Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มีนาคม 2554
แผ่นดินที่หายไปที่ “ขุนสมุทรจีน”             
โดย ชัชวัสส์ คติพิพัฒน์พร วรรณวณัช สุดจินดา
 

   
related stories

แผ่นดินที่หายไป
“เสียดินแดน” และ “แนวป้องกัน” กรณีศึกษา: “โคกขาม” “บางขุนเทียน” และ “ขุนสมุทรจีน”
คนเฝ้าแผ่นดินที่โคกขาม
บางขุนเทียน: ด่านหน้ารักษาดินแดน
คิดแบบชาวบ้าน...ทำได้ทำเลย
การแก้ไขต้องเริ่มต้นจากความรู้และปัญหาที่แท้จริง

   
search resources

Environment




การแก้ปัญหาการกัดเซาะของชุมชนชายฝั่งหลายพื้นที่เริ่มตั้งหลักได้ คือความหวังที่ทำให้ชาวชุมชนบ้านขุนสมุทรจีน ตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ เชื่อว่าพวกเขาก็น่าจะมีวิธีหยุดการกัดเซาะชายฝั่งได้เช่นกัน อีกทั้งพื้นที่แห่งนี้ยังเป็นพื้นที่ของเขื่อนป้องกันการกัดเซาะต้นแบบที่เป็นงานวิจัยของนักวิชาการจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภายใต้ชื่อโครงการเขื่อนกั้นคลื่น 49A2 อีกด้วย

“ในอดีตบริเวณนี้มีแผ่นดินเต็มไปหมด ปัจจุบันทะเลรุกเข้ามาหลายกิโลเมตร ที่น่ากลัวที่สุดก็คือ หมู่ 8 หายไปจากแผนที่ประเทศไทยแล้ว” ผู้ใหญ่สมร เข่งสมุทร ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 9 ตำบลแหลมฟ้าผ่าบอกกับทีมงานผู้จัดการ 360 ํ

ในอดีตชุมชนบ้านขุนสมุทรจีนเป็นชุมชนชายฝั่งที่หากินกับทะเล พื้นที่นี้เป็นพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรสัตว์น้ำ ทุกคนจึงไม่จำเป็นที่จะต้องมีที่ทำกินเป็นของตนเอง มีเพียงที่ปลูกบ้าน ที่อยู่อาศัยก็เพียงพอแล้ว

“ผู้คนที่นี่มีแต่ที่อยู่อาศัย ไม่มีที่ทำกิน ซึ่งก็ไม่ได้เดือดร้อนอะไรเพราะแค่ออกไปหาหอย หาปู ก็พออยู่พอกินซึ่งถือว่าพอเพียงแล้ว ได้วันละ 200-300 บาท วันไหนได้น้อย 50-60 บาทก็ไม่ขาดทุนเพราะเราไม่มีต้นทุน ไม่ได้ใช้เครื่องมือที่ต้องใช้น้ำมัน พูดง่ายๆ คือใช้มือเก็บสัตว์น้ำนั่นเอง” ผู้ใหญ่สมรบอกกับทีมงานด้วยสีหน้ายิ้มแย้ม แต่ปัญหาใหญ่สุดที่ชาวบ้านและผู้ใหญ่สมรต้องเผชิญอยู่ก็คือปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งที่นับวันยิ่งจะรุนแรงขึ้นทุกที เนื่องจากลักษณะทางภูมิศาสตร์ของชายฝั่งซึ่งมีระนาบขององศาที่อยู่ในเกณฑ์ชันมาก

เมื่อถามว่าปัญหาการกัดเซาะได้เริ่มขึ้นเมื่อใด ผู้ใหญ่สมรบอกว่า เริ่มมาตั้งแต่อดีต แล้ว เป็นภัยธรรมชาติ โดยดูได้จากลึกลงไปในทะเล 2-3 เมตรมีการขุดพบชุมชนโบราณชุมชนหนึ่งซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่า มีการกัดเซาะชายฝั่งหรือแผ่นดินมาตั้งแต่ครั้งโบราณ เลยทีเดียว

อีกทั้งภาพถ่ายในอดีตสมัยที่ผู้ใหญ่สมรยังสาวๆ เธอหยิบมาโชว์กับผู้จัดการ 360 ํ แสดงให้เห็นว่าชายฝั่งทะเลอยู่ห่างจากหมู่บ้านในปัจจุบันประมาณ 2 กิโลเมตร กว่า หลังหมู่บ้านก็จะเป็นวัดขุนสมุทรจีน ซึ่งห่างจากหมู่บ้านประมาณกิโลเมตรกว่าๆ และจากหมู่บ้านนั้นก็ห่างจากชายฝั่งปัจจุบันอีกประมาณ 1 กิโลเมตร

ปัจจุบันวัดขุนสมุทรจีนถูกน้ำกัดเซาะจนกลายเป็นเกาะไปแล้ว จากเนื้อที่วัดเป็น 100 ไร่ตอนนี้เหลืออยู่แค่ 5-6 ไร่ เมื่อรวมระยะการกัดเซาะเปรียบเทียบพื้นที่จากอดีตที่มีหลักฐานภาพถ่ายก็พบว่า น้ำทะเลกัดเซาะเข้ามาเป็นระยะกว่า 5 กิโลเมตรแล้ว นี่ยังไม่รวมข้อมูลจากผู้เฒ่าผู้แก่ที่บอกว่าเคยมีการกัดเซาะมากกว่า 10 กิโลเมตรในอดีต

“นี่มันไม่ใช่เรื่องปกติแล้วนะ จะเห็น ว่าแนวเสาไฟฟ้าที่อยู่ไกลๆ ในทะเลนั่น

เมื่อก่อนปักบนดิน ตอนนี้แผ่นดินหายหมด แล้วเหลือแต่เสาไฟฟ้าซึ่งห่างจากตลิ่งตั้ง 2 กิโลเมตร” ผู้ใหญ่สมรเปรียบเทียบระยะการกัดเซาะ

ผู้ใหญ่สมรเชื่อว่าสาเหตุหลักของการกัดเซาะ ส่วนใหญ่แล้วเกิดจากธรรมชาติและ ภูมิศาสตร์ของชายฝั่งเอง ส่วนที่มีผู้บอกว่าเกิดจากการตัดไม้ทำลายป่าและทำบ่อเลี้ยงกุ้ง ในพื้นที่นั้นเป็นความจริงเพียงบางส่วน เพราะว่าการตัดไม้ในพื้นที่นั้นเป็นการใช้ภูมิปัญญา ของชาวบ้านซึ่งตกทอดมาจากบรรพบุรุษ ที่สั่งสอนไว้ว่าเวลาตัดไม้ไปใช้ให้แบ่งป่าไม้ออก เป็นแปลงๆ อย่าตัดทีเดียวหมด เมื่อตัดแปลงที่หนึ่งแล้วให้ปลูกเสริมรอโต ในขณะที่ตัดแปลงที่สองและที่สามในระยะต่อมา แปลงที่หนึ่งก็จะโตให้หมุนเวียนมาตัดใหม่ได้อีก และ อีกอย่างหนึ่งก็คือป่าถูกทำลายโดยน้ำทะเลกัดเซาะเข้ามา ชาวบ้านถึงไปตัดไม้ที่มันล้มอยู่ ส่วนการทำนากุ้งนั้น อย่าลืมว่าชาวบ้านไม่มีที่ทำกิน ดังนั้นการทำบ่อเลี้ยงกุ้งจึงเป็นของนายทุนซึ่งชุมชนไม่สามารถไปยับยั้งได้ แต่ปัจจุบันนี้นากุ้งก็ไม่มีแล้วเนื่องจากพื้นที่ถูกกัดเซาะไปหมด

ภูมิปัญญาชาวบ้านเรื่องการตัดไม้ของขุนสมุทรจีนไม่ต่างจากหลักการทำป่าไม้ที่ใช้กันในยุโรปหรือประเทศที่เจริญแล้วทั่วโลก ซึ่งถือเป็นแนวทางการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน มีการใช้แบบหมุนเวียน เพราะโดยหลักวิชาการแล้วไม้ที่โตเต็มที่จะมีปริมาณการเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ในต้นไม้ได้ต่ำกว่าไม้ที่อยู่ระหว่างเติบโต การตัดทิ้งแล้วให้ไม้รุ่นใหม่เติบโตจะเป็นผลดีต่อโลกมากกว่า แต่ด้วยความไม่เข้าใจบวกกับความโลภของมนุษย์ จึงนิยมที่จะฆ่าห่านทองคำไปเป็นอาหารมากกว่าจะรอเก็บไข่ไปขาย

การแก้ปัญหาของพื้นที่ขุนสมุทรจีนในช่วงแรกๆ เป็นการนำหินไปถมบริเวณชายฝั่ง เพื่อป้องกันการกัดเซาะ และยังคงทำต่อเนื่องแม้ในปัจจุบัน รอบวัดขุนสมุทรจีนที่มีกำแพงหินล้อมรอบ

“พวกเราทอดผ้าป่า ทอดกฐินที่วัด ได้เงินมาเท่าไหร่ก็ไปซื้อหินมาลงหมด เพราะเราต้องการรักษาพื้นที่วัดตรงนี้ไว้” ผู้ใหญ่สมรพูดด้วยแววตาที่มีความวิตกกังวล

ระยะหลังบ้านขุนสมุทรจีนจึงเริ่มปักแนวไม้ไผ่ ตามอย่างชุมชนชายฝั่งในเครือข่าย แต่สำหรับที่นี่ไม้ไผ่ไม่สามารถป้องกันคลื่นที่ความแรงมากกว่า

โดยเฉพาะคลื่นลมในฤดูที่พัดจากฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งพัดเข้าปะทะพื้นที่เต็มๆ ไม้ไผ่ที่ปักไว้ถึงกับหลุดไปตามกระแสน้ำ

อย่างไรก็ตาม ทางชุมชนได้ขอความช่วยเหลือไปยังหน่วยงานราชการและเอกชนต่างๆ ผล ที่ได้กลับมาก็คือ บางหน่วยงานก็ไม่สนใจ หน่วยงานที่สนใจก็ไม่ได้ทำตามความต้องการของชาวบ้าน ยกตัวอย่างเช่น ไส้กรอกทราย ซึ่งไม่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่เท่าที่ควร เวลาไส้กรอกทรายแตกจะทำให้ทรายในถุงไหลออกมาปนเปื้อนกับหาดโคลนทำให้ระบบนิเวศเปลี่ยนไป รวมไปถึงเศษถุงที่ห่อหุ้ม ทรายก็กลายเป็นขยะในทะเล

ในความคิดของผู้ใหญ่สมรบอกว่า สิ่งที่ชาวบ้านต้องการคือเสาไฟฟ้าที่ไม่ได้ใช้แล้ว เพื่อนำมาปักไว้เป็นเขื่อนชะลอคลื่น การปักเสาไฟเป็นความคิด ของชาวบ้านที่เชื่อว่าสามารถจะต้านทานคลื่นได้ แต่จากที่นักวิชาการนำโดย รศ.ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์ สกุล จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเข้ามาศึกษาวิจัย ออกแบบเขื่อนสลายกำลังคลื่นที่มีชื่อว่า “ขุนสมุทรจีน 49A2” ก็เป็นผลงานที่ชาวบ้านตอบรับว่าใช้ได้ผล

ขุนสมุทรจีน 49A2 ทำให้ชั้นตะกอน หลังเขื่อนเพิ่มขึ้น ให้ชาวบ้านเพิ่มพื้นที่ป่าได้เห็นเป็นรูปธรรม แต่น่าเสียดายที่งบประมาณสำหรับงานวิจัยนี้หมดแล้ว ทั้งๆ ที่เพิ่งเริ่มดำเนินการเป็นระยะทางของเขื่อนแค่ 250 เมตรเท่านั้น ขณะที่สภาพปัญหาในพื้นที่ยังไม่หมดไป เนื่องจากความ ยาวของบ้านขุนสมุทรจีน มีมากกว่า 2 กิโลเมตร ดังนั้นชาวชุมชนเลยช่วยตัวเองด้วยการขอการสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนต่างๆ ซึ่งชาวชุมชนก็ยังรองบประมาณนี้ด้วยจิตใจที่มีความหวังว่าจะหยุดการกัดเซาะพื้นที่ชายฝั่งในขณะเดียวกันก็เพิ่มแผ่นดินและป่าชายเลนให้กับประเทศชาติ

“หลายคนมาทำงานวิจัยที่นี่แล้วก็เงียบไป มีแต่ความคิดในอนาคต แต่เราอยู่ กับพื้นที่เรารอพวกนี้ไม่ได้ นักวิจัยบางท่าน กล่าวว่า ถ้าจะแก้ไขที่นี่ต้องอีกประมาณ 50 ปี แต่ผมว่าถ้ารออีก 50 ปี รับรองว่าบ้านขุนสมุทรจีนหายไปจากแผนที่ประเทศ ไทยแน่นอน” วิษณุ เข่งสมุทร ลูกชายของผู้ใหญ่สมรและนักวิจัยชุมชนท้องถิ่นกล่าวกับผู้จัดการ 360 ํ

แนวคิดของวิษณุก็คือ แทนที่จะเสียงบวิจัยเพื่อขุนสมุทรจีน สู้เอางบตัวนี้มาทำเขื่อนสลายคลื่นดีกว่า แล้วทยอยปลูกป่าชายเลนที่หลังเขื่อน

ผู้ใหญ่สมรและลูกชายค่อนข้างเชื่อในประสิทธิภาพของขุนสมุทรจีน 49A2 เพราะ เห็นว่าไม้ไผ่ที่ใช้ได้ผลในพื้นที่อื่น แต่ต้านทานแรงลมในพื้นที่นี้ไม่ได้

“บางครั้งถ้าจะแก้ไขปัญหาในชุมชน ต้องให้ชุมชุนเข้ามามีส่วนในการแก้ปัญหาด้วย แม้เราจะมีคนนอกเข้ามาช่วยทำเขื่อนสลายคลื่น ซึ่งต้องขอบคุณทั้ง สกว.และจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยที่ส่งบุคลากรเข้ามาช่วยพร้อมกับทุนในการทำเขื่อน โครงการของเรายังจะช่วยไม่ให้กรุงเทพฯ กลายเป็นเมืองบาดาลดังคำนาย เราขอแค่แผ่นดินบ้านขุนสมุทรจีนนี้เป็นเหตุการณ์สุดท้ายที่ถูกผลพวงของภัยธรรมชาติ และการถูกกัดเซาะจากน้ำทะเล แผ่นดินที่เหลือนี้เราจะรักษาไว้ให้ชาติ และจะช่วยกันปลูกป่าเพื่อตอบโจทย์และเป็นวิธีการแก้ปัญหาที่ดีที่สุดในเวลานี้ เพื่อให้ลูกหลานของเราได้มีใช้กันต่อไป” วิษณุกล่าวทิ้งท้าย

แนวคิดและวิธีการแก้ปัญหาของบ้านขุนสมุทรจีน โคกขาม และบางขุนเทียนต่างก็ได้จากการเรียนรู้ธรรมชาติและทดลองปฏิบัติจริงในแต่ละพื้นที่ตามสภาพทางภูมิศาสตร์ ชายฝั่งที่แตกต่างกัน มีการลองผิดและลองถูก ประโยชน์ที่พวกเขาได้รับจากการเรียนรู้จนเข้าใจธรรมชาติ จนกระทั่งรู้ว่าต้องจัดการแก้ไขปัญหาในธรรมชาติเพื่อชุมชนอย่างไรนั้น ล้วนแล้วแต่เป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่ปลายเหตุ ซึ่งไม่สามารถตามทันการเปลี่ยน แปลงธรรมชาติที่แปรปรวนมากขึ้นและยังไม่สิ้นสุด พวกเขาก็ได้แต่หวังว่าต่อจากนี้ไปอีก 50 ปี 100 ปีข้างหน้า ผู้มีความรู้และมีอำนาจมากกว่าเขาจะมีส่วนช่วยเข้ามาวางแผนระยะยาวเพื่อสร้างความยั่งยืนของชุมชนเหล่านี้ให้คงอยู่กับผืนแผ่นดินไทยไปตราบนานเท่านาน แทนที่จะปล่อยพวกเขาอยู่กับการแก้ปัญหาไปวันๆ หรือซ้ำร้ายอาจจะต้องรอเผชิญกับภัยพิบัติที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตอย่างที่หวั่นกลัวกันเช่นนี้ต่อไป   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us