|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
แม้ว่า “บัณฑูร ล่ำซำ” จะบอกว่าชีวิตที่เหลือคือประเทศจีนก็ตาม หากในแง่ธุรกิจธนาคารกสิกรไทยยังต้องสร้างสัมพันธ์กับประเทศอื่นด้วย โดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่นที่ลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์อย่างมหาศาลในตลาดไทย
ณ ห้องมิตรสมาน ชั้น 9 ธนาคารกสิกรไทย สาขาถนนพหลโยธิน “บัณฑูร ล่ำซำ” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ ใช้เปิดรับอาคันตุกะสำคัญ จากชิสึโอกะแบงก์ โดยมีคะสึโนริ นาคานิชิ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการเข้าร่วม
นับเป็นครั้งแรกของทั้งสองธนาคารร่วมเซ็นสัญญากันอย่างเป็นทางการภายในประเทศเพื่อร่วมมือให้บริการด้านการเงินให้กับนักธุรกิจญี่ปุ่นที่เดินทางมาลงทุนในไทย
ธนาคารชิสึโอกะเป็นธนาคารท้องถิ่นขนาดใหญ่ในจังหวัด ชิสึโอกะ ที่มีภูเขาไฟฟูจิเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์สำคัญของประเทศญี่ปุ่น ธนาคารชิสึโอกะอยู่ในจังหวัดที่มีอุตสาหกรรมธุรกิจคมนาคมขนาดใหญ่ โดยเฉพาะธุรกิจรถยนต์ เช่น โตโยต้า ฮอนด้า ยามาฮ่า ซูซูกิ มีลูกค้าสินเชื่อราว 23,000 ราย ส่วนใหญ่ประกอบ ธุรกิจระดับเอสเอ็มอี ฐานลูกค้าอาศัยอยู่ในจังหวัดชิสึโอกะเป็นหลัก ทำให้ธนาคารมีข้อจำกัดด้านการให้บริการลูกค้าที่ออกไปลงทุนในต่างประเทศ เพราะมีสาขาในต่างประเทศไม่มากนัก
สาขาในต่างประเทศเปิดอยู่ในลอสแองเจลิส นิวยอร์กและฮ่องกง มีสำนักงานตัวแทนที่สิงคโปร์ เซี่ยงไฮ้ และบริษัทสาขาที่บรัสเซลส์
ความร่วมมือกับชิสึโอกะแบงก์ไม่ได้ผิวเผินเพราะธนาคารจะส่งเจ้าหน้าที่จากประเทศญี่ปุ่น มาร่วมทำงานอยู่ในธนาคารกสิกรไทยอีก 2 คน ซึ่งบัณฑูรมองว่าเป็นการพัฒนาความสัมพันธ์ เพื่อประสานงานในอนาคตให้มากขึ้น แต่กสิกรไทยได้คาดหวังไว้ว่าความร่วมมือในครั้งนี้จะทำให้ธนาคารมียอดธุรกรรมทางการเงินเพิ่ม 4 พันล้านบาท
ในขณะที่ประธานกรรมการบริหารของธนาคารชิสึโอกะ ให้เหตุผลที่เลือกธนาคารกสิกรไทย เพราะธนาคารมีบุคลากรที่สามารถพูดภาษาญี่ปุ่นได้ถึง 35 คน ทำให้ง่ายต่อการติดต่อธุรกิจ
แต่ธนาคารไม่ได้เลือกกสิกรไทยเพียงรายเดียว เพราะก่อนหน้านี้ได้ร่วมมือกับธนาคารกรุงเทพ เพื่อให้บริการลูกค้าญี่ปุ่นที่ปัจจุบันมี 120 บริษัท และจะเพิ่มเป็น 180 บริษัทในเร็วๆ นี้ เพราะมองว่าประเทศไทยมีศักยภาพในการเป็นฐานการผลิตรถยนต์และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์
บริษัทญี่ปุ่นเข้ามาลงทุนในประเทศไทยประมาณ 7,000 บริษัท เป็นลูกค้าธนาคารกสิกรไทยราว 2,500 แห่ง หรือมีสินเชื่อ ประมาณ 2 หมื่นล้านบาท มีส่วนแบ่งการตลาดอยู่ร้อยละ 12
ปริมาณลูกค้าจำนวนมากที่ใช้บริการการเงินของธนาคารกสิกรไทย ทำให้ธนาคารมีนโยบายชัดเจนจะเจาะกลุ่มลูกค้าญี่ปุ่น
ความจริงจังของกสิกรไทยทำให้วางเป้าหมายไว้ว่าจะเป็น ผู้ให้บริการสินเชื่อบริษัทญี่ปุ่นเป็นอันดับหนึ่ง เริ่มต้นจากเพิ่มส่วน แบ่งการตลาดเป็นร้อยละ 18 ในปี 2555
เป้าหมายของธนาคารไม่ได้เพิ่มส่วนแบ่งการตลาดเท่านั้น แต่ในด้านกลยุทธ์ ธนาคารได้เข้าไปตั้งสำนักงานตัวแทนในโตเกียว เมื่อเดือนตุลาคม 2553 เพื่อแสวงหาลูกค้าในพื้นที่โดยตรง และคาดหวังจะร่วมมือกับธนาคารท้องถิ่นจังหวัดละ 1 แห่ง โดยใช้วิธีการร่วมมือกับธนาคารท้องถิ่นที่มีข้อจำกัดสาขาในต่างประเทศ
ก่อนจะมีการเซ็นสัญญากับชิสึโอกะแบงก์ กสิกรไทยได้ไป เซ็นสัญญากับธนาคารญี่ปุ่นจำนวน 15 แห่ง ในประเทศญี่ปุ่นเพื่อให้บริการในรูปแบบเดียวกัน แต่ชิสึโอกะแบงก์มีความร่วมมือ ก้าวหน้ากว่าธนาคารอื่นๆ
ความร่วมมือและความต่อเนื่องเพื่อสร้างความสัมพันธ์กับแบงก์ญี่ปุ่นและผู้ประกอบการญี่ปุ่นของกสิกรไทยกำลังเป็นไปอย่างเข้มข้น เพราะงานนี้ “บัณฑูร ล่ำซำ” บิ๊กบอสพูดชัดเจนว่าธนาคารต้องก้าวเป็นอันดับหนึ่งและอยู่ในใจของลูกค้าญี่ปุ่น
|
|
|
|
|