Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา กุมภาพันธ์ 2554
ฤาจะเป็นปีทองของสามารถกรุ๊ป             
โดย นภาพร ไชยขันแก้ว
 

 
Charts & Figures

ผลประกอบการ บมจ. สามารถ คอร์ปอเรชั่น


   
www resources

โฮมเพจ กลุ่มบริษัทสามารถ

   
search resources

สามารถคอร์ปอเรชั่น, บมจ.




ตลอด 3-4 ปีที่ผ่านมา กลุ่มบริษัทสามารถจะวางเป้าหมายรายได้ต่อปีไว้ประมาณ 25,000 ล้านบาท แต่ในความเป็นจริง บริษัทมีรายได้ไม่ถึง 2 หมื่นล้านบาท ทว่าในปีนี้บริษัทห้าวหาญ ตั้งเป้ารายได้ไว้ถึง 29,000 ล้านบาท เป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในรอบ 5 ปี

บมจ.สามารถ คอร์ปอเรชั่น ให้คำนิยามตัวเองว่า เป็นผู้นำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการด้านเทคโนโลยีครบวงจรภายใต้ บริษัทในเครือกว่า 30 บริษัท และมี 3 บริษัทที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ประกอบด้วย บมจ. สามารถคอร์ปอเรชั่น บมจ.สามารถเทลคอม และ บมจ.สามารถ ไอ-โมบาย

พื้นฐานธุรกิจของกลุ่มบริษัทสามารถ มาจากผู้ผลิตจานดาวเทียม และขยายไปเป็นผู้ให้บริการติดตั้งอุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมให้กับหน่วยงานภาครัฐ รวมถึงเป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ภายใต้การดูแลของบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด หรือ ดีพีซี และเป็นผู้จำหน่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ยี่ห้อไอโมบาย

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา บริษัทดำเนินธุรกิจมีทั้งประสบความสำเร็จและล้มเหลว โดยเฉพาะในฐานะผู้ให้บริการโทรศัพท์ดีพีซีไม่สามารถแข่งขันกับคู่แข่งรายใหญ่และมีเงินทุนแข็งแกร่งอย่างบริษัท เอไอเอส ดีแทค หรือกลุ่มทรู

ทำให้ที่ผ่านมากลุ่มบริษัทสามารถ พยายามแสวงหาธุรกิจใหม่เพื่อกระจายความเสี่ยงให้กับธุรกิจและสร้างความยั่งยืน ต่อไปในอนาคต

เมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมา กลุ่มสามารถได้ก่อตั้งธุรกิจใหม่ที่เรียกว่าธุรกิจบริการสาธารณูปโภค (Utilities Services) ให้บริการด้านพลังงานทางเลือก สิ่งแวดล้อม และการเดินทาง

แต่เนื่องจากเป็นธุรกิจใหม่และได้มี การลองผิดลองถูก เหมือนดังเช่นการก่อตั้ง บริษัท เรดิเทค จำกัด เพื่อดำเนินธุรกิจ เทคโนโลยีนิวเคลียร์ โดยเริ่มต้นจากให้บริการธุรกิจนิวเคลียร์ที่เกี่ยวเนื่อง เริ่มต้นจากให้บริการฉายรังสีเครื่องมือแพทย์ ผลไม้ และอัญมณี

หลังจากศึกษาด้านการลงทุนแล้ว พบว่าค่าใช้จ่ายสูง และไม่สามารถแข่งขันราคากับคู่แข่งได้ ทำให้โครงการนี้ต้องหยุด ไป จึงเห็นได้ว่าธุรกิจบริการสาธารณูปโภค ยังไม่สามารถสร้างรายได้ให้กลุ่มสามารถได้ในระยะเวลาอันใกล้นี้ และอาจต้องรอไปอีก 2-3 ปีข้างหน้า

แม้กระทั่งการคาดหวังในสายธุรกิจไอซีที โซลูชั่น ทำหน้าที่ติดตั้งอุปกรณ์ สื่อสารโทรคมนาคมให้กับภาครัฐและเอกชน โดยเฉพาะการพึ่งพาโครงการประมูลของภาครัฐที่ขึ้นอยู่กับระบบการเมือง จึงทำให้หลายโครงการต้องหยุดชะงัก ส่งผลให้รายได้ของกลุ่มนี้ไม่เป็นไปตามเป้า

ในปี 2554 หลังจากที่โครงการวางระบบเครือข่าย 3G ของ บมจ.ทีโอที มูลค่า 1.9 หมื่นล้านบาท เริ่มเปิดประมูลในปีนี้ กลุ่มสามารถมีความมั่นใจค่อนข้างสูงและคว้าโครงการนี้มาได้ และกำหนดไว้เป็นรายได้ของสายธุรกิจไอซีที โซลูชั่นว่าจะมีรายได้จากโครงการถึง 6 พันล้านบาท

ชัยชนะในครั้งนี้ของกลุ่มสามารถ ได้ร่วมมือติดตั้งอุปกรณ์โครงข่าย 3G ร่วม กับพันธมิตรอีก 4 ราย คือ บมจ.ล็อกซเลย์ และเจ้าของโครงข่าย 3G โนเกีย ประเทศ ฟินแลนด์ ซีเมนส์ ประเทศเยอรมนี และหัวเหว่ย ประเทศจีน และมีสถาบันการเงิน สนับสนุนการเงิน คือ ธนาคารกรุงไทย และธนาคารกรุงเทพ

“กลุ่มพันธมิตรของเราล้วนมีประสบ การณ์ในการติดตั้งอุปกรณ์อยู่แล้ว ที่สำคัญ โครงข่ายของโนเกีย และซีเมนส์ บริษัท ทีโอทีได้เลือกไปติดตั้ง 3G ในช่วงแรก และให้บริการไปแล้ว” วัฒน์ชัย วิไลลักษณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่กล่าว

บริษัท สามารถฯ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับ 3G ในฐานะเป็นผู้ร่วมเข้าประมูลเท่านั้น แต่บทบาทของบริษัทยังเป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์ 3G โดยมีบริษัท ทีโอที เป็นเจ้าของโครงข่าย

บริษัท สามารถเป็นผู้ให้บริการในรูปแบบ (Mobile Virtual Network Operator: MVNO) ดูแลด้านการตลาดและจำหน่ายโทรศัพท์มือถือ โดยมีบริษัท ไอ-โมบาย บริษัทในเครือเป็นผู้ดูแลบริการทั้งหมด ทำให้ในปีที่ผ่านมามียอดขายโทรศัพท์ 3G จำนวน 150,000 ราย เป็นผู้ให้บริการอันดับหนึ่งเมื่อเทียบกับคู่แข่งที่ให้บริการในรูปแบบเดียวกัน และในปีนี้บริษัทคาดการณ์ว่าจะมียอดขายเพิ่มขึ้นอีก 5-6 แสนราย

เป้าหมายยอดขายที่เพิ่มขึ้นอีก 200 เปอร์เซ็นต์ ส่วนหนึ่งบริษัทได้ใช้กลยุทธ์เปิดตัวบริการ Blackberry บนโครงข่าย 3G ด้วยแพ็กเกจเหมาจ่ายทั้งบริการข้อมูลเสียง ในราคา 650 บาท ราคาเครื่อง 16,900 บาท

ในส่วนของธุรกิจสาธารณูปโภค ซึ่ง บริษัทมองว่าเป็นอนาคตของกลุ่มบริษัทได้ว่าจ้างกลุ่มผู้เชี่ยวชาญและมีประสบ การณ์ในแต่ละด้านเข้ามาร่วมงาน เช่น มนูญ อร่ามรัตน์ อดีตเลขาธิการ สำนักงาน พลังงานปรมาณู นั่งในตำแหน่งที่ปรึกษา บริษัท เรดิเทค จำกัด เพื่อศึกษาโครงการนิวเคลียร์ และบริการใหม่ๆ ด้านพลังงาน ที่เกี่ยวข้อง

ยังได้มอบหมายให้ธีระชัย พงศ์พนางาม Executive Vice President ผู้บริหารดูแลธุรกิจในประเทศกัมพูชา เข้ามา เสริมอีกด้านหนึ่ง เพื่อมองหาช่องทางเข้าไป ศึกษานิวเคลียร์และการรถไฟจากประเทศ จีน เพราะบริษัทมองว่าจีนเป็นประเทศที่มีความรู้ทางด้านเทคโนโลยีสูงมากในระยะหลัง และสามารถพัฒนาเทคโนโนโลยีในต้นทุนต่ำ โดยเฉพาะโครงการก่อสร้างนิวเคลียร์

และเพื่อให้การลงทุนในธุรกิจใหม่มีโอกาสเกิดขึ้นและสร้างรายได้อย่างรวดเร็ว บริษัทจะใช้กลยุทธ์ควบรวมกิจการ (Merging & Acquisition) เพราะมองว่า นอกจากจะทำให้ทำงานคล่องตัวมากขึ้น อีกด้านหนึ่งจะช่วยส่งเสริมให้มีการถ่าย ทอดเทคโนโลยีเพื่อสร้างทีมงานมืออาชีพให้เกิดขึ้นในสายธุรกิจใหม่

ส่วนธุรกิจเดิมในฐานะผู้ผลิตและจำหน่ายจานดาวเทียม เสาอากาศ บริษัทมองเห็นโอกาสตลาดให้ความสนใจติดตาม ข้อมูล ข่าวสาร และบันเทิงผ่านเคเบิลทีวีมากขึ้น ในปีนี้บริษัทจึงให้ความสำคัญในการผลิตและพัฒนาเทคโนโลยีให้มากขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของจานดาวเทียม

การขับเคลื่อนองค์กรของกลุ่มสามารถมีความคล่องตัว และตัดสินใจได้เร็วขึ้น เพราะเมื่อปลายปีที่ผ่านมาบริษัทได้ เข้าซื้อหุ้นทั้งหมดจากกลุ่ม Axiata ของประเทศมาเลเซีย จากเดิมชื่อว่าบริษัท

เทเลคอมมาเลเซียจำนวน 18.9 เปอร์เซ็นต์ ที่ถือหุ้นอยู่ใน บมจ.สามารถ คอร์ปอเรชั่น แต่กลุ่ม Axiata ยังถือหุ้นในกลุ่มสามารถไอ-โมบาย จำนวน 24.4 เปอร์เซ็นต์

กลุ่มเทเลคอมมาเลเซียเข้ามาร่วมหุ้นกับกลุ่มบริษัทสามารถในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 ทำให้กลุ่มสามารถขาด ทุนจากผลประกอบการและมีหนี้สินสูง บริษัทจึงได้ตัดสินใจเปิดทางให้เทเลคอมมาเลเซียเข้ามาถือหุ้นเพื่อพยุงฐานะด้านการเงิน

การกลับมาถือหุ้นเบ็ดเสร็จของตระกูลวิไลลักษณ์ จึงทำให้กลุ่มสามารถกลายเป็นธุรกิจครอบครัวที่มีอำนาจในการ ตัดสินใจได้อย่างหมดจดอีกครั้งหนึ่ง

ปีนี้จึงกลายเป็น “จังหวะ” และ “โอกาส” ของกลุ่มสามารถ โดยเฉพาะการเข้าร่วมงานประมูลโครงการใหม่ๆ ของ ภาครัฐ

หากมองในฐานะการเงินบริษัทมีรายได้ 12,619 ล้านบาท (ม.ค.-ก.ย.2553) กำไร 485 ล้านบาท และมีเงินสดหมุนเวียน อยู่ในมือประมาณ 1 พันล้านบาท แสดงให้เห็นถึงสภาพคล่องด้านการเงินได้เป็นอย่างดี

การกระจายธุรกิจใหม่ๆ โดยไม่ยึด ติดอยู่กับธุรกิจสื่อสารเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียว ทำให้กลุ่มสามารถได้กำหนดเป้าหมายไว้ว่าในอีก 3 ปีข้างหน้า หรือปี 2556 จะต้องมีรายได้ถึง 5 หมื่นล้านบาท

สำหรับรายได้ 29,000 ล้านบาท ที่คาดการณ์ในปี 2554 บริษัท สามารถฯ แยกตามสายธุรกิจ 4 สาย ประกอบด้วย สายธุรกิจโมบาย มัลติมีเดีย ตั้งเป้ารายได้ 1 หมื่นล้านบาท คาดเติบโต 20 เปอร์เซ็นต์ โดยมีเป้าหมายขายเครื่องโทรศัพท์ไว้ 3.5 ล้านเครื่อง และเน้นการพัฒนา Application บนเครื่องโทรศัพท์ไอโมบาย รวมถึงพัฒนาเนื้อหาใหม่ๆ เช่น บริการท่องเที่ยว

สายธุรกิจไอซีที โซลูชั่น ตั้งเป้ารายได้รวม 16,000 ล้านบาท มีโครงการอยู่ในมือ 4 พันล้านบาท และโครงการที่รอ การประมูล เช่น โครงการวางระบบเครือข่าย 3G โครงการ Next Generation Networks หรือ NGN มูลค่า 1.4 หมื่นล้านบาทของบริษัท ทีโอที

เตรียมเข้าประมูลงานพัฒนาระบบสารสนเทศมูลค่า 1 หมื่นล้านบาทของกรมที่ดิน งานโครงการกว่า 5 พันล้านบาท ของการไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าภูมิภาค และโครงการในสนามบินสุวรรณภูมิมูลค่าราว 3 พันล้านบาท

สายธุรกิจ Related Businesses ตั้งเป้ารายได้ 2 พันล้านบาท จากบริษัท วันทูวันคอนแทคส์ จำกัด บริษัท สามารถวิศวกรรม จำกัด และบริษัท วิชั่น แอนด์ ซิเคียวริตี้ ซิสเต็ม จำกัด

ส่วนสายธุรกิจบริการสาธารณูปโภค คาดว่าจะมีรายได้ 1 พันล้านบาท มาจากบริษัท แคมโบเดีย แอร์ ทราฟฟิก เซอร์วิสเซส จำกัด บริษัท กัมปอต เพาเวอร์แพลนท์ จำกัด และบริษัท สุวรรณภูมิ เอ็นไวรอนเม้นท์ แคร์ จำกัด

รายได้ 29,000 ล้านบาทที่กลุ่มสามารถได้ตั้งเป้าไว้เป็นเพียงการกำหนดอย่างเป็นทางการเท่านั้น แต่ลึกๆ ในใจของ วัฒน์ชัย ในฐานะแม่ทัพใหญ่แล้วเขาปรารถนารายได้ถึง 3 หมื่นล้านบาท

ความฝันของวัฒน์ชัยจะมีความเป็น ไปได้มากน้อยเพียงใด ไม่ได้ขึ้นอยู่กับเขาเพียงคนเดียว หรือทีมผู้บริหารและพนักงาน เท่านั้น แต่ปัจจัยแวดล้อมภายนอกมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งยวด โดยเฉพาะการพึ่งพิงประมูลโครงการต่างๆ ของหน่วยงานรัฐ มีความไม่แน่นอน และแปรเปลี่ยนได้ไปตามการขับเคลื่อนของการเมือง

ประสบการณ์กว่า 56 ปี กลุ่มสามารถฯ ย่อมเรียนรู้มาไม่น้อย   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us