายชัดเจนและใหญ่กว่าที่เห็นนี้ ถึงขั้นที่อาจจะมีแนวโน้มว่าในอนาคตที่ไกลออกไปรายได้จากธุรกิจ พลังงานอาจจะเพิ่มสัดส่วนและเติบโตแซงหน้าสัดส่วนรายได้ในปัจจุบันที่มากกว่า 70% ของรายได้บริษัทมาจากธุรกิจการบินพลเรือนก็เป็นได้

โรลส์-รอยซ์ก้าวตามแผนงานของนโยบายพลังงานไทยและมองไกลออกไปถึงปี พ.ศ.2563 ที่ประเทศไทยมีแผนจะมีโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์แห่งแรกจากที่กำหนดว่าจะสร้างถึง 5 แห่งด้วยกันสำหรับ กำลังการผลิตไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์โรงละ 1,000 เมกะวัตต์ ซึ่งยวนยืนยันว่า โรลส์-รอยซ์พร้อมให้ปรึกษาด้านการจัดเตรียม ควบคุม เฝ้าติดตาม รวมทั้งพร้อมเสนอตัว เป็นผู้ผลิตส่วนประกอบต่างๆ สำหรับเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ล่าสุดบริษัทเพิ่งลงนามสัญญามูลค่ากว่า 35 ล้านปอนด์กับบริษัท ไชน่า นิวเคลียร์ พาวเวอร์ เอ็นจิเนียริ่ง ในการจัดหาอุปกรณ์ควบคุมชุดความปลอดภัยของเครื่องปฏิกรณ์และแผงควบคุมให้กับโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ จำนวน 8 โรง

“ถึงแม้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์จะเป็นสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ของคนไทยและยังต้องรออีกยาวไกล แต่โรลส์-รอยซ์ก็มีความสนใจเข้ามีส่วนร่วม”

คำพูดของยวนน่าจะเป็นการยืนยันชัดเจนว่า เป้าหมายของโรลส์-รอยซ์จะเกาะติดกับธุรกิจพลังงานไทยจากนี้ไปจนสุดทาง ไม่ว่าแหล่งกำเนิดพลังงานของไทยจะเปลี่ยนไปใช้เชื้อเพลิงชนิดไหนก็ตาม   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us