|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงกำลังกลายเป็นสมรภูมิการแข่งขันสร้างอิทธิพลของชาติมหาอำนาจหลายแห่งของโลก โดยมีเป้าหมายใหญ่คือความพยายามคานอำนาจของจีนที่มีสูงยิ่งต่อภูมิภาคนี้
เว็บไซต์ของหนังสือพิมพ์ดินแดนเวียดนาม (baodatviet.vn) ได้เผยแพร่บทวิเคราะห์เกี่ยวกับการแผ่อิทธิพลของชาติมหาอำนาจต่างๆ เข้ามายังอนุภูมิภาค ลุ่มแม่น้ำโขง โดยเป้าหมายหลักของประเทศเหล่านั้นที่ต้องการเพิ่มบทบาทในพื้นที่แห่งนี้ก็เพื่อลดทอนอิทธิพลของจีน
บทวิเคราะห์ชิ้นนี้เผยแพร่เมื่อกลางเดือนที่แล้ว (กุมภาพันธ์) โดยมีรายละเอียด ของเนื้อความว่า
แม่น้ำโขงเป็นหนึ่งในบรรดาแม่น้ำใหญ่ที่สุดบนโลก เริ่มต้นจากจีนไหลผ่านลาว พม่า ไทย กัมพูชา และไหลออกทะเล ตะวันออกที่เวียดนาม
อาศัยกระแสน้ำสายนี้ นานมาแล้วจีนได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการค้าและวัฒนธรรมกับประเทศในคาบสมุทรอินโดจีน แต่ในหลายปีมานี้การคืบคลานเข้ามาของประเทศจากซีกโลกตะวันตก ทำให้อิทธิพลของจีนในภูมิภาคนี้ถูกลดทอนลงไป
นอกจากนั้น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น อินเดีย ก็เสริมสร้างอิทธิพลของตนต่อ ASEAN ทำให้จีนเดินหน้าแผนการต่างๆยืนยันอิทธิพลอำนาจของตน สายน้ำแม่น้ำโขงกลายเป็นหนทางสำคัญในยุทธศาสตร์ของจีนในภูมิภาคนี้
จีนฝ่าฐานะโดดเดี่ยว
ในหลายปีก่อนหน้านี้ อิทธิพลของจีนในคาบสมุทรอินโดจีนค่อยๆ จางลง มี 2 สาแหตุหลัก คือ
1. หลายปีมาแล้ว ยังไม่มีการจัดความทันสมัยและศักยภาพทางทหารของจีน เข้าอันดับ “Big”
2. การเลือกนโยบายต่างประเทศของบรรดาประเทศในคาบสมุทรอินโดจีน ไม่มีความต้องการพึ่งพาอาศัยจีน
เพราะเหตุผลทางภูมิศาสตร์การ เมือง บรรดาประเทศในคาบสมุทรอินโดจีน จึงระมัดระวังจีน และแสวงหาความช่วยเหลือจากประเทศใหญ่อื่นๆ เพื่อหยุดยั้งอิทธิพลของจีน หลังจากยุติสงครามเย็น ความขัดแย้งมากมายบนทะเลได้เกิดขึ้นระหว่างจีนและชาติต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้จีนกลายเป็นประเทศโดดเดี่ยวในภูมิภาค
สหรัฐฯ ญี่ปุ่น อินเดียเคยใช้ยุทธศาสตร์โอบล้อมจีนตามทางกว้าง เมื่อทราบความข้อนี้ คนจีนจึงดำเนินการตามแผนพัฒนาเลียบตามแม่น้ำโขง
แผนการนี้ประกอบด้วยการก่อสร้าง เส้นทางรถไฟข้ามชาติ และเขื่อนกั้นน้ำขนาดใหญ่บนแม่น้ำโขงพร้อมด้วยโครง สร้างพื้นฐานต่างๆ อาจกล่าวได้ว่า จีนใช้แผน “รวม-กระจาย” โจมตีแผน “เชื่อมโยง”
(ดูกราฟิก “เค้าโครงทางรถไฟผ่านเอเชียของจีน” ประกอบ)
สงครามเย็นยุติลง จีนใช้นโยบาย “เลื่อนการพิพาทต่างๆ ออกไป” ขณะเดียว กันก็แสดงตนให้เห็นว่า จีนคือคนยืนอยู่เบื้องหลังยุทธศาสตร์ของชาติต่างๆ บนคาบสมุทรอินโดจีน
พร้อมกับความเร็วการพัฒนาเศรษฐกิจของจีน การนำเข้าทรัพยากรประเภทต่างๆ โดยเฉพาะน้ำมันที่นับวันมากขึ้น น้ำมันของจีนที่สำคัญถูกสหรัฐฯควบคุมผ่านกองเรือ Malacca ข้อนี้ทำให้ มีการยกระดับความมั่นคงด้านน้ำมันของจีนขึ้นเป็นยุทธศาสตร์แห่งชาติ
การขนส่งน้ำมันจากประเทศตะวัน ออกกลางผ่านทางประเทศในลุ่มแม่น้ำโขง กลายเป็นวิธีการทดแทนดีที่สุดและปลอดภัยที่สุด
เส้นทางรถไฟเลียบตามแม่น้ำโขงหลังจากแล้วเสร็จ จะทำให้ลดอันตรายจากการเดินเรือและการขนส่งทางท่อ น้ำมัน จะผ่านทางรถไฟสายนี้เข้าสู่จีนด้วยวิธีง่ายๆ ยิ่งกว่านั้นจะทำให้ลดระยะทางลงครึ่งหนึ่งจากการขนส่งทางทะเล
ดังนั้น จีนจึงได้ลงทุนมากอย่างยิ่งในความสัมพันธ์ด้านการติดต่อการค้ากับประเทศในคาบสมุทรอินโดจีน ไม่เพียงก่อสร้างเขตการค้าเสรีต่างๆ แต่ยังพัฒนาโครงข่ายทางรถไฟเลียบตามแม่น้ำโขงวิ่งผ่านลาว พม่า ไทย กัมพูชา เวียดนาม แต่แผน “รวม-กระจาย” นี้ยังคงมีอุปสรรค มากมาย เพราะยังไม่สามารถเป็นเอกภาพ ทางด้านผลประโยชน์ของชาติต่างๆ
สหรัฐฯ ตั้งโครงข่ายโอบล้อมจีน
ในสายตาคนอเมริกัน ภูมิภาคอินโด จีนและคาบสมุทรอินโดจีนมีฐานะทางยุทธศาสตร์แห่งหนึ่ง ถ้าควบคุมภูมิภาคนี้ได้ก็จะหยุดยั้งการโชติช่วงของจีนได้
ในเหตุผลเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ การเมืองของนักวิชาการผู้มีชื่อเสียง Spirax Blackman และ Kennan แสดงให้เห็นว่า ถ้าต้องการยับยั้งชาติหนึ่งให้ได้ ก่อนอื่นต้อง ควบคุมที่ตั้งทางภูมิศาสตร์การเมืองรอบๆชาตินั้น สหรัฐฯ เดินตามวิถีทางทฤษฎีนั้น และตระหนักว่า สำหรับจีนแล้ว ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นภูมิภาคภูมิศาสตร์การเมืองสำคัญ เพื่อให้สามารถยับยั้งจีน ก่อนอื่นก็ต้องเสริมอิทธิพลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ปัจจุบัน อินเดียก็กลายเป็นพันธมิตร ของสหรัฐฯ ก่อให้เกิดแรงกดดันต่อเขตทิเบตของจีน นอกจากนั้น เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ต่างก็เป็นประเทศเพื่อนบ้านสนิทของสหรัฐฯ ดังนั้นเขตทะเลเหลือง มหาสมุทรอินเดีย ได้อยู่ในพิสัยการควบคุมของสหรัฐฯ จากนั้นสร้างเป็นแนวล้อมรอบๆ จีน
(ดูกราฟิก “บรรดาทิศทาง “รุก” ทางด้านความมั่นคงของสหรัฐฯ บีบรัดโอบล้อมจีน” ประกอบ)
อย่างไรก็ดี เพื่อเสริมอิทธิพลของสหรัฐฯ เข้าสู่ภูมิภาคคาบสมุทรอินโดจีนยังมีอุปสรรคมากมาย เมื่อตระหนักถึงความสำคัญทางยุทธศาสตร์ของแม่น้ำโขง สหรัฐฯ ก็เริ่มวางแผนมุ่งสร้างอิทธิพลของตนในภูมิภาค “พิเศษ” แห่งนี้
เมื่อเร็วๆ นี้ นิตยสารนโยบายต่างประเทศ ของสหรัฐฯ ให้ความเห็นว่า ถ้าสหรัฐฯ ต้องการ “กลับมาเอเชีย” ควรรวม ศูนย์เข้าสู่แม่น้ำโขง ปี 2553 รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ Hillary Clinton ได้เสนอ “แผนปฏิบัติการให้กับแม่น้ำโขง” ผ่านด้าน การลงทุน เสริมสร้างความร่วมมือกับประเทศเลียบตามแม่น้ำโขง สหรัฐฯ เพิ่มอิทธิพลในภูมิภาคภูมิศาสตร์การเมืองแห่งนี้ มุ่งถ่วงดุลกับจีน
Stimson Center ที่วอชิงตัน นำเสนอรายงานบนแม่น้ำโขงโดยระบุว่า สหรัฐฯ อาจจะคืนสภาพความสมดุลทางด้านภูมิศาสตร์การเมืองของอิทธิพลอำนาจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อช่วย เหลือการพัฒนารูปแบบใหม่ ถึงแม้บรรดาชาติบนลุ่มแม่น้ำโขง หรือบรรดาประเทศ ASEAN ไม่อยากเผชิญหน้ากับจีน
นโยบายของญี่ปุ่น
สมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นได้รับรู้ความสำคัญในยุทธศาสตร์ของชาติอินโดจีน ไม่เพียงมีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์ แต่มันยังมีที่ตั้งภูมิศาสตร์การเมืองสำคัญในภูมิภาคเอเชีย
แม่น้ำโขงกลายเป็นเป้าหมายสำคัญ ในแผนการทางทหารของญี่ปุ่น ตั้งแต่คริสต์ ทศวรรษ 80 ญี่ปุ่นได้เสริมอิทธิพลของตนในภูมิภาค ASEAN ด้วยวิธีการให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ เผยแพร่วัฒนธรรม และภาษาของตนไม่หยุดยั้ง
เริ่มตั้งแต่ปี 2551 ญี่ปุ่นได้เปลี่ยน แปลงแนวทางการทูตกับ 5 ประเทศในลุ่มแม่น้ำโขง (ลาว ไทย กัมพูชา พม่า และเวียดนาม) เพราะวิตกว่าแม่น้ำโขงจะตกไปอยู่ในการควบคุมของจีน
เดือนมกราคม 2551 ญี่ปุ่นพร้อมกับ 5 ประเทศแม่น้ำโขงดำเนินการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศครั้งแรก ยืนยันความช่วยเหลือประเทศต่างๆ ในเขตแม่น้ำโขง โดยก่อสร้าง “ระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก” และ “ระเบียงเศรษฐกิจทิศใต้” ขณะเดียวกันก็กำหนดให้ปี 2552 เป็น “ปีแห่งการจราจรแม่น้ำโขง-ญี่ปุ่น” ข้อนี้ปรากฏ ชัดเจนในแผน “ปฏิบัติการใต้-เหนือ” เพื่อปิดกั้นจีน
อย่างไรก็ดีปี 2550 อัตราส่วนการติดต่อแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจของจีนต่อ ASEAN ได้แซงญี่ปุ่น ดังนั้น เพื่อความสมดุลทางด้านอิทธิพลอำนาจนี้ ญี่ปุ่นได้นำส่วนใหญ่ของประเทศเข้าสู่อินโดจีน ทั้งที่บนความจริง ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ตกอยู่ในสถานการณ์เสียประโยชน์ ใน “การแข่งขันอิทธิพลอำนาจ” ที่นี่
อินเดียเข้าร่วมต่อต้านจีน
อินเดียได้เปลี่ยนแปลงแนวทางการทูตของตนเป็นนโยบาย “หันสู่ตะวันออก” บรรดานักยุทธศาสตร์ความมั่นคงแสดงทัศนะว่า “ที่สำคัญ แม่น้ำโขงเป็นภูมิภาคภูมิศาสตร์การเมืองที่อินเดียต้องแผ่ไปให้ถึง”
อินเดียเชื่อว่า ถ้าประสานแม่น้ำคงคาและแม่น้ำโขง อินเดียและประเทศ ASEAN ก็จะเปิดกว้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การค้า การทหาร ข้อนี้เหมาะสม อย่างไม่มีข้อสงสัย กับผลประโยชน์ของประเทศในสองลุ่มแม่น้ำ
ดังนั้น การก่อสร้างเส้นทางรถไฟเริ่มต้นที่นิวเดลีผ่านพม่า ไทย กัมพูชา และฮานอย จะเป็นจุดสุดท้ายทางบก การเปิดกว้างการขนส่งทางทะเลและทางอากาศ กลายเป็นเป้าหมายทางยุทธศาสตร์ในนโยบาย “หันสู่ตะวันออก” ของอินเดีย
(ดูกราฟิก “จีนโอบล้อมอินเดียด้วย สายสร้อยไข่มุก” ประกอบ)
อย่างไรก็ดี การขยายอิทธิพลของอินเดียต่อแม่น้ำโขงประสบสิ่งกีดขวางมากมาย เพราะการขัดขวางอย่างแข็งแรงของจีน ดังนั้น อินเดียจึงใช้ยุทธศาสตร์ที่คล้ายกับยุทธศาสตร์ “หนูกัดแทะ” ที่ได้มีการใช้ในบริเวณชายแดนจีน-อินเดีย ใช้การพัฒนาวัฒนธรรม การศึกษา การท่องเที่ยว มุ่งขยายอิทธิพลที่คาบสมุทรอินโดจีน ขัดขวางอิทธิพลของจีน
เปรียบเทียบกลยุทธ์ตอบโต้การเอาเปรียบสำหรับภูมิภาคของบรรดา “ผู้แข่งขัน” อาจจะเห็นการเล่นเกมนี้ ดูเหมือนจีนเป็นชาติที่ครองความเหนือกว่ามากที่สุด อิทธิพลของวัฒนธรรมและเศรษฐกิจจีนกับประเทศในคาบสมุทรอินโดจีนยิ่งใหญ่มาก ดังนั้น ยุทธศาสตร์ “รวม-กระจาย” ของจีนก้าวแรก จึงสามารถทะลวงฝ่าวงล้อมของสหรัฐฯ ญี่ปุ่น และอินเดียไปได้
|
|
|
|
|