Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2527








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2527
สุไลมาน โอเลยัน นักการเงินที่รวยที่สุดในโลก             
 


   
search resources

Banking and Finance
สุไลมาน โอเลยัน




ในช่วงที่นักธุรชั้นนำของโลกจำนวน 535 คน จะถูกเชิญให้เดินทางมาซานฟรานซิสโก ปลายปีหน้า เพื่อเข้าร่วมในการประชุมอุตสาหกรรมนานาชาติอันมีอิทธิพลนั้น สุไลมาน โอเลยัน นันการเงินที่มีผู้รู้จักแต่เพียงว่าเป็นนายธนาคารที่ร่ำรวยที่สุดในโลก จะเด่นผงาดจากเงามืดเพื่อเข้ารับหน้าที่อันโดดเด่น ในฐานะที่เป็นชาวอาหรับคนแรกที่ได้รับเลือกให้เป็นผู้นำในคณะที่ปรึกษาของการประชุม

โอเลยัน จะทำหน้าที่สำคัญในการพิจารณาหัวข้อการประชุม และระหว่างการประชุม เขาจะทำหน้าที่ประธานในการประชุมหัวข้อสำคัญๆ ซึ่งทั้ง SRI INTERNATIONAL และคณะกรรมการการประชุมได้ร่วมสนับสนุนจัดเป็นประจำทุก 4 ปี

"หลังจากที่เข้าร่วมทำงานกับองค์กรทั้ง 2 มากว่า 19 ปี (SIR, ITC) ใครๆ ก็คงจะคิดว่าผมคงจะรู้อะไรดีๆ เกี่ยวกับธุรกิจระหว่างประเทศ" โอเลยัน กล่าวออกตัวตามแบบของตน ในระหว่างที่ให้สัมภาษณ์เมื่อเร็วๆ นี้กับนิตยสาร INTERNATIONAL MANAGENT สำหรับคนใน ITC แล้ว การเข้ารับตำแหน่งของโอเลยันในฐานะผู้นำระดับนานาชาตินั้นไม่ทำให้เป็นที่แปลกใจกันนัก เพราะเป็นเวลาหลายปีมาแล้วที่โอเลยันได้ทำงานอย่างเงียบๆ และอยู่เบื้องหลังความสำเร็จทั้งปวงด้วยการดำเนินงานอย่างสุขุมคัมภีรภาพ จากสำนักงานในนิวยอร์กสู่ลอนดอน สู่ริยาด ให้คำปรึกษากับนักการเมือง และนักบริหารระดับสูงชาวตะวันตก บทบาทในการประชุมระดับโลกในปีหน้าจะช่วยส่งเสริมให้โอเลยันเป็นที่รู้จักกว้างขวางขึ้นไปอีก

เพราะเขาได้รับความเชื่อถือในฐานะเป็นผู้บุกเบิกการลงทุนร่วมในซาอุดีอาระเบีย และริเริ่มให้มีการจัดตั้งหน่วยงานที่ใช้หลักการบริหาร และโครงสร้างองค์กรแบบตะวันตก ชื่อเสียงและความสามารถของโอเลยันจึงบดบังผู้อื่นซึ่งเป็นที่รู้จักทั่วไป เช่น ไกท์ ฟาราออน, อัดนาน คาชอกกี้ และอาห์เบ็ค จัฟฟาลี

นอกเหนือไปจากกิจการทั้งในด้านการค้าและการบริหารซึ่งกำลังเจริญรุดหน้าไปด้วยดีด้วยกำไรถึงปีละ 75 ล้านดอลลาร์ จากยอดขาย 750 ล้านดอลลาร์ ในซาอุดีอาระเบีย เมื่อปีที่แล้ว โอมายัน ยังมีกิจการที่ลงทุนทั้งในสหรัฐฯ และอังกฤษ ซึ่งทำรายได้ให้เพิ่มพูน โดยวิธีการยอกย้อนหลบรอดการเสียภาษีจากหมู่เกาะอังกฤษ และแอนทิเลส ของเนเธอร์แลนด์จนถึง ไลบีเรียและไลเตนสไตน์

เต็มไปด้วยเสน่ห์แบบอาหรับ

ในฐานะที่เป็นชาวต่างชาติคนแรกที่เข้าทำงานในคณะกรรมการของบริษัทชั้นนำ 1 ใน 5 ของสหรัฐฯ ดังนั้นเมื่อเร็วๆ นี้ โอเลยันจึงลาออกจากตำแหน่งผู้บริหารของบริษัท MOBIL CORP หลังจากดำรงตำแหน่งมาถึง 3 ปี แต่ก็ยังคงหุ้นราคา 1 ล้านดอลลาร์ในบริษัทน้ำมันขนาดยักษ์นี้

นอกเหนือจากนี้เขายังลงทุนจำนวนมหาศาลในกิจการบริษัทและธนาคารในสหรัฐฯ มากกว่า 6 แห่ง ซึ่งรวมทั้งมีหุ้น 6% ในบรรษัท OCCIDENTAL PETROLEUM และมากกว่า 1% ในทั้งธนาคาร MORGAN GUARTY TRUST และธนาคาร CHASE MANHATTAN

และ "เพื่อเป็นเกียรติ" เขากล่าว โอเลยัน จึงคงหุ้นใน CHASE MANHATTAN ให้น้อยกว่า เดวิด ร็อกกี้เฟลเลอร์ อดีตประธานของ CHASE MANHATTAN

ด้วยรูปร่างอ้วนกลม แบบเด็กๆ ทำให้ดูเหมือนว่าโอเลยันค่อนข้างจะอายที่จะปรากฏตัว หากแต่ด้วยความนุ่มนวลแบบอาหรับและความมีอัธยาศัยอันงดงาม ทำให้เขาสามารถเข้านอกออกใน ในที่ต่างๆ อย่างง่ายดายเหมือนตัวอีทีน้อยๆ แห่งนิยายอาหรับราตรี

ท่ามกลางบรรยากาศและขนบธรรมเนียมที่แตกต่างกันระหว่างโลกตะวันตกกับโลกตะวันออก โดยมีมวลมิตรเป็นตั้งแต่ราชวงศ์ในซาอุดีฯ จนถึง จอร์จ ชู้ลส์ รมต. คลังสหรัฐฯ วิลเลียม ทาโวลเลอเรียส์ ประธานบริษัทโมบิลและร็อคกี้ เฟลเลอร์ แห่งเชสแมนฮัตตัน รวมทั้งบริษัทต่างๆ ที่ร่วมลงทุนในซาอุดีฯ เช่น บริษัทเบชเตล, เจนเนอราลฟูด, ยูไนเตด-เทคโนโลยี และคิมเบอรี่-คล๊าก สวีเดน สโตร์โนเบลและแอตลาสคอบโค, เอ็นอีซีจากญี่ปุ่น บริษัทเลย์แลนด์จากอังกฤษ และจาร์ดีนแมททีสันแห่งฮ่องกง

ตรงข้ามกับผู้ประกอบการชาวอาหรับคนอื่นๆ กิจการของโอเลยันรุ่งเรืองขึ้นก่อนที่จะเลิกวิกฤตการณ์น้ำมันโลกขึ้นราคา ซึ่งมีผลทำให้ซาอุดีฯ กลายเป็นประเทศกำลังพัฒนาที่ร่ำรวยที่สุดในโลก พลิกสภาพจากประเทศที่ยากจนข้นแค้น

ก่อนหน้าที่โอเปกจะมีอำนาจเข้าควบคุมราคาน้ำมันในกลางทศวรรษ 1970 โอเลยันก็ได้มีกิจการลงทุนในต่างประเทศอยู่หลายแห่งนอกเหนือไปจากธุรกิจในซาอุดีฯ ซึ่งมีเครือข่ายกว้างขวางอยู่แล้วและผลจากการขึ้นราคาน้ำมันของกลุ่มโอเปกทำให้ราคาน้ำมันในประเทศผู้บริโภคสูงถึง 4 เท่าในชั่วคืนเดียว ซึ่งส่งผลให้มูลค่าทรัพย์สินทั้งในและนอกประเทศที่ร่วมลงทุนกว่า 50 แห่งของกลุ่มโอเลยันมีราคาสูงขึ้นเป็นทวีคูณ

ที่สำคัญในระยะยาวยิ่งกว่าทรัพย์สินในปัจจุบันของเขานั่นก็คือความสามารถที่จะประสานเอาวัฒนธรรม และเชื้อชาติที่แตกต่างกันกว่า 30 แบบ ไปผสมเข้ากันในหน่วยงานที่จะต้องคงอยู่ต่อไปอีกนานเท่านาน เมื่อเขาตายจากไป และตรงข้ามกับมิตรสหายชาวอาหรับของเขา ซึ่งส่วนใหญ่จะถือสิทธิในการควบคุมและตัดสินใจธุรกิจของตนและไม่ยอมที่จะให้มีการสูญเสียเนื่องจากค่าใช้จ่ายใดๆ เกิดขึ้น แต่โอเลยันกลับพลิกหลักการนี้เสีย โดยกว่า 3 ทศวรรษมาแล้วที่เขาพยายามที่จะนำเอาหลักการบริหารแบบตะวันตกมาใช้

มีการมอบอำนาจให้แก่ผู้แทนของหน่วยงาน และค่อยๆ มอบโอนอำนาจการตัดสินใจให้กับคณะผู้บริหาร ซึ่งในปัจจุบันได้ทำหน้าที่จัดการกิจการของบริษัททั้งหมด

คณะผู้บริหารจะทำหน้าที่ตัดสินใจโดยไม่ต้องคอยฟังเสียงของเขามากนัก เว้นแต่เป็นเรื่องสำคัญจริงๆ อาทิ การลงทุนใหญ่ๆ และการใช้จ่ายขนาดใหญ่

"กลุ่มโอเลยัน มีอะไรที่พิเศษอยู่" นักการทูตสหรัฐฯ ในตะวันออกกลางตั้งข้อสังเกต "เพราะ แม้แต่ในโลกตะวันตกก็รู้สึกว่าเป็นการยากที่จะเห็นธุรกิจเอกชนที่เจ้าของจะมอบโอนอำนาจการบริหารให้กับคณะผู้บริหารอย่างเด็ดขาด"

เพื่อที่จะเป็นไปตามแบบฉบับอันอ่อนน้อมถ่อมตนของโอเลยัน ดังนั้นจึงมักไม่ค่อยมีการเปิดเผยเกี่ยวกับมูลค่าทรัพย์สินของกลุ่มโอเลยัน รวมทั้งยอดขายและกำไร "ยิ่งเรื่องนี้รู้สึกว่าจะสวนทางกับขนบธรรมเนียมของเราที่จะเปิดเผยรายละเอียดด้านการเงิน" คำพูดนี้เป็นข้อสังเกตของ นายโซเรียนี่ นักกฎหมายจากฮาร์วาร์ด วัย 41 ปี ประธานบริษัท OICE ของโอเลยันซึ่งจดทะเบียนใน LIECHIENSTEIN อันมีบริษัทแกนอยู่ในเอเธนส์ ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมกิจการของกลุ่มโอเลยันทั้งหมด

"ถ้าหากเราจะบอกว่าทรัพย์สินทั้งหมดของเรามีมูลค่าสักเท่าใด มันก็ดูเหมือนว่าจะเป็นเรื่องโม้จนแทบไม่น่าเชื่อเสียมากกว่า" อีคราบ ไฮจาซิ อายุ 44 ปี รองประธานบริษัท หัวหน้าฝ่ายการเงินของ OICE กล่าวเสริม เขาเกิดในปาเลสไตน์ และขณะนี้ถือสัญชาติเลบานอน

ทั้งไฮจาซิและไซเรียนี่ มักจะเลี่ยงที่จะให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับจำนวนมูลค่าทรัพย์สินของโอเลยัน ทั้งคู่มักจะปฏิเสธรายงานที่กล่าวว่ามูลค่าทางธุรกิจในซาอุดีอาระเบียของโอเลยันมีกว่า 1 พันล้านดอลลาร์ ต่อปี "เป็นการคาดคะเนที่ห่างจากความจริงมาก"

จากการประเมินโดยอาศัยหลักการทางวิชาการ จะได้ตัวเลขว่ากลุ่มโอเลยันทำกำไรอยู่ประมาณ 10% - 15% ของยอดขาย 750 ล้านดอลลาร์ ในปีที่แล้ว ทำให้กลุ่มโอเลยันติดอันดับอยู่ในกลุ่มธุรกิจชั้นนำของซาอุดีฯ

ในทำนองเดียวกัน ไซเรียนี่ก็ปฏิเสธเกี่ยวกับจำนวนทรัพย์สินของตระกูลโอเลยัน ซึ่งนิตยสารการธนาคารของสหรัฐฯ ชื่อ INSTITUTIONAL INVESTOR ได้ประมาณไว้ว่ามีมูลค่า 2 พันล้านดอลลาร์ โดยอาศัยข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับพันธบัตรรวมทั้งที่ดินและบริษัทต่างๆ ในสหรัฐฯ

"พวกเราค่อนข้างจะเป็นนักลงทุนที่ค่อนข้างจะอนุรักษนิยมอยู่สักหน่อย" ไฮจาซิกล่าวพร้อมกับชี้ให้เห็นถึงทรัพย์สินที่ถือครองอยู่ในรูปพันธบัตรและที่ดิน ซึ่งถือเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ รวมทั้งการลงทุนในกิจการธนาคาร สถาบันการเงิน บริษัทที่ทำกิจการเกี่ยวกับพลังงานอิเล็กทรอนิกส์ โทรคมนาคม กิจการที่ใช้เทคนิคชั้นสูงตลอดจนถึงธุรกิจด้านการอุตสาหกรรม และการขายบริการ

เพื่อที่จะเพิ่มพูนรายได้จากการลงทุนในต่างประเทศ โอเลยันจึงใช้วิธีการลดการเสียภาษีในช่วงทศวรรษ 1950

OICE ซึ่งเป็นบริษัทแกนของกลุ่มโอเลยัน จึงได้แตกออกเป็นสำนักงานจดทะเบียนกระจายอยู่ทั่วโลกเพื่อลดภาระภาษี "เราภูมิใจในวิธีการนี้มาก" ไซเรียนี่กล่าวโอ้อวด "แสดงให้เห็นถึงความสำเร็จของเรา"

โอเลยันเน้นการติดตามความเคลื่อนไหวต่างๆ ของกิจการทั้งหมดอย่างใกล้ชิด และชี้ให้เห็นว่าธุรกิจของเขาขณะนี้ในต่างประเทศสามารถให้ผลกำไรได้พอๆ กับธุรกิจที่ลงทุนในตะวันออกกลางทีเดียว

การลงทุนอย่างมหาศาล

กลุ่มโอเลยันนับว่ามีอำนาจอย่างสูงในวงการธุรกิจใน ซาอุดีอาระเบีย และได้รับผลกำไรจากการค้า การก่อสร้าง การขนส่ง อุตสาหกรรมขนาดเบา การเกษตรและการให้บริการ เช่น การทำธุรกิจประกันภัย, การดำเนินธุรกิจบริการด้านสุขภาพ การท่องเที่ยว และธุรกิจที่ดิน ซึ่งดูซับซ้อน นอกจากนี้ยังมีธุรกิจอาวุธที่จดทะเบียนอยู่ในไลบีเรีย

สาขาสำคัญๆ ของกลุ่มโอเลยัน มีอาทิ OLAYAN SAUDI HOLDING COMPANY (OSHCO) OLAYAN FINANCING COMPANY (OFC) สำหรับ OSHCO ซึ่งเป็นบริษัทแกนของกลุ่มดำเนินงานค้าขายอาวุธ และเป็นผู้แทนจำหน่ายสิ่งอุปโภคบริโภค ทั่วซาอุดีฯ มีสาขาย่อย 8 แห่ง ซึ่งดำเนินงานเฉพาะอย่างและขายตั้งแต่ อาหาร เครื่องมือก่อสร้างขนาดใหญ่ รถยนต์ รถบรรทุก จนถึงสิ่งของที่ใช้กับโรงพยาบาลและเครื่องใช้สำนักงาน OFC มีภาระในการบริหารกิจการที่ลงทุนอีกกว่า 50 แห่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการเกษตรกรรม โครงการอุตสาหกรรมพื้นฐาน และการขายบริการ

กาลีด โอเลยัน ผู้บุตรอายุ 37 ปี ซึ่งเป็นประธานบริษัท OSHCO ได้ยกความสำเร็จของการดำเนินงานให้กับผู้บิดา ซึ่งได้เหน็ดเหนื่อยฝ่าฟันในการริเริ่มใช้ระบบการจัดรูปองค์กรทางธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ

กาลีดให้ข้อสังเกตว่า ในต้นทศวรรษ 1950 "ซึ่งเป็นช่วงที่แนวคิดในการจัดระบบบริหารยังไม่เป็นที่รู้จักกันในประเทศนี้ บิดาของข้าพเจ้าสามารถทำให้บริษัทของเราดำเนินงานจนมีผลกำไร"

ซาอัด อัล-อาร์จานี ประธานบริษัท OFC ซึ่งได้เคยทำงานกับ ARAMCO มาแล้ว 20 ปีก่อน ที่จะเข้าทำงานในเครือของโอเลยันเมื่อ 4 ปีที่แล้ว กล่าวถึงเมื่อครั้งได้รับบทเรียนที่ได้จาก แนวคิดของโอเลยันที่จะสามารถดำเนินกิจการของธุรกิจอย่างต่อเนื่องโดยยึดระบบการบริหารงานมากกว่าที่จะยึดตัวบุคคล "ผมกำลังอยู่ในต่างประเทศเป็นเวลา 3 เดือน เมื่อตอนได้รับการร้องขอให้เดินทางมาที่สำนักงานของโอเลยันเพื่อพบกับโอเลยันเป็นครั้งแรก" คำแรกที่ผมพูดกับเขาก็คือ "ผมภูมิใจอย่างยิ่งที่ได้มาทำงานกับท่าน แต่โอเลยัน กล่าวตอบว่า "ซาอัด จงอย่าทำงานให้กับฉัน หากแต่ทำให้กับบริษัทแห่งนี้"

"เท่าที่ผ่านมาการที่กลุ่มโอเลยันสามารถที่จะดำเนินการลงทุนใดๆ จนประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีแทบทุกครั้งนั้น เป็นผลมาจากการวิเคราะห์โครงการอย่างรอบคอบของบรรดาผู้บริหารชั้นสูงของกลุ่มเพื่อพิจารณาความเป็นไปได้ของโครงการ รวมทั้งพันธกรณีเพื่อดำเนินโครงการให้ลุล่วงไปในระยะยาว ทุกๆ ปี OFC จะพิจารณาโครงการลงทุน ประเภทต่างๆ กว่า 50 โครงการ แต่มีไม่ถึง 10% ที่สามารถผ่านการกลั่นกรองจนนำไปดำเนินการได้" อัด-อาร์จานี กล่าว

ทุกหน่วยงานและทุกโครงการ ภายใต้กลุ่มโอเลยันจะดำเนินกิจกรรมไปโดยอิสระ การดำเนินงานด้านการเงินจะอาศัยคำแนะนำซึ่งจัดทำและสั่งการลงมาเป็นรายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน โดยคณะกรรมการบริหาร "ไม่ว่าจะเป็นบริษัทซึ่งกลุ่มโอเลยันจะเป็นผู้ถือหุ้น 20% หรือ 100% ก็ตาม เป้าหมายของเราก็คือให้บริษัทนั้นๆ สามารถยืนอยู่ได้ด้วยตนเอง" ไซเรียนี่ย้ำ "เราปรารถนาให้บริษัทในเครือเหล่านี้มีรายได้ และนำไปสร้างความเจริญเติบโตให้กับตนเอง" สำหรับบริษัทที่จำเป็นต้องกู้ยืมเงินมาดำเนินงาน "จะเห็นว่า อัตราส่วนระหว่างหนี้สินกับทรัพย์สินจะเป็น 1/1 และอย่างที่แย่ๆ ก็ไม่เกิน 2/1"

สำหรับข้อกล่าวหาที่ว่า โอเลยันได้ถ่ายเทผลกำไรที่ได้จากการดำเนินภายในซาอุดีฯ เพื่อไปใช้ในการลงทุนในต่างประเทศนั้น "นับว่าเป็นการเข้าใจผิดอย่างหนึ่ง" ไซเรียนี่ ให้คำตอบอย่างแข็งกร้าวต่อคำถามประเภทนี้ "ความจริงก็คือบริษัทของเราในซาอุดีฯ ไม่ได้ให้ผลกำไรกับเรามากนัก จึงเห็นได้ว่าไม่สามารถกระทำเช่นนั้นได้"

ในขณะเดียวกับที่ได้รับคำชมว่าโอเลยันเป็นคนมีเมตตากรุณานั้น โอเลยันจะกลายเป็นคนเลือดเย็นอย่างยิ่งเมื่อต้องตัดสินปัญหาด้านธุรกิจ

"ผมไม่เคยเห็นว่า โอเลยันจะใช้อารมณ์ใดๆ ในการตัดสินใจทางธุรกิจสักครั้ง" ไฮจาซิ หัวหน้าฝ่ายการเงินของโอเลยันกล่าว "ถ้าหากมูลค่าของธุรกิจที่ลงทุนลงไปเกิดตกต่ำลง โอเลยันจะยืนอยู่ในตำแหน่งที่สามารถหาผลประโยชน์จากหุ้นราคาต่ำนี้ได้ เขายึดมั่นอยู่ในความคิดที่ว่าธุรกิจนั้นๆ เป็นการลงทุนที่ดีมีประโยชน์ ซึ่งจะยอมให้ราคาของหุ้นขึ้นๆ ลงๆ ในตลาดหุ้นตามแต่จะมีคนปั่นไม่ได้"

ใช้ระบบคุณธรรมไม่ใช้ระบบอุปถัมภ์

ในฐานะที่เป็นผู้ก่อตั้งเครือข่ายธุรกิจโอเลยันจึงมั่นใจได้ว่า จะไม่มีความลำเอียงใดๆ ในการแต่งตั้งผู้สืบต่อจากเขา ซึ่งในขณะนี้มีแนวโน้มว่าคงจะได้แก่บุตรชายคนเดียวของเขา กาลีด โอเลยัน

อย่างไรก็ตาม ตรงข้ามกับธุรกิจของอาหรับโดยทั่วๆ ไป รวมทั้งธุรกิจของเอกชนในโลกตะวันออก โอเลยันมิได้คิดว่าตำแหน่งผู้บริหารสูงสุดของกลุ่มโอเลยันจะต้องเป็นของตระกูล "ใครก็ตามที่จะรับตำแหน่งต่อจากผมจะต้องมีคุณค่าพอที่จะรับตำแหน่งนี้ได้" โอเลยันกล่าว "และกาลีดก็ทราบเรื่องนี้ดี เพราะเขาเป็นผู้หนึ่งซึ่งนำแนวความคิดที่ว่า เขาจะต้องแข่งขันในการทำงานกับผู้อื่น เพื่อความก้าวหน้าในตำแหน่งการงาน"

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us