Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2544
สามแบงก์ยักษ์ใหญ่กับการฝ่าวิกฤติเศรษฐกิจ             
โดย ฐิติเมธ โภคชัย
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารไทยพาณิชย์
โฮมเพจ ธนาคารกรุงเทพ
โฮมเพจ ธนาคารกสิกรไทย

   
search resources

ธนาคารกสิกรไทย, บมจ.
ธนาคารไทยพาณิชย์, บมจ.
ธนาคารกรุงเทพ, บมจ.
Banking and Finance




วิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 ทำให้ธนาคารพาณิชย์แทบสูญพันธุ์ มีเพียงธนาคาร 3 แห่งที่เป็นไทยแท้ และบาดแผลจากการฝ่าฝันกระแสพายุเศรษฐกิจ นับว่าสร้างความเสียหายให้ไม่น้อย

ธนาคารกรุงเทพ : การคงสภาพเดิม

หลังวิกฤติเศรษฐกิจ โดยภาพรวมของธนาคารกรุงเทพยังคงอันดับ 1 ทั้งส่วนแบ่งทางตลาดและสินทรัพย์ เป็นธนาคารขนาดใหญ่ที่ผู้ถือหุ้นเป็นคนไทย และมีการปรับตัวด้านโครงสร้างผู้ถือหุ้นและโครงสร้างการจัดการน้อยที่สุด คือ ผสมผสานระหว่างตัวแทนของเจ้าของเดิมกับผู้บริหารที่เป็นคนนอกครอบครัว

อย่างไรก็ตาม การ "คงสภาพเดิม" ทางอำนาจและจำนวนกรรมการ โดยการผสมผสานระหว่างคนในและนอกตระกูลโสภณพนิชนั้นไม่ใช่ของใหม่ แต่สำหรับธนาคารกรุงเทพนับเป็นวิธีการบริหารในลักษณะเก่าและใช้มาหลายยุค

ธนาคารไทยพาณิชย์ : ผสมผสานและประนีประนอม หลังวิกฤติเศรษฐกิจธนาคารไทยพาณิชย์ยังคงรักษาธนาคารใหญ่อันดับ 4 ไว้ได้เมื่อมองในแง่สินทรัพย์รวม เงินกู้ และเงินฝาก แม้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจแล้วอันดับก็ยังคงที่ แต่อันดับดังกล่าวใช่ว่าจะไม่เดือดร้อน เมื่อศึกษาเปรียบเทียบระหว่างปี 2539-2542 อัตราการเติบโตของสินทรัพย์รวมลดลงอย่างรุนแรง เดิมเคยเติบโตสูงที่สุดเปรียบเทียบธนาคารในระบบในปี 2540 คือ 32.51% กลายมาเป็นติดลบ -2.54% ใน ปี 2542

เมื่อสถานการณ์ผันผวนผู้บริหารตัดสินใจเลือกการผสมผสานและการประนีประนอม ความเป็นเจ้าของเพื่อปรับรับวิกฤติที่เกิดขึ้น มีการขายหุ้นให้ธนาคารซันวาและธนาคารลองเทอมเครดิต เปลี่ยนโครงสร้างการบริหารใหม่

แนวทาง "ผสมผสานและประนีประนอม" ของธนาคารไทยพาณิชย์ได้นำมาสู่การยอมรับเป็นธนาคารของรัฐ ได้รับการปกป้องจากรัฐมีเม็ดเงินอัดฉีด แต่ผู้ถือหุ้นเดิมและเจ้าหน้าที่บริหารชุดเดิมยังคงมีอำนาจอิสระในการบริหารธนาคารต่อไป อย่างไรก็ดี สิ่งที่มองเห็นชัดถึงการผสมผสานและประนีประนอม คือ แม้จะให้ผู้ถือหุ้นต่างชาติเข้ามาถือหุ้นถึง 45.28% แต่ก็เป็นพันธมิตรสำคัญที่คอยฉีดเม็ดเงินมากกว่าจะเข้ามาครอบครองกิจการและปรับเปลี่ยนการบริหาร

ธนาคารยังจัดโครงการบริหารใหม่เป็นธนาคารสมัยใหม่ มีการจัดโครงสร้างองค์กรใหม่ และใช้ผู้บริหารคนไทยทั้งหมด

ธนาคารกสิกรไทย : สู่การปฏิรูป

ธนาคารกสิกรไทยมีสินทรัพย์มากเป็นอันดับ 3 หลังเกิดวิกฤติมีสินทรัพย์รวม 727,438 ล้านบาทหรือ 13.42% ของธนาคารทั้งระบบ และเมื่อเกิดวิกฤติมีเพียงอัตราการขยายตัวของ เงินกู้เท่านั้นที่แย่ลง

แต่การที่ได้ re-engineering มาก่อน ทำให้ไม่เจ็บตัวมาก หลังเกิดวิกฤติกสิกรไทยได้ปรับกลยุทธ์ที่สำคัญ เช่น ลดจำนวนพนักงาน ปรับปรุงสาขา ยุบรวม ปิดสาขาที่ไม่ทำกำไร และเพิ่มทุนโดยตัวเอง เป็นการปฏิรูปอย่างต่อเนื่องให้สอดรับกับสภาพตลาดเงินตลาดทุนที่เปิดเสรีและมีการแข่งขันจากต่างประเทศมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม การปรับตัวที่ถือว่าสำคัญที่สุดของกสิกรไทยมี 4 ด้าน เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดอย่างต่อเนื่องมาเป็นระยะตั้งแต่ปี 2534 ซึ่งปีนั้น บัณฑูร ล่ำซำ ขึ้นเป็นกรรมการผู้จัดการคือ ด้านวิสัยทัศน์ที่ไม่แข่งกันเองระหว่าง ธนาคารใหญ่ๆ เน้นธุรกิจใหม่ๆ ปรับคุณภาพพนักงาน และปรับองค์กรและเทคโนโลยี และ re-engineering

การปรับตัวของธนาคารกสิกรไทย จึงเป็นการปฏิรูปอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สอดรับกับสภาพตลาดเงินทุนที่เปิดเสรี และมีการแข่งขัน จากต่างประเทศมากขึ้น มาตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจแล้ว

ข้อมูลจาก สำนักกองทุนสนันสนุนการวิจัย (สกว.)

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us