Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา กุมภาพันธ์ 2554
The Future of Smartphone             
โดย ธวัชชัย อนุพงศ์อนันต์
 

 
Charts & Figures

Top Smartphone Platforms


   
search resources

Smart Phone




ปี 2010 ที่ผ่านมา กลายเป็นปีแห่งแพลตฟอร์มของสมาร์ทโฟนไปอย่างช่วยไม่ได้ เราเห็น iPhone 4 ที่ออกมากระตุ้นยอดขายของโทรศัพท์ ไม่เพียงแต่คนที่เพิ่งซื้อโทรศัพท์มือถือใหม่ หรือคนที่ถึงรอบเปลี่ยนโทรศัพท์มือถือ แต่หลายๆ คนที่มีโทรศัพท์อยู่แล้ว ก็ขายทิ้งแล้วเอาเงินมาซื้อ iPhone แทน จากนั้นเราก็เห็นการเข้ามาแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดของ Google Android กับตลาดที่เหล่าสาวกแอปเปิลและ แบล็กเบอรี่ครอบครองอยู่ จากนั้นเราก็ได้ยลโฉม Windows Phone 7 ของไมโครซอฟท์ที่เป็นสัญญาณของการเข้ามาทวงศักดิ์ศรีครั้งสำคัญของไมโครซอฟท์ในตลาดโทรศัพท์มือถือ

จากจำนวนของซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ที่สนับสนุนการใช้งานของสมาร์ท โฟนที่มีหลากหลายมากมายในท้องตลาด ทำให้ผู้บริโภคอย่างเราๆ ต้องสับสนงุนงงว่าจะเลือกซื้อแพลตฟอร์มไหนดีท่ามกลางสมาร์ทโฟนมากหน้าหลายตาในท้องตลาด เช่นเดียวกับที่เราได้เห็นเว็บไซต์หรือนิตยสารต่างๆ ล้วนนำสมาร์ทโฟนเหล่านี้มารีวิวพูดถึงกันอย่างแพร่หลายที่สำคัญ เราแน่ใจหรือเปล่าว่านี่คือแนวโน้มของโลกหรือเป็นแค่กระแสความนิยมช่วงสั้นๆ เท่านั้น

ก่อนอื่น เราต้องเข้าใจก่อน ว่า สมาร์ทโฟนคือโทรศัพท์เคลื่อนที่ ชนิดหนึ่งที่มีความสามารถในลักษณะเดียวกับคอมพิวเตอร์ขนาด ย่อมๆ มีความสามารถในการ เชื่อมต่อเครือข่ายที่ดีกว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบ feature phone ทั่วๆ ไป ซึ่ง feature phone คือโทรศัพท์มือถือแบบที่มีความสามารถในการประมวลผลต่ำกว่าสมาร์ทโฟน ก่อนหน้านี้เราใช้งานกันอยู่ทั่วไป

จริงๆ แล้ว สมาร์ทโฟนและ feature phone ล้วนเป็นโทรศัพท์มือถือที่รวมเอาความสามารถของคอมพิวเตอร์แบบพกพาเข้าไว้ในตัว แต่สำหรับ feature phone ส่วนใหญ่จะสามารถรันแอพพลิเคชั่นโดยอิงกับแพลทฟอร์ม ใดแพลทฟอร์มหนึ่ง เช่น Java ME ในขณะที่สมาร์ทโฟนจะให้ผู้ใช้สามารถติดตั้งและรันแอพพลิเคชั่น ที่ไฮโซกว่า กล่าวได้ว่าสมาร์ทโฟน สามารถรันระบบปฏิบัติการ (Operating System) อย่างสมบูรณ์ซึ่งจะกลายเป็นแพลตฟอร์มที่ทำให้สามารถพัฒนาแอพพลิเคชั่นขึ้นมารันใช้งานได้บนแพลตฟอร์มเหล่านี้ นอกจากนี้ สมาร์ทโฟนก็มองเหมือน feature phone ว่าเป็นเหมือนคอมพิวเตอร์ ขนาดเล็กแบบพกพา (Personal Pocket Computer) ที่มีฟังก์ชัน แบบโทรศัพท์มือถือ เหตุที่เรียกแบบนั้นเพราะโทรศัพท์มือถือเหล่านี้คือคอมพิวเตอร์แม้ว่าจะมีขนาดเล็กกว่าคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ โดยทั่วๆ ไปก็ตาม

การเติบโตของอุปสงค์ของอุปกรณ์แบบพกพาโดยเฉพาะสมาร์ทโฟนได้ผลักดันให้เกิดโปรเซสเซอร์ที่มีศักยภาพมากขึ้น, หน่วยความจำที่ไม่จำกัด, หน้าจอที่ใหญ่ขึ้น และระบบปฏิบัติการแบบเปิด โดยการเติบโตนี้ได้แซงหน้าตลาดโทรศัพท์มือถืออื่นๆ มาเป็นเวลาหลายปีแล้ว จากข้อมูลของ ComScore พบว่าผู้ใช้กว่า 45.5 ล้านคนในประเทศสหรัฐอเมริกาใช้สมาร์ทโฟนในปีที่ผ่านมาจากจำนวนผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือ 234 ล้านเครื่องทั่วประเทศ

อย่างไรก็ดี แม้จะมีอัตราการเพิ่มขึ้นของยอดขายของสมาร์ทโฟนมหาศาลในช่วง 2-3 ปีล่าสุด แต่อัตราการส่งออกของสมาร์ทโฟนก็เป็นเพียงแค่ 20% ของยอดการส่งออกอุปกรณ์แบบพกพาช่วงครึ่งปีแรกของปี 2010 เท่านั้น

เราอาจจะกล่าวได้ว่าตลาดสมาร์ทโฟนเริ่มคึกคักจากการเกิดขึ้นของระบบปฏิบัติการที่เรียกว่า Symbian และสมาร์ท โฟนยี่ห้อแบล็คเบอร์รี่ ในช่วงต้นทศวรรษ 2000 ก่อนที่ Android และ iPhone จะทำให้ตลาดสมาร์ทโฟนพุ่งขึ้นถึงจุดสูงสุด

iPhone รุ่นแรกออกวางตลาดในปี 2007 โดยบริษัทแอปเปิล มีจุดขายสำคัญอยู่ที่การเป็นสมาร์ทโฟนตัวแรกในตลาดที่สามารถใช้งานผ่านระบบทัชสกรีน โดยเฉพาะอินเตอร์เฟซแบบ multi-touch ซึ่งถือเป็นจุดเด่นที่เหนือกว่าคู่แข่งทั้งหลายในตลาดขณะนั้น

ปี 2008 Android ในฐานะเป็นแพลทฟอร์มแบบโอเพ่นซอร์สสำหรับสมาร์ทโฟนถือกำเนิดขึ้น โดยมีกูเกิ้ลเป็นแบ็กอัพที่สำคัญ รวมถึงเหล่าผู้ผลิตฮาร์ด แวร์และซอฟต์แวร์ที่สำคัญ ไม่ว่าจะเป็น Intel, HTC, ARM, Motorola และซัมซุง โดยรวมกลุ่มกันเป็นพันธมิตรซึ่งกันและกัน ที่เรียกว่า Open Handset Alliance โดยมีสมาร์ท โฟนเครื่องแรกที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Android คือ HTC Dream โดยสามารถใช้งานซอฟต์แวร์หลักๆ ของกูเกิ้ล ไม่ว่าจะเป็น Maps, Calendar, Gmail โดยสามารถใช้งานเว็บบราวเซอร์อย่างสมบูรณ์ นอกจากนี้ยังมีแอพพลิเคชั่นที่พัฒนาโดยบริษัทอื่นๆ ที่สามารถใช้งานผ่าน Android Market โดยมีทั้งแอพพลิเคชั่นแบบฟรีและเสียเงิน

กลางปี 2008 แอปเปิลออกมาเขย่า ตลาดอีกครั้งโดยนำ iPhone เจนเนอเรชั่น ใหม่ที่ราคาถูกลงและสนับสนุน 3G นอก จากนี้ แอปเปิลยังเปิด App Store ที่มีแอพพลิเคชั่นทั้งแบบเสียเงินและแจกฟรีให้ดาวน์โหลดใช้งาน โดย App Store เปิด โอกาสให้ใครก็ตามสามารถพัฒนาแอพพลิเคชั่นขึ้นมาใช้งานได้ โดยผู้ใช้ iPhone และ iPod Touch สามารถดาวน์โหลดไปใช้งานได้โดยตรง ไม่ต้องผ่านเครื่องพีซีอีกต่อไป App Store ถือเป็นความสำเร็จอย่าง สูงสำหรับแอปเปิลโดยในเดือนเมษายน 2010 มีแอพพลิเคชั่นมากถึง 185,000 แอพพลิเคชั่นให้ใช้งาน โดยต้นปี 2010 มียอดการดาวน์โหลดมากมายถึงสามพันล้านครั้ง

ในขณะที่เดือนมกราคมปีที่แล้ว กูเกิ้ลก็ได้ออกวางตลาด Nexus One โดย ใช้ระบบปฏิบัติการ Android ของพวกเขาเองการ์ตเนอร์รายงานในเดือนพฤศจิกายน 2010 ว่า ยอดขายของสมาร์ทโฟนได้เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าภายในระยะเวลาหนึ่งปี และปัจจุบันยอดขายของสมาร์ทโฟนคิดเป็น 19.3 เปอร์เซ็นต์ของยอดขายโทรศัพท์มือถือ ทั้งหมด

เมื่อมองส่วนแบ่งตลาดสมาร์ทโฟนของระบบปฏิบัติการที่ใช้งาน พบว่า Symbian มีส่วนแบ่งตลาดสูงสุดอยู่ที่ 37 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาเป็น Android (25 เปอร์เซ็นต์), แอปเปิล (17 เปอร์เซ็นต์), แบล็กเบอร์รี่ (15 เปอร์เซ็นต์) และไมโคร ซอฟท์ (3 เปอร์เซ็นต์)

สิ่งที่เราจะต้องมองต่อไปคือ สมาร์ท โฟนจะเป็นอย่างไรในอนาคต ทุกวันนี้เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ในทางปฏิบัติแล้วว่า เราสามารถใช้โทรศัพท์มือถือของเราควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยภายในบ้านเราได้ แม้เราจะไม่ได้อยู่บ้าน หรือแม้แต่อยู่ห่างไป อีกครึ่งโลก เมื่อมีแขกมากดกระดิ่งที่หน้าบ้าน ระบบกระดิ่งและอินเตอร์คอมจะเชื่อม ต่อมายังโทรศัพท์มือถือของเรา เมื่อเราใส่พาสเวิร์ดที่ถูกต้อง เราก็สามารถพูดคุยกับแขกคนนั้นผ่านระบบอินเตอร์คอม หรือแม้แต่เปิดประตูให้แขกเข้ามาในบ้านได้เลย

นี่คือโลกที่กำลังจะเปลี่ยนไปภายใน อุ้งมือน้อยๆ ของเรา สมาร์ทโฟนทุกวันนี้ก็มีขนาดเล็กลง ผอมลง และราคาถูกลงเรื่อยๆ ก่อนหน้านี้ ตลาดของสมาร์ทโฟนคือ เหล่าผู้บริโภคมืออาชีพ หรือที่เรียกว่า Prosumer หรือ professional consumer หรือ production consumer (ซึ่งเป็นคำเรียกกลุ่มผู้บริโภคที่มีส่วนในการผลักดันการ ออกแบบ, การผลิต และการเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์ให้เกิดขึ้น) ปกติแล้ว prosumer จะเป็นกลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มแรกๆ ของผลิตภัณฑ์ใดๆ โดยพวกเขาจะเป็นกลุ่มที่มีรายได้สูงและมีความกระตือรือร้นอยากที่จะใช้งานสินค้าใหม่ๆ หรือเทคโนโลยีที่ทันสมัยอยู่เสมอ ซึ่งบริษัทผู้ผลิตสมาร์ทโฟน ก็จะอาศัย prosumer ในการพัฒนาการออกแบบแอพพลิเคชั่นและฮาร์ดแวร์ โดยบริษัทผู้ผลิตสมาร์ทโฟนจะปรับเปลี่ยนรูปแบบและดีไซน์จากรูปแบบที่เหล่า prosumer เลือกใช้งานเพื่อให้เข้ากับการใช้งานของคนกลุ่มใหญ่ นักวิเคราะห์หลาย ต่อหลายรายคาดการณ์ว่ายอดขายของสมาร์ทโฟนจะแตะหลักพันล้านเครื่องภายในปีนี้

เมื่อมองถึงวิธีการอินพุทข้อมูล ARCchart ก็ได้คาดการณ์ว่า 38 เปอร์เซ็นต์ ของโทรศัพท์มือถือทั้งหมดทั่วโลกจะใช้ระบบทัชสกรีนหรือระบบสัมผัส ภายในปี 2012

ระบบรักษาความปลอดภัยดูจะเป็น ประเด็นที่ท้าทายมากที่สุดเรื่องหนึ่งสำหรับ อนาคตของสมาร์ทโฟน จริงๆ แล้ว สมาร์ทโฟนและ PDA เป็นที่นิยมในหมู่ผู้บริหารระดับสูงขององค์กรต่างๆ มานานแล้ว โดยพวกเขาใช้โทรศัพท์สำหรับการส่งข้อมูลที่มีความลับหรือลับสุดยอดอยู่เป็นประจำ อย่างไรก็ตาม สมาร์ทโฟนค่อนข้างเสี่ยงที่จะโดนคุกคามระบบรักษาความปลอดภัยของมัน โดยเหล่าแฮกเกอร์มักจะตั้งเซิร์ฟเวอร์มาดักระบบเน็ตเวิร์คจริงแล้วบล็อกแทรฟฟิกที่ส่งข้อมูลกลับไปสู่ระบบเซิร์ฟเวอร์จริง ข้อด้อยอีกอย่างหนึ่งของสมาร์ทโฟนที่เป็นระบบเปิดและสามารถแก้คอนฟิกกูเรชั่นในเครื่องได้ก็คือเสี่ยงต่อการติดไวรัส หรือโดนไวรัสโจมตี และแฮกเกอร์จำนวนมากก็นิยมเขียนไวรัสให้มาโจมตีระบบปฏิบัติการ Symbian ของสมาร์ทโฟน

นอกจากนี้ความหลากหลายของฮาร์ดแวร์, ซอฟต์ แวร์ และโปรโตคอลที่สมาร์ทโฟนใช้ก็ส่งผล ต่อการสร้างมาตรฐานทางด้านระบบรักษาความปลอดภัยที่ใช้งานได้จริงและใช้อย่างแพร่หลาย ปัจจุบันก็เน้นไปทางด้านระบบปฏิบัติการใดระบบปฏิบัติการหนึ่ง หรือเน้นที่พฤติกรรมการใช้งานของผู้บริโภค มากกว่าระบบรักษาความปลอดภัยของเครือ ข่าย และเมื่อความสามารถในการส่งผ่านข้อมูลได้เพิ่มสูงขึ้นมาก รวมถึงเทคโนโลยี WiFi ที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ท้องฟ้า ที่กว้างใหญ่กลายเป็นข้อจำกัดที่สำคัญที่สุดของสมาร์ทโฟนไปแล้ว

อย่างไรก็ดี สิ่งที่น่าตื่นตาตื่นใจสำหรับเทคโนโลยีสมาร์ทโฟนก็คืออุตสาหกรรมนี้ยังมีช่องว่างที่เปิดกว้างอย่างมาก โดยเฉพาะการที่ยังไม่มีอะไรสมบูรณ์แบบสำหรับการนำเอาสมาร์ทโฟนมาใช้ในชีวิตจริง สมาร์ทโฟนรุ่นต่างๆ ที่ทยอยออกวางตลาดล้วนนำมาซึ่งการออกแบบใหม่ๆ และแนวคิดการสร้างอินเตอร์ เฟซแบบใหม่ๆ ยังไม่มีผู้ผลิตหรือผู้พัฒนารายใดสามารถสร้างสมาร์ท โฟนที่มีรูปร่าง, หน้าตา, ขนาด หรือระบบอินพุทข้อมูลที่สมบูรณ์แบบได้ แม้แต่iPhone ที่เราคิดว่า เทคโนโลยีของแอปเปิลเจ๋งสุดๆ แล้วก็ตาม

อนาคตของสมาร์ทโฟนจึงอยู่ในมือผู้บริโภคตลาดแมสแบบเราๆ ในวาระที่สมาร์ทโฟนได้ส่งต่อจาก prosumer มาสู่ consumer อย่างพวกเรา

อ่านเพิ่มเติม:
1. Manjoo, F. (2010), “I Want Chromedroid,” Dec 15, 2010, http://www.slate.com/id/2278058/pagenum/all/#p2
2. Manjoo, F. (2010), “Zune: The Phone?,” Dec 20, 2010, http://www.slate.com/id/2278386/
3. Mombert, G. (2009), “What is a Smartphone?,” Dec 14, 2009, http://www.digitaltrends.com/mobile/what-is-a-smartphone/
4. Coustan D. and Strickland J., “How Smartphones Work,” http://communication.howstuff works.com/smartphone.htm
5. Perez, S. (2010), “Gingerbread Released, Here’s What’s New, “Dec 6, 2010, http://www.read writeweb.com/mobile/2010/12/gingerbread-released-details.php
6. Winson, F. (2010), “Where Should Mobile Developers Focus?,” Dec 3, 2010, http://www.avc.com/a_vc/2010/12/where-should-mobile-developers-focus.html
7. Smartphone, http://en.wikipedia.org/wiki/Smartphone   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us