|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
“ถ้าดูแนวโน้มเศรษฐกิจ การค้า การลงทุนแล้ว เดิมอยู่ที่ตะวันตกแต่จากนี้ไปจะอยู่ที่ตะวันออกอย่างจีน อินเดีย เวียดนาม ซึ่งไทยจะก้าวทันหรือไม่อยู่ที่การสอนให้คนรู้ภาษาจีน มาถึงวันนี้การพลิกฟื้นเรื่องจีนศึกษาอาจไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลง แต่ไทยก็ต้องรีบทำ”
เป็นแนวคิดที่ดิษฐ์ ลินพิศาล ประธานมูลนิธิช่องฟ้าซินเซิงวาณิชบำรุง ผู้เป็นเจ้าของโรงเรียนช่องฟ้าซินเซิงฯ โรงเรียนสอนภาษาจีนชื่อดังของเชียงใหม่ บอกกับผู้จัดการ 360 ํ เมื่อปี 2552
(อ่านเรื่อง “ภาษาจีน อาวุธลับที่ซึมลึก” นิตยสารผู้จัดการ 360 ํ ฉบับเดือนตุลาคม 2552 หรือใน www.goto manager.com ประกอบ)
ซึ่งนั่นทำให้เขาวางแผนที่จะผลักดันให้ช่องฟ้าซินเซิงฯ เป็นแหล่งผลิตบุคลากรที่รู้ภาษาจีนป้อนเข้าสู่ตลาด แม้ว่าเขาจะมองเห็นปัญหากระบวนการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทย ที่ดำรงอยู่ก็ตาม
ดิษฐ์บอกว่า ที่ผ่านมานักเรียนจากช่องฟ้าซินเซิงฯ ถือว่าได้มาตรฐานระดับหนึ่ง ดูได้จากสัดส่วนการสอบเข้าโควตามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้เป็นอันดับต้นๆ รวมไปถึงการส่งนักเรียนเข้าสอบวัดระดับ HSK ซึ่งก็ได้ผลในระดับที่น่าพอใจพอสมควร แม้จะยังไม่ถึงกับดีมากก็ตาม
แต่เพื่อให้การเรียนการสอนภาษาจีนได้แน่นยิ่งขึ้น เขากำลังพยายามหาช่องทางประสานความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา หรือทางการจีน ที่ก่อนหน้านี้ก็ให้การช่วยเหลือทางโรงเรียน ทั้งด้านตำราเรียน สื่อการเรียนการสอน ตลอดจนส่งครูชาวจีนเข้ามาสอนอยู่แล้ว
ภายใต้เป้าหมายผลักดันให้ช่องฟ้าซินเซิงฯ พัฒนาเป็น Inter China School โดยใช้ภาษาจีน 100% ในการเรียนการสอน ตั้งแต่ระดับอนุบาลขึ้นไปจนจบการศึกษา ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างเตรียมงาน ยังไม่สามารถกำหนดได้ชัดเจนว่าจะดำเนินการได้ในปีการศึกษาหน้า (2554) นี้หรือไม่
นอกจากนี้ เพื่อเป็นการสร้างเส้นทางต่อยอดให้กับเด็กที่เรียนภาษาจีนมาตั้งแต่ระดับอนุบาล ประถม มัธยมปลาย ในอนาคตอาจจะพัฒนาให้ช่องฟ้าซินเซิงฯเป็น Training School หรือเป็นสถาบันการศึกษาที่เปิดสอนหลักสูตรครูภาษาจีน ที่ถือเป็นปัญหาหนึ่งของวงการศึกษาภาษาจีนในระยะที่ผ่านมาด้วย เพียงแต่โครงการนี้อาจจะต้องใช้เงินทุนจำนวนมาก ทั้งก่อสร้างอาคาร ปรับปรุงสื่อการสอนต่างๆ
หรืออีกแนวทางหนึ่งก็อาจจะเสนอให้มีการลงทุนตั้งวิทยาลัยขึ้นมา เพื่อเปิดหลักสูตรด้านการเรียนภาษาจีนเพื่อธุรกิจท่องเที่ยว หรือเพื่อการพาณิชย์ ฯลฯ ต่อยอดให้กับนักเรียนที่จบจากโรงเรียนสอนภาษาจีน แต่ไม่มีช่องทางที่จะเรียนต่อระดับอุดมศึกษาตามสายที่เรียนมาได้
ซึ่งทางมูลนิธิฯ ที่เป็นเจ้าของโรงเรียนช่องฟ้าซินเซิงฯ กำลังมองหาช่องทางสร้างรายได้เพิ่มจากทรัพย์สินของมูลนิธิฯ ที่มีอยู่คือ ที่ดินบนถนนช้างคลาน ซึ่งปัจจุบันได้ให้เช่าสร้างเป็นเชียงใหม่ ไนท์บาซาร์ ที่ระยะที่ผ่านมาก็เป็นแหล่งรายได้หลักจากค่าเช่าให้กับมูลนิธิอยู่แล้ว
สัญญาเช่าที่ดินแปลงนี้จะหมดสัญญาในราวเดือนมีนาคม 2557 ที่จะถึงนี้
โดยมูลนิธิฯ มีแผนงานที่จะเปิดประมูลใหม่ ขณะนี้ได้ให้ทางคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ออกแบบวางผังสิ่งปลูกสร้างใหม่ เพื่อเปิดให้นักลงทุนที่สนใจเข้ามาพัฒนาอยู่ เมื่อถึงเวลานั้นก็จะทำให้มูลนิธิฯ มีรายได้เข้ามาสนับสนุนแนวทางการพัฒนาโรงเรียนช่องฟ้าซินเซิงฯ ได้มากขึ้นด้วย
นี่เป็นความหวังหนึ่งของโรงเรียนสอนภาษาจีน และอาจเป็นความหวังของประเทศไทยด้วย ก่อนที่จะหลุดขบวน หรือปล่อยให้จีนใช้ไทยเป็นเพียงทางผ่านให้กับมณฑลทางตะวันตกเฉียงใต้ได้ออกสู่ตลาดโลกเท่านั้น
|
|
|
|
|