Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา กุมภาพันธ์ 2554
วิเคราะห์ธุรกิจและปัจจัยความสำเร็จธุรกิจแบบ Groupon             
โดย ดร.ภิเษก ชัยนิรันดร์
 


   
search resources

Web Sites
Marketing




ณ ขณะนี้ธุรกิจในลักษณะ Groupon กำลังเป็นกระแสที่มาแรง จนมีหลายๆ เว็บไซต์ ที่แห่ตามกันใช้โมเดลธุรกิจนี้ในการสร้างรายได้ เนื่องด้วยไม่ต้องไปลงทุนอะไรมากมาย เพียงแค่ติดต่อร้านค้าที่ต้องการเข้าร่วม และทำการโฆษณาผ่านทั้งเว็บไซต์และ Social Media ต่างๆ แต่สิ่งสำคัญคืออะไรคือปัจจัยแห่งความสำเร็จ เรามาพิจารณากัน

อะไรคือโมเดลธุรกิจของ Groupon

Groupon.com คือ เว็บไซต์ที่เป็นผู้เริ่มในการจุดกระแสโมเดลธุรกิจแบบใหม่นี้ในสหรัฐอเมริกา โดยที่ทาง Groupon จะไป ติดต่อกับร้านค้าหรือกิจการต่างๆ ในการเสนอราคาของสินค้าหรือบริการที่ถูกกว่าราคา ปกติมากกว่า 50% จากนั้นทาง Groupon ก็ ประชาสัมพันธ์ในลักษณะของ Deal of the Day ผ่าน Social Media ต่างๆ โดยเฉพาะ Facebook และ Twitter โดยเน้นให้บรรดา Fan หรือ Follower ชักชวนเพื่อนๆ เข้ามาซื้อแบบร่วมด้วยช่วยกัน โดยมีแรงจูงใจเป็นเงิน $10 สำหรับการแนะนำ ทั้งนี้เนื่องจากมีข้อกำหนดไว้ว่า จะต้องมีคนเสนอซื้อเข้ามา ครบตามจำนวนที่กำหนด จึงจะได้ในราคาพิเศษที่นำเสนอ หากจำนวนคนเสนอซื้อไม่ครบ การเสนอราคาดังกล่าวก็จะถูกยกเลิกไป

จะเรียกว่าเป็นการให้บรรดาปัจเจกชน ทั้งหลายมีอำนาจต่อรองต่อกิจการ เสมือนหนึ่งร้านค้าใหญ่ๆ ที่จะได้ส่วนลดจากราคาส่ง โดยการรวบรวมกันเป็นกลุ่มใหญ่ในการซื้อ มี Groupon เสมือนเป็นตัวกลาง ผ่านเครื่องมือ Social Media จึงเรียกรูปแบบของ ธุรกิจนี้ในอีกชื่อหนึ่งว่า “Social Commerce”

ดังนั้น ประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้รับ คือ

1. การได้ส่วนลดจำนวนมาก

2. ได้รู้จักกิจการที่เขาไม่เคยรู้จัก

3. หลายแห่งมีการสำรวจกลุ่มลูกค้าว่ามีความชอบอะไร แล้วนำเสนอในสิ่งที่พวก เขาต้องการ

ด้วยรูปแบบในการทำธุรกิจของ Groupon ที่เริ่มต้นเมื่อ 2 ปีที่แล้ว ทำให้เป็น หนึ่งในเว็บไซต์ที่มีการเติบโตเร็วมากที่สุดแห่งหนึ่ง ทำรายได้กว่า $500 ล้านในปีนี้ โดยเป็นส่วนแบ่งรายได้ประมาณครึ่งหนึ่งของราคาสินค้าหรือบริการที่นำเสนอขายนั่นเอง

ทำไมธุรกิจจึงยอมร่วมกับ Groupon

สมมุติว่า โรงแรมแห่งหนึ่งราคาที่พัก $100 เสนอราคาห้องพักผ่าน Groupon ที่ $50 เหรียญ ซึ่งในส่วน $50 นี้ ครึ่งหนึ่งคือ $25 จะต้องแบ่งให้ทาง Groupon คำถามคือ ทำไมโรงแรมจึงยอมที่จะขาดรายได้ไปถึง $75

คำตอบคือเพราะโรงแรมมองว่าการทำธุรกิจกับ Groupon นั่นเป็นการโฆษณา ในอีกรูปแบบหนึ่ง โดยผ่านบรรดา Fan หรือ Follower ที่เป็นกลุ่มใหญ่ที่ทาง Groupon ได้สร้างขึ้นมา เมื่อเปรียบเทียบกับ Banner โฆษณาตามเว็บไซต์ที่นับวันจะไม่ได้ผล หรือ การโฆษณาผ่าน Google Adword หรือ Facebook Ad การใช้โฆษณาผ่าน Groupon จะมีความน่าสนใจมากกว่า เพราะตัวลูกค้าได้สิทธิประโยชน์ทันทีแต่ส่วนสำคัญที่ว่าการโฆษณานั้นจะแพร่กระจายมากน้อยแค่ไหน ต้องขึ้นกับจำนวน Fan ที่มีด้วย

ธุรกิจที่เหมาะสมกับการใช้รูปแบบ การขายผ่าน Groupon คือ

1. ธุรกิจที่มีต้นทุนคงที่สูง

2. ธุรกิจที่มีต้นทุนการหาลูกค้าสูง

3. ธุรกิจที่ต้องการลูกค้าซื้อซ้ำ

Ensogo และ Groupon Clone ของไทย

รูปแบบการทำธุรกิจแบบ Groupon เข้ามาโด่งดังในไทย โดยมี Ensogo เป็นส่วน สำคัญในการปลุกตลาดนี้ แต่มีส่วนที่ต่างจาก Groupon อยู่บ้างคือ การให้สมาชิกสามารถ ได้รับส่วนลดทันที โดยไม่จำเป็นว่าจะต้องมีคนซื้อตามจำนวนที่กำหนด แต่ต้องเป็นภาย ในระยะเวลาที่กำหนด โดยการปรับรูปแบบการซื้อ-ขายสินค้าให้ใช้คูปองแทนตัวสินค้า เพื่อนำไปซื้อบริการต่างๆ แทน

กลุ่มกิจการระดับ SMEs คือธุรกิจที่ Ensogo และ Groupon Clone รายอื่นๆ สนใจ ทั้งนี้เนื่องจากปกติกิจการ SMEs นั้นไม่มีทรัพยากรเพียงพอในการโฆษณา อย่างมากก็ทำป้ายหรือโบรชัวร์เท่านั้น ครั้นจะมา สร้าง Fan Page บน Facebook ก็ใช่ว่าจะ สร้างจำนวน Fan เป็นกอบเป็นกำได้ง่าย ดังนั้น ธุรกิจแบบ Groupon คือทางออก เพราะส่วนแบ่งที่กิจการแบ่งให้นั้นจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อ มีการซื้อคูปอง แต่หากไม่มีใครซื้อเลย กิจการ ก็ไม่ต้องเสียอะไร กลับได้ลงโฆษณาในเว็บไซต์ดังกล่าวไปเรียบร้อยแล้ว

จากข้อมูลของ pawoot.word press.com นอกเหนือจาก Ensogo แล้วยังมี บรรดา Groupon Clone ดังต่อไปนี้ คือ Dealdidi, coupon.sanook.com, Doongchuaydai, Dealicious, Promochan, Coucafe, Thaicitydeals, U2deal, และ Coupons.co.th

วิเคราะห์ธุรกิจ Groupon

เชื่อว่าในไทยยังมีเว็บไซต์อีกหลายๆ แห่งเข้ามายังธุรกิจประเภทนี้ ทำให้เกิดการแข่งขันกันสูง ทั้งนี้เนื่องจาก

1. ยังไม่มีรายใดที่สามารถสร้าง Network Effect ได้

2. ไม่ยากต่อการเข้ามายังธุรกิจนี้ เพราะลงทุนน้อยและสามารถซื้อโปรแกรม ในลักษณะแบบ Groupon ได้ไม่ยาก เรียกว่าไม่มีอุปสรรคในด้านเทคโนโลยี

3. สำหรับผู้บริโภค เมื่อเห็นรายใดที่นำข้อเสนอดีๆ มาให้ สามารถเปลี่ยนไปใช้ บริการได้ทันที เรียกว่าไม่มีต้นทุนในการเปลี่ยน

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

เนื่องจากรูปแบบหลักคือ การเป็น Social Commerce สิ่งสำคัญคือ จำนวน Fan ที่มีมากใน Facebook ทำให้กิจการ ต่างๆ สนใจเสนอสินค้าหรือบริการ เพราะ จะมีผู้ที่ได้รับข่าวสารแพร่หลายกว่า (อย่า ลืมว่าเป็นการโฆษณาประเภทหนึ่ง ดังนั้นคนได้รับสารเยอะๆ ย่อมดีกว่า) เรามาลอง สำรวจ Fan Page ของ Groupon Clone ในไทยคือ (นับถึงวันที่ 21 ธันวาคม 2553)

- Ensogo 58,591 คน

- Dealdidi 22,469 คน

- Dealicious 15,102 คน

- Coupon.Sanook.com 5,811 คน

- Promochan 1,373 คน

- Doongchuydai 1,303 คน

หาก Ensogo หรือรายใหญ่อื่นๆ สร้างจำนวน Fan ให้ทวีคูณได้อย่างรวดเร็ว ดีลที่เสนอจะมีความน่าสนใจสูงกว่ารายอื่นๆ ที่มีจำนวน Fan น้อยกว่า ยกตัวอย่าง สมมุติว่าเราเป็นร้านอาหาร “ภิเษกโภชนา” เป็นร้าน ที่มีชื่อเสียง และมีบรรดาธุรกิจ Groupon Clone ทั้งหลายต่างพากันมาติดต่อเพื่อให้ร่วมในการให้ส่วนลด ถ้าเป็นผมต้องพิจารณา ว่าทางกิจการที่เสนอมานั้นแห่งใดจะมีจำนวน Fan มากที่สุด อย่าลืมว่ารูปแบบธุรกิจนี้คือการโฆษณาแบบหนึ่ง ดังนั้นหากการเสนอส่วน ลดของเรา สามารถแพร่หลายไปยัง Fan ที่มี จำนวนมากนั้นได้ ย่อมทำให้เป็นที่รู้จักและ เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด ดังนั้นหาก Ensogo หรือรายใหญ่อื่นๆ สามารถกระจายข้อเสนอ จากกิจการทั่วประเทศก็มีโอกาสครองตลาดส่วนใหญ่ไปเกือบหมด (Winner Take Most)

แล้วรายย่อยๆ จะล้มหายตายจากไป หมดไหม? ผมว่าส่วนหนึ่งคงหายไปจากธุรกิจ นี้จากที่มีอยู่ในปัจจุบัน แต่อีกหลายกิจการ จะลงไปเล่นในลักษณะของ Niche Market เช่น การเสนอดีลเฉพาะสำหรับจังหวัดใดจังหวัดหนึ่ง หรือมีความเชี่ยวชาญในบางธุรกิจ เป็นต้น ทั้งนี้จะทำได้ต่อเมื่อ Fan ใน Facebook Page นั้นต้องเป็นกลุ่มเป้าหมาย เฉพาะที่เด่นชัดและมีจำนวนมากเพียงพอ

Social Social Social

แต่ก่อนแต่ไร ในการค้าขาย เราจะสร้างร้านค้าออนไลน์ขึ้นมา จากนั้นก็ใช้การโฆษณาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการทำ SEO การใช้ Google Adword การโฆษณาผ่าน Banner หรือแม้กระทั่งการใช้สื่อออฟไลน์ต่างๆ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้เข้าถึงร้านของ เรา ทั้งนี้จะมีลักษณะของการเน้นการขาย

เมื่อ Social Media มีการพัฒนาขึ้น เรื่อยๆ กลับมองเห็นว่าการอาศัยแต่โฆษณา เพื่อให้ลูกค้ามายังร้านนั้นไม่เพียงพอ จำเป็น ต้องสร้างกลุ่มลูกค้าให้เป็นกลุ่มก้อนและมีความภักดีต่อแบรนด์ (Brand Loyalty) เพื่อความยั่งยืนของธุรกิจในระยะยาว ทั้งนี้ลักษณะการใช้ Social Media ที่ความสำคัญ อยู่ที่บทสนทนาและกิจกรรมที่ให้ลูกค้าได้เข้า มามีส่วนร่วม มากกว่าการตั้งหน้าตั้งตาขาย

นั่นหมายถึงกิจการจะต้องมีกรอบแนวคิดใหม่ ต้องคำนึงว่าจะสร้างกลุ่มลูกค้าที่ติดตามกิจการหรือแบรนด์ได้อย่างไร จะมอบอะไรเพื่อเป็นคุณค่าที่ชวนให้ติดตาม และจะทำอย่างไรให้การสร้างสังคมนั้นนำมา สู่รายได้ที่เพิ่มมากขึ้น

ลักษณะธุรกิจแบบ Groupon Clone ขึ้นอยู่กับจำนวน Fan ใน Facebook ดังที่กล่าวมาแล้ว ธุรกิจในลักษณะอื่นๆ มีความจำเป็นที่ต้องสนใจการสร้าง Fan ด้วยเช่นกัน

ยกตัวอย่างเว็บไซต์ที่ผมเพิ่งจัดทำ ขึ้นมาอย่าง www.doctorpisek.com ที่เน้น เนื้อหาข้อมูลในส่วนของ e-Commerce และ Social Media หากเป็นสมัยก่อนการสร้างสังคมภายในเว็บไซต์มักจะทำผ่านเว็บบอร์ดที่เหมือนสถานที่พูดคุยกันระหว่างสมาชิก แต่เมื่อเกิด Social Network อย่าง Facebook การสร้างกลุ่ม Fan ของเว็บไซต์ จะกระทำได้ง่าย เนื่องจากมีการสร้างเครือข่ายและสามารถบอกต่อๆ กันไป ทำให้การ สร้าง Fan ขึ้นมานั้นทำได้ง่ายขึ้นและเพิ่มจำนวนได้อย่างรวดเร็ว

ดังนั้น กลยุทธ์ ณ ปัจจุบันของ www. doctorpisek.com คือสร้างฐานผู้อ่านด้วยการมีจำนวน Fan ผ่าน facebook.com/doctorpisek ให้มีจำนวนมากเพียงพอ โดยจัดกิจกรรมที่ให้ลูกค้ามีส่วนร่วมและบอกต่อ แจกของ หรือกิจกรรมพิเศษอย่างจัดสัมมนาฟรี ยิ่งจำนวน Fan เพิ่มขึ้นเท่าไร ย่อมจูงใจแก่กิจการหรือแบรนด์ที่จะลงโฆษณาหรือเป็นสปอนเซอร์ สามารถนำสินค้าที่ลูกค้ากลุ่มนี้สนใจมาเสนอขายโดยตรง เช่น หนังสือหรืองานสัมมนา เป็นต้น ไม่ต้องแปลกใจว่าเดี๋ยวนี้หลายๆ ธุรกิจถึงพยายามสร้างฐาน Fan กันอย่างขยันขันแข็ง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us