Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มีนาคม 2554
อินโดจีน โอกาสรอบตัววิกฤติรอบด้าน             
 

 
Charts & Figures

มูลค่าการค้าชายแดนของไทย ปี 2553


   
search resources

International
Greater Mekong Subregion
ธนิต โสรัตน์




ธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย รองประธานและเลขาธิการสภาธุรกิจไทย-พม่า ตัวแทนจากภาคอุตสาหกรรมไทยมาร่วมให้มุมมองเกี่ยวกับโอกาสและความท้าทายของอุตสาหกรรมและการค้าไทยในภูมิภาคอินโดจีนในการสัมมนา Indochina Vision: The Region of Opportunities and challenges ของนิตยสารผู้จัดการ 360 ํ เมื่อเดือนมกราคม 2011 ที่ผ่านมา โดยมีสาระสำคัญในหลายด้าน

ธนิตให้นิยามอินโดจีนว่าหมายถึงประเทศไทย ลาว พม่า กัมพูชา เวียดนาม และจีนตอนใต้ ปัจจุบันรวมตัวกันภายใต้ Greater Mekong Sub-region (GMS) เต็มรูปแบบ โดยมีแม่น้ำโขงไหลผ่านเป็นจุดรวม ของทั้ง 6 ประเทศ แต่มีการขยายความสำคัญครอบคลุม 3 ลุ่มน้ำสำคัญในภูมิภาค ได้แก่ แม่น้ำอิรวดีและเจ้าพระยา อีก 2 สาย

การค้าของไทยกับอินโดจีนในปัจจุบันนับวันจะยิ่งทวีความสำคัญมากขึ้น โดยปัจจุบันไทยมีสัดส่วนการค้ากับกลุ่มประเทศอาเซียนด้วยกันเอง รวมการค้ากับ จีนและฮ่องกงด้วยแล้วก็จะมีมูลค่าสูงถึง 39.7% โดยมีมูลค่าการค้าส่งออกในอาเซียน 1.411 ล้านล้านบาท และนำเข้า 9.69 แสนล้านบาท ในปี 2553 ที่ผ่านมา ขณะที่มูลค่า การค้าระหว่างไทยกับฝั่งอเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่นรวมกันมีมูลค่าเพียง 32.1% เท่านั้น

จากตัวเลขดังกล่าวหากคิดเฉพาะมูลค่าการค้าชายแดน ไทยค้าขายกับเพื่อน บ้านมีสัดส่วนสูงถึง 49% หรือคิดเป็นมูลค่าประมาณ 7.7 แสนล้าน ซึ่งไทยได้เปรียบดุลการค้าประเทศเพื่อนบ้านอยู่ 190,721 ล้านบาท โดยมีมูลค่าการส่งสินค้า ออก 483,898 ล้านบาท และมีการนำเข้าสินค้าผ่านการค้าชายแดนที่ 293,177 ล้านบาท ตัวเลขนี้ยังคงมีแนวโน้มเติบโตสูงถึงปีละประมาณ 30% ซึ่งหากเป็นไปตามภาวะปกติ ปี 2554 นี้ไทยจะมีมูลค่าการค้าชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้านเพิ่มเป็น 8 แสนกว่าล้านบาท และเพิ่มถึง 9 แสนล้านในอีกไม่เกิน 2-3 ปีข้างหน้า นั่นเท่ากับ จำนวนมากกว่า 10% ของจีดีพี

ข้อได้เปรียบของการค้าชายแดนกับ กลุ่มประเทศอินโดจีน เมื่อเทียบกับการค้าระหว่างไทยกับกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วอย่างญี่ปุ่น อเมริกา ยุโรป ปัจจุบันถือว่ามีข้อได้เปรียบอยู่มากในเรื่องการทำกำไรจากมูลค่าสินค้า ซึ่งไม่ต้องเผชิญกับมาตรการทางการค้าสูงเท่าการส่งสินค้าไปยังประเทศพัฒนาแล้ว รวมทั้งกฎระเบียบ และเงื่อนไขด้านสิทธิมนุษยชน เช่น ข้อกำหนดในการปฏิบัติของโรงงานในด้านต่างๆ เช่น เรื่องสุขอนามัย สิ่งแวดล้อม ชั่วโมงการทำงาน ซึ่งไม่เคร่งครัดเท่า

ตลาดอินโดจีนเปิดกว้างในระดับที่ว่า ขายสินค้าอะไรก็มีคนซื้อและได้ ราคาดี เพียงแต่รูปแบบการ ค้าจะแตกต่างและเป็นไปตามสภาพการติดต่อระหว่างไทยกับเพื่อนบ้าน เช่น การซื้อสินค้าแล้วขนลง เรือข้ามชายแดนไทยลาว การซื้อขายข้าวโพดจากไทย ของพม่า แต่ในบางพื้นที่ที่สาธารณูปโภคเข้าถึง เช่น ชายแดนไทย-พม่า บริเวณอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ซึ่งมีสะพานเชื่อมถึงกันก็ทำให้ นักธุรกิจไทยทั้งจากส่วนกลางและท้องถิ่นสามารถส่งสินค้าเข้าไปยังพื้นที่ชั้นในของพม่าจากแม่สอดสู่เมียวดี และปัจจุบันสามารถทำการค้าได้ไกลถึงร่างกุ้ง

เช่นเดียวกันสะพานข้ามแม่น้ำโขงที่เชื่อมระหว่างไทย-ลาว ที่จังหวัดมุกดาหาร ก็ทำให้สินค้าไทยทำการค้าชายแดนผ่าน ลาวและส่งไปได้ไกลถึงประเทศเวียดนามผ่านทางหลวงหมายเลข 9 หรือแม้แต่ใช้เป็นเส้นทางส่งสินค้าจากนิคมอุตสาหกรรม ในไทยไปลงเรือที่เวียดนามเพื่อส่งไปยังประเทศอื่นๆ

โดยสรุปแล้วการค้าชายแดนระหว่าง กลุ่มประเทศอินโดจีนด้วยกัน จึงก่อให้เกิด ประโยชน์หลายด้าน ได้แก่ 1-ทำให้สามารถส่งออกสินค้าและระบายสินค้า เป็นการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางด้านราคา (Economies of Scale) 2-เป็นช่องทางในการหาวัตถุดิบที่มีราคาถูก เพื่อป้อนโรงงานผลิตสินค้าภายในประเทศ และลดต้นทุนการผลิต 3-เป็นการกระจายรายได้สู่ท้องถิ่น การค้าชายแดนมีการส่งปัจจัยการผลิตต่างๆ เพื่อการผลิตสินค้าในประเทศเพื่อนบ้าน ส่งผลให้เศรษฐกิจของ ประเทศเพื่อนบ้านดีขึ้น และ 4-การค้าชายแดนง่ายและไม่ยุ่งยาก เกิดประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่ายจากการทำการค้าชายแดนระหว่างกัน

ขณะที่การค้าชายแดนซึ่งเปิดทำการ มานานก่อนการค้าไทยกับประเทศอินโดจีน อย่างการค้าชายแดนไทย-มาเลเซีย ปัจจุบันก็กำลังพัฒนาไปอีกขั้น ด้วยบริการด่านชายแดนที่จะเปิดให้บริการ 24 ชั่วโมงที่ด่าน ตรวจคนเข้าเมืองสะเดา จังหวัดสงขลา ซึ่งจะเป็นด่านและเขตเศรษฐกิจพิเศษต้นแบบ ที่จะใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาการค้าชาย แดนกับประเทศเพื่อนบ้านในจุดอื่นๆ ต่อไป

หัวใจสำคัญที่ทำให้การค้าชายแดน เติบโตสร้างโอกาสให้กับธุรกิจไทยและเพื่อนบ้านที่เกิดขึ้นนี้ มีพื้นฐานมาจากการพัฒนาถนนหลายสายในภูมิภาคอินโดจีนที่กำลังต่อเชื่อมถึงกันอย่างเป็นระบบและยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ภูมิภาคอินโดจีน กลายเป็นศูนย์กลางการลงทุนแห่งใหม่ของ โลก นอกเหนือจากการเป็นศูนย์กลางแหล่ง ผลิตอาหาร พื้นที่ส่วนใหญ่ในภูมิภาคนี้เป็น แหล่งผลิตสินค้าเกษตรที่สำคัญหลายชนิด

จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ในปัจจุบัน มหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลกทุกประเทศ ต่างพยายามเข้ามาปฏิสัมพันธ์ใน ฐานะนักลงทุน ส่วนใหญ่เข้ามาภายใต้กรอบ ความร่วมมือต่างๆ เพื่อสร้างบทบาททางเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้ ไม่ว่าจะเป็นยุโรป สหรัฐอเมริกา แคนาดา หรือประเทศเศรษฐกิจแนวหน้าจากแถบเอเชียด้วยกัน เองอย่างจีน ญี่ปุ่น เกาหลี

ประเทศในอินโดจีนที่มีบทบาทสำคัญต่อกันอย่างมากคือจีน ซึ่งถือเป็น ประเทศในกลุ่ม GMS ที่เข้ามามีบทบาทในฐานะนักลงทุนที่เชื่อมภูมิภาคนี้ด้วยการลงทุนสร้างระบบสาธารณูปโภค ทั้งถนน เรือ และทางรถไฟ ที่จะเกิดขึ้นอีกหลายสายในอนาคต

จีนใช้นโยบาย Look West เริ่มต้น จากคุนหมิงในมณฑลยูนนาน ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ขยายเส้นทางเศรษฐกิจลงมายังไทย เวียดนาม ลาว และ พม่า โดยมีเป้าหมายที่การดึงดูดทรัพยากร และพลังงานในภูมิภาคไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต ซึ่งจีนมีแรงงานราคาถูกจำนวน มากไว้รองรับกำลังการผลิตมหาศาล ก่อนจะผลิตเป็นสินค้าระบายกลับลงมายังเส้นทางเดิม

ความเคลื่อนไหวของจีนในภูมิภาคยังปรากฏให้เห็นในรูปแบบของการค้า จีนกำลังสร้างศูนย์การค้าขนาดใหญ่ ใช้เงินลงทุนหลายหมื่นล้านเพื่อเป็นศูนย์ค้าส่ง สินค้า ที่จะบริหารพื้นที่ภายใต้ระบบฟรีโซน ส่วนหนึ่งเล็งตลาดไทย และจากฟรีโซนนี้มีแผนจะส่งไปทำตลาดไกลถึงมาเลเซียและ สิงคโปร์ ทั้งที่ผ่านไทยลงไปและผ่านไปทาง พม่า ก่อนจะส่งย้อนกลับเข้ามาในประเทศ ไทยอีกครั้งตามแนวตะเข็บชายแดนด้านตะวันตกผ่านพม่า และทางใต้ผ่านมาเลเซีย

แนวทางนี้เป็นระบบของจีนที่ดำเนิน งานผ่าน GMS และ ACMECS (Ayeya-wady-Chao Phraya-Mekong Economic Cooperation Strategy (Thailand)) ซึ่งรวมเอาลุ่มเจ้าพระยา อิรวดี และแม่น้ำโขง 3 สายมารวมกันเพื่อสร้างอำนาจทางเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้ ไทยก็มีบทบาทอยู่ใน ACMECS ด้วยเช่นกัน และใช้บทบาทนี้ใน การเข้าไปสร้างถนนในประเทศเพื่อนบ้าน ให้ทุนการศึกษา สนับสนุนการปลูกพืชผักในพม่า ลาว กัมพูชา เพื่อส่งเข้ามายังประเทศไทย

บทบาททางเศรษฐกิจภายใต้กรอบความร่วมมือระหว่างประเทศ ทำให้เกิดการแข่งขันตั้งหน่วยงานต่างๆ ตามมา ภายหลังจากไทยมีบทบาทใน ACMECS เวียดนาม กัมพูชา ลาว และพม่า ก่อตั้ง กลุ่ม CLMV มักจะมีการจัดประชุมก่อนหน้าไล่ๆ กับการประชุมของ ACMECS ที่จะจัดขึ้นเสมอ กรณีนี้ถือเป็นเรื่องท้าทาย และอาจจะกลายเป็นวิกฤติหากไทยถูกกันออกจากความร่วมมือของประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคในลักษณะนี้

ทางด้านใต้ ไทยมีความร่วมมือ IMT-GT: Indonesia-Malaysia-Thailand Growth Triangle (Malaysia) จุดอ่อนของ ไทยคือ ถนัดเจรจาก่อตั้ง แต่อ่อนเรื่องการ ปฏิบัติ เช่นเดียวกับในกรณีนี้ที่บทบาทการดำเนินงานกลายเป็นของมาเลเซีย ทั้งการกำหนดจุดเชื่อมท่าเรือ จุดตั้งด่านศุลกากร และเส้นทางขนส่ง หากต้องการให้การดำเนินงานคล่องตัวและสร้างโอกาส ให้นักลงทุนไทย หลังการเจรจาไทยควรมีแผนปฏิบัติงานรองรับที่ทำให้เอกชนเข้าไปมีบทบาทมากขึ้น

ในเวทีลุ่มแม่น้ำโขงยังมี MJ-CI: Mekong Japan Economic and Industrial Cooperation Initiative (Japan) เกิดมา ใหม่ซึ่งรัฐบาลไทยได้เซ็นข้อตกลงเรียบร้อย เริ่มก่อตั้งเมื่อปี 2553 เป็นเวทีที่ญี่ปุ่นซึ่งกำลังจะพ่ายแพ้ในสนามอินโดจีนให้กับจีนที่มีบทบาทสูงขึ้นทุกวันในภูมิภาคนี้ ต้องการ เข้ามาเชื่อมโยงเศรษฐกิจญี่ปุ่นกับภูมิภาคอินโดจีน

MJ-CI เล็งเป้าหมายไปที่ท่าเรือน้ำลึกทวาย โดยดำเนินงานผ่านทางกระทรวง การต่างประเทศ ผ่านทางรัฐบาลเพื่อเข้า ไปมีบทบาทในการเสนอแนะการก่อสร้างท่าเรือ ความพยายามครั้งนี้เกิดขึ้นเพราะญี่ปุ่นมองว่าเมื่อจีนได้เปรียบจากเส้นทางที่เชื่อมตะวันออกฝั่งแม่น้ำโขงมาถึงภาคตะวันตกทางพม่า โดยมีเส้นทางให้วิ่งเชื่อม ต่อกันมาตั้งแต่เวียดนามผ่านดานัง เข้าลาว ออกขอนแก่นของไทยไปยังเมาะลำไย และเมาะละแหม่งของพม่า ญี่ปุ่นจึงหันมาโฟกัส เส้นทางเชื่อมตะวันออกไปใต้ มุ่งไปทางเมืองทวายของพม่า ซึ่งผลพวงครั้งนี้นักลงทุนไทยก็ได้ลงทุนโครงการขนาดใหญ่มูลค่า 3.5 แสนล้านบาทที่ท่าเรือน้ำลึกทวายด้วยเช่นกัน

ในอนาคตท่าเรือน้ำลึกทวายของพม่าจะมีบทบาทสำคัญในภูมิภาคนี้ เพราะเป็นท่าเรือใหญ่ซึ่งเชื่อมกับถนนที่เป็นแลนด์บริดจ์ รถไฟรางคู่ และท่อส่งน้ำมัน จะมีความสามารถในการรองรับตู้สินค้าได้มากกว่ามาบตาพุด 10 เท่า หรือคิดเป็นปริมาณตู้สินค้าที่ส่งออกปีละถึง 50-60 ล้านตู้ ขณะที่มาบตาพุดมีการส่งออกปีละประมาณ 5 ล้านตู้ ทำให้ทวายจะกลายเป็น ท่าเรือสินค้าระดับโลกเทียบเท่าสิงคโปร์ ขณะที่ท่าเรือปากบาราของไทยซึ่งอยู่ไม่ไกลกันเป็นเพียงท่าขนส่งหรือรับสินค้าวิ่งตามชายฝั่งที่ไม่สามารถเปรียบเทียบหรือแข่งกันได้ในระดับเดียวกัน

โดยสรุปญี่ปุ่นร่วมมีบทบาทในการพัฒนาอนุภูมิภาคที่สำคัญ ได้แก่ โครงข่าย ระบบรางโดยเฉพาะในสหภาพพม่า พัฒนา ศักยภาพบุคลากรประเทศลุ่มแม่น้ำโขง ใน ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและอำนวยความ สะดวกทางการค้าและการขนส่งข้ามพรมแดน ส่งเสริมการลงทุนและการพัฒนา พื้นที่เศรษฐกิจใหม่ในอนุภูมิภาค เช่น ทวาย-กาญจนบุรี แม่สอด-เมียวดี

เสน่ห์ของอินโดจีนไม่ได้หยุดแค่ในภูมิภาค ความหอมของเศรษฐกิจเกิดใหม่ ทำให้รัฐบาลสหรัฐฯ ก็นิ่งอยู่ไม่ไหว ปลายปี 2553 จึงเข้ามาทำข้อตกลงกับรัฐบาลไทยตั้งเป็นโครงการเชื่อมแม่น้ำที่อยู่คนละทวีประหว่างมิสซิสซิปปีกับแม่น้ำโขงภายใต้โครงการความร่วมมือ US-LMI: U.S.-Lower Mekong Initiative (USA)

US-LMI เป็นการเล็งผลทางเศรษฐกิจ ที่สหรัฐฯ ไม่ต้องการให้จีนและญี่ปุ่นรุกหนัก ในภูมิภาคโดยที่สหรัฐฯ ไม่มีส่วนร่วม โครง การนี้เริ่มดำเนินโครงการภายใต้ความร่วมมือในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ โดยเริ่มต้นที่กัมพูชาเป็นแห่งแรก นอกจากนี้ ยังจะให้ความร่วมมืออีก 3 ด้านได้แก่ สิ่งแวดล้อม สาธารณสุข และการศึกษาด้วย

ล่าสุดมีแนวโน้มว่าจะเกิดโครงการ KOREA-MEKONG ของประเทศเกาหลีขึ้นอีกในปลายปีนี้ ซึ่งรุกหนักในการเข้ามาตั้งนิคมอุตสาหกรรมในเวียดนามและกัมพูชา พร้อมๆ กับใช้วัฒนธรรมที่ได้รับการต้อนรับ ดีจากหลายประเทศในอินโดจีนเข้ามาเปิดตลาดความนิยมเกาหลีในภูมิภาคนี้มากขึ้น ตรงกันข้ามกับไทยที่อยู่ใกล้ชิดแต่กำลังห่างเหินกับคนในภูมิภาคเดียวกันออกไปทุกที อย่างเช่นกรณีความรู้สึกระหว่างคนไทยกับคนกัมพูชาในพนมเปญจากประเด็น ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

สำหรับสิ่งที่เกาหลีให้ความสนใจมี 4 เรื่องหลัก ได้แก่ 1-โครงสร้างพื้นฐาน การคมนาคมขนส่งและการอำนวยความสะดวกการค้าตามแนวพื้นที่พัฒนาเศรษฐกิจ 2-สิ่งแวดล้อมที่จะช่วยยกระดับความสามารถของประเทศ GMS ในการเตรียมรองรับผลกระทบจาก Climate Change 3-พลังงานสะอาด และ 4-เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

เมื่อการค้าในภูมิภาคมีบทบาทระดับโลก สิ่งที่รัฐบาลไทยควรดำเนินงานจึงต้องแยกให้ออกระหว่างการดำเนินนโยบายด้านการค้าและเศรษฐกิจออกจากการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ อย่าปล่อยให้รูปแบบความมั่นคงที่มีเพียงเฉพาะเวลาราชการ ตามแนวเขตชายแดนกลายเป็นอุปสรรคทางการค้าและต้องเข้าใจ ความสัมพันธ์ระหว่างนักธุรกิจท้องถิ่นตามแนวชายแดนซึ่งมีการติดต่อและไปมาหาสู่กันอยู่เสมอว่ามีลักษณะเช่นไร โดยอาศัยความใกล้ชิดทางพื้นที่และเชื้อชาติมาต่อเติม โอกาสมากกว่าทำให้เกิดความห่างเหินอย่าง กรณีความขัดแย้งที่เกิดขึ้น

นอกจากนโยบายเศรษฐกิจการค้า ยังมีนโยบายที่เกี่ยวเนื่องกับการค้าชายแดน ที่สำคัญอีกประเด็นในเรื่องนโยบายแรงงาน ภาคอุตสาหกรรม จากสถานการณ์ที่เป็นอยู่ ปัจจุบันไทยใช้แรงงานต่างด้าวซึ่งเป็นคนจากประเทศเพื่อนบ้านจำนวนมาก เพราะอุตสาหกรรมหลายประเภทยังเป็นอุตสาหกรรมแบบใช้แรงงานเข้มข้น คิดแล้ว อุตสาหกรรมไทยต้องพึ่งกำลังการผลิตจาก แรงงานต่างด้าวถึง 70% แม้ตัวเลขแรงงาน ที่ลงทะเบียนไว้จะมีประมาณ 9 แสนคนเท่านั้น แต่ตัวเลขจริงคาดว่ามีอยู่อีกกว่า 2 ล้านคนที่ยังไม่ได้ลงทะเบียน ที่เห็นได้ชัดคือแรงงานจากประเทศพม่าซึ่งคาดว่ามีแรงงานพม่าในไทยที่หมุนเวียนเข้าออกในช่วงไม่เกิน 10 ปี นับสิบล้านคน

แรงงานที่หมุนเวียนระหว่างประเทศ ถือเป็นอีกโอกาสสำหรับสินค้าไทยที่จะส่งสินค้าไปขายยังประเทศเพื่อนบ้าน เนื่อง จากกลุ่มแรงงานมีความคุ้นเคยกับตราสินค้า ไทยสมัยทำงานอยู่ในประเทศไทย หลายโรงงานเช่น โรงงานบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปบางแห่งก็ตัดสินใจไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านอย่างพม่าแล้วเช่นกัน ปรากฏการณ์ด้านแรงงานเป็นอีกเรื่องที่รัฐบาลไทยต้องให้ความสำคัญหากจะให้ไทยมีบทบาทต่อเศรษฐกิจในภูมิภาค

ขณะเดียวกันแรงงานเหล่านี้ก็มีผลต่อการดำเนินงานของธุรกิจไทย เพราะหากขาดแรงงานจำนวนมหาศาลเหล่านี้ก็จะส่งผลต่อกำลังและต้นทุนการผลิตอย่างเลี่ยงไม่ได้

ด้วยสถานการณ์เหล่านี้ถือว่าเศรษฐกิจไทยพึ่งพาเศรษฐกิจเพื่อนบ้านในอินโดจีนอย่างแยกกันไม่ได้ ไม่เพียงเท่านั้น หากมองไปยังภาคสินค้าเกษตร โดยเฉพาะ ในกลุ่มสินค้าหลัก เช่น ยางพารา อ้อย มันสำปะหลัง สับปะรด ฯลฯ ซึ่งมีปริมาณ ส่งออกมากกว่า 80-90% ของกำลังการผลิต ยิ่งเป็นเหตุผลให้ไทยต้องคำนึงถึงการหาตลาดต่างประเทศเป็นสำคัญ

ที่ผ่านมาการลงทุนของไทยในลาว กัมพูชา และเวียดนาม ดำเนินไปพร้อมๆ กับประเทศอื่นๆ ที่เล็งเห็นโอกาสในภูมิภาค นี้เหมือนกัน แต่ประเทศที่กำลังกลายเป็นเป้าหมายใหม่ที่สำคัญคือพม่า ซึ่งทุกประเทศต่างเตรียมการต้อนรับการเปิดกว้างด้านเศรษฐกิจของพม่าภายหลังเสร็จสิ้นการเลือกตั้งใหญ่ที่ผ่านมาในปีที่แล้ว

สภาธุรกิจไทย-พม่า ซึ่งเจรจากันมา นานกว่า 10 ปี และเพิ่งก่อตั้งได้เมื่อต้นปี 2553 คือจังหวะของการเริ่มต้นที่สำคัญ สิ่ง ที่นักลงทุนไทยต้องเรียนรู้นับจากนี้คือความเข้าใจบุคลิกลักษณะนิสัยของคนพม่า เพื่อนำไปสู่การหาแนวทางที่ถูกต้องในการทำธุรกิจร่วมกัน

หลักการพื้นฐานที่คนไทยควรเข้าใจ คือ พม่าจะมีลักษณะของคนจริงใจ ไม่พูดมาก แต่เมื่อตัดสินใจและเอ่ยปากแล้วจะดำเนินงานตามที่พูดเพราะถือเป็นคำมั่นสัญญา ขณะเดียวกันการดำเนินธุรกิจก็จะดำเนินไปคู่กันระหว่างภาคเอกชนและฝ่ายทหาร ซึ่งจะตอบรับหรือปฏิเสธไปในทิศทาง เดียวกัน เป็นลักษณะการดำเนินกิจกรรมเศรษฐกิจการค้าแบบปาท่องโก๋ และมีหน่วย งานด้านอุตสาหกรรมและการค้าที่สำคัญ คือ UMFCI: Union Myanmar Federation Commercial and Industry

ความสำคัญของพม่านั้นได้รับการพิจารณาจากจำนวนประชากรที่มีมากถึง 58 ล้านคน ซึ่งประมาณแล้วว่าไม่ต่ำกว่า 10 ล้านคนที่มีความคุ้นเคยกับสินค้าไทยซึ่งเป็นโอกาสอย่างมาก แต่ที่เหลือเป็นความท้าทายที่นักลงทุนไทยจะต้องเข้าไปศึกษาเพื่อรู้จักพม่าให้มากกว่าเดิม โดยศึกษาตามนโยบายหลังเลือกตั้งของพม่า (ดู ล้อมกรอบพม่าหลังการเลือกตั้งเมื่อพฤศจิกายน 2553) ซึ่งมีนโยบายหลายอย่าง ที่นักธุรกิจไทยต้องทำความเข้าใจและศึกษาเพื่อเข้าถึงตลาดที่เต็มไปด้วยโอกาสมหาศาลนี้ให้ได้ เพราะพม่าจะมีบทบาทอีกมากในภูมิภาคนี้ รวมทั้งคนพม่าจำนวน ไม่น้อยก็มีศักยภาพและประสบการณ์ทำงานร่วมกับคนไทย อีกทั้งพื้นฐานด้านภาษาอังกฤษเมื่อเทียบแล้วจัดว่าอยู่ในระดับ ที่ดีกว่าประเทศเพื่อนบ้านทางฝั่งตะวันออก อย่างลาว กัมพูชา และเวียดนาม

อย่างไรก็ตาม การมองอนาคตของภูมิภาคนี้ สิ่งที่นักลงทุนไทยควรตระหนักไว้เสมอคือ อย่าให้อุปสรรคเฉพาะหน้ามาเป็นตัวบดบังวิสัยทัศน์ แต่ต้องคิดปรับปรุงและมองไกลออกไปข้างหน้าอย่างน้อยในระยะ 5-10 ปีจากนี้ ใช้ความได้เปรียบเชิงพื้นที่ในระยะใกล้สร้างข้อตกลงที่นำไปสู่การปฏิบัติได้เป็นรูปธรรม หาโอกาสที่มีอยู่ให้เจอก่อนที่จะปล่อยให้ชาติมหาอำนาจ ที่มองความสำคัญในภูมิภาคนี้ออกและกำลังจี้ตามมาติดๆ หยิบชิ้นปลามันไปครอง แล้วปล่อยให้เพื่อนบ้านอย่างไทยเป็นได้แค่ผู้ตาม   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us