Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา กุมภาพันธ์ 2554
นิทรรศการอองรี ซิมง             
โดย สุภาพิมพ์ ธนะพรพันธุ์
 


   
search resources

Art




ย่านวัฒนธรรมอย่างเลอ มาเรส์ (Le Marais) นอกจากเต็มไปด้วยร้านค้า ยังมากด้วยพิพิธภัณฑ์ เช่น พิพิธภัณฑ์ปิกัสโซ (Musee Picasso) ซึ่งปิดซ่อมแซมตั้งแต่ปลายปี 2009 กว่าจะเปิดอีกหลายปี พิพิธภัณฑ์การ์นาวาเลต์ (Musee Carnavalet) ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์กรุงปารีส พิพิธภัณฑ์กอญัก-เจย์ (Musee Cognac-Jay) หอจดหมายเหตุแห่งชาติ (Archives nationales) เป็นต้น

หากพาญาติมิตรไปเที่ยวเลอ มาเรส์ จะไปเข้าทางโอเตล เดอ ซุลลี (Hotel de Sully) เพื่อชมสถาปัตยกรรมสวยงามก่อนออกไปที่ปลาซ เดส์ โวจส์ (Place des Vosges) และระเรื่อยไปถนนฟรองก์-บูรก์จัวส์ (rue des Francs-bourgeois) แต่ถ้าไปเอง จะเข้าทางถนนปาเว (rue Pavee) เลี้ยวซ้ายเข้าถนนโรซีเอร์ (rue des Rosiers) ออกถนนวิไอย-ดู-ตองปล์ (rue Vieille du Temple) ก่อนจะเลี้ยวเข้าถนนฟรองก์-บูร์จัวส์ จะเห็นอาคารที่เป็นโถงใหญ่ชื่อ Espace d’animation des Blancs-manteaux เป็นสถานที่จัดกิจกรรม ด้านวัฒนธรรมของเมืองปารีส (Ville de Paris) เปิดให้เข้าชมฟรี บางครั้งเป็นงานออกร้านของดีไซเนอร์ใหม่ ในเดือนกรกฎาคม 2010 เป็นนิทรรศการภาพเขียน ของอองรี ซิมง (Henry Simon) บังเอิญเดินผ่านไปจะปล่อยให้ผ่านไปก็ใช่ที่ จึงเข้าไปชม ภาพเขียนสวยทีเดียว

อองรี ซิมงเกิดในปี 1910 ที่แซงต์-อิแลร์-เดอ-รีซ (Saint-Hilaire-de-Riez) ในวองเด (Vendee) เขาชอบวาดรูปตั้งแต่อายุ 8 ขวบ และเข้าศึกษาที่ Ecole des beaux-arts ที่เมืองนองต์ (Nantes) ในปี 1928 ต่อมาอีก 2 ปี ได้รับรางวัล Prix Decre สำหรับอาร์ทิสต์หน้าใหม่ หลังจากนั้นเรียนที่ Ecole des beaux-arts ที่ปารีส แล้วจึงกลับบ้านเกิด เขาชอบไปเขียนรูปหาดที่ครัวซ์-เดอ-วี (Croix-de-Vie) และที่แซงต์-ฌอง-เดอ-มงต์ (Saint-Jean-de-Monts) ซึ่งบรรดาอาร์ทิสต์ชอบมาเขียน รูปด้วยกัน และไปรวมตัวกันที่บ้านของอาร์มองด์ เลเน (Armand Laine) หรือ ฌอง เกริโต (Jean Gueriteau) จนเรียกกันว่ากลุ่มแซงต์-ฌอง-เดอ-มงต์ (Groupe de Saint-Jean-de-Monts) เขาตกแต่งโบสถ์ Chapelle Sainte-Anne de la Tranche ต่อมาในปี 1937 ร่วมกับฌอง โลนัวส์ (Jean Launois) เขียนภาพเฟรสโก (fresco) ในงานเอกซโปนานาชาติที่ปารีส

อองรี ซิมงถูกเกณฑ์ทหารในปี 1939 และถูกจับเป็นเชลยที่เดิงแกร์ค (Dunkerque) ในปี 1940 เขาถูกส่งตัวไปค่ายกักกันในปรัสเซีย ได้พบกับชาร์ลส์-เอมิล แปงซง (Charles-Emile Pinson) ซึ่งดังจากภาพพิมพ์ ทั้งสองจึงชวนกันเขียนรูปชีวิตในค่ายกักกัน หลังจากได้รับการปล่อย ตัว อองรี ซิมงนำรูปที่เขาวาดในค่ายกักกัน 20 รูปมาร่วมเป็นอัลบั้มโดยอองเดร (Andre) น้องชายของเขาเป็นผู้เขียนคำบรรยายชื่อ Compagnons de Silence

ความชอบใหม่ของอองรี ซิมงหลังสงครามคือการทำฉากละคร เขากลับมาวาดรูปใหม่ในปี 1945 และแต่งอาคารของ รัฐอย่างกาสิโนเทศบาลที่เลส์ ซาบล์ โดลอน (Les Sables d’Olonne) และแซงต์-ฌอง-เดอ-มงต์ เป็นต้น

อองรี ซิมงแต่งงานในปี 1950 กับโมนิค ปอร์โต (Monique Porteau) และพากันไปเที่ยวแอลจีเรีย เพื่อแสวงหา แสงสีใหม่ๆ เขาเขียน รูปจำนวนหนึ่งในแอลจีเรีย ในทศวรรษ 1960 เขาเริ่มเขียนรูปเป็นชุดๆ ตามหัวเรื่อง เช่น ชาวประมง เด็กๆ ละครสัตว์ การเต้นรำ การเล่นดนตรี การปิกนิก พอร์เทรตและภาพเกี่ยวกับคริสต์ศาสนา เมื่ออัลเฟรด เดอ วิญี (Alfred de Vigny) เขียนหนังสือเรื่อง Le Petit Chose อองรี ซิมงเป็นผู้เขียนรูป ประกอบในปี 1969 ช่วงหลังของชีวิต อองรี ซิมงเขียนรูปขนาดใหญ่ติดผนังโบสถ์แซงต์-อิแลร์-เดอ-ริซ (Saint-Hilaire-de-Riez)

ผลงานโดยรวมของเขาเคยนำออกแสดงนิทรรศการที่พิพิธภัณฑ์กัลลิเอรา (Musee Galliera) ที่กรุงปารีสในปี 1968 และอีกครั้งในปี 1978 ที่ปาเลส์ เดอ กงเกรส์ (Palais de Congres) ที่แซงต์-ฌอง-เดอ-มงต์ นอกจากนั้นยังมีนิทรรศการอีกหลายครั้งในแถบที่เขาเคยอยู่เคยทำงานในวองเด (Vendee)

อองรี ซิมงเสียชีวิตในปี 1987 สตูดิโอ ของเขาที่แซงต์-จิลส์-ครัวซ์-เดอ-วี (Saint-Gilles-Croix-de-Vie) กลายเป็น Espace Henry Simon เปิดให้คนเข้าชม และในปี 1990 มีการก่อตั้งชมรมเพื่อนของอองรี ซิมง (Les Amis d’Henry Simon) ซึ่งเป็นผู้จัดนิทรรศการ Du marais au Marais ร่วมกับเทศบาลกรุงปารีสที่ Espace d’animation des Blancs-Manteaux นั่นเอง

นิทรรศการนำผลงานส่วนหนึ่งของ อองรี ซิมงมาแสดง ภาพเด่นเห็นจะเป็นภาพที่เขาเขียนระหว่างถูกคุมขัง เป็นภาพชีวิตที่เศร้ามาก ชมผลงานของอองรี ซิมงแล้วตระหนักว่าเขาชอบเขียนภาพชีวิต ชีวิต ของชาวประมง ชีวิตของเด็กๆ ชีวิตในท้องถนน เช่น ตลาดสด หรือชีวิตในหมู่บ้าน เช่น การเต้นรำ นอกจากนั้นยังมีภาพทิวทัศน์โดยมีทะเลเป็นฉาก

ภาพส่วนหนึ่งเกี่ยวกับแอลจีเรียก็เป็น ภาพชีวิตเช่นกัน อองรี ซิมงใช้สีจัดได้สวย

หลังจากนิทรรศการนี้ ส่วนหนึ่งของภาพเขียนเหล่านี้จะนำไปแสดงในนิทรรศการอองรี ซิมงที่แซงต์-อิแลร์-เดอ-รีซ

ขณะกำลังชมนิทรรศการ สาวหนึ่งถ่ายรูปภาพเขียนด้วยโทรศัพท์มือถือ จึงขอทำตามบ้าง พอถึงรูปสุดท้ายปรากฏว่าแฟลชขึ้น เจ้าหน้าที่จึงเดินมาบอกว่าขอความร่วมมืออย่าใช้แฟลชเพราะอาจทำให้ภาพเสียหายได้ จึงบอกว่าไม่ได้ตั้งแฟลช แต่ไม่ทราบว่าทำไมแฟลชขึ้นเฉพาะรูปนี้ เธอผู้นี้ชื่อวิกตอเรีย (Victoria) เป็นหนึ่งใน นางแบบของอองรี ซิมง ซึ่งเธอได้รู้จักตั้งแต่อายุ 12 ขวบ จึงขอถ่ายรูปเธอไว้ และบอกเธอว่าไม่แน่ใจว่าจะสามารถส่งรูปให้เธอได้หรือไม่ เพราะยังไม่ทราบวิธีย้ายรูปจากมือถือไปยังคอมพิวเตอร์ ยังไม่ซึมซับเทคโนโลยีสมัยใหม่

ถ่ายรูปด้วยโทรศัพท์มือถือได้ก็เก่งมากแล้ว!   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us