|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
“วาซาบิ” ขึ้นชื่อว่าเป็นราชาแห่งสมุนไพรของประเทศญี่ปุ่น ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพในการต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย แม้ว่าวาซาบิจะมีต้นกำเนิดมาจากดินแดนปลาดิบ แต่ผู้ผลิตและส่งออกรายใหญ่ที่ป้อนคนญี่ปุ่นกว่า 60 ล้านคน มาจากบริษัทไทย
วาซาบิ เป็นหนึ่งในเครื่องปรุงรสที่มี คุณสมบัติโดดเด่น โดยเฉพาะ “ความรู้สึกขึ้นจมูก” เมื่อรับประทานกับซูชิและเนื้อปลาสดๆ ประกอบกับคุณประโยชน์ด้านสุขภาพจึงทำให้วาซาบิได้รับความนิยมมาจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะในร้านอาหารญี่ปุ่น ที่กระจายอยู่ในทั่วโลก
บริษัท ลานนาโปรดักส์ จำกัด ผู้ผลิตและส่งออกวาซาบิ มีประสบการณ์ทำธุรกิจกว่า 20 ปี โดยมีปรีชา โกวิทยา วัย 59 ปี ในฐานะประธานผู้บุกเบิกร่วมกับบริษัท ว๊อกเทรดดิ้ง จำกัด พันธมิตรจากประเทศญี่ปุ่น
ซองวาซาบิขนาดเล็ก กว้างXยาวประมาณ 2 นิ้ว มีตัวอักษรภาษาอังกฤษ wasabi และภาษาไทย “วาซาบิ” พร้อมคำว่า Product of Thailand อยู่ด้านล่าง เป็นสินค้าที่ตลาดโลกต้องการเป็นอย่างมาก และจะเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 30 ในอนาคตอัน ใกล้ วาซาบิจึงกลายเป็นโอกาสของบริษัท ลานนาโปรดักส์
ปรีชาเล่าว่า บริษัท ลานนา โปรดักส์ฯ ก่อตั้งอยู่ในจังหวัดลำพูน ผลิต “วาซาบิแท้” และ “วาซาบิเทียม” ป้อนให้กับตลาดญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกาเป็นหลัก ปัจจุบันมีทุนจดทะเบียน 66 ล้านบาท มีรายได้กว่า 300 ล้านบาท
ในช่วงเริ่มต้นทำธุรกิจบริษัทได้นำวาซาบิมาทดลองปลูกในจังหวัดเชียงใหม่ บนภูเขาสูงเพราะวาซาบิต้องปลูกในพื้นที่ที่มีอากาศเย็น มีอุณหภูมิไม่เกิน 20 ํC แต่ไม่ประสบ ความสำเร็จเนื่องจากขาดน้ำ ทำให้ขาดทุนกว่า 60-70 ล้านบาท
แต่บริษัทไม่ได้หยุดการลงทุนและย้ายไปลงทุน ในประเทศอินโดนีเซีย บนเขาสูงกว่าระดับน้ำทะเล 4,000 เมตร มี 2 ฤดูกาล คือฤดูที่ฝนตกมากและฝนตกน้อย ทำให้ได้ผลผลิตดี แต่หลังจากปลูกได้ 7-8 ปี เริ่มมีพ่อค้าชาวจีนจากคุนหมิงนำวาซาบิมาขายต้นทุนถูกกว่า บริษัทจึงตัดสินใจรับซื้อและลดกำลังการผลิตในประเทศอินโดนีเซีย
ด้วยความต้องการบริโภควาซาบิเพิ่มขึ้นในตลาดโลก ทำให้ไม่สามารถ ผลิตวาซาบิจากธรรมชาติได้เพียงพอ จึงทำให้ผู้ผลิตคิดค้นผลิตวาซาบิเทียม แต่กระทรวงสาธารณสุขของญี่ปุ่นออกกฎว่า วาซาบิ เทียมจะต้องมาจากสารธรรมชาติเท่านั้น
ปรีชาใช้ความรู้ที่เรียนจบด้านเคมี ค้นคว้าสารจากธรรมชาติ จนสามารถพบสารที่ทำให้วาซาบิมีกลิ่นฉุน ขึ้นจมูกและมีรสเผ็ดมีชื่อว่า “อัลลิลโอไซไธโอไซยาเนท” (ALLYISOCYANATE หรือ AIT) และพบว่าโดยธรรมชาติสารชนิดนี้มีอยู่ในพืช 3 ชนิด เช่น เมล็ดมัสตาร์ด มีสายพันธุ์ชนิดหนึ่งที่มีสารเอไอที และมีอยู่ในสมุนไพรชื่อ Horse Radish
บริษัท ลานนาโปรดักส์ตัดสินใจเลือกเมล็ดมัสตาร์ดผลิตวาซาบิเทียม เพราะ หาซื้อได้ง่ายเนื่องจากเป็นเครื่องเทศสมุนไพร จากตะวันออกกลาง รวมถึงมีใช้อยู่ในยุโรป ประกอบในอาหาร และประการสำคัญสามารถนำเข้ามาในปริมาณมาก
ปัจจุบันบริษัทสามารถผลิตวาซาบิเทียมได้ 20 ตันต่อเดือน นอกจากผลิตวาซาบิเทียมแล้วบริษัทยังได้ปลูกต้นวาซาบิ แท้ไว้ในโรงเรือน 4 โรงอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียง กับโรงงานในจังหวัดลำพูน ซึ่งการผลิตวาซาบิแท้ในลำพูนมีการดูแลกระบวนการปลูก โดยควบคุมอุณหภูมิไม่ให้เกิน 20 ํC และให้น้ำอย่างเพียงพอ
การหันมาปลูกวาซาบิแท้อีกครั้ง เพราะวาซาบิแท้มีราคาสูงกว่าวาซาบิเทียม หลายเท่าตัว ประการสำคัญเป็นสมุนไพรที่เทียบเคียงกับสมุนไพรจีนและโสม ขณะที่ วาซาบิเทียมจากเมล็ดมัสตาร์ดจะมีคุณสมบัติมีกลิ่นและฉุนขึ้นจมูกคล้ายกับวาซาบิเท่านั้น
ผลผลิตของวาซาบิแท้และวาซาบิเทียม ปัจจุบันส่งออกไปต่างประเทศร้อยละ 95 โดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา ที่เหลือร้อยละ 5 ขายในประเทศ
นอกจากรายได้ประมาณ 100 ล้าน บาทที่ได้จากผลิตภัณฑ์วาซาบิแล้ว ปรีชายังได้คิดค้นผลิตน้ำมันหอมระเหยจากเมล็ด มัสตาร์ดที่เหลือจากการผลิตวาซาบิ เพราะน้ำมันหอมระเหยที่ได้มาสามารถนำไปใช้ในวงการทันตแพทย์ได้อีกด้วย
น้ำมันหอมระเหยที่ผลิตได้ 30 ตันปี ทำให้บริษัท ลานนาโปรดักส์ มีรายได้เพิ่มอีก 100 ล้านบาท หรือเทียบเท่ากับรายได้ จากวาซาบิเลยทีเดียว
“หลักการทำงานของบริษัท ลานนา โปรดักส์คือ การนำของเหลือจากผลิตภัณฑ์ หนึ่งนำไปเป็นวัตถุดิบตั้งต้นของสินค้าใหม่” เป็นหลักคิดของปรีชาที่นำกระบวนการความรู้ด้านเคมีที่เขาได้ร่ำเรียนมาและนำแนวคิดแบบวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในธุรกิจ
นอกจากนำภาคความรู้มาต่อยอดให้กับธุรกิจแล้ว สิ่งที่ทำให้สามารถอยู่รอดมาได้ในวิกฤติเศรษฐกิจ โดยเฉพาะตลาดใน ญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นตลาดหลัก แต่ทั้งสองประเทศได้รับผลกระทบโดยตรง โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกามีประชาชนตกงาน เป็นจำนวนมาก และคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจไม่น่าจะฟื้นตัวในเร็วๆ นี้
ดังนั้น การรับมือของบริษัท ลานนาโปรดักส์คือการบริหารจัดการต้นทุน เพราะเมล็ด มัสตาร์ดเป็นสินค้านำเข้า 100% ดังนั้นบริษัทจะสั่งซื้อสินค้าล่วงหน้า 1 ปี เพื่อป้อนกำลังการผลิต ตลอด 24 ชั่วโมง ดังนั้นวัตถุดิบจะต้องมีอยู่ในคลังสินค้าตลอดเวลา
ระบบขนส่งเป็นอีกส่วนหนึ่งที่มีต้นทุนสูง บริษัทจึงได้ผลิต น้ำมันไบโอดีเซลขึ้นมาเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงให้กับรถยนต์ของบริษัทในปัจจุบัน
น้ำมันไบโอดีเซลที่นำมาใช้กับรถยนต์ได้มาจากกระบวน การผลิตของเมล็ดมัสตาร์ดผลิตวาซาบิจะได้น้ำมันร้อยละ 40 ทำให้บริษัทสามารถ ผลิตน้ำมันได้ถึง 1 ล้านลิตร
ผลิตภัณฑ์หลักอีก 1 ประเภทที่สร้างรายได้หลักให้กับบริษัท คือ เครื่องปรุงรส หรือเรียกกันว่าค็อกเทลซอส ที่ใช้มะเขือเทศเป็นวัตถุดิบ และเครื่องปรุงรสจะมีหลากหลายประเภท เช่น ซอสค็อกเทล กุ้ง ซอสบาร์บีคิว ซอสพริก โดยเฉพาะน้ำจิ้มซีฟู้ด บริษัทเป็นรายเดียวที่ผลิตให้กับลูกค้า ปัจจุบันสายธุรกิจเครื่องปรุงรสเป็นอีกส่วนหนึ่งสร้างรายได้ให้กับบริษัทได้ประมาณ 100 ล้านบาท
อย่างไรก็ดี ผลิตภัณฑ์ของบริษัท ลานนาโปรดักส์ ไม่ได้ผลิตสินค้าภายใต้แบรนด์ของบริษัทเพียงอย่างเดียว แต่ยังรับจ้างผลิตให้กับแบรนด์อื่นๆ ให้กับลูกค้า ทั้งในและต่างประเทศอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น วาซาบิ ซอสผัดมะกะโรนี
กระบวนการคิดต่อยอดของธุรกิจของปรีชาเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะเขากำหนดบทบาทของบริษัทลานนาโปรดักส์ ให้เป็น Innovation Company
จากกระบวนการคิดที่ไม่หยุดนิ่งของเขา ทำให้เขาเริ่มสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ ล่าสุดเขามีแนวคิดนำน้ำเสียจากกระบวน การผลิตวาซาบิมาผลิตเป็นกระแสไฟฟ้า รวมถึงศึกษากระบวนการซื้อ-ขายคาร์บอนเครดิตเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับองค์กร
“บริษัทของเราเป็นบริษัทนวัตกรรม สิ่งที่คนอื่นทำเราจะไม่ทำ แต่ธุรกิจของเรา จะใช้ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์เข้ามาสร้างสินค้า เรามีพนักงาน 200 คน ตั้งแต่ เริ่มแรกจนถึงปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์ของเราเพิ่มแต่คนไม่เพิ่ม”
กระบวนการคิดที่ใช้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ของปรีชา ได้แสดงผลอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้นเรื่อยๆ และผลตอบแทนกลับมาดูเหมือนคุ้มค่าไม่น้อย
|
|
|
|
|