Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มีนาคม 2554
ชุมชนจีนใหม่ ที่กำลังเพิ่มขึ้น...เพิ่มขึ้น             
โดย เอกรัตน์ บรรเลง
 


   
search resources

International
Greater Mekong Subregion




การก่อกำเนิดขึ้นของเขตเศรษฐกิจพิเศษเมืองต้นผึ้ง สามเหลี่ยมทองคำฝั่ง สปป.ลาวที่กลุ่มดอกงิ้วคำ กลุ่มทุนใหญ่จากจีนได้รับสัมปทานพื้นที่กว่า 7,500 ไร่ เป็นเวลานานถึง 99 ปีก่อนที่จะพัฒนาเป็นโครงการ Kings Romans of Laos Asian & Tourism Development Zone เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ที่บ่งชี้ถึงการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในลุ่มน้ำโขงนับจากนี้!!

โครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษแห่งนี้ตั้งอยู่บริเวณสามเหลี่ยมทองคำ ริมแม่น้ำโขงฝั่งเมืองต้นผึ้ง แขวงบ่อแก้ว สปป.ลาว ตรงข้ามอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ของไทย ภายในแบ่งการพัฒนาเป็น 5 โซนหลักๆ คือ โซน A เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษเน้นด้านการค้า พาณิชยกรรม กาสิโน ฯลฯ โซน B เป็นกิจการท่าเรือ โซน C เป็นกิจการด้านวัฒนธรรม โซน D เป็นกิจการด้านโบราณสถาน และโซน E เป็นเขตการท่องเที่ยวธรรมชาติ

เฉพาะเขตการท่องเที่ยวยังได้แบ่งออกเป็น 6 โซน ได้แก่ 1-จัดให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับขุนส่า ซึ่งเกี่ยวข้องกับชายแดนด้านนี้ 2-เกาะดอนซาวโดยเกี่ยวข้องกับดอกงิ้วและตลาดสินค้าชายแดน 3-ชุมชนพม่าโดยจัดให้เป็นศูนย์กลางเกี่ยวกับชาวพม่า 4-โบราณสถานอาณาจักรสุวรรณโคมคำ 5-ท่าเรือบ้านมอมซึ่งมีตลาดและชุมชนชาวลาวด้วย และ 6-ธรรมชาติของสวนป่าและไม้ดอกไม้ประดับ

(อ่านเรื่อง “เซินเจิ้นลาว บนสามเหลี่ยมทองคำ” นิตยสารผู้จัดการ 360 ํ ฉบับเดือนมีนาคม 2552 หรือใน www. gotomanager.com ประกอบ)

ปัจจุบันโครงการนี้ได้ร่วมกับบริษัทท่องเที่ยวใหญ่ที่สุดในประเทศจีน เพื่อจะดำเนินการพัฒนาการท่องเที่ยวภายในโครงการร่วมกันแล้ว

ที่ผ่านมา การก่อสร้างคืบหน้าไปอย่างต่อเนื่อง ทั้งถนนคอนกรีตเสริมเหล็กครอบคลุมทุกพื้นที่ รวมถึงการตัดถนนจากโครงการเชื่อมกับเส้นทาง R3a (ไทย-สปป.ลาว-จีนตอนใต้) ตลอดจนอาคารสิ่งปลูกสร้างที่ทยอยแล้วเสร็จ โดยเฉพาะส่วนของกาสิโนที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ 2 หลัง โรงแรมขนาด 700 ห้อง ที่มีหลังคาบนสุดทรงมงกุฎ มองเห็นได้อย่างชัดเจนขณะอยู่ริมน้ำโขงฝั่งไทย พร้อมกับการทยอยเปิดให้บริการร้านค้า ร้านอาหาร ร้านกาแฟ สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ฯลฯ

“เราคาดว่าจะมีคนเข้ามาอยู่อาศัยในโครงการนี้ไม่น้อยกว่า 200,000 คน เมื่อโครงการเสร็จสมบูรณ์ในอีก 10 ปีต่อจากนี้” จ้าว เหว่ย ประธานบริษัทจินมู่เหมิน จำกัด ที่เข้ามารับช่วงดำเนินโครงการนี้จากกลุ่ม “ดอกงิ้วคำ” ที่เป็นผู้รับสัมปทานพัฒนาพื้นที่โดยตรงจาก สปป.ลาว กล่าวกับคณะนักธุรกิจสมาชิกสมาคมท่องเที่ยวเชียงราย ที่เดินทางเข้าเยี่ยมชมโครงการนี้เมื่อต้นเดือนมกราคมที่ผ่านมา (2554)

จ้าว เหว่ยบอกว่า ที่นี่จะได้รับการพัฒนาเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวครบวงจรในอนาคต บนเส้นทางท่องเที่ยวจากไทย ทั้งกรุงเทพฯ-เชียงใหม่-เชียงราย ผ่านเข้าพื้นที่โครงการเชื่อมต่อกับหลวงพระบาง เมืองมรดกโลกของ สปป.ลาว ต่อเนื่องไปถึงสิบสองปันนา คุนหมิง มณฑลหยุนหนันของจีน

เจิ้น ซิน หัวหน้าบัญชีและการประชาสัมพันธ์โครงการฯเสริมว่า นอกจากนี้ยังมีกลุ่มทุนทั้งจากจีน ไทย ฯลฯ อีกหลายรายที่สนใจเข้ามาร่วมพัฒนาพื้นที่กับเขา อย่างห้างสรรพสินค้าเอดิสันของไทย ก็เป็นกลุ่มหนึ่งที่ให้ความสนใจจะเข้ามาเปิดบริการในพื้นที่ของโครงการในอนาคต

เป็นชุมชนใหม่ติดกับพรมแดนภาคเหนือของไทยที่กำลังจะเกิดขึ้นในอีกไม่นานต่อจากนี้ ซึ่งแน่นอนว่า ผู้คนส่วนใหญ่ที่จะเข้ามา หนีไม่พ้นชาวจีน ที่เป็นเป้าหมายหลักในการดึงดูดให้เข้ามาใช้บริการของกลุ่มทุนที่ดำเนินโครงการนี้

เช่นเดียวกับเขตเศรษฐกิจพิเศษบ่อเต็น แขวงหลวงน้ำทา สปป.ลาว ติดกับพรมแดนเมืองลา มณฑลหยุนหนันของจีน ปลายทางของเส้นทาง R3a ที่กลุ่มทุนกาสิโนจีนได้สัมปทานพื้นที่จากรัฐบาลลาว พัฒนาเป็นเขตเศรษฐกิจเฉพาะขึ้นมาก่อนหน้านี้

ซึ่งทั้งสาธารณูปโภค สกุลเงิน ระเบียบข้อกฎหมาย ตลอดจนภาษาในการสื่อสาร ส่วนใหญ่ล้วนแต่เป็น “จีน” ทั้งสิ้น!!   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us