Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2527








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2527
คอนนิเนนตัล-อิลลินอยส์บทเรียนที่แบงก์ไทยควรสังวรไว้             
 

   
related stories

คอนติเนนตัล-อิลลินอยส์ ธนาคารท้องถิ่นสหรัฐฯ แต่ต้องพึ่งเงินฝากต่างประเทศ
ธนาคารคอนติเนนตัลอิลลินอยส์ (ภาคสอง) แก้ปัญหาสิ้นสุดลงแล้ว...แต่...!
CINB มาไทยให้ความมั่นใจไตรมาสที่ 4 กำไรดีมาก

   
search resources

Banking and Finance
ธนาคารคอนติเนนตัลอิลลินอยส์แห่งชาติ




มันเริ่มด้วยการยกตัวอย่างในรายการที่ต่อด้วยการซุบซิบ ผสมด้วยความโลภของคนขายพันธบัตร แล้วผู้สื่อข่าวก็ส่งข่าวออกไป ประกอบกับภาวการณ์ลูกหนี้ที่ไม่ดีบางส่วน ผลลัพธ์ก็คือ ธนาคารคอนติเนนตัล อิลลินอยส์ ที่มีทรัพย์สิน 41,000 ล้านเหรียญ ( 943,000 ล้านบาท) เกือบจะพังพินาศในชั่วคืนเดียว

ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1980 ( พ.ศ. 2523) ธนาคารคอนติเนนตัล อิลลินอยส์ แห่งชาติ (continental Illinois national bank) หรือที่มีชื่อย่อว่า CINB ได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในสี่บริษัทที่บริหารได้ดีที่สุดในบรรดาบริษัทต่างๆ ในสหรัฐอเมริกา

ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1984 ( 2527) เพียง 3 ปี กับอีก 10 เดือน ให้หลัง CINB แทบจะต้องหงายหลังเพราะโดนผู้ฝากเงินรุมถอนเงินอย่างไม่ลืมหูลืมตา

เริ่มมาจากรายการโทรทัศน์ภาคค่ำรายการหนึ่งของนายโรเบิร์ต โนแวค ( Robert novak) ซึ่งเป็นรายการประจำในเรื่องเกี่ยวกับเงินๆ ทองๆ

วันนั้น วันที่ 10 พฤษภาคม ที่ผ่านมา รายการวันนั้นนายโนแวคได้มานั่งวิพากษ์วิจารณ์นโยบาย การบีบทางการเงินของนายพอล โวล์คเกอร์ (Paul Volcker) ซึ่งตำแหน่งก็คล้ายๆ นุกูล ประจวบเหมาะ ของเรา

นายโวล์คเกอร์ เป็นประธาน federal reserve ซึ่งเปรียบเสมือนขุนคลังของสหรัฐฯ ที่กำหนดนโยบายทางการเงินว่า จะให้ธนาคารแต่ละแห่งปฏิบัติตนอย่างไรบ้าง ในครึ่งปีแรกนี้ นายโวลค์เกอร์ก็ใช้นโยบายบีบสินเชื่อเพื่อควบคุมปริมาณเงินทอง และทำให้อัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มสูงขึ้น ซึ่งบทบาทนี้ของไทยเราขณะนี้ก็มีสมหมาย ฮุนตระกูล กับนุกูล ประจวบเหมาะ เล่นอยู่

นายโนแวคคงจะลมเสียกับโวล์คเกอร์มานาน ก็เลยใส่ไม่หยุดทางทีวี และข้อความตอนหนึ่งก็มีว่า “มีอยู่อย่างหนึ่งที่อาจจะทำให้นายโวลค์เกอร์ค่อยผ่อนบรรเทาการบีบทางการเงินบ้าง ก็คงจะเป็นการล้มของธนาคารใหญ่ๆ สักแห่ง เช่น ธนาคารคอนติเนนตัล อิลลินอยส์ แห่งชิคาโก หรือประเทศใดประเทศหนึ่งในกลุ่มประเทศลูกหนี้ละตินอเมริกัน ที่ล้มละลาย

ในขณะนั้นบรรดาผู้ชมรายการก็มีนายเดวิด จี. เทย์เลอร์ (David G.Taylor) ผู้ซึ่งเพิ่งจะถูกตั้งให้เป็นประธานธนาคาร CINB

เทย์เลอร์แทบจะสำลักสปาเกตตี ที่กำลังกินอยู่เมื่อได้ยินช่นนั้น เพราะคำพูดเช่นนั้นถ้าเข้าหูผู้ฝากเงินกับ CINB ก็คงไม่สวยแน่ แต่เทย์เลอร์ก็คิดว่าคงจะไม่มีอะไร เพราะข่าว CINB นั้นก็ถูกซุบซิบอยู่เสมอๆ เปรียบกับบ้านเราก็เหมือนข่าวธนาคารกรุงไทย หรือธนาคารเอเชียทรัสต์ ฯลฯ ถูกซุบซิบอยู่ตลอดเวลา

เทย์เลอร์ก็คิดว่าคำพูดที่นายโนแวคยกเอา CINB เป็นตัวอย่างคงจะละลายหายไปกับสายลม

แต่ครั้งนี้ไม่เหมือนครั้งที่แล้วๆ มา เพราะข่าวลือก็เริ่มแพร่กระจายออกมาจากพวกซื้อขายหลักทรัพย์ (securities traders) ซึ่งพวกซื้อขายหลักทรัพย์คือขุมกำลังแห่งการแพร่กระจายข่าวลือดีที่สุด เพราะอาชีพตัวเองต้องหาทางขายหลักทรัพย์เช่นพันธบัตรอยู่แล้ว อะไรก็ตามที่สามารถจะทำให้คนหันมาซื้อขายพันธบัตรแทนหุ้นก็จะทำกัน

ฟังดูมันก็คล้ายๆ ข่าวราชาเงินทุนเช็คเด้งเพียงไม่กี่พันบาท แล้วข่าวก็แพร่กระจายไปราวกับอหิวาห์ตกโรค จนต้องพังไปในที่สุด

พอข่าวว่า CINB จะล้มแพร่ออกจากลุ่มผู้ซื้อขายหลักทรัพย์ สำนักข่าวรอยเตอร์ ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันว่าเป็นเจ้ายุทธจักรในข่าวธุรกิจ ก็เกิดได้ข่าวนี้ขึ้นมาในบาร์เหล้าที่พวกโบรกเกอร์ชอบไปนั่งมั่วสุมก๊งกัน

เมื่อรอยเตอร์ เอพี ดาวโจนส์ ( AP Dowjones) ก็ได้ และในยุคสมัยข่าวอิเล็กทรอนิกส์ แบบนี้ เพียงไม่ถึงชั่วโมง มันก็ออกไปทั่วโลก บนจอข่าว จากรอยเตอร์ก็ไปออกโตเกียว ฮ่องกง สิงคโปร์ ฯลฯ

“ดิฉันได้รับแจ้งจากออฟฟิศ สิงคโปร์ ซึ่งเป็น regional เช้าวันที่ 11 พฤษภาคม ซึ่งเป็นวันศุกร์ ว่ามีข่าวลือแบบนี้ให้รับทราบกันเอาไว้” เจริญจิต งามทิพย์พันธ์ตัวแทนของ CINB ในกรุงเทพฯ พูดกับ “ผู้จัดการ”

อาจจะเป็นความซวยของ CINB ด้วยก็ได้ ที่เงินฝากของ CINB นั้นเป็นเงินฝากประเภท money market ซึ่งอ่อนไหวกับข่าวเป็นอย่างมาก

“CINB เป็นธนาคารที่ตั้งโดยไม่ได้รับอนุญาตให้มีสาขาในอเมริกา เพราะเป็นกฎหมายของรัฐอิลลินอยส์ เพราะฉะนั้น CINB ต้องพึ่ง funding จาก money market” เจริญจิตพูดต่อ

วันอังคารที่ 14 พฤษภาคม เป็นวันเริ่มต้นของวิกฤตการณ์ที่ CINB นั้นมีข่าวลือแบบนี้มาปีกว่าแล้ว มาครั้งนี้เหมือนกับใครจุดไม้ขีดแล้วโยนใส่ถังน้ำมันในที่สุด” นายธนาคาร ในชิคาโก คนหนึ่งพูดกับนิวสวีก

วันอังคารทั้งวัน จนถึงกลางคืน เป็นการรายงานข่าวและปฏิเสธข่าว และข่าวพวกนี้ ก็ถึงแดนอาทิตย์อุทัย พอเข้าวันพุธ ก็ได้เรื่องจากญี่ปุ่นพอดี เพราะตลาดเงินญี่ปุ่นเป็นตลาดที่ไหวตัวเร็วมาก และขี้ตกใจ ก็เลยมีมหกรรมถอนเงินกันอย่างมโหฬาร ซึ่งในที่สุดก็กระจายไปทั่วโลก

ในวันพุธที่ 16 พฤษภาคม COBN ต้องหันไปพึ่งธนาคารกลาง เพื่อขอเงินมา 1,000 ล้านเหรียญ จ่ายให้กับผู้ถอนซึ่งก็จ่ายหมดไปภายในคืนเดียวเท่านั้น

พฤหัสบดีกับศุกร์ที่ 17 และ 18 พฤษภาคม ก็ไม่มีอะไรดีขึ้น CINB ต้องยืมเงินธนาคารกลางมาอีก 2,000 ล้านเหรียญ เพื่อรับกับวิกฤตการณ์

เสาร์และอาทิตย์ ที่ 19 กับ 20 พฤษภาคม เป็นวันหยุดแต่เจ้าหน้าที่บริหารของ CINB ต้องทำงานกันทั้งวันทั้งคืน เพื่อเตรียมรับการถอนในวันจันทร์ที่คงจะหนักหน่วงมาก

โชคดีที่กลุ่มธนาคารใหญ่ในอเมริกา เช่น Morgan Guaranty trust และธนาคารอีก 17 แห่งได้เตรียมเงินไว้ช่วย CINB อีก 4,500 ล้านเหรียญ

แต่ก็ยังไม่อยู่!!

CONB ต้องยืมอีก 4,000 ล้านเหรียญจากธนาคารกลาง และอีก 2,250 ล้านเหรียญจาก ธนาคารอีก 16 แห่ง

แต่ก็ยังหยุดการถอนเงินไม่อยู่!!

ในที่สุดธนาคารกลางได้ประกาศว่า ได้เตรียมเงินไว้รับสภาพคล่องของ CINBถึง 7,500 ล้านเหรียญ มิหนำซ้ำทางธนาคารกลางยังลงขันอีก 2,000 ล้านเหรียญเป็นเงินเพิ่มทุนจดทะเบียนลงไปทำให้สามารถล้างหนี้ที่ไม่ activeของ CINB ได้เกือบหมด

“แต่ตลาดการเงินบีบ intelligent market ซึ่งอาจจะเห็นว่าทั้งหมดนี้เป็นเพียงการช่วยชั่วคราว ไม่ใช่การแก้ปัญหาที่แท้จริง ก็เลยทำให้ยัง panic อยู่” เจริญจิตเล่าให้ฟัง

ในที่สุด เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่ประธานธนาคารกลางของสหรัฐฯ ต้องออกจดหมายรับประกันว่า FIDC สถาบันประกันเงินฝากจะรับประกันการฝากเงินทุกจำนวนทั่วโลก ที่ฝากกับ CINB แม้แต่กับบริษัทในเครือของ CINB ก็จะประกันให้

ไฟถึงหยุดไหม้ได้ในที่สุด!!

บรรดาผู้ฝากก็เลยทยอยกลับมาฝากเหมือนเดิม

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us