|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
จากการที่ผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำและการจัดการชายฝั่งจากเนเธอร์แลนด์จำนวน 6 คน เดินทางมารวบรวมปัญหาในพื้นที่ชายฝั่งอ่าวไทยตอนบน เพื่อเสนอแนวทางการดำเนินการระยะยาวในการจัดการและพัฒนาพื้นที่ดังกล่าว โดยมีศูนย์จัดการความรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภายใต้ความร่วมมือระหว่างสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติและจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยและผู้เชี่ยวชาญต่างๆ ได้ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะเบื้องต้น 3 ประเด็น ดังนี้
หนึ่ง-ไทยมีความตระหนักเรื่องปัญหาน้ำ ทั้งน้ำจืดและน้ำทะเลอย่างมาก โดยดูได้จากการมีหน่วยงานต่างๆ มากมาย แต่คณะผู้เชี่ยวชาญสังเกตเห็นอย่างชัดเจนว่าการดำเนินการที่มี ขาดเอกภาพและไม่สามารถบริหารจัดการที่ดินและน้ำในพื้นที่ชายฝั่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขณะที่ในอนาคตการเปลี่ยนแปลงต่างๆ จะยิ่งทำให้ปัญหาต่างๆ มีความรุนแรงมากขึ้น ทั้งจากสภาพภูมิอากาศ การขยายตัวของประชากรและการเติบโตทางเศรษฐกิจ คณะผู้เชี่ยวชาญฯ จึงเสนอแนะให้มีการจัดตั้งหน่วยงานเพื่อจัดการพื้นที่และทรัพยากรในพื้นที่วิกฤติแบบบูรณาการ โดยหน่วยงานดังกล่าวต้องสามารถรายงานตรงกับคณะรัฐมนตรีได้
สอง-การเปลี่ยนแปลงต่างๆ ทั้งทางกายภาพและทางสังคมที่จะเกิดขึ้นในอนาคต จะเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องและน่าจะมีอัตราเร่งที่เพิ่มขึ้นในระยะยาว ดังนั้นกรอบเวลาของการวางแนวทางเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ต้องมองให้ยาวกว่าระยะ 20-50 ปี ซึ่งเป็นกรอบเวลาที่นิยมใช้กันสำหรับการวางแผนการดำเนินการในระดับปฏิบัติการ ซึ่งคณะผู้เชี่ยวชาญฯ ได้เสนอแนะให้ทำแผนระยะยาวในบริบทของการเปลี่ยนแปลงทางสังคม สิ่งแวดล้อมและภูมิอากาศที่ควรมีกรอบเวลาอย่างน้อย 100 ปี หรือนานกว่านั้น โดยใช้วิธีการคาดการณ์ภาพอนาคตที่หลากหลายและบูรณาการปัจจัยต่างๆ เข้าด้วยกัน เพื่อใช้เป็นพื้นฐานในการวิเคราะห์เชิงนโยบายของทางเลือกต่างๆ เพื่อการจัดการพื้นที่ชายฝั่งทะเลนี้
สาม-ระบบเพื่อป้องกันน้ำท่วมของเขตเมืองของกรุงเทพมหานครในปัจจุบัน ต้องออกแบบเพื่อยอมให้น้ำท่วมได้เพียง 1 ครั้งในรอบ 100 ปี (หรือคาบการเกิดซ้ำ 100 ปี) ซึ่งถือว่าเสี่ยงมากเมื่อเทียบกับเกณฑ์ที่ใช้ในเมืองใหญ่อื่นๆ ที่มีความสำคัญในระดับเดียวกัน เช่น ฮานอย ยอมให้เกิดน้ำท่วมได้ 1 ครั้งในรอบ 250 ปี นิวออร์ลีนส์ 1 ครั้งในรอบ 500 ปี ลอนดอน 1 ครั้งในรอบ 1,000 ปี และเขตชุมชนขนาดใหญ่ในเนเธอร์แลนด์ 1 ครั้งในรอบ 10,000 ปี ดังนั้นคณะผู้เชี่ยวชาญจึงเสนอให้มีการทบทวนแนวทางการออกแบบระบบป้องกันน้ำท่วมของพื้นที่เมืองที่มีความสำคัญอื่นๆ ด้วย ไม่ใช่เฉพาะกรุงเทพมหานคร
|
|
|
|
|