Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มีนาคม 2554
กระแสจีนกับการตั้งรับของโรงเรียนสอนภาษาจีน             
โดย เอกรัตน์ บรรเลง
 


   
search resources

Education
International
China
Greater Mekong Subregion
ชมรมโรงเรียนสอนภาษาจีนภาคเหนือ




การโหมพัฒนาเส้นทางคมนาคมจากมณฑลทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีนผ่านทุกทิศทาง ทั้งเวียดนาม ลาว ไทย พม่า เปิดทางเชื่อมสู่ทะเลทั้งฝั่งทะเลจีนใต้ อ่าวไทย ทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดีย ทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายทั้งสินค้า ทุน และประชากรในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงและอาเซียนอย่างต่อเนื่องตามเส้นทางคมนาคมสายต่างๆ อย่างรวดเร็ว

เป็นความเปลี่ยนแปลงที่มีผลทั้งสามารถสร้างและทำลายโอกาสให้คนในลุ่มน้ำโขงและอาเซียนได้ในคราวเดียวกัน ขึ้นอยู่ที่ว่า “เราพร้อมรับมือแค่ไหน”!!

สุทธิพงษ์ อดีตนักวิเคราะห์ข้อมูล หนุ่มลูกสองชาวเมืองพิษณุโลก พยายามหาเวลานำลูกสาวทั้ง 2 คนพร้อมภรรยาขับรถจากพิษณุโลก ตระเวนไปดูกระบวน การเรียนการสอนภาษาจีนของโรงเรียนหลายแห่งในภาคเหนือ รวมไปถึงขับรถขึ้นเขาสูงไปถึงดอยวาวี อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ที่มีโรงเรียนกวงฟูวิทยาคม โรงเรียนสอนภาษาจีนที่ก่อตั้งมานานกว่า 60 ปีตั้งอยู่ ก่อนจะมุ่งหน้าขึ้นไปบนดอยแม่สลอง ที่ตั้งของโรงเรียนซิงหัวที่นายพล ต้วน ซีเหวิน แห่งกองพล 93 ในอดีตผลักดันก่อตั้งขึ้น ฯลฯ

เพื่อเปรียบเทียบกับกระบวนการเรียนการสอนของโรงเรียนจีนอีกหลายแห่ง ในจังหวัดต่างๆ ของภาคเหนือ ทั้งซิ่นหมิน ของพิษณุโลก ช่องฟ้าซินเซิงวาณิชบำรุง ที่เชียงใหม่ โรงเรียนวัฒนศึกษาที่อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย โรงเรียนเจริญศิลป์ แพร่ โรงเรียนประชาวิทย์ ลำปาง ตี่มิ้ง แม่สอด จังหวัดตาก ฯลฯ

ด้วยเขาเชื่อว่า นับจากนี้เป็นต้นไป กระแสทุนจากจีนแผ่นดินใหญ่จะถาโถมลง มาตามลำน้ำโขงมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นเขาต้องเตรียมความพร้อม วางพื้นฐานเรื่องภาษาจีนให้ลูกสาว ไม่ให้หลุดขบวนจีนฟีเวอร์ที่กำลังขยายตัวรุกคืบมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างไม่หยุดยั้ง

เช่นเดียวกับผู้ปกครองอีกหลายคน ในพื้นที่ภาคเหนือ ที่เชื่อกันว่า ภาคเหนือจะเป็นหน้าด่านสำคัญที่คลื่นทุน สินค้าจากจีนจะไหลผ่านไปสู่ตลาดโลก ต่างต้องพยายามนำลูกหลานของตัวเอง ตระเวนหาที่เล่าเรียนภาษาจีน เป็นพื้นฐานภาษาที่ 3 รองรับมหาอำนาจใหม่อย่างจีน

(อ่าน “ตั้งรับอิทธิพลจีน” เรื่องจาก ปกของนิตยสารผู้จัดการ 360 ํ ฉบับเดือนตุลาคม 2552 หรือใน www.gotomanager.com ประกอบ)

เนื่องเพราะกระบวนการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทยดูเหมือนถูกปล่อยให้เป็นไปตามยถากรรม แม้จะมีโรงเรียนต่างๆ ทั้งที่สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) หรือ สำนักงานการศึกษาเอกชน (สช.) ตลอดจนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตลอดจนภาคเอกชนที่เปิดสอนภาษาจีนตามห้างสรรพสินค้าต่างๆ มากมายเป็นดอกเห็ด

หรือแม้แต่ในแผนยุทธศาสตร์ส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (พ.ศ.2549-2553) ก็มีเป้าหมายส่งเสริมให้นักเรียน นักศึกษาในระบบโรงเรียนทุกคน ได้เรียนภาษาจีนอย่างมีคุณภาพและผ่านเกณฑ์มาตรฐานตามสัดส่วน ดังนี้

- ร้อยละ 20 ของนักเรียนที่จบระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

- ร้อยละ 20 ของนักศึกษาที่สำเร็จ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)

- ร้อยละ 20 ของนักศึกษาที่สำเร็จ การศึกษาระดับปริญญาตรี

รวมทั้งสนับสนุนให้นักเรียน นักศึกษาที่มีความสามารถพิเศษทางภาษาจีนประมาณ 4,000 คน ได้รับการพัฒนาให้มีความเชี่ยวชาญในวิชาชีพเฉพาะทาง และกำหนดให้ประชากรวัยแรงงานได้เรียนภาษาจีนและใช้สื่อสารในการประกอบวิชาชีพจำนวน 100,000 คน

รวมไปถึงการทุ่มงบประมาณสนับ สนุนการเรียนการสอนภาษาจีนจากรัฐบาล กลางจีน ผ่านเฉียวปั้น (สำนักงานกิจการด้านจีนโพ้นทะเล) และฮั่นปั้น (กระทรวงศึกษาธิการของจีน) เพิ่มขึ้นทุกปี ปีละร่วม 20% ทั้งส่งครูเจ้าของภาษาเข้ามาเพิ่ม ขึ้นจากปี 2550 ที่จีนสนับสนุนส่งครูอาสา เข้ามาประจำการในโรงเรียนที่สังกัด สพฐ.-สช. และท้องถิ่น 639 คน ปี 2553 ที่ผ่านมาก็เพิ่มเป็น 1,208 คน, การสนับสนุนตำรา เรียนจีน-อุปกรณ์ สื่อการเรียนการสอน ฯลฯ

แต่ถึงวันนี้ ผลสัมฤทธิ์จากแผนยุทธศาสตร์นี้ยังคงเป็นคำถามอยู่ว่ามีมากน้อยเพียงใด

งานวิจัยหลากหลายชิ้น รวมไปถึงนักวิชาการด้านการศึกษา ต่างมองว่าการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทยขณะนี้ยังเป็นปัญหาทั้งเรื่องครูผู้สอนที่แม้จะมาจากประเทศเจ้าของภาษา แต่ไม่สามารถสื่อสารกับเด็กนักเรียนได้ หลักสูตร การเรียนไม่มีมาตรฐานกลาง ไม่มีเส้นทางอาชีพให้ผู้เรียนได้ต่อยอด ฯลฯ

“ที่แข็งจริงๆ ขณะนี้ ดูเหมือนจะมีเฉพาะโรงเรียนที่เบตง และกลุ่มโรงเรียนจีน ในพื้นที่กองพล 93 ในอดีต อย่างแม่สาย แม่สลอง ดอยวาวี รวมถึงบ้านอรุโณทัย ชายแดนแถวเชียงใหม่-แม่ฮ่องสอนเท่านั้น” ปณิธิ ตั้งผาติ ประธานชมรมโรงเรียนจีนภาคเหนือ ที่รวมตัวกันมาได้เป็นปีที่ 9 แล้ว บอกกับผู้จัดการ 360 ํ

(อ่านเรื่อง “หนีห่าว...สลามัท...เบตง” เรื่องจากปก นิตยสารผู้จัดการ 360 ํ ฉบับเดือนมีนาคม 2552 หรือใน www.goto manager.com ประกอบ)

ขณะที่โรงเรียนสอนภาษาจีนทั่วประเทศ ที่อยู่ในสังกัด สช. มากกว่า 114 โรง มีเพียงไม่เกิน 20 โรงเรียนเท่านั้นที่สอนเกิน 5 คาบขึ้นไปต่อสัปดาห์ ที่เหลือมีชั่วโมงเรียนภาษาจีน ประมาณ 1-2 คาบต่อสัปดาห์ รวมถึงโรงเรียนสอนภาษาจีนในภาคเหนือ เครือข่ายชมรมฯ ทั้ง 17 แห่ง ก็มีอยู่ไม่เกิน 5 แห่งเท่านั้น ที่มีกระบวน การเรียนการสอนค่อนข้างเข้มแข็ง

นั่นทำให้ระดับการรู้ภาษาจีนของประเทศไทยอยู่อันดับเกือบบ๊วยของอาเซียน เหนือกว่าเพียงอินโดนีเซียประเทศเดียวเท่านั้น แต่แพ้ทั้งพม่า ลาว กัมพูชา ฟิลิปปินส์ เวียดนาม มาเลเซีย และสิงคโปร์

ระยะที่ผ่านมา ชมรมโรงเรียนสอนภาษาจีนภาคเหนือได้เดินทางไปศึกษาดูงาน กระบวนการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศเพื่อนบ้านอาเซียนเหล่านี้ พบว่าในมาเลเซียมีโรงเรียนที่เปิดสอนภาษาจีน ร่วมกับภาษาอังกฤษและภาษามลายูหลายพันแห่ง เรียนตั้งแต่เช้าถึงบ่าย ทั้งระดับประถม มัธยม เด็กที่จบการศึกษาแล้ว สามารถเข้าเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัยในจีน สิงคโปร์ ไต้หวันได้หมด เพียงแต่ไม่สามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยรัฐในมาเลเซียได้เท่านั้น

ส่วน สปป.ลาวที่นครหลวงเวียง จันทน์มีโรงเรียนส่างโตที่ใช้หลักสูตรจากจีนมาสอนโดยตรง และทั่วทั้งประเทศมีโรงเรียนสอนภาษาจีนอยู่ประมาณ 8-9 แห่ง ซึ่งล้วนใช้กระบวนการเรียนการสอนแบบจีน เพียงแต่อาจจะเรียนช้ากว่าโรงเรียนในจีนประมาณ 2-3 ปี เมื่อเทียบระดับกัน แต่นักเรียนเหล่านี้สามารถเข้าเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัยของจีนได้เลย โดยไม่ต้องไปปรับพื้นฐานภาษาจีนอีก

(อ่านเรื่อง “อิทธิพลจีนในลาว หยั่ง ลึกกว่าที่คิด!!!” นิตยสารผู้จัดการ 360 ํ ฉบับเดือนสิงหาคม 2553 หรือใน www. gotomanager.com ประกอบ)

ขณะที่พม่านั้น ในพื้นที่ตอนเหนือติดกับจีน ทั้งลาเฉียว ตองยี มัณฑะเลย์ กล่าวได้ว่าเกือบทุกคนพูดภาษาจีนได้ การ เรียนการสอนภาษาจีนส่วนใหญ่จะดำเนินการผ่านวัดและศาลเจ้าที่เปิดสอนวันละ 4-6 ชั่วโมง คือ ช่วงเช้าตั้งแต่เวลา 06.00-08.00 น. และเย็นในเวลา 16.00-18.00 น. ส่วนเสาร์-อาทิตย์จะเรียนภาษาจีนกันวันละ 4 คาบ แต่ในพื้นที่พม่าตอนล่าง แถบเนปิดอหรือย่างกุ้งลงมา ความต้องการเรียน ภาษาจีนค่อยๆ เลือนหายไป เหลือเพียงสัญลักษณ์ศาลเจ้าเท่านั้น

แต่นั่นก็ยังหมายถึงเด็กพม่าเรียนภาษาจีน 1 ปียังได้มากกว่าที่เด็กไทยเรียน 4 ปี

(อ่านเรื่อง “เต๋อหง ช่องทางสินค้าจีนที่ไทยไม่อาจมองข้าม” นิตยสาร ผู้จัด การ 360 ํ ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ 2552 หรือใน www.gotomanager.com ประกอบ)

อย่างไรก็ตาม ยังมีปัญหาสำคัญคือ เรื่องการต่อยอด เพราะเด็กที่จบจากโรงเรียนสอนภาษาจีนเหล่านี้ ไม่มีช่องทางในการเข้าเรียนต่อในระดับมัธยมปลาย และอุดมศึกษารองรับมากนัก

ซึ่งทำให้เด็กที่เรียนโรงเรียนสอนภาษาจีนจำนวนมาก เปลี่ยนเส้นทางเดินในช่วงที่กำลังขึ้นชั้นมัธยมปลาย และอุดมศึกษา ทิ้งภาษาจีนที่น่าจะเป็น “ต้นทุน” ที่สำคัญยิ่งในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง และอาเซียน นับจากนี้เป็นต้นไป

เพื่อรับมือกับกระแสทุน คน สินค้า จีนที่จะทะลักลงมามากขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคตนับจากนี้ไป เครือข่ายโรงเรียนสอน ภาษาจีนในภาคเหนือ ที่เกาะเกี่ยวกันเป็นชมรมฯ พยายามหาช่องทางปรับกระบวน ทัพการเรียนการสอนภาษาจีนใหม่ให้เข้มข้นมากขึ้น

เริ่มจากเมื่อประมาณ 6 ปีที่แล้ว ชมรมฯ ได้ร่วมมือกับหยุนหนันนอร์มอล เปิดหลักสูตรเรียนทางไกลการสอนภาษาจีนระดับปริญญาตรีขึ้น มีครูสอนภาษาจีนในประเทศไทยเข้าเรียนเป็นรุ่นแรกทั้งสิ้น 71 คน (ล่าสุดเหลือผู้เรียน 42 คน) โดย ใช้เวลาช่วงปิดเทอมเข้ามาเรียนจากครูเจ้าของภาษา ตามหลักสูตรของจีน ซึ่งจะหมุนเวียนกันใช้สถานที่ตามโรงเรียนต่างๆ ในเครือข่าย เช่น ประชาวิทย์ฯ ลำปาง, ตี่มิ้ง แม่สอด ฯลฯ เป็นต้น

“รุ่นแรกจะจบหลักสูตรเดือนเมษายน 2554 นี้ ซึ่งผู้เรียนทั้งหมดจะได้รับวุฒิการศึกษาปริญญาตรีจากหยุนหนันนอร์มอล แต่พวกเขาต้องเดินทางไปสอบครั้งสุดท้ายที่จีนให้ผ่านก่อน” ประธานชมรมโรงเรียนสอนภาษาจีนภาคเหนือกล่าว และอธิบายเพิ่มเติมว่า

“เราหวังว่า ครูสอนภาษาจีนที่ผ่านกระบวนการเรียนตามหลักสูตรจีนมาทั้งหมด จะช่วยแก้ปัญหาการสอนภาษาจีน ตามโรงเรียนต่างๆ ที่สังกัดอยู่ได้ ทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากขึ้น”

พร้อมกันนี้ ปณิธิได้ตั้งเป้าหมายที่จะผลิตครูสอนภาษาจีนป้อนให้กับโรงเรียน ต่างๆ จนทำให้ปริมาณครูอยู่ในระดับที่เหมาะสมกับจำนวนนักเรียนที่ไม่เกิน 2 คน ต่อนักเรียน 100 คน หรือจะให้ดีก็คือ ต้องสร้างครูสอนภาษาจีน 2 คน ต่อนักเรียนไม่เกิน 80 คนให้ได้ รวมทั้งผลักดันให้ใช้ตำราเรียนจีน 12 เล่มในการสอน โดยมีผลการสอบวัดระดับ HSK เป็นตัวชี้วัด

ขณะเดียวกัน เพื่อแก้ปัญหาการต่อ ยอดแก่เด็กในโรงเรียนสอนภาษาจีนให้มีเส้นทางเดินในอนาคตที่ชัดเจน หลายโรงเรียนในเครือข่ายชมรมฯ เริ่มมองหาช่องทางที่จะขยายชั้นเรียน รวมถึงเปิดหลักสูตรใหม่ให้กับลูกศิษย์ของพวกเขาใช้เป็นทางเลือกมากขึ้น

เช่น ที่ตี่มิ้ง อำเภอแม่สอด จังหวัด ตาก ที่มีมูลนิธิแม่สอดสามัคคีการกุศลหนุน หลังมาอย่างต่อเนื่อง มีโครงการที่จะเปิดชั้นมัธยมปลายในปีการศึกษา 2554 นี้

โดยมีโควตาเรียนต่อระดับอุดมศึกษาในจีน เป็นช่องทางรองรับการต่อยอดให้กับเด็กนักเรียนเหล่านี้ต่อไป   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us