Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์8 มีนาคม 2554
ธุรกิจโรงพยาบาลไทยยุครวมตัวสู้ศึก “บำรุงราษฎร์” ยันกลยุทธ์โตเดี่ยว กลุ่ม รพ.กรุงเทพรับผลเด้ง 2 ต่อ             
 


   
search resources

โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
กรุงเทพดุสิตเวชการ, บมจ.
Hospital




แรงกระเพื่อมหลังจากกรุงเทพดุสิตเวชการ (บีจีเอช) หรือกลุ่ม ร.พ.กรุงเทพ ได้เข้าไปซื้อหุ้น ร.พ.บำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล (บีเอช) ในสัดส่วนถึง 11.11% รวมมูลค่า 2,717 ล้านบาท (แบ่งเป็นการซื้อหุ้นสามัญจำนวน 46,116,400 หุ้น คิดเป็นสัดส่วน 6.32% และใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์ (NVDR) จำนวน 35,000,000 หน่วย คิดเป็นสัดส่วน 4.79%)

ในช่วงกลางเดือน ก.พ.ที่ผ่านมา ได้สร้างความตื่นตะลึงให้กับแวดวงธุรกิจโรงพยาบาลของไทยอีกครั้ง เพราะในเดือน ธ.ค.ที่ผ่านมา กลุ่ม ร.พ.ยักษ์ใหญ่รายนี้เพิ่งเข้าควบรวมกิจการกับกลุ่ม ร.พ.พญาไท ด้วยวงเงินกว่า 9,825 ล้านบาท

ทำให้กลุ่ม ร.พ.กรุงเทพมีธุรกิจโรงพยาบาลเพิ่มขึ้นอีก 8 แห่ง จาก 2 เครือพญาไท และเปาโล จากเดิมที่มีธุรกิจโรงพยาบาลอยู่แล้ว 19 แห่ง จากเครือโรงพยาบาลกรุงเทพ สมิติเวช และบีเอ็นเอช ว่ากันว่า หากนับการควบรวมกิจการกับกลุ่ม ร.พ.พญาไท และการเข้าไปซื้อหุ้นใน ร.พ.บำรุงราษฎร์ ครั้งนี้ จะทำให้กลุ่ม ร.พ.กรุงเทพ มีขนาดสินทรัพย์ และรายได้ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของเอเชีย รองจากโรงพยาบาลในออสเตรเลียทันที

อย่างไรก็ตาม แม้การเข้าไปซื้อหุ้นในครั้งนี้ของกลุ่ม ร.พ.กรุงเทพ จะสร้างความไม่พอใจให้กับ “เดนนิส บราวน์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ และทีมบริหาร เนื่องจากฝ่ายบริหารของ ร.พ.บำรุงราษฎร์ ไม่ได้รับการติดต่อจากกลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทและกลุ่ม ร.พ.กรุงเทพ เกี่ยวกับการซื้อขายหุ้นดังกล่าวแต่อย่างใด

ผู้บริหารกลุ่มธุรกิจโรงพยาบาลขนาดใหญ่แห่งหนึ่ง ระบุถึงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในครั้งนี้กับ “ผู้จัดการ 360 องศา รายสัปดาห์” ว่า สะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มการควบรวมกิจการในธุรกิจโรงพยาบาลของไทย และกำลังจะกลายเป็นเทรนด์ใหม่ที่จะร้อนแรงขึ้นเรื่อยๆ

เขาอธิบายว่า การขยับธุรกิจในครั้งนี้ของกลุ่ม ร.พ.กรุงเทพ ได้แสดงให้เห็นถึงความทะเยอทะยาน ในการเสริมสร้างความแข็งแกร่ง ด้วยรูปแบบการให้บริการและฐานลูกค้าที่ครบวงจร พร้อมที่จะก้าวขึ้นเป็นผู้นำในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เพื่อเปิดรับการเปิดเสรีอาเซียนในปี 2558 เพราะการซื้อหุ้นใน ร.พ.บำรุงราษฎร์ เมื่อรวมกับของเดิมที่ควบรวมกิจการกับกลุ่ม ร.พ.พญาไท จะทำให้การเจาะกลุ่มลูกค้าระดับบนมีความแข็งแกร่งยิ่งขึ้น ขณะที่ ร.พ.เปาโล ก็จะเป็นตัวขับเคลื่อนลูกค้าระดับกลางได้ดี

จากการทำวิจัยของบริษัทบอสตัน คอนเซ้าท์ติ้งกรุ๊ป พบว่า ในปี 2555 จะมีนักท่องเที่ยวจากต่างชาติที่เข้ามาใช้บริการด้านการแพทย์ในไทยคิดเป็นมูลค่า 4.5 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 25% ของรายได้ทั้งโลก ขณะที่ภาพรวมของธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนก็เติบโตขึ้นปีหนึ่งมากกว่า 10% เพราะคนมีกำลังซื้อมาก โดยเฉพาะโรงพยาบาลในตลาดหลักทรัพย์บางแห่งเติบโตมากกว่า 25% ขณะที่ลูกค้าต่างชาติเข้ามามากกว่าปีละ 1.5 ล้านคน

แหล่งข่าวรายเดิมย้ำว่า กระแสการควบรวมจะเริ่มทยอยให้ห็นมากขึ้นเรื่อยๆ ในปีนี้ เพื่อเปิดรับตลาดอาเซียน โดยในอนาคตอาจจะเหลือโรงพยาบาลกลุ่มใหญ่เพียง 2-3 กลุ่มในเมืองไทย เพราะฉะนั้นโรงพยาบาลใดไม่มีเครือข่ายคงจะลำบาก โดยเฉพาะโรงพยาบาลที่เกิดใหม่ ถ้าไม่มีเครือข่ายหรือพันธมิตรจะเสียเปรียบในการแข่งขันทันที เนื่องจากจะทำให้การต่อรอง ไม่ว่าจะเป็นภาพพจน์ของการรับบุคลากร การจัดซื้อยา และเครื่องมือแพทย์ รวมไปถึงการแชร์ข้อมูลและโนว์ฮาวต่างๆ จะสู้กับโรงพยาบาลที่มีเครือข่ายไม่ได้

กระนั้น นพ.บุญ วนาสิน ประธานกรรมการกลุ่มโรงพยาบาลธนบุรี แสดงความเห็นว่า การจับมือหรือการควบรวมกิจการโรงพยาบาลมีทั้งข้อดีและเสีย ข้อดีคือ สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ เพราะการมีขนาดที่ใหญ่จะช่วยลดต้นทุน และแชร์เซอร์วิส รวมไปถึงเทคโนโลยีร่วมกันได้

แต่ข้อเสียคือ อาจจะทำให้ราคาในการรักษาเพิ่มขึ้นได้ เพราะถ้าโรงพยาบาลกลุ่มนี้สามารถคุมตลาดได้ก็จะกำหนดราคาได้ตามอำเภอใจ ขณะที่โรงพยาบาลเล็กจะแข่งขันได้ลำบาก แต่ก็ไม่ได้รับผลกระทบมากนัก เพราะเป็นคนละตลาดกันอยู่แล้ว นอกจากนี้ในมุมมองของหมอบุญมองว่าโรงพยาบาลไม่ควรมองแต่เรื่องธุรกิจมากเกินไป ควรจะมองถึงคนไข้เป็นสำคัญ

“ภาพของการควบรวมไม่ได้มีให้เห็นแต่ในประเทศไทยเท่านั้น ต่างประเทศก็มีภาพนี้ให้เห็น อย่าง โรงพยาบาลในมาเลเซียก็หันไปซื้อโรงพยาบาลที่สิงคโปร์ นอกจากนี้ ในอินเดียก็มีเข้าไปซื้อคลินิกที่ฮ่องกง หรือในไทยเองขณะนี้ก็จะมีกลุ่มนักลงทุนกลุ่มโฟทีสกรุ๊ปจากอินเดียสนใจที่จะเข้ามาซื้อโรงพยาบาลในไทย”

สำหรับกลุ่มโรงพยาบาลธนบุรีไม่ได้รับผลกระทบจากการควบรวม เนื่องจากจับตลาดล่าง และสามารถควบคุมต้นทุนได้ดี นอกจากนี้ คุณภาพของการรักษาก็ไม่แพ้ระดับบนแต่ประหยัดค่าใช้จ่ายในการรักษาได้ถึง 30% และการที่ไม่เข้าตลาดหลักทรัพย์ทำให้ไม่ได้รับผลกระทบมากนัก เพราะถ้าเข้าตลาดต้นทุนจะสูงไปด้วย

ปัจจุบันโรงพยาบาลธนบุรีในกรุงเทพฯ มี 2 สาขา คือ ธนบุรี 1 และ 2 จำนวน 2,200 เตียง โดยปีนี้ธนบุรี 2 จะลงทุนเพิ่มเติม 500 ล้านบาท ส่วนต่างจังหวัดมี 15-16 แห่ง โดยไม่ได้ใช้ชื่อธนบุรีเพียงอย่างเดียวใช้ชื่ออื่นด้วย เช่น ราชยินดี ที่หาดใหญ่ นอกจากนี้ ยังรับบริหารให้กับโรงพยาบาลของ อบจ.ภูเก็ต จำนวน 140 เตียง ซึ่งปีนี้จะลงทุนเพิ่ม 50 ล้านบาท และโรงพยาบาลตำรวจแผนกอินเตอร์ โดย ร.พ.มีรายได้จากการรับจ้างบริหารปีละ 100 กว่าล้านบาท

ส่วนการขยายตัวในต่างประเทศมีการขยายตัวไปจีน โดยไปร่วมทุนกับกลุ่ม Wjing ของทหาร เพื่อทำโรงพยาบาล 2 แห่ง และร่วมทุนกับกลุ่มเอกชนอีก 1 แห่ง ซึ่งหมอบุญบอกว่าจากนี้ไปธนบุรีจะบุกตลาดจีนมากขึ้น เนื่องจากประเทศจีนเป็นประเทศที่มีประชากรมาก และมีโอกาสในการเข้าทำตลาดสูง และการที่ประเทศไทยนั้นเตียงมีปริมาณมากกว่าคนไข้ ทำให้ ร.พ.หลายแห่งหันไปขยายตัวที่จีนไม่น้อย

ทว่า ดร.สมชาย ภคภาสวิวัฒน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านกลยุทธ์การแข่งขัน รองศาสตราจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กลับให้มุมมองว่า การเข้าซื้อหุ้นหรือการควบรวมกิจการของ ร.พ.ในปัจจุบันถือว่ามีปริมาณที่มากเกินไปแล้ว เพราะจะส่งผลให้ ร.พ.กลายเป็นธุรกิจจนเกินไป นอกจากนี้ การควบรวมกิจการกันหรือสร้างเป็นเครือจะทำให้เกิดภาพคล้ายกับการฮั้วกัน คือไม่มีการแข่งขันกันก็เหมือนกับฮั้วกันแล้ว และเชื่อว่าภาพแบบนี้จะมีให้เห็นอยู่อีกเรื่อยๆ โดยอาจจะเป็นเครืออื่นๆ อย่าง เครือโรงพยาบาลปิยะเวท

“การควบรวมกิจการ การซื้อหุ้นของ ร.พ.ในต่างประเทศไม่มีรูปแบบนี้ ผมอยู่ยุโรปมาหลายสิบปีไม่มีภาพแบบนี้เกิดขึ้นเลย โดนส่วนตัวแล้วคิดว่าไม่ควรมีการผูกขาดหรือรวมตัวกันแบบนี้ แต่ ร.พ.ควรจะเป็นแบบเดี่ยวๆ เพื่อจะได้แข่งขันกัน”

ด้าน เดนนิส บราวน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ (BH) เปิดเผยถึงกรณีบริษัทกรุงเทพดุสิตเวชการ (BGH) ผู้บริหารโรงพยาบาลกรุงเทพ ได้เข้าซื้อหุ้นของบริษัทคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 11% ของทุนจดทะเบียนว่า เป็นการเข้ามาซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ตามปรกติ ซึ่งการซื้อขายหุ้นดังกล่าวไม่ได้เป็นการสะท้อนถึงทิศทางใหม่และกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจของบริษัท หรือเป็นการครอบงำกิจการ และไม่ได้มีผลกระทบต่อโครงสร้างการจัดการ

ส่วนการเข้ามาถือหุ้นดังกล่าวจะนำไปสู่การควบรวมกิจการในอนาคตหรือไม่นั้น เขากล่าวว่า ขึ้นอยู่กับผู้ถือหุ้นใหญ่ของทั้ง 2 กลุ่มว่าจะตัดสินใจอย่างไรในอนาคต ซึ่งในฐานะฝ่ายบริหารไม่สามารถตอบได้ แต่ปัจจุบันทาง รพ.บำรุงราษฎร์มีศักยภาพทั้งทางด้านบุคลากรและฐานะทางการเงินในการดำเนินธุรกิจได้โดยไม่ต้องควบรวมกิจการกับกลุ่มใด แม้จะมีการเปิดเสรีอาเซียนแล้วก็ตาม ก่อนหน้านี้ตนก็เคยบริหารงานโรงพยาบาลในสหรัฐอเมริกามาก่อน ซึ่ง ร.พ.ในสหรัฐฯ สามารถดำเนินธุรกิจไปได้โดยที่ไม่มีเครือข่าย

อย่างไรก็ตาม การที่กลุ่ม ร.พ.กรุงเทพจะส่งตัวแทนเข้ามาร่วมเป็นทางการได้หรือไม่นั้น จะต้องได้รับเสียงสนับสนุนกว่า 50% ในการประชุมผู้ถือหุ้น ซึ่งจะมีการประชุมวันที่ 24 ก.พ.นี้ ในฐานะฝ่ายบริหารก็จะไม่บรรจุประเด็นเกี่ยวกับการเข้ามาซื้อหุ้นดังกล่าวเข้าเป็นวาระการประชุม แต่หากผู้ถือหุ้นต้องการทราบข้อมูลก็พร้อมจะชี้แจง

ในแง่ของศักยภาพในการขยายธุรกิจในต่างประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มอาเซียน ทางโรงพยาบาลมีความพร้อมอยู่แล้ว โดยไม่จำเป็นต้องควบรวมกับใคร และในขณะนี้กำลังวางแผนที่จะสร้างโรงพยาบาลแห่งใหม่ในฮ่องกง คาดว่าจะใช้เงินลงทุนประมาณ 300 ล้านดอลลาร์ ซึ่งจะเปิดประมูลในปี 2555 ส่วนธุรกิจในประเทศปีนี้ บริษัทคาดว่าจะมีรายได้เติบโต 10% จากปีก่อน ตามการขยายตัวของยอดคนไข้ที่เข้ารับการรักษา

อย่างไรก็ดี ที่ผ่านมา ร.พ.บำรุงราษฎร์มีความชำนาญในการรับบริหาร ร.พ.อยู่แล้ว เพราะรับบริหารอยู่ที่อาบูดาบี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ นอกจากนี้ ยังมีแนวทางที่จะขยายการลงทุนไปยังเวียดนาม จีน อินเดีย

เบื้องลึก ร.พ.กรุงเทพย่องซื้อบำรุงราษฎร์
แผนเพิ่มมูลค่าหุ้น+รับมือเปิดเสรี

เป็นที่รู้กันว่าการซื้อหุ้นบริษัทโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ (BH) ของกลุ่มโรงพยาบาลกรุงเทพ โดยใช้เงินกว่า 2.7 พันล้านบาท นั้น ได้สร้างความไม่พอใจต่อผู้บริหาร ร.พ.บำรุงราษฎร์ เพราะกลุ่ม ร.พ.กรุงเทพไปซื้อหุ้นในตลาดก่อนที่จะมีข้อตกลงร่วมกัน

มีการวิเคราะห์กันว่า ปฏิบัติการรุกคืบในครั้งนี้ของกลุ่ม ร.พ.กรุงเทพ ต้องการนำไปสู่การเพิ่มขนาดเครือข่ายให้กลายเป็นเครือโรงพยาบาลที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย ตามนโยบายของ “นพ.ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ” ประธานคณะผู้บริหารและกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) ที่ประกาศวิสัยทัศน์ เมื่อครั้งที่ควบรวมกิจการเครือ ร.พ.กรุงเทพ และกลุ่ม ร.พ.พญาไท

ทว่า “วิชัย ทองแตง” ประธานกรรมการ บริษัท ประสิทธิ์พัฒนา จำกัด (มหาชน) กลับวิเคราะห์ว่า การเข้าไปซื้อหุ้นโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ของเครือโรงพยาบาลกรุงเทพเป็นการซื้อเพื่อลงทุนอย่างหนึ่ง เนื่องจากปริมาณหุ้นที่ซื้อไม่ได้มากแค่ 11% เท่านั้นเอง ไม่ใช่การเข้าไปซื้อเพื่อสร้างเครือข่าย หรือเทกโอเวอร์เพราะบำรุงราษฎร์ใหญ่เกินไป และการควบรวมจะต้องถือหุ้นมากกว่า 50% เหมือนกับเมื่อปลายปี 2553 ที่เครือ ร.พ.กรุงเทพเข้ามาควบรวมกิจการ ร.พ.พญาไท โดยถือหุ้น 66% ซึ่งปัจจัยที่เครือ ร.พ.กรุงเทพเลือกซื้อ ร.พ.บำรุงราษฎร์ เนื่องจากมีผลประกอบการดี มีชื่อเสียงดีเยี่ยมมาโดยตลอด นอกจากนี้ มองว่าเป็นการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันในตลาดต่างประเทศมากกว่า

ขณะที่แหล่งข่าวในวงการธุรกิจโรงพยาบาลอีกรายหนึ่ง ระบุว่า การซื้อหุ้นของ ร.พ.กรุงเทพครั้งนี้ถือว่ามีนัยสำคัญในลักษณะของ Money Game ลักษณะสร้างวอลุ่ม เพราะจะสะท้อนกำไรหุ้นของ ร.พ.กรุงเทพเอง เนื่องจากจิตวิทยาพาไป สังเกตได้จากทุกครั้งที่มีกระแสข่าว ร.พ.กรุงเทพลงทุนในกิจการใดๆก็แล้วแต่ มูลค่าหุ้นของ ร.พ.กรุงเทพจะสูงขึ้นมาทันที

หากย้อนกลับไปในอดีตก็จะพบว่า ร.พ.กรุงเทพได้มีการลงทุนหรือเข้าไปถือหุ้นในโรงพยาบาลต่างๆ ในลักษณะนี้มาแล้ว ไม่ว่าจะเป็น ร.พ.รามคำแหงที่เข้าไปถือหุ้นถึงกว่า 30% ร.พ.กรุงธน 16% หรือกลุ่มพญาไทที่ก่อนจะควบรวมกิจการก็ถืออยู่ถึง 19% หรือล่าสุดเข้ามาถือหุ้นบำรุงราษฎร์ถึง 11%

ทั้งนี้ในเดือน ธ.ค.53 ราคาหุ้น ร.พ.กรุงเทพ ก่อนที่จะควบรวมกับกลุ่ม ร.พ.พญาไท ราคาหุ้นอยู่ในระดับ 38 บาทต่อหุ้น แต่เมื่อควบรวมกันแล้วก็ขึ้นมาอยู่ที่ระดับราคา 47 บาทต่อหุ้น และขึ้นมาอยู่ที่ 54 บาทต่อหุ้นในช่วงนี้

เขากล่าวต่อว่า นอกจากนี้ยุทธศาสตร์การลงทุนของเครือ ร.พ.กรุงเทพในลักษณะโฮลดิ้ง คอมปะนี ยังช่วยเป็นเกราะป้องกันในกรณีที่ต่างชาติจะเข้ามาเทกโอเวอร์กิจการในราคาถูกๆ อีกด้วย จากเดิมที่ผู้ก่อตั้งถือหุ้นในลักษณะของเบี้ยหัวแตกประมาณ 10-20% ซึ่งจะคุมเสียงไม่ได้ แต่ถ้าเป็นโฮลดิ้ง คอมปะนีจะทำให้มาร์เกตแคปใหญ่ แชร์โฮลเดอร์มีความมั่นคงแข็งแรง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us