Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์8 มีนาคม 2554
แบงก์แลนด์ฯ เร่งขยายสินเชื่อธุรกิจ รองรับขยับชั้นสู่แบงก์พาณิชย์เต็มตัว             
 


   
search resources

Banking
ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์เพื่อรายย่อย




ภารกิจด่วนของธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ฯ ที่ต้องเร่งทำในเวลานี้ คือ การยกระดับจากธนาคารรายย่อยเป็นธนาคารพาณิชย์ และการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ภายในไตรมาส 2 หลังจากที่ต้องชะลอแผนมาหลายครั้ง เนื่องจากปัจจัยภายนอกไม่เอื้ออำนวย แม้ธนาคารจะมีความพร้อมในทุกด้าน ทั้งจำนวนทุนจดทะเบียนเป็นไปตามเกณฑ์เพื่อขอเป็นธนาคารพาณิชย์ และได้ยื่นไฟลิ่งเพื่อเตรียมเสนอขายหุ้นแก่ประชาชนทั่วไปแล้วก็ตาม หากสถานการณ์ต่อจากนี้ไม่พลิกผัน แบงก์แลนด์ฯ สามารถเดินตามแผนที่ตั้งไว้ทั้งหมด ภายในปี 2556 ธนาคารจะมีสินทรัพย์รวม 145,000 ล้านบาท เติบโตขึ้น 33% จากปี 2548 ที่ธนาคารเริ่มดำเนินธุรกิจเป็นปีแรก และมีมาร์เก็ตแชร์ 1-1.2% ของการปล่อยสินเชื่อทั้งระบบ จากปัจจุบันอยู่ที่ 0.8%

ปัจจุบันธนาคารมีขนาดสินทรัพย์อยู่ในอันดับที่ 14 ของระบบธนาคารพาณิชย์ โดยผลประกอบการในปี 2553 มีสินทรัพย์รวม 62,363 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 25.6% โดยการเพิ่มขึ้นส่วนใหญ่มาจากสินเชื่อธุรกิจในกลุ่มเอสเอ็มอี ที่เติบโตสูงกว่า 100.8% ส่งผลให้สัดส่วนสินเชื่อธุรกิจต่อสินเชื่อรวมเพิ่มขึ้นจาก 25% ในปี 2552 มาอยู่ที่ 38% ของสินเชื่อรวมในปี 2553 มีหนี้ด้อยคุณภาพ 1.46% ซึ่งต่ำที่สุดในระบบธนาคารพาณิชย์ และได้กันสำรองหนี้สูญในสัดส่วน 142.8% มีเงินฝากและตั๋วแลกเงินรวม 44,861 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.7% แบ่งเป็นเงินฝาก 27,089 ล้านบาท ตั๋วแลกเงิน 11,772 ล้านบาท มีสัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากและตั๋วแลกเงิน 94.7% เพิ่มขึ้น 84.7% เป็นผลจากการเติบโตของสินเชื่อเอสเอ็มอีอย่างก้าวกระโดด และมีจำนวนลูกค้าเงินฝากเพิ่มขึ้น โดยลูกค้ารายย่อยที่มีเงินฝากต่ำกว่า 1 ล้านบาท มีจำนวน 11,574 ราย คิดเป็น 91.5% ของจำนวนผู้ฝากเงินทั้งหมด ซึ่งมาจากการออกแคมเปยเงินฝากที่ตรงใจลูกค้า

ด้านกำไรสุทธิอยู่ที่ 587 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 49% โดยมาจากการขยายตัวของสินเชื่อและเงินลงทุน ซึ่งเติบโตอย่างต่อเนื่องจากฐานลูกค้าเก่าและใหม่ ส่งผลให้กำไรสุทธิก่อนภาษีต่อสินทรัพย์รวมเพิ่มจาก 0.94% ในปี 2552เป็น 1.06% ในปี 2553

ศศิธร พงศธร กรรมการผู้จัดการ ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ เพื่อรายย่อย กล่าวว่า กระบวนการยกระดับเป็นธนาคารพาณิชย์และกระบวนการเสนอขายหุ้นแก่ประชาชนทั่วไป (IPO) เพิ่มเตรียมเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ในสัดส่วน 14-15% คิดเป็นมูลค่าไม่ต่ำกว่า 2,000 ล้านบาท ซึ่งจะมีผลทำให้สัดส่วนผู้ถือหุ้นเดิมลดลงรายละ 15% ทั้งสองเรื่องเป็นกระบวนการที่จะดำเนินการควบคู่กันไป โดยกระบวนการยกระดับเป็นธนาคารพาณิชย์ขณะนี้อยู่ระหว่างรอกระทรวงการหลังพิจารณา ก่อนจะส่งให้ธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งธนาคารมองว่าเป็นเรื่องสำคัญ เพราะการยกระดับเป็นธนาคารพาณิชย์จะมีโอกาสทางธุรกิจมากกว่าการเป็นเพียงธนาคารเพื่อรายย่อย แผนธุรกิจของธนาคารหลังจากที่ได้รับการยกระดับแล้ว จะเริ่มขยายธุรกิจสู่การปล่อยสินเชื่อที่หลากหลายมากขึ้น เช่น สินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีความเสี่ยงต่ำ และกลุ่มที่เป็นช่องว่างตลาด ซึ่งสินเชื่อทั้งระบบรวม 8 ล้านล้านบาท แต่ธนาคารยังมีสัดส่วนในกลุ่มนี้ไม่มากนัก

นอกจากนี้ในปี 2556 เป็นปีที่ธนาคารตั้งเป้าจะเป็น 1 ใน 5 ผู้นำในตลาดสินเชื่อที่อยู่อาศัย ซี่งก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะปัจจุบันมีธนาคารอาคารสงเคราะห์ และธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่หลายแห่งเป็นเจ้าตลาดอยู่ โดยแบงก์แลนด์ฯ มองว่า ไม่ใช่การเป็นผู้นำในแง่เม็ดเงินสินเชื่อ แต่หมายถึงในแง่ Top of Mind ที่ผู้บริโภคจะนึกถึงเป็นอันดับแรกๆ เมื่อต้องการซื้อบ้าน โดยจะเน้นเรื่องความแตกต่างของการให้บริการและเงื่อนไข เช่น บริการสินเชื่อดิลิเวอรี่ถึงบ้าน กู้นาน 40 ปี ผ่อนชำระได้ยาวจนผู้กู้อายุถึง 70 ปี เป็นต้น ไม่ใช้การแข่งขันด้านราคา เติบโตจากลูกค้าใหม่มากกว่าการรีไฟแนนซ์ และธนาคารมีแผนจะแตกไลน์สินเชื่อไปสู่กลุ่มธุรกิจใกล้เคียง เช่น ผู้รับเหมา จากปัจจุบันที่ปล่อยสินเชื่อเฉพาะกลุ่มผู้ซื้อบ้านเท่านั้น โดยมีสัดส่วน 60% ของพอร์ต

แผนในปี 2554 ธนาคารตั้งเป้าสินเชื่อเติบโตไม่ต่ำกว่า 20% และขยายฐานเงินฝากโดยใช้สาขาในการบุกเบิกเพื่อเข้าหากลุ่มลูกค้าใหม่ โดยจะเพิ่มสาขาใหม่ 10-15 แห่ง กระจายไปตามแหล่งชุมชนและภูมิภาคมากขึ้น จากปัจจุบันที่มี 31 สาขา และเพิ่มสัดส่วนสินเชื่อธุรกิจเป็น 50% ของพอร์ต จากเดิม 40%   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us