Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2527








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2527
คอนติเนนตัล-อิลลินอยส์ ธนาคารท้องถิ่นสหรัฐฯ แต่ต้องพึ่งเงินฝากต่างประเทศ             
 

   
related stories

คอนนิเนนตัล-อิลลินอยส์บทเรียนที่แบงก์ไทยควรสังวรไว้
CINB มาไทยให้ความมั่นใจไตรมาสที่ 4 กำไรดีมาก

   
search resources

Banking and Finance
ธนาคารคอนติเนนตัลอิลลินอยส์แห่งชาติ




มีน้อยคนจะรู้ว่า CIBN เป็นธนาคารท้องถิ่นมากกว่าเป็น international bank

70% ของธุรกิจของ CIBN อยู่ในสหรัฐฯ

ในขณะที่ 70% ของธนาคารใหญ่ๆ เน้นการเงินระหว่างประเทศ

สถานที่ตั้งของ CIBN เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ CIBN เติบโตเร็วมาก เพราะ CIBN เป็นธนาคารขนาดใหญ่ที่สุดที่ตั้งอยู่ในแถว Mid-west ซึ่งเป็นศูนย์รวมของรัฐอุตสาหกรรมใหญ่ๆ ทั้งสิ้น เช่น อุตสาหกรรมรถยนต์ ฯลฯ

ธนาคารใหญ่ๆ ในสหรัฐฯ ส่วนใหญ่จะตั้งอยู่ในชายฝั่งตะวันออกและมีบางส่วนจะอยู่ชายฝั่งตะวันตก

พวกธนาคารใหญ่เหล่านี้พยายามจะเข้ามามีสาขาใน mid-west แต่ก็เข้าไม่ได้เพราะติดขัดที่กฎหมายของรัฐแถบนั้นซึ่งกีดกันไว้

CIBN เป็นผู้ให้กู้รายใหญ่ที่สุดกับบรรดา corporations ทั้งหลาย

ปัญหาของ CIBN เริ่มเมื่อประมาณปี ค.ศ. 1982 (2525) ซึ่งก่อนหน้านั้น CIBN มีผลกำไรดีมาก

จากการที่ CIBN เป็นผู้ให้กู้รายใหญ่กับบริษัทใหญ่ๆ ของสหรัฐฯ ในยุคที่ดอกเบี้ยขึ้นสูงสุดถึง 20% ในปี ค.ศ. 1981 (2524) มีหลายบริษัทใหญ่ๆ ซึ่งเป็นลูกค้าของ CIBN ต้องประสบปัญหาเงินแพงจนต้องพับไปเป็นแถว เช่น international harvestor หรือสายการบิน barniff ฯลฯ เป็นต้น บรรดาลูกหนี้เหล่านี้เมื่อมีการเจรจาหนี้กันขึ้นมา หนี้ก้อนนั้นก็ต้องถูกแยกออกมาต่างหากเป็น non-performing loan ทันที ตามกฎหมายของสหรัฐฯ

ต่อมาก็เป็นหนี้ไม่ดีของกลุ่มประเทศละตินอเมริกา ซึ่งก็มีเม็กซิโก 699 ล้านบาท บราซิล 476 ล้าน เวเนซุเอลา 436 ล้าน

ในปี ค.ศ. 1980 CINB ได้มองไปที่ตลาดน้ำมันว่าเป็นตลาดหนึ่งที่มีธุรกิจที่ไปได้ดี จึงเริ่มติดต่อธนาคาร Penn square ซึ่งอยู่ในเมืองโอคลาโฮมา

ธนาคาร Penn Square แท้ที่จริงแล้วเป็นธนาคารนายหน้าสำหรับพวกธุรกิจขุดเจาะ น้ำมัน ซึ่งถ้าต้องการเงินกู้โครงการก็จะให้ Penn Square ช่วยจัดเงินให้ ซึ่ง Penn Square ก็จะจัดเงินของ CINB ให้โดยมาในรูปของการที่ CINB ซื้อหนี้จาก Penn Square มาแล้ว Penn Square ก็ได้รับค่าบริการก้อนหนึ่ง

แต่ CINB ก็คงนึกไม่ถึงว่าราคาน้ำมันจะเริ่มตกในปี ค.ศ. 1981 ซึ่งส่งผลให้บรรดาลูกหนี้อาชีพขุดเจาะน้ำมัน พากันหยุดธุรกิจนี้ชั่วคราว เพื่อรอราคาให้ดีขึ้น และเมื่อลูกหนี้หยุดจ่ายดอกเบี้ยเกิน 90 วัน ตามกฎหมายแล้วหนี้ก้อนนั้นก็จะกลายเป็น non-performing loan ทันที

และ CINB ก็มี non-performing loan จาก penn square เป็นเงิน 326 ล้านเหรียญ

นอกจากนั้นแล้ว CINB ยังมี non-perforning loan จากบริษัท อีก 3 แห่ง ดังนี้

...NUCORP ENERGY 173 ล้าน

...WUCKES CO., INC 57 ล้าน

.... AMINTER 12 ล้าน

รวมเป็น non-performing loan ทั้งสิ้น 2,179 ล้าน

เมื่อคิดเปอร์เซ็นต์ของหนี้เสียกับจำนวนสินเชื่อที่ปล่อยออกมาแล้วจะเห็นว่า ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1982 เป็นต้นมา ถึง 1984 หนี้เสียเป็นเปอร์เซ็นต์กับจำนวนสินเชื่อดังนี้

ค.ศ. 1982 หนี้เสีย 5.8% ของสินเชื่อ ทั้งหมด

ค.ศ. 1983 หนี้เสีย 6.2% ของสินเชื่อทั้งหมด

ค.ศ. 1984 หนี้เสีย 7.9% ของสินเชื่อทั้งหมด

เมื่อรวมหนี้เสียพวกนี้เข้าไปแล้วก็พอจะเป็นที่สนใจของการสร้างข่าวลือขึ้นมาได้

อีกประการหนึ่ง ข้อมูลตัวเลขของธนาคารในสหรัฐฯ ไม่ได้เป็นความลับ และสื่อมวลชนสามารถจะค้นได้ทุกเมื่อ และถ้าธนาคารใดมีหนี้เสียมากถึงขนาดนี้ก็ย่อมเป็นธรรมดาที่มีข่าวลือ

แต่หนี้เสียในลักษณะทางบัญชีของธาคารในอเมริกาคือ non-performing ไม่ใช่ Bad depts มีอยู่มากที่ non-forming loans กลายเป็นตัวที่ทำกำไรให้กับธนาคารอย่างมหาศาล เมื่อคิดค่า inflation เข้าไปด้วย และในภาวะเศรษฐกิจที่ดีมากๆ non-performing loan พวกนี้ก็จะกลายเป็น productive loans ที่ทำผลกำไรให้กับเจ้าหนี้อย่างสูง

แต่ก่อนจะถึงวันนั้นมันก็ยังคงเป็น non-performing loan อยู่นั่นแหละ

ซึ่ง "ผู้จัดการ" เชื่อว่า ถ้าเรานำระบบนี้มาใช้กับธนาคารทุกแห่งในประเทศไทย ก็เชื่อขนมกินได้ว่าแทบทุกแห่งน่าจะถูกจัดว่า technicly bankrupted กันแน่ๆ เลย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us