Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มีนาคม 2554
“เสียดินแดน” และ “แนวป้องกัน” กรณีศึกษา: “โคกขาม” “บางขุนเทียน” และ “ขุนสมุทรจีน”             
โดย ปิยาณี รุ่งรัตน์ธวัชชัย ชัชวัสส์ คติพิพัฒน์พร วรรณวณัช สุดจินดา
 

   
related stories

แผ่นดินที่หายไป
คนเฝ้าแผ่นดินที่โคกขาม
บางขุนเทียน: ด่านหน้ารักษาดินแดน
คิดแบบชาวบ้าน...ทำได้ทำเลย
แผ่นดินที่หายไปที่ “ขุนสมุทรจีน”
การแก้ไขต้องเริ่มต้นจากความรู้และปัญหาที่แท้จริง

   
search resources

Environment
วรพล ดวงล้อมจันทร์
ศูนย์เรียนรู้อนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมหาชัย




ถ้าพูดถึงการสูญเสียแผ่นดินของประเทศไทย คนส่วนใหญ่ก็มักจะมองถึงการบุกรุก ยึดครองหรือข้อพิพาททางชายแดนระหว่างประเทศเท่านั้น แต่จะมีสักกี่คนที่ได้รับรู้ถึงการสูญเสียดินแดนหรือแผ่นดินตามแนวชายฝั่งทะเล ซึ่งนั่นรวมถึง การสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติที่อยู่ในพื้นที่นั้นๆ ด้วย เหมือนเหตุการณ์การสูญเสียดินแดนในพื้นที่อ่าวไทยตอนบน หรือที่รู้จักในเชิงสัญลักษณ์ว่า “อ่าว ก.ไก่” ปัญหาของการสูญเสียดินแดนทำให้ชุมชนในพื้นที่นี้ ต้องเรียนรู้วิธีการป้องกันและแก้ปัญหาด้วยตัวเอง และเป็นการต่อสู้กับการเปลี่ยน แปลงสภาพอากาศโลกหรือธรรมชาติผู้กำหนดชะตาชีวิตมนุษย์อย่างน่าสนใจ

เริ่มต้นจาก 3 พื้นที่ชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตอนบน หรือส่วนหัวของตัว ก. ในอ่าว ก.ไก่ ฝั่งหนึ่งอยู่เลียบไปทางชายฝั่งด้านขวาของทะเลกรุงเทพฯ (เมื่อเราหันหน้าไปทางอ่าวไทย) หรือพื้นที่หมู่ที่ 3 ตำบลโคกขาม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทร สาคร และอีกฝั่งเลียบไปทางชายฝั่งซ้าย คือพื้นที่หมู่ที่ 9 บ้านขุนสมุทรจีน ตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัด สมุทรปราการ ตรงกลางคือบางขุนเทียน แนวกันชนของคนกรุงเทพฯ

ทั้ง 3 พื้นที่เป็นชุมชนชายฝั่งที่มีวิถีชีวิตแบบประมงน้ำเค็มธรรมชาติและประมงพื้นบ้าน ซึ่งเป็นภูมิปัญญาที่สะสมและสืบต่อกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ จึงมีวิถีชีวิตที่คล้ายกัน แต่สภาพทางภูมิศาสตร์ชายฝั่งกลับแตกต่างกัน ส่งผลให้ปัญหาที่เกิดขึ้นในแต่ละชุมชนแตกต่างกัน แต่ก็ยังมีปัญหาหนึ่งที่เหมือนกันก็คือปัญหาแผ่นดินถูกกัดเซาะจากคลื่นน้ำทะเล

สิ่งสำคัญที่เหมือนกันของทั้ง 3 พื้นที่ก็คือ ชาวบ้านยังมีความรักและหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติในบ้านเกิด ทำให้เกิดกระบวนการขับเคลื่อนของชุมชนเพื่อที่จะอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและผืนแผ่นดิน ของตนเอง แต่ละพื้นที่ต่างก็มีวิธีแก้ไขปัญหา ของตนเอง แม้ว่าจะมีเป้าหมายที่เหมือนกัน โดยหลักการว่าการแก้ไขนั้นๆ จะต้องช่วยลดการกัดเซาะชายฝั่งของคลื่นทะเลและช่วยเพิ่มตะกอนดินเลนเพื่อใช้เป็นพื้นที่ปลูก ป่าชายเลนขึ้นมาใหม่ แทนที่ป่าชายเลนเดิม ที่หายไป โดยหวังว่าป่าชายเลนรุ่นใหม่นี้จะเป็นแนวป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งที่ยั่งยืนและให้ประโยชน์แก่วิถีชีวิตชุมชนให้กลับมาสมบูรณ์ได้ดังเดิม   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us